D day movie การยกพลข นบกท นอร ม องด

ในปี ค.ศ. 1996 ผู้อำนวยการสร้าง มาร์ก กอร์ดอน นำเสนอแนวคิดของโรแดตให้กับพาราเมาต์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก พี่น้องไนแลนด์ ซึ่งในที่สุด โครงการนี้ก็เริ่มการพัฒนา สปีลเบิร์ก ซึ่งในเวลานั้นเพิ่งก่อตั้งดรีมเวิร์กส เขาเข้าร่วมโครงการเพื่อมาเป็นผู้กำกับ และแฮงส์ก็เข้าเป็นนักแสดง หลังจากที่นักแสดงได้ผ่านการฝึกฝนภายใต้การดูแลของ เดล ดาย ทหารผ่านศึกเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ การถ่ายทำเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997 โดยใช้เวลาสองเดือน ฉากดี-เดย์ของภาพยนตร์นั้นถ่ายทำที่ หาดบัลลินเนสเกอร์, ชายฝั่งเคอร์ราโคล, บัลลินเนสเกอร์ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของ เคอร์ราโคล, เคาน์ตีเว็กซ์ฟอร์ด, ไอร์แลนด์ และใช้ทหารจากกองหนุนของกองทัพไอริชเป็นทหารราบสำหรับการยกพลขึ้นบก

ภาพยนตร์ฉายเมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม ค.ศ. 1998 ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์และผู้ชม โดยชมในเรื่องการแสดง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงที่มาจากแฮงส์), ความสมจริง, การกำกับภาพ, ดนตรีประกอบ, บทภาพยนตร์และการกำกับของสปีลเบิร์ก โดยภาพยนตร์มักจะอยู่ในรายชื่อสิบอันดับแรกของภาพยนตร์ที่ฉายในปี ค.ศ. 1998 ของนักวิจารณ์ ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศ โดยเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปี ค.ศ. 1998 ในสหรัฐ โดยทำเงินในประเทศ 216.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดทั่วโลกในปี ค.ศ. 1998 โดยทำเงิน 481.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก นอกจากนี้ ภาพยนตร์ทำเงินเพิ่มอีก 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมาจากการวางจำหน่ายโฮมวิดีโอในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1999

ภาพยนตร์ได้รับรางวัลมากมาย ได้แก่ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ใน รางวัลลูกโลกทองคำ, สมาคมผู้อำนวยการสร้างแห่งอเมริกา, สมาคมผู้กำกับแห่งอเมริกาและรางวัลขวัญใจนักวิจารณ์ ภาพยนตร์ได้รับการเสนอชื่อใน รางวัลออสการ์ ทั้งหมด 11 สาขา ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 71 ได้แก่ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (แฮงส์) และบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม และชนะเลิศ 5 รางวัล ได้แก่ สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ครั้งที่สองของสปีลเบิร์ก), ลำดับภาพยอดเยี่ยม, กำกับภาพยอดเยี่ยม, เสียงยอดเยี่ยมและลำดับเสียงเอฟเฟกต์ยอดเยี่ยม

เซฟวิ่ง ไพรเวท ไรอัน ฝ่าสมรภูมินรก ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาล ได้รับการยกย่องว่ามีอิทธิพลต่อภาพยนตร์แนวสงคราม และทำให้ความสนใจในสื่อสงครามโลกครั้งที่สองกลับมาอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 2007 สถาบันภาพยนตร์อเมริกัน จัดอันดับภาพยนตร์ เซฟวิ่ง ไพรเวท ไรอัน ฝ่าสมรภูมินรก ให้อยู่ในอันดับที่ 71 ของภาพยนตร์อเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน เอเอฟไอส์ 100 ปี...100 เรื่อง (ฉบับครบรอบ 10 ปี) และในปี ค.ศ. 2014 ภาพยนตร์ถูกเลือกโดย หอสมุดรัฐสภา ให้มีการเก็บรักษาใน หอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติ ในฐานะที่ภาพยนตร์ "มีวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์, หรือ มีความสุนทรีย์อย่างมีนัยสำคัญ"

โครงเรื่อง[แก้]

