Indiana jones 2 ถล ม ว หาร เจ าแม กาล

ฟอร์ด เริ่มแสดงเป็นอินเดียนา โจนส์ ในภาคแรก "เรดเดอร์ส ออฟ ลอสต์ อาร์ค" (Raiders of the Lost Ark) ในปี 1981

แฮร์ริสัน ฟอร์ด นักแสดงอเมริกัน เตรียมกลับมารับบทบาทนักล่าขุมทรัพย์ในภาคที่ 5 ของภาพยนตร์ "อินเดียนา โจนส์" ของค่ายดิสนีย์ครั้ง ซึ่งจะเป็นภาคสุดท้าย

เจมส์ แมนโกลด์ จะเป็นผู้กำกับในภาคนี้ โดยดิสนีย์ได้ประกาศข่าวนี้ผ่านการประชุมออนไลน์กับนักลงทุนของบริษัท พร้อมกับประกาศแผนสำหรับภาคต่อของภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส และภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรของมาร์เวลด้วย

"อินเดียนา โจนส์" ภาค 5 มีกำหนดเข้าฉาย ก.ค. 2022

ย้อนไปเมื่อปี 2013 แฮร์ริสัน ฟอร์ด ให้สัมภาษณ์ว่า ถือเป็นเรื่องที่ "เหมาะสมอย่างยิ่ง" ที่เขาจะกลับมาเล่นบทอาจารย์ด้านโบราณคดีและนักผจญภัยชื่อดังอีกครั้ง

"เราได้เห็นตัวละครนี้มีพัฒนาการและเติบโตขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และก็เหมาะสมอย่างยิ่งที่เขาจะกลับมาอีกครั้งพร้อมกับภาพยนตร์ที่ดีเยี่ยมอีกเรื่องหนึ่ง" ฟอร์ด บอกในตอนนั้นว่า ภาพยนตร์อินเดียนา โจนส์ ไม่จำเป็นต้องมีฉากแอ็คชันมาก

"สำหรับผมแล้ว สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวละครนี้คือ เขายังเอาชนะอุปสรรคได้ เขามีความกล้าหาญ เขามีไหวพริบ และเขามีสติปัญญา เขาหวาดกลัวแต่ก็ยังเอาตัวรอดมาได้ นั่นคือสิ่งที่ผมสามารถทำได้"

แฟรงค์ มาร์แชล ผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ บอกกับเว็บไซต์ข่าวบันเทิงเด็นออฟกีก (Den of Geek) ว่า ไม่ได้คิดจะเอานักแสดงคนอื่นมาแทนที่ฟอร์ด

  • เดฟ พราวส์ จากเด็กครอบครัวชนชั้นแรงงาน สู่บทบาท "ดาร์ธ เวเดอร์"
  • แอนดี กอตต์ส กับผลงาน 30 ปี ที่ถ่ายภาพคนดัง เช่น พอล นิวแมน, เมอรีล สตรีป และมอร์แกน ฟรีแมน
  • บันทึกความทรงจำถึง “ราชาโรงหนังแห่งสยาม” โรงภาพยนตร์สแตนด์อะโลนแห่งสุดท้ายในกรุงเทพฯ

"เรากำลังเขียนบทกันอยู่ ...จะมีอินเดียนา โจนส์ คนเดียวเท่านั้น และนั่นคือแฮร์ริสัน ฟอร์ด"

Indiana jones 2 ถล ม ว หาร เจ าแม กาล

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ฟอร์ด เล่นเป็น อินเดียนา โจนส์ ครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2008

ฟอร์ด เริ่มแสดงเป็นอินเดียนา โจนส์ ในภาคแรก "ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า" (Raiders of the Lost Ark) ในปี 1981 ตามด้วยปี 1984 "ถล่มวิหารเจ้าแม่กาลี" (Indiana Jones and the Temple of Doom) และ "ศึกอภินิหารครูเสด" (the Last Crusade) ในปี 1989 และภาคที่ 4 เมื่อปี 2008 "อาณาจักรกะโหลกแก้ว" (Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull)

ภาคที่ 5 ของอินเดียนา โจนส์ ใช้เวลาสร้างมานานแล้ว มีทีมนักเขียนบทหลายคนเข้ามาร่วมงานแล้วก็ออกไป และการระบาดของโควิด-19 ก็ยิ่งทำให้ทุกอย่างล่าช้าเข้าไปอีก

ในการประชุมกับนักลงทุน ดิสนีย์ประกาศแผนผลิตภาคต่อของภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส อีก 10 ภาค และภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรของมาร์เวลอีก 10 ภาค โดยจะเข้าฉายบนช่องทางออนไลน์ ดิสนีย์พลัส (Disney+) และจะมีภาพยนตร์แอ็คชัน ภาพยนตร์ของพิกซาร์ และภาพยนตร์แอนิเมชัน อีก 15 เรื่องที่จะฉายเป็นครั้งแรกบนช่องดิสนีย์พลัสด้วย

