Coolant ท ม ส วนประกอบหล ก ethylene glycol

หลายคนคงสงสัยว่าน้ำในหม้อน้ำรถยนต์ของเรา ถ้าน้ำเริ่มแห้ง เราสามารถใช้น้ำเปล่าเติมลงแทน น้ำยาหม้อน้ำ ได้หรือไม่ วันนี้พวกเรามีคำตอบให้ครับ

ระบบหล่อเย็น

ถือเป็นหนึ่งในระบบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเครื่องยนต์ โดยเฉพาะสภาพอากาศในบ้านเราที่ร้อนจัดตลอดแทบทั้งปี การบำรุงรักษาระบบหล่อเย็นให้สมบูรณ์อยู่เสมอจึงมีความจำเป็นมาก มิเช่นนั้นเครื่องยนต์อาจได้รับความเสียหายอย่างหนักจนถึงขั้นใช้งานไม่ได้เลยทีเดียว

น้ำยาหม้อน้ำ หรือ น้ำยาหล่อเย็น

น้ำยาหม้อน้ำ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันติดปากว่า “น้ำยาคูลแลนต์” (Coolant) ถือเป็นหัวใจหลักในการรักษาอุณหภูมิของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา โดยน้ำยาหล่อเย็นมีส่วนประกอบหลักมาจากน้ำและสารหล่อเย็นประเภท Ethylene Glycol ช่วยเพิ่มจุดเดือดให้สูงกว่า 120 องศาเซลเซียส จึงคงประสิทธิภาพการระบายความร้อนได้ดีกว่าน้ำเปล่าทั่วไป โดยน้ำยาหล่อเย็นอาจมีหลายสี ทั้งสีเขียว, สีชมพู ฯลฯ ซึ่งเกิดจากการเติมสีเพื่อให้มองเห็นการรั่วซึมได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

อีกทั้งน้ำยาหล่อเย็นยังมีคุณสมบัติ Antifoam ช่วยป้องกันการเกิดฟองในระบบหล่อเย็น ซึ่งฟองอากาศเหล่านี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนทำได้ไม่ดี และอาจส่งผลให้เกิดอาการโอเวอร์ฮีตได้

อีกหนึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของน้ำยาหล่อเย็น คือ ช่วยป้องกันการเกิดสนิม ซึ่งสนิมในระบบหล่อเย็นอาจสร้างความเสียหายต่อหม้อน้ำและฝาสูบ ส่งผลให้เกิดการรั่วซึมของน้ำ ต้องหมั่นเติมน้ำบ่อยๆ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้รั่วซึมหนักจนไม่สามารถใช้งานได้ อีกทั้งน้ำยาหล่อเย็นยังช่วยลดการเกิดตะกรอน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันในระบบหล่อเย็นนั่นเอง

ดังนั้น การเติมน้ำเปล่าลงในหม้อน้ำ จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายในทันที แต่เมื่อผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง เครื่องยนต์อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการระบายความร้อนตามมา เช่น เกิดอาการโอเวอร์ฮีต ในวันที่สภาพอากาศร้อนจัด, เกิดการรั่วซึมที่ทำให้ต้องเติมน้ำอยู่บ่อยครั้ง และอื่นๆ จึงควรหลีกเลี่ยงการเติมน้ำเปล่าลงในหม้อน้ำ เว้นแต่มีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

หากรถของคุณมีการเติมน้ำยาหล่อเย็นอยู่แล้ว ก็ควรเติมน้ำยาหล่อเย็นอย่างต่อเนื่องต่อไป เว้นแต่เป็นน้ำยาชนิดเข้มข้นที่ต้องมีการผสมน้ำเปล่าเพื่อให้เจือจาง (ซึ่งส่วนมากต้องเติมในอัตราส่วน 1:1 คือ น้ำยาหล่อเย็นและน้ำเปล่าในสัดส่วนเท่ากัน) แต่กรณีซื้อรถมือสองที่เจ้าของเดิมหันไปใช้น้ำเปล่าแทนแล้วล่ะก็ ควรเพิ่มความระมัดระวังในการกลับมาใช้น้ำยาหล่อเย็นด้วย เนื่องจากน้ำยาอาจกัดสนิมจนทำให้เกิดการรั่วซึมได้ครับ