สงครามโลกครั้งที่สอง หลังการบุกหาดโอมาฮ่าเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 แล้ว กองทัพอเมริกันประสบความสูญเสียเป็นอย่างมาก ทหารหลายคนบาดเจ็บ พิการ และล้มตาย ร้อยเอก จอห์น มิลเลอร์ (ทอม แฮงค์) ผู้นำกองทหารกองหนึ่ง ก็พบกับความสูญเสียของผู้ใต้บังคับบัญชาในครั้งนี้ด้วย

แต่ในยุทธการยกพลขึ้นบกครั้งนี้ของสัมพันธมิตร นำมาซึ่งความสูญเสียของบุตรชาย 3 คนแห่งตระกูลไรอัน ซึ่งกองทัพสหรัฐได้ส่งจดหมายแสดงความเสียใจมาแก่คุณนายไรอัน แต่ทว่า ในการพิมพ์จดหมายนั้น เสมียนผู้พิมพ์พบถึงความสูญเสียของตระกูลไรอันแล้ว 3 คน ซึ่งยังเหลือเพียงบุตรชายคนสุดท้อง คือ พลทหาร เจมส์ ไรอัน (แมตต์ เดม่อน) ที่ตกอยู่ในแนวข้าศึกโดยไม่ทราบชะตากรรม จึงได้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา (เดนนิส ฟารีนา) ซึ่งได้ตัดสินใจให้พาพลทหารไรอันกลับบ้านมาอย่างปลอดภัย

ภารกิจนำพลทหารไรอันกลับบ้านจึงตกแก่กองกำลังของร้อยเอกมิลเลอร์ ซึ่งมีผู้ใต้บังคับบัญชา 7 คน โดยที่แต่ละคนไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องเสี่ยงชีวิตคนส่วนใหญ่เพื่อชีวิตคน ๆ เดียวด้วย โดยที่ระหว่างทางพวกเขาต้องประสบกับความสูญเสียเป็นอย่างมาก ซึ่งในท้ายที่สุด หลายคนได้เสียชีวิตรวมทั้งร้อยเอกมิลเลอร์ด้วย แต่ก่อนตาย เขาได้บอกแก่ไรอันว่า ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ซึ่งไรอันได้จดจำและสำนึกในบุญคุณของมิลเลอร์ไปตลอด

ตัวละคร[แก้]

  • ทอม แฮงค์...ร้อยเอก จอห์น มิลเลอร์ เป็นผู้นำกองทหารในภารกิจนี้ มีประวัติที่ไม่เปิดเผยโดยบอกแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาว่า เคยเป็นครูสอนคณิตศาสตร์และโค้ชบาสเก็ตบอลในโรงเรียนมัธยม มีมือที่สั่นเทา ซึ่งเป็นบาดแผลทางจิตใจจากสงครามมานาน
  • ทอม ไซส์มอร์...จ่าสิบเอก ไมค์ โฮวาทท์ เป็นรองผู้นำกองทหาร
  • เอ็ดเวิร์ด เบิร์นส์...พลทหาร ริชาร์ด ไรเบน พลทหารในกอง
  • แบร์รี่ เป็ปเปอร์...พลทหาร แดเนียล แจ็คสัน เป็นพลแม่นปืน
  • จิโอวานนี่ ริบิซี่...พลทหาร เออร์วิน วาร์ด เป็นพลทหารพยาบาล
  • เจเรมี เดวีส์...พลทหารสื่อสาร ทิโมธี อับฮัม พลทหารสื่อสารที่เข้าร่วมภารกิจนี้ เป็นคนนอกกอง ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่าม มีความหวาดกลัวและตื่นตระหนกตลอด เพราะไม่เคยผ่านสงครามมาก่อน
  • วิน ดีเซล...พลทหาร เอ็ดเวิร์ด คาปาร์โซ่ พลทหารประจำกองเชื้อสายอิตาเลียน เสียชีวิตจากการช่วยเหลือเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง
  • อดัม โกลด์เบิร์ก...พลทหาร สแตนลีย์ "ฟิช" มาลลิช พลทหารประจำกอง เชื้อสายยิว
  • แมตต์ เดม่อน...พลทหาร เจมส์ ฟรานซิส ไรอัน พลทหารที่เป็นเป้าหมายของภารกิจนี้ ผู้ตกอยู่ในแนวข้าศึก
  • เดนนิส ฟารีนา...พันเอก วอลเตอร์ แอนเดอร์สัน ผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งให้ปฏิบัติภารกิจนำพลทหารไรอันกลับบ้าน
  • ฮาร์ฟ เพรสเนลล์...พลเอก จอร์จ ซี.มาร์แชลล์ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพสหรัฐ
  • แฮร์ริสัน ยัง...เจมส์ ฟรานซิส ไรอัน เป็นพลทหารไรอันในวัยชรา