ตอนนี้ ดิสนีย์พลัส มีสมาชิกทั่วโลกถึง 86.8 ล้านรายแล้ว มากกว่าที่คาดการณ์กันไว้ตอนเปิดตัวเมื่อ พ.ย. ปีที่แล้ว

ภาคนี้เล่นกับเรื่องความเชื่อและไสยศาสตร์ รวมไปถึงลัทธิบูชายัญการผจญภัย ประเด็นต่าง ๆ ในเรื่องเช่นความเชื่อ หรือการเล่าถึงตำนานต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบง่าย เรื่องราวตำนานในภาคนี้เป็นของฮินดู เช่น พระศิวะ เจ้าแม่กาลี ศิวลึงค์ สังฆรา

ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 2 ตอน ถล่มวิหารเจ้าแม่กาลี (อังกฤษ: Indiana Jones and the Temple of Doom) เป็นภาพยนตร์แอ็กชันและผจญภัยในชุดอินเดียน่า โจนส์ ถัดจาก Raiders of the Lost Ark (1981) จัดจำหน่ายโดย พาราเมาท์ พิกเจอร์ส ผลิตโดยลูคัสฟิล์ม กำกับโดย สตีเวน สปีลเบิร์ก ฉายตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1984

ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 2 ตอน ถล่มวิหารเจ้าแม่กาลี

Indiana jones 2 ถล ม ว หาร เจ าแม กาล

ใบปิดภาพยนตร์โดย ดรูว์ สตรูซาน

กำกับสตีเวน สปีลเบิร์กบทภาพยนตร์

  • วิลลาร์ด ไฮค์
  • กลอเรีย แคตซ์

เนื้อเรื่องจอร์จ ลูคัสอำนวยการสร้างโรเบิร์ต วัตส์นักแสดงนำ

  • แฮร์ริสัน ฟอร์ด
  • เคต แคปชอว์
  • กวาน เก๊ ฮวี
  • อัมริช ปูรี
  • โรชาน เซธ
  • ฟิลิป สโตน

กำกับภาพดักลาส สโลคอมบ์ตัดต่อไมเคิล คาห์นดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์บริษัทผู้สร้าง

ลูคัสฟิล์ม

ผู้จัดจำหน่ายพาราเมาต์พิกเจอส์วันฉาย8 พฤษภาคม ค.ศ. 1984 (เวสต์วูด) 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1984 (สหรัฐ) 30 มิถุนายน ค.ศ. 1984 (ไทย)ความยาว118 นาทีประเทศสหรัฐภาษาอังกฤษทุนสร้าง28.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐทำเงิน333.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Oops something went wrong:

ส่วนพ่อพระเอกอย่าง Harrison Ford ก็ดังกระหน่ำแบบไม่ลืมหูลืมตา ไหนจะบทพ่อหนุ่มฮาน โซโลจาก Star Wars (1977) แล้วมาดังแบบเกินหน้าเกินตาพระเอกอย่างลุค สกายวอล์คเกอร์ (Mark Hamill) ใน The Empire Strikes Back (1980) ตามด้วยบทนี้อีก ทำให้ผู้กำกับอย่าง Ridley Scott เรียกตัวเขาใช้บริการในหนังไซไฟระดับเยี่ยมยอด Blade Runner (1982) เล่นเอา Ford มีชื่อมีใช้จนใครๆ อิจฉาตาเป็นมันเผากันเลยทีเดียว

หลังจากภาคแรกได้เงินได้คำชมเป็นร้อยกระบุง อีกทั้ง Lucas มีพันธะสัญญากับ Paramount Pictures ว่าต้องสานต่อเรื่องราวตำนานอินดี้อีกหลายภาค ซึ่ง Lucas ก็ไม่เกี่ยงงอนครับพร้อมเดินเครื่องต่อ รอก็แต่ Spielberg จะว่าอย่างไร เพราะปกติขานี้จะไม่รับทำภาคต่อ (อย่างการที่เขาปฏิเสธไม่ยอมกำกับ Jaws 2 เป็นต้น) ด้วยเหตุผลว่าเขาเชื่อมั่นในเรื่องราวที่ทำ ว่ามันได้จบสมบูรณ์ในตัวมันแล้ว ยิ่งเรื่องไหนดังยิ่งเป็นตัวบอกว่าหนังเรื่องนั้นไม่ควรไปยุ่มย่ามอีกเนื่องจากผู้ชมได้แสดงการตอบรับในวงกว้างแล้ว การทำตอนต่อมันเสี่ยงต่อการล้มเหลวและอาจทำลายสิ่งที่ผู้ชมชอบได้