หากลูกค้าสนใจน้ำยาหล่อเย็นทางร้าน STM Racing Udon ก็ขอแนะนำ

Coolant ท ม ส วนประกอบหล ก ethylene glycol

Liqui Moly

พบกับน้ำยาหล่อเย็นสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งานได้ทุกเมื่อ เหมาะสำหรับยานพาหนะทุกประเภท ด้วยการใช้ระบบ OAT Technology มาพัฒนา เพื่อให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการปกป้องระบบหล่อเย็นและเครื่องยนต์ หลีกเลี่ยงการใช้ส่วนผสมที่ทำให้เกิดคราบตะกรอน ทั้งยังมีคุณสมบัติที่โดดเด่นต่อเครื่องยนต์อะลูมิเนียมสมรรถนะสูง ป้องกันการเกิดสนิมได้ดี ส่วนระยะการเปลี่ยนถ่ายควรเปลี่ยนเมื่อครบ 100,000 กม.

สามารถติดต่อสอบถามที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

แฟนเพจ : STM Racing Udon

สั่งซื้อสินค้า SHOPEE : STM Racing Shop

สั่งซื้อทางเว็บไซต์ STMRACINGUDON.COM

Coolant ท ม ส วนประกอบหล ก ethylene glycol

Coolant Bomb

Coolant Bomb หัวเชื้อน้ำยาหม้อน้ำชนิดผง ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับเมืองร้อน พร้อมป้องกันสนิม 1หลอดสามาถใช้ผสมกับน้ำสะอาดได้ 7 ลิตร (รถขนาดเล็ก 1 คัน )

1.แก้ปัญหาเรื่องหม้อน้ำร้อน

2.ลดอุณหภูมิรถสูงง่าย

3.ลดการทำลายอะไหล่ภายในหม้อน้ำ

4.ยืดอายุการสึกหรอของหม้อน้ำออกไปได้

5.ใช้ง่าย เสร็จไวใน 3 นาที

6.ราคาที่ย่อมเยา แต่ได้คุณภาพที่เป็นเลิศ

7.สามารถจัดเก็บได้นานถึง 2 ปี

8.ไม่เป็นอันตรายต่อผิวสัมผัส

บริษัท นิว เอสทีเอ็ม เรซซิ่ง 2018 จำกัด ตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่ใหญ่สุดในภาคอีสาน ประสบการณ์ มากกว่า10ปี การันตีด้วยรางถ้วยรางวัลระดับประเทศ

น้ำยาหล่อเย็นที่เห็นมีสีต่างๆ เช่น สีชมพู เขียว ที่สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้เป็นอย่างมากนั้น บางยี่ห้ออาจแบ่งสีเพื่อเป็นตัวบ่งบอกถึงสารเคมีต่างชนิดกันที่ผสมเข้าไปในแต่ละสูตร แต่ในบางยี่ห้อก็ไม่ได้ใช้ในการบ่งบอกถึงสารเคมีที่ผสมอยู่แต่อย่างใด เบื้องต้นแนะนำให้อ่านฉลากของน้ำยา Coolant ทุกครั้งเพื่อทำความเข้าใจก่อนนำมาใช้กับหม้อน้ำรภยนต์เป็นหลัก ใช้แค่น้ำเปล่าอย่างเดียวไม่ได้เหรอ ฯลฯ คำถามเหล่านี้ หลายๆ คนอาจรู้คำตอบดีอยู่แล้ว แต่กับบางคนที่เป็นมือใหม่ หรือขับเป็นอย่างเดียว แต่ดูแลไม่เป็น ลองมารู้จักกับมันดูก่อน เพื่อจะได้เข้าใจถึงความสำคัญ และความจำเป็นต่อระบบของน้ำยาหล่อเย็นมากขึ้น

สำหรับ น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) ส่วนประกอบหลักของมันจะมี น้ำ, สารหล่อเย็น(ETHYLENE GLYCOL), หัวเชื้อป้องกันสนิม และสีต่างๆ ฯลฯ ซึ่งถ้าพูดถึงคุณสมบัติจริงๆ ของมันแล้ว น้ำยาหล่อเย็น ไม่ได้มีหน้าที่ระบายความร้อน แต่จะช่วยทำให้จุดเดือดของน้ำที่ผสมน้ำยาหล่อเย็นสูงขึ้น ทำให้น้ำที่อยู่ในหม้อน้ำเดือดช้าลง

นอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว น้ำยาหล่อเย็น (Coolant ) ยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย ดังนี้

1. ป้องกันน้ำในระบบแข็งตัวเป็นน้ำแข็งในจังหวะสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ ซึ่งในบ้านเราจะไม่เห็นผลเท่าใดนัก เพราะเป็นเมืองร้อน

2. เพิ่มจุดเดือดน้ำ คือชะลอการระเหยของน้ำในระบบหล่อเย็นเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะเวลาน้ำเดือดมันจะระเหยกลายเป็นไอที่ 100C ํ ซึ่งถ้าผสมน้ำยาหม้อน้ำลงไปก็จะระเหยที่ 105 / 110 / 115 องศาเซลเซียส ตามสัดส่วนที่เราผสมลงไป

3. ป้องกันการเกิดสนิม ตะกรัน ตะกอน เพราะเมื่อมีสนิมมันก็จะผุ กร่อน มีตะกอน น้ำยาจึงช่วยไม่ให้มีการอุดตันในรังผึ้งของหม้อน้ำ

4. หล่อลื่นปั๊มน้ำ ซีลปั๊มน้ำ และวาล์วน้ำ

และนี่คือความสำคัญของ น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) ที่มีประโยชน์ต่อเครื่องยนต์มากๆ ซึ่งหากเราไม่ใช้ หรือไม่เติมน้ำยา ใช้แค่น้ำเปล่าอย่างเดียวก็ได้ แต่มันจะส่งผลเสียต่อระบบระบายความร้อน และเครื่องยนต์อย่างรวดเร็ว เพราะหม้อน้ำรถยนต์ในปัจจุบันมักทำมาจากอะลูมิเนียม ทำให้สามารถเกิดสนิม ตะกรัน ตะกอน และเกิดการกัดกร่อนได้ง่าย โดยเราสามารถตรวจสอบได้ด้วยการถอดท่อยางที่ต่อจากหม้อพักน้ำออกมาดู จะเห็นได้ว่ามันจะมีคราบ และร่องรอยของการเกิดตะกรัน ซึ่งหากร้ายแรงมากๆ อาจถูกกัดกร่อนจนแตก ผุ แหว่ง และนี่เองจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หม้อน้ำ แผงหม้อน้ำ และทางเดินน้ำเกิดการอุดตัน หรือรั่วซึม จนทำให้ระบบระบายความร้อนออกมาได้ไม่ดี น้ำในหม้อน้ำแห้ง จนเครื่องร้อนจัด และความร้อนขึ้น หรือก็คือโอเวอร์ฮีทนั่นเอง

ส่วนการผสมใช้งาน น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) กับน้ำ ส่วนมากจะผสมกันในอัตราส่วน 50/50 หรือดูวิธีผสมได้ที่ข้างขวดของน้ำยายี่ห้อนั้นๆ และระยะการเปลี่ยนถ่ายก็ขึ้นอยู่กับรถแต่ละรุ่น หรือน้ำยาที่ใช้ด้วย เช่น บางรุ่นกำหนดไว้ทุกๆ 2 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร และบางรุ่นกำหนดไว้ที่ 100,000 – 200,000 กิโลเมตร ฯลฯ (ศึกษาดูเพิ่มเติมจากคู่มือยี่ห้อรถนั้นๆ)

นอกจากนี้หากมีเวลา ควรเปิดฝากระโปรงหน้าอาทิตย์ละครั้งเพื่อสังเกตน้ำในหม้อน้ำ และหม้อพักน้ำสำรอง เพื่อจะได้รู้ทัน หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับหม้อน้ำ เช่น น้ำในหม้อน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนด, น้ำแห้งเร็วเกินไป, มีคราบของน้ำยาหล่อเย็นหยด หรือเปื้อนตามจุดต่างๆ ที่เครื่องยนต์ และบนพื้นที่จอด ฯลฯ (สีของน้ำยาหม้อน้ำที่รั่วซึมจะสังเกตได้ง่าย เพราะสีที่ผสมเข้าไป เช่น สีเขียว สีชมพู ฯลฯ)