Hoegaarden lemon ม ขาย ท ไหน บ าง

ปัจจุบันนอกจากกระแสของเบียร์นำเข้ายี่ห้อต่างๆที่ทั้งคราฟต์และไม่คราฟต์ ที่หลั่งไหลกันเข้ามาในบ้านเรามากมาย โดยหากนับตั้งแต่วันแรกๆ ก็มีร้าน Paulaner ในซอยสุขุมวิท 24 ซึ่งถือเป็นร้านเบียร์นำเข้าร้านแรกๆ ในเมืองไทย แต่กระแสตอบรับก็ไม่ได้ดีมากนัก อาจเป็นด้วยเพราะราคาที่สูงจนอยากที่จะเข้าถึง และสื่อที่จะทำให้คนรู้จักร้านมีเพียงแค่การบอกปากต่อปากเท่านั้น ทำให้ร้านเป็นที่รู้จักเพียงแค่กับกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆเท่านั้น จนมาถึงในยุคของเบียร์ Hoegaarden ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 8 ปีเห็นจะได้ โดยในช่วง 4 ปีแรก ผลตอบรับก็เป็นไปในวงแคบๆ เช่นกัน แต่เพราะด้วยระบบการสื่อสารที่เรียกว่า Social Media ทำให้ความนิยมในเบียร์ตัวนี้แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว จนเกิดปรากฏการณ์การถ่ายรูปคู่กับแก้วเบียร์เกิดขึ้น และก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนไทย “เปิดรับ” เบียร์จากต่างประเทศมากขึ้น

Hoegaarden lemon ม ขาย ท ไหน บ าง

ในช่วงประมาณ 6-7 ปีก่อน คนไทยมีโอกาสได้รู้จักกับเบียร์อิมพอร์ตมากยิ่งขึ้นทั้งจากเยอรมนีและเบลเยียม โดยทั้ง 2 ชาตินี้เป็นเหมือนมหาอำนาจของวงการเบียร์โลกเก่า และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองก็ได้เกิดอีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญในบ้านเรานั้นก็คือ “ร้านเบียร์” นำโดยร้านเบียร์อย่าง HOBS และ BREW Beers & Ciders ที่เปิดร้านใจกลางย่านทองหล่อและนำเสนอเมนูเบียร์นำเข้ากว่า 100 แบบ ซึ่งในยุคนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากของนักกินนักเที่ยวในเมืองไทย เนื่องจากแต่เดิมคนไทยคุ้นเคยแต่กับเบียร์พิลสเนอร์ สีเหลืองทอง ที่ต้องดื่มแบบเป็นวุ้นหรือใส่น้ำแข็งให้เย็นชื่นใจ หรือหากใครจะจัดหนักก็จะหันไปหาวิสกี้

Hoegaarden lemon ม ขาย ท ไหน บ าง

Hoegaarden lemon ม ขาย ท ไหน บ าง

แต่แล้วเมื่อประมาณ 4 ปีก่อนได้เกิดอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญของวงการเบียร์อิมพอร์ตในบ้านเรานั้นก็คือการมาถึงของ “ROGUE” คราฟต์เบียร์ จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาเป็นอีกทางเลือกให้กับนักดื่มชาวไทย ซึ่งในตอนนั้นเองนักดื่มชาวไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงคุ้นเคยกับรสชาติที่ดื่มง่ายๆ ของเบียร์เบลเยียมและเยอรมัน เราเองยังจำได้ว่าเราแปลกใจมากในรสชาติและกลิ่นของเบียร์อย่าง Dead Guy Ale ยังไม่ต้องพูดถึงกลิ่นหอมๆ และรสขมๆ ของ “ฮอปส์” ที่หากพูดคำนี้ในปัจจุบันก็คงไม่ใช่คำศัพท์ที่แปลกประหลาด แต่หากพูดคำนี้เมื่อ 4-5 ปีก่อน เรารับรองว่ามีคนน้อยถึงน้อยมากที่จะเข้าใจแต่ไม่นานเบียร์ดังระดับโลกอย่าง Brewdog และ Mikkeller ก็ตามเข้ามาในบ้านเราอย่างรวดเร็วทันใจ ถึงตอนนี้เรียกได้ว่าโลกของคราฟต์เบียร์ในเมืองไทยได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ และในที่สุดกรุงเทพฯ ก็กลายเป็นเหมือนกับเมืองใหญ่ทั่วโลกที่มีความหลากหลายของเบียร์จากทั่วโลก แบบที่เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าใคร