แต่ด้วยมิตรภาพอันดีระหว่างเขากับ Lucas ที่ยืนกรานว่าคนทำ Indiana Jones ได้มีเพียงคนเดียวในโลกก็คือ Spielberg นี่แหละ นอกจากนี้ Spielberg ก็ใจชื้นพอประมาณเพราะ Lucas เองอยู่ในกลุ่มคนทำหนังที่สร้างหนังตอนต่อแล้วรุ่ง ยิ่งไปกว่านั้น Lucas ยังหยอดคำหวานเหมือนกับสมัยที่ชวน Spielberg มาทำอินดี้ภาคแรกว่า “รับรองว่าการทำหนังเรื่องนี้จะไม่ทำให้คุณต้องผิดหวัง” พ่อมดฮออลีวู้ดของเราก็เลยตบปากรับคำว่าจะทำต่อ

จริงๆ ตอนที่ Lucas ชวน Spielberg มาทำหนังภาคแรกนั้น Lucas เคยบอกไว้ว่าเขาตั้งใจจะทำหนังออกมาเป็นไตรภาคและเขาก็คิดพล็อตวางเรื่องทั้ง 3 ภาคไว้แล้ว แต่พอถึงเวลาทำภาคนี้ความก็มาแตกครับ กลายเป็นว่าจริงๆ Lucas ยังไม่มีพล็อตสำหรับภาคอื่นๆ เลย (ตอนนั้นประมาณว่าพูดเพื่อหว่านล้อมให้ Spielberg มาทำน่ะครับ) ทำให้พวกเขาต้องมานั่งคิดพล็อตสำหรับภาคนี้กันใหม่

แต่ยังไม่ทันจะได้ทำอะไร เมฆดำทะมึนก้อนเบ่อเริ่มก็ก่อเค้าก่อนบทหนังซะอีก จู่ๆ ช่วงนั้นชีวิตส่วนตัวของ Lucas เกิดดิ่งลงเหวสวนทางกับความสำเร็จในการทำหนังโดยสิ้นเชิง โดย Lucas หย่ากับภรรยาที่อยู่กินกันมาตั้ง 14 ปี ด้วยอารมณ์แบบนี้แหละที่ส่งผลต่อตัวหนังอินดี้ภาค 2 แบบเต็มๆ เพราะอารมณ์ Lucas ที่เป็นคนคิดเรื่องกำลังมืดสุดขีด เลยจัดการทำหนังออกมาด้วยเจตนาจะให้มันมืดแบบเต็มที่กันไปเลย ถึงขนาดวางเรื่องไว้ว่าจะทำหนังให้ออกมาสยอง แต่พอเวลาผ่านไปสักระยะพอใจเริ่มร่มเย็นลง สติก็ค่อยๆ กลับมาพร้อมความคิดที่ว่าขืนทำหนังตอบสนองด้านมืดตัวเองมากเกินไป มีหวังได้ทำลายชีวิตอินเดียน่า โจนส์ลงแหงๆ Spielberg ก็คอยช่วยให้เพื่อนเย็นลงมาหน่อย ช่วยกันผูกเรื่องและบทใหม่ให้มันเข้าท่าเข้าทาง ไม่หนักเกินไปและไม่ไร้สาระเกินงาม

แนวคิดอย่างแรกของ Lucas คือการผจญภัยครั้งนี้เขาไม่ต้องการให้อินดี้เจอกับพวกนาซีอีกต่อไป เพราะมันจะเป็นการย่ำของเดิม Spielberg ก็เห็นพ้องด้วย เลยเสนอให้หนังอินดี้ภาคนี้ย้อนไปก่อนหน้าเหตุการณ์ในภาคแรกสมัยที่นาซียังไม่เรืองอำนาจ

แล้วก็มาถึงพล็อตล่ะครับ จุดสำคัญของหนังอินดี้คือการตามล่าหาขุมทรัพย์และการผจญภัย ซึ่งก็ต้องมานั่งล้อมวงคิดกันว่าจะเอาอะไรมาให้อินดี้ตามหาดี โดยคราวนี้ Lucas และ Spielberg นั่งคิดกันสองคนเพราะมือเขียนบทภาคแรกอย่าง Lawrence Kasdan บอกปัดไม่กลับมาร่วมงาน ซึ่งเขาบอกเหตุผลในภายหลังว่าเขาไม่ชอบทิศทางของภาคนี้ที่ออกแนวหม่นมืดและน่ากลัวจนเกินไป (ตามความต้องการของ Lucas)

ด้วยความที่ Lucas อารมณ์ยังค้างคาอยู่กับด้านมืดของชีวิต เลยเขียนเรื่องราวออกมาแต่ในทางหม่นๆ อย่างเห็นได้ชัด เช่น พล็อตเริ่มแรกนั้นตั้งใจจะพาอินเดียน่า โจนส์ไปเผชิญกับปราสาทผีสิงที่สก็อตแลนด์ แต่ Spielberg ก็ออกความเห็นว่าการเอาเรื่องบ้านผีสิงไปใส่ในหนังอินเดียน่า โจนส์นั้นมันออกจะไม่เข้ากันเท่าไร เพราะหากเอาผีสางเหนือธรรมชาติมาผูกกับสมบัติมันจะกลายเป็นหนังแนวลึกลับปนสยอง จนอาจทำให้ตัวอินดี้หลุดจากความเป็นนักผจญภัย นอกจากนี้ Spielberg ยังเพิ่งทำหนังแนวบ้านผีสิงอย่าง Poltergeist ออกมาหมาดๆ เขาเลยไม่อยากทำอะไรที่มันซ้ำทาง

Spielberg เลยเสนอให้ Lucas คงคอนเซปต์ว่าด้วยการตามล่าหาสมบัติเอาไว้ หากจะให้มีอารมณ์สยองพองขนก็ขอให้แทรกลงมาอย่างบางๆ ก็พอ นึกถึงตอนนี้แล้วก็แอบขำไม่ได้ เพราะภาคแรกถ้าจำกันได้ Spielberg นี่แหละที่หมายจะแต่งเรื่องอินดี้ให้กลายเป็นไซไฟ จน Lucas ต้องเบรกว่า “เฮ้ นี่มันหนังผจญภัยนะเพื่อน” แต่พอมาภาคนี้ Spielberg ดันเป็นคนเบรกเพื่อนแทน

เมื่อเข้าใจตรงกัน Spielberg เลยเสนอบ้างว่า ตอนนั้นเขากำลังสนใจตำนานหนึ่งอย่างยิ่ง และคิดว่าต้องสนุกแน่นอนหากสามารถผูกเรื่องให้อินดี้ไปเจอกับตัวละครนี้ได้ ตัวละครที่ว่าคือ Monkey King หรือซุนหงอคงนั่นเอง Spielberg ไม่เพียงแต่คิดอย่างเดียวครับ ยังผูกเค้าโครงไว้อีกต่างหาก กะให้อินดี้ผจญภัยไปยังวิหารที่บูชาปีศาจพร้อมทำการเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์เป็นว่าเล่น เขาเลยต้องหาทางหยุดยั้งพวกมันพร้อมทั้งหาทางไขปริศนาความลับเกี่ยวกับสมบัติของราชาวานร (คล้าย The Forbidden Kingdom ใช่ไหมครับ ก็ว่ากันว่าแนวเรื่องของ FK น่ะได้แรงเสริมจากพล็อตนี้นิดหน่อย)

Lucas ก็เสนอความเห็นว่าจะให้ฉากเปิดเรื่องเป็นฉากไล่ล่าบนกำแพงเมืองจีน แล้วยังออกไอเดียว่าจะให้มีการผจญภัยในดินแดนดึกดำบรรพ์ที่มีไดโนเสาร์อาศัยอยู่ด้วย (ว่าง่ายๆ คือจะพาอินดี้ได้เจอไดโนเสาร์ด้วยครับ)

เมื่อคิดไปได้สักพักทั้งสองก็ต้องพบกับอุปสรรคใหญ่เบิ้ม เพราะทางการจีนไม่อนุญาตให้ทีมงานไปถ่ายทำในประเทศจีนอันขาดครับ อีกทั้งพอมาคิดๆ ดูพวกเขาก็ยอมรับว่ายังไม่ค่อยคุ้นเคยกับวัฒนธรรมจีนสักเท่าไร ในที่สุดพวกเขาเลยต้องยอมเปลี่ยนโลเกชั่นและตัวสมบัติ โดยยังคงแนวเรื่องให้อินดี้ไปเจอกับวิหารบูชาปีศาจและต้องทำการชิงขุมทรัพย์พร้อมทั้งปลดปล่อยผู้คนให้พ้นภัย

พอผ่านไปสักระยะพล็อตเริ่มเดินเครื่องอีกครั้งเมื่อพวกเขาได้ไปพบตำนาน Sankara ที่ว่าด้วยนักบวชสังคาราผู้เดินทางขึ้นเขาไกรลาศไปเฝ้าพระศิวะ ด้วยความศรัทธาที่เขามีทำให้พระศิวะประทานศิวลึงค์ทั้ง 5 เพื่อใช้มันต่อสู้กับความชั่วร้ายบนโลก แต่ด้วยมันเป็นวัตนธรรมแถบอินเดีย ซึ่งพวกเขาไม่คุ้นเคยอีกนั่นแหละ ตอนแรกก็ทำท่าจะถอดใจ ทว่าลองคิดอีกทีทั้ง Lucas และ Spielberg เห็นว่าการเอาเรื่องของซีกโลกโน้นมาถ่ายทอด เท่ากับนำพาความสดใหม่มาให้วงการได้

Lucas เลยไปตามเอา Willard Huyck และ Gloria Katz คู่สามีภรรยาที่เคยช่วยเขาเขียนบท American Graffiti (1973) จนหนังเข้าชิงออสการ์ในสาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมาแล้ว ซึ่ง Lucas รู้ดีกว่าสองคนนี้ชื่นชอบสนใจในวัฒนธรรมอินเดียมานาน เลยจัดการส่งแนวคิดต่อให้สองคนนี้สร้างบทขึ้นมา พร้อมทั้งยังส่งเอาบทและฉากที่ไม่ได้ใช้จากภาคที่แล้วอย่างการไล่ล่าที่เซี่ยงไฮ้, ฉากไล่ล่าในเหมืองและฉากหล่นจากเครื่องบินมาล่องเรือยางต่อกลางแม่น้ำ ให้สองสามีภรรยาจัดแจงใส่ลงไปในหนังด้วย

ทีนี้ทุกอย่างเลยลงล็อกครับ ได้บท ได้คนกำกับ ส่วนดารานั้นได้ Ford กลับมารับบทเดิม สำหรับนางเอกตอนแรก Spielberg อยากให้ Karen Allen กลับมาสวมบทแมเรียน เรเวนวู้ด แต่ก็ตัดสินใจเปลี่ยนเป็นคนใหม่ เพราะเขาอยากคงคอนเซปต์ให้หนังมีกลิ่นอายบางอย่างคล้ายเจมส์ บอนด์ 007 ที่มีการเปลี่ยนผู้หญิงในทุกภาค เลยต้องมีการสร้างคาแรคเตอร์นำหญิงขึ้นมา และเธอก็คือ วิลลี สก็อตต์ นักร้องสาวเสียงทองที่จับพลัดจับผลูต้องมาผจญภัยกับอินดี้ด้วย ในรอบแรกทีมงานได้เลือก Sharon Stone ให้มาลองเล่น ซึ่งเธอก็เป็นตัวเลือกแรกเลยครับ กะว่าถ้าไม่มีใครเล่นได้ดีกว่าก็จะให้แสดงนำ แต่ปรากฎว่า Kate Capshaw ที่มาทีหลังกลับเล่นได้น่ารักเข้ากับ Ford ได้เหมาะกว่า ทำให้ Stone หลุดจากโผ Capshaw เข้ามาเสียบแทน นอกจากนี้หนังยังมีดารารุ่นเยาว์มารับบทลูกน้องตัวจิ๋วของอินดี้ เขาคือ ช็อตราวน์ แสดงโดย Ke Huy Quan ส่วนตัวร้ายภาคนี้เพื่อให้เหมาะจึงต้องมอบบทให้กับดาราอินเดีย และผู้ที่รับหน้าที่ไปคือ Amrish Puri ดาราที่ผูกขาดบทร้ายๆ ถ้าไม่เป็นมารก็เป็นหมอผีใจเหี้ยมในหนังภารตะอยู่เสมอ เรียกว่าเลือกมาได้เหมาะดีครับ

แล้วทุกอย่างก็เข้าที่ การถ่ายดำเนินไปทั้งสิ้น 85 วัน พร้อมทุนสร้าง $28 ล้านเหรียญ เรื่องราวย้อนไปปี 1935 ก่อนเหตุในภาคแรก เปิดมาก็จะได้พบดร.อินเดียน่า โจนส์ (Ford) มาในมาดยังกับเจมส์ บอนด์แน่ะครับ มาแลกของกับผู้ร้าย แต่ไปๆ มาๆ ก็หักหลังกัน จนส่งผลให้อินดี้, ช็อตราวน์และ วิลลี่ที่ติดร่างแหมาด้วย ระเห็จไปถึงแม่น้ำในอินเดีย ที่นั่นเองเขาได้พบกับหมู่บ้านเล็กๆ ที่กำลังประสบความทุกข์อย่างแสนสาหัส เนื่องจากมีคนจากลัทธิชั่วร้ายผู้บูชาเจ้าแม่กาลีมาขโมยหินศิวลึงค์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านไป ซ้ำยังจับเด็กๆ ไปจนหมด อินดี้เลยรับอาสาไปตามหาความจริงที่วังแพนค็อต วิหารโบราณที่ร้างมานาน แต่ตอนนี้ได้มีมหาราชาคนใหม่มาปกครอง ฉากหน้าของวังแพนค็อตนั้นดูเป็นวังธรรมดา แต่เมื่ออินดี้ลองตระเวนดูก็ได้พบกับความลับ แท้จริงแล้วใต้วังแพนค็อตมีลัทธิชั่วร้ายซ่อนอยู่ พวกมันทำการเข่นฆ่าซ้ำยังจับเด็กๆ มาใช้แรงงานเยี่ยงทาส หัวหน้าของพวกมันคือ โมลา แรม (Puri) ที่หมายจะครอบครองหินศิวลึงค์ทั้ง 5 ก้อน เพื่อมันจะได้มีอำนาจเหนือใคร งานนี้อินดี้ก็ทนไม่ได้ล่ะครับ ต้องจัดการปลดปล่อยเด็กๆ และถล่มวิหารเจ้าแม่กาลีลงให้ได้

ผลตอบรับของหนังภาคนี้คือ เป็นตอนที่มีคนชอบน้อยที่สุด เนื่องจากสไตล์เรื่องราวออกมาหม่นมืดมาก ไม่เหมาะสำหรับเด็ก แม้ Spielberg จะพยายามหยอดมุกลงไปแบบเต็มพิกัดแล้วก็ตาม (อย่างฉากกลางป่าที่วิลลี่กรี๊ดสลบกับเหล่าสรรพสัตว์ที่พาเหรดกันมาทักทายเธอ) แต่หากมองให้ลึกแล้วจะพบว่าการที่หนังไม่ลงตัว ส่วนสำคัญก็มาจากการที่พล็อตเรื่องและคนทำมาจากคนละวัฒนธรรมกันนั่นแหละ

ถ้าสังเกตให้ดีนะครับ จะพบว่า Indiana Jones ภาคแรกและภาคสามที่ออกมายอดเยี่ยมลงตัวก็เนื่องจากเนื้อหาเรื่องราวมันผูกขึ้นโดยเอาตำนานความเชื่อของชาวคริสต์มาบอกเล่าทั้งสิ้น เช่นในภาคแรกกับเรื่องหีบศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นตำนานเก่าแก่ของชาวยิวซึ่ง Spielberg ก็มีเชื้อยิวอยู่ ส่วนภาคสามที่เป็นการค้นหาจอกศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Grail) ก็เป็นตำนานที่ชาวคริสต์ทุกคนไม่ว่าจะผู้กำกับ คนเขียนบทหรือทีมงานต่างเคยได้ยินกัน เป็นนิทานก่อนนอนมาแต่ไหนแต่ไร

ทว่าในภาคนี้หนังจับเอาเรื่องราวตำนานอินเดียและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู (ตำนานพระศิวะ เจ้าแม่กาลี ศิวลึงค์) มาบอกเล่า จุดนี้แม้คนทำจะค้นคว้าหาข้อมูลอย่างไร แต่มันก็ไม่ได้ซึมลึกลงไป ทำให้แม้หนังจะมีฉากบู๊ที่ดี ฉากการผจญภัยที่เร้าใจ แต่ในเรื่องว่การเล่าตำนานซึ่งเป็นพลังสำคัญที่ทำให้หนังภาคแรกมีคนชื่นชอบตลอดกาล ก็เพราะมันเล่าแบบถึงวิญญาณกว่ากันเยอะ ไม่เชื่อลองเทียบฉากที่อินดี้เล่าถึงตำนานของหีบศักดิ์สิทธิ์ในตอนแรกสิครับ ผมฟังแล้วชวนขนลุกเลยทีเดียว แต่สำหรับตำนานหินศักดิ์สิทธิ์นี้ หนังเล่าได้น่าสนใจ แต่ยังไม่เร้าความรู้สึกคนดูเท่าที่ควร เหมือนว่าฟังแล้วมัน “รู้เรื่อง” แต่ไม่ “รู้สึก”

กระนั้นก็ไม่ได้แปลว่าหนังภาคนี้ย่ำแย่นะครับ การที่คนพากันออกมาสับตอนหนังฉายก็เนื่องจากมีการเอาไปเปรียบกับภาคแรกที่ดูลงตัวกว่า ส่วนภาคนี้แม้จะมีฉากแอ็กชันมากและการผจญภัยเยอะ แต่ฝรั่งมั่งค่าไม่ได้รู้จักเรื่องราวของศาสนาฮินดูกันซักเท่าไร ก็เลยไม่ค่อยจะมีอารมณ์ร่วมไปกับหนัง แต่ถ้าถามผม ผมว่าหนังอินดี้ภาคนี้แม้จะไม่ดีเด่เท่าตอนอื่น แต่อรรถรสความสนุกยังมีอยู่ นอกจากฉากการผจญภัยและฉากแอ็กชันแล้ว หนังยังมาพร้อมอารมณ์ขันที่มากกว่าภาคแรกเยอะ (ก็บอกแล้วไงครับ ภาคนี้เรื่องมันชวนผวา เลยต้องหาตัวเบรกหน่อย) ฉากก็ดูลงทุนขึ้น อย่างฉากวิหารเจ้าแม่กาลีใต้วังแพนค็อตนั่น และอาจเพราะผมเป็นผู้ใหญ่ที่ชอบดูหนังสยองมาแต่ไหนแต่ไร เลยออกจะสนุกกับฉากชวนหวีดในเรื่องที่ผมว่า Spielberg ทำออกมาได้มีระดับทีเดียวล่ะครับ น่ากลัวแบบหนังเกรดเอน่ะ ไม่ต้องหัวขาด ไม่ต้องเสือดสาด เอาแค่คนค่อยๆ โดยหย่อนลงลาวาหรือฉากที่อินดี้โดนสะกดด้วยโลหิตเจ้าแม่กาลีก็ได้อารมณ์หนังสยองกำลังเหมาะเลยล่ะครับ

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมชอบเพราะมันคือเครื่องหมายการค้าอันดับหนึ่งของ Spielberg ซึ่งก็คือ “ปมพ่อลูก” อันนี้ใครดูหนังของเขาบ่อยต้องร้องอ๋อครับ แกย้ำปมนี้ทุกเรื่อง ซึ่งปมที่ว่านี้ก็แสดงผ่านความสัมพันธ์ระหว่างอินดี้กับช็อตราวน์ครับ ที่ดูแล้วมันให้อารมณ์พ่อลูกที่คอยดูแลกันมากกว่าจะเป็นเจ้านายกับลูกน้อง อย่างฉากที่ช็อตราวน์พยายามเลียนแบบอินดี้ หรือเวลาเกิดเรื่องอะไรก็ตามเจ้าหนูจะตะโกนเรียก ดร.โจนส์ก่อนจะแสดงอาการตกใจซะอีก แบบนี้แหละครับเหมือนพ่อลูกไม่มีผิด

ฉากที่สื่อถึงปมนี้สุดๆ หนีไม่พ้นตอนที่อินดี้โดยโมลา แรมสะกดให้อยู่ใต้อำนาจ ปรากฏว่าอินดี้กลายเป็นทาสเจ้าแม่ไปเรียบร้อย ทำอะไรตามคำสั่งโมลา แรมหมด แม้แต่จับตัววิลลี่ใส่กุญแจมือเท้าเพื่อเตรีบมถูกบูชายัญก็ทำโดยไม่กระพริบตา ดีที่ช็อตราวน์วิ่งเข้ามาหาทางทำให้อินดี้คืนสติ จนต้องเอาคบไฟไปจี้นั่นแหละเรื่องราวถึงพลิกผัน พระเอกค่อยรู้สึกตัวอีกรอบ ก็แสดงถึงความรักระหว่างเขาทั้งสองล่ะครับ อีกอย่างยังสื่อความแบบคำโบราณว่า รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี หากไม่อยากให้ลูกหลงผิดก็ต้องสั่งสอนบ้าง แรงนิดหน่อยก็จำใจ ในเรื่องนี้ก็สื่อประเด็นนั้นในมุมกลับครับ ว่าเมื่อลูกหลานเห็นบุพการีเดินทางผิดก็ต้องหาทางกระตุ้นให้กลับมามีสติเป็นคนดีให้ได้

ถึงตรงนี้ผมลองอ่านที่ตัวเองเขียนอีกรอบ ก็ได้ความว่าหนังเรื่องนี้ “ตามใจคนทำ” แท้ๆ ดังนั้นคนดูที่ไม่ชอบเลยมีพอสมควร แต่ถ้าใครรู้ใจรู้อารมณ์ของคนทำล่ะก็ จะสนุกกับการดูประเด็นที่พวกเขาพยายามแทรกไว้ครับ

แล้วยังมีมุกวงในที่คนทำสนุกกันเองอีกอย่างคือ ทั้ง Spielberg, Lucas และ Frank Marshall ผู้อำนวยการสร้างภาคแรก พร้อมใจกันมาโผล่ให้เห็นแว้บๆ ในหนังตอนฉากต้นเรื่องที่อินดี้กับพวกหนีผู้ร้ายมาถึงสนามบิน อีกทั้งฉากเดียวกันนี้ยังได้ดารารับเชิญอีกหนึ่ง เขาคือ Dan Aykroyd หนึ่งในหมอผีไฮเทคแห่ง Ghost Busters ที่มาโผล่ในบทเอิร์ล เวเบอร์ คนที่โอบไหล่บอกกับอินดี้ว่าเตรียมเครื่องบินไว้ให้แล้วนั่นแหละครับ ซึ่งพี่แกก็มาตามสัญญาแลกเปลี่ยนที่ Spielberg แกเคยไปโผล่ในหนัง The Blues Brothers หนังเพลงสุดสนุกสนานที่ Aykroyd แสดงนำ เขาเลยต้องมาโผล่ให้เป็นการตอบแทน (รีบไปหาแผ่นมาเปิดอีกรอบเลยครับจะได้เห็นกันถ้วนหน้า)

แม้ภาคนี้จะโดนวิจารณ์ลบอย่างไรก็ตาม หนังก็ยังทำเงินทั่วโลกสูงถึง $333,107,271 เหรียญ ก็ยังเข้าข่ายประสบความสำเร็จมหาศาลอยู่ดี ผมเองก็ตัดสินใจเอามาดูย้อนอีกตอนเขียน Retro ก็ยังรู้สึกว่ามันสนุกใช้ได้ครับ อีกอย่างผมว่าบทหนังเองยังสามารถอธิบายว่าทำไมอินดี้ถึงเป็นนักผจญภัยฝ่ายคุณธรรม ดูจากฉากแรกของภาคนี้สิครับ อินดี้พยายามเอาวัตถุโบราณขายให้เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (ไม่ใช่สี่เหวินเฉียงหรือติงลี่นะ) ด้วยท่าทีลิงโลดอย่างยิ่ง ซึ่งแสดงว่าพี่แกก็ยังยึดติดกับเรื่องเงินทองอยู่ แต่จุดเปลี่ยนมันเริ่มตอนที่อินดี้ต้องมาเจอกับคนที่ใช้วัตถุโบราณในทางร้าย (อันได้แก่ลัทธิเจ้าแม่กาลีและการใช้อำนาจศิวลึงค์ในทางมิชอบ) ซ้ำยังมีเด็กต้องตายอีก มันเลยทำให้คิดได้ว่านักโบราณคดีอย่างเขาอยู่ในฐานะที่สามารถปกป้องทั้งของขุมทรัพย์และผู้คนให้รอดพ้นจากภัยได้ นอกจากนี้เขายังประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ของศิวลึงค์ ทำให้จากเดิมที่เขาไม่เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์ของเทพเจ้าก็หันมาเชื่อและศรัทธา อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้อินดี้รู้ว่าไม่ควรมองยามที่พวกนาซีเปิดหีบในภาคแรก เพราะเขารู้ว่ามันคืออำนาจที่มนุษย์จะแตะต้องมิได้!

ลองมาคิดแบบนี้แล้วทำให้รู้สึกว่าเรื่องภาคสองของอินเดียน่า โจนส์ถือว่าน่าพอใจ เพียงแต่รูปลักษณ์และการเดินเรื่องอาจยังไม่ลื่นเต็มที่เท่านั้นเอง ทว่าก็ยังถือเป็นหนังผจญภัยที่ดูสนุกมาอีกเรื่องครับ

แถมท้ายนิดนึงกับเรื่องราวส่วนที่เกือบจะได้รับการต่อเติม แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ต่อเพราะเนื้อหามันเยอะอยู่แล้ว ความจริงคือหินศิวลึงค์ ที่ว่านี้มี 5 ก้อนด้วยกัน แต่ในหนังเราจะได้เห็นแค่สามก้อน ส่วนอีกสองก้อนนั้นถูกซ่อนอยู่ที่ใดที่หนึ่งใต้วังแพนค็อต (ซึ่งเป็นคำอธิบายว่าทำไมโมลา แรมถึงต้องให้เด็กๆ ขุดเหมืองใต้ดิน) แต่อย่างที่บอกครับ แค่นี้เรื่องก็ยาวจนเล่าไม่หมดแล้ว เลยต้องตัดออกไปเหลือหินเพียงสามก้อนเท่านั้น

แม้หนังจะได้ไม่รับคำชมมากมาย แต่คำอธิบายหลายๆ อย่างที่ผมบอกไปนี้คงพอจะทำให้คุณดูอินดี้ภาคหม่นมืดนี้ได้สนุกขึ้นนะครับ

มานึกๆ ดู คำพูดของ Lucas ที่เคยบอกว่า Spielberg จะไม่ผิดหวังหากทำภาคต่ออินดี้ แต่ปรากฎว่าการตอบรับไม่ดีนัก