เบื้องหลังและความสำเร็จ[แก้]

Saving Private Ryan เป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่และได้รับการจับตาเป็นอย่างมากในปี ค.ศ. 1998 อีกทั้งเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดประจำปีนั้นด้วย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสูญเสียของกำลังทหารและชีวิตผู้คนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายของสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฉากเปิดเรื่องที่ยาวกว่า 10 นาที ที่เป็นการบุกหาดโอมาฮ่า ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสมรภูมิที่สูญเสียที่สุดของกองทัพสหรัฐอเมริกา ได้รับคำวิจารณ์ว่าทำได้เสมือนจริงอย่างมาก และหลายคนได้นำไปเปรียบเทียบกับภาพยนตร์แนวเดียวกันในอดีต อย่าง The Longest Day ในปี ค.ศ. 1962

เมื่อเข้าฉายแล้ว ได้รับการจับตาอย่างยิ่งว่าจะคว้ารางวัลได้หลายรางวัล ทั้ง รางวัลออสการ์หรือรางวัลลูกโลกทองคำ รวมทั้ง รางวัลอื่น ๆ ด้วย ซึ่งภาพยนตร์ก็คว้าได้หลายรางวัลด้วยกัน โดยเฉพาะการแสดงที่โดดเด่นอย่างมากของ ทอม แฮงค์ และเจเรมี เดวีส์ ที่รับบทเป็นพลทหารอับฮัม ที่ตื่นตระหนกตลอดเวลา เป็นเหมือนลูกไล่และจุดอ่อนของกองกำลัง

ซึ่งในระหว่างที่เข้าฉายนั้น ก็มีภาพยนตร์ในแนวเดียวกัน คือ The Thin Red Line ของทเวนตี้ เซนจูรี ฟอกซ์ เข้าฉายในเวลาเดียวกัน เสมือนเป็นคู่แข่งและคู่เปรียบเทียบ

ในรางวัลออสการ์มีชื่อเข้าชิงมากถึง 11 รางวัล ประกอบไปด้วย รางวัลใหญ่ ๆ ด้วยกัน เช่น ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม, บันทึกภาพยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็สามารถคว้ามาได้ ยกเว้น สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่พลาดให้แก่ Shakespeare in Love ภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • หาดโอมาฮา
  • การรุกรานนอร์ม็องดี
  • เดอะ ทิน เรด ไลน์ ฝ่านรกยึดเส้นตาย
  • ดี-เดย์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2562)
  • กัลลิโพลี (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2524)
  • ยึด!
  • อินช็อน (ภาพยนตร์)

อ้างอิง[แก้]

  • ↑ "Saving Private Ryan". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2008. สืบค้นเมื่อ September 5, 2008.
  • Weinraub, Bernard. "'Ryan' Lands With Impact In Theaters Across U.S." The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2018. สืบค้นเมื่อ September 2, 2018.
  • "1998 Worldwide Grosses". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 22, 2009. สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
  • Maslin, Janet (July 24, 1998). "FILM REVIEW; Panoramic and Personal Visions of War's Anguish". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2018. สืบค้นเมื่อ July 25, 2018.
  • Rubin, Steven Jay (July 24, 2018). "'Saving Private Ryan' at 20: How Spielberg's vivid D-Day story changed war movies forever". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2019. สืบค้นเมื่อ July 25, 2018.
  • "Top ten war films: Saving Private Ryan claims No 1 spot". The Telegraph. August 19, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2018. สืบค้นเมื่อ July 25, 2018.
  • Grow, Kory (December 17, 2014). "'Big Lebowski,' 'Ferris Bueller's Day Off' Added to National Film Registry". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2018. สืบค้นเมื่อ September 11, 2017.
  • แกะรอยเซฟวิ่งฯ 2 [https://web.archive.org/web/20120119033303/http://www.pantip.com/amof/old_cafe/A251806.html เก็บถาวร 2012-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วิจารณ์ Saving Private Ryan หนึ่งในหนังสงครามที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ฮอลลีวู้ด จากพันทิปดอตคอม]