Hoegaarden lemon ม ขาย ท ไหน บ าง

Hoegaarden lemon ม ขาย ท ไหน บ าง

การเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคงต้องยกความดีความชอบส่วนหนึ่งให้กับ Social Media อย่าง Facebook และ Instagram ที่ทำให้เบียร์เป็นที่รู้จักออกไปในวงกว้างอย่ารวดเร็ว แต่ในเวลาเดียวกันนั้นเองที่เบียร์นำเข้าเริ่มค่อยๆ เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของชาวไทย ได้เกิดกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่เลือกเดินเข้าสู่โลกของเบียร์อีกใบที่เลือกว่า “โฮมบรูว์” หรือการต้มเบียร์เองด้วยวิธีการแบบง่ายๆ และใช้อุปกรณ์ที่มีภายในบ้าน ซึ่งจริงๆ แล้ว “โฮมบรูว์” เองก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่หลบซ่อนตัวเองอยู่เบื้องหลังของ “คราฟต์เบียร์” ยี่ห้อดังต่างๆ เพราะหากเราไปย้อนดูประวัติของคราฟต์เบียร์ยี่ห้อดังๆจากทั่วโลกส่วนใหญ่ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการลองต้มเบียร์เองทั้งสิ้น และเมื่อได้เบียร์ที่มีรสชาติและคุณภาพที่น่าพอใจก็เริ่มนำมาลองปล่อยขายกินกันเองในหมู่บ้านหรือกลุ่มคนที่ชอบในการทำโฮมบรูว์เหมือนกัน ผลัดกันติผลัดกันชม และต่างกลับไปพัฒนารสชาติจนกลายเป็นโรงเบียร์ใหญ่โตได้ในปัจจุบัน

เมืองไทยก็เช่นกัน แม้ว่าโฮมบรูว์นั้นจะเป็นเหมือนเรื่องใหม่และใกล้ตัวสำหรับชาวไทย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครเริ่ม โดยเมื่อปีพ.ศ. 2555 กลุ่มคนผู้ซึ่งหลงใหลในรสชาติของเบียร์ได้เริ่มลองการต้มเบียร์เอง แม้ว่าในเวลานั้นทุกอย่างดูจะเป็นเรื่องยากไปซะหมด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในการต้ม การหมัก รวมไปถึงวัตถุดิบต่างๆ ที่ต้องสั่งจากต่างประเทศเท่านั้น สั่งแล้วกว่าจะได้รอกันเป็นเดือน พอของมาถึงปรากฏว่าสั่งผิดใช้ไม่ได้ แต่ที่โหดรายที่สุดคือราคาที่ค่าดำเนินการต่างๆ แล้วซื้อเบียร์ท้องถิ่นบ้านเราได้เป็นคันรถ แต่ปัญหาทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้พี่ๆ ทีม CHITBEER ยอมแพ้ไปเสียก่อน แต่กลับกลายเป็นเหมือบนพลังที่ผลักดันให้เกิดความพยายามที่จะเอาชนะต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น จนในที่สุดโฮมบรูว์ที่ต้มโดยคนไทยหม้อแรกๆ ก็เกิดขึ้น

Hoegaarden lemon ม ขาย ท ไหน บ าง

และไม่ใช่แค่เพียงทีม CHITBEER เจ้าเดียวเท่านั้นที่เริ่มต้นผลิตเบียร์ในแบบของตัวเอง เพราะในเวลาเดียวกันนั้นเองก็มีผู้ผลิตอย่าง Sandport, Soi Beer, Triple Pearl, Happy New Beer และ Golden Coin ที่ก็เริ่มสร้างผลงานของตัวเอง ปัจจุบันผู้ผลิตเบียร์โฮมบรูว์ของไทยน่าจะมีกว่า 50 เจ้า โดยส่วนใหญ่ผ่านการเรียนการสอนโดยพี่ๆ ทีม CHITBEER ที่เปิด Brewing Academy สอนผู้ที่สนใจอยากรู้อยากเรียนวิธีการต้มเบียร์ด้วยการลงมือทำจริง และก็ยังเกิดสังคมเล็กๆ ของกลุ่มคนที่ทำโฮมบรูว์ ที่แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นต่างๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือกันในการพัฒนาวงการไทยคราฟต์ให้เติบโตอย่างแข็งแรง

Hoegaarden lemon ม ขาย ท ไหน บ าง

ในบทความต่อไปเรา “Wishbros” จะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับผู้ผลิตเบียร์ที่ทำเบียร์ในรูปแบบของโฮมบรูว์ ว่ามียี่ห้อไหนกันบ้าง แต่ละยี่ห้อมีเบียร์รสชาติอะไรบ้างให้ได้เลือกดื่มกัน แต่จะถูกใจหรือไม่นั้นเราถือเป็นความเห็นและความชอบส่วนตัว โดยเราหวังว่าบทความของเราจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ที่มีความรักและหลงใหลในรสชาติของเครื่องดื่มที่เรียกว่า “เบียร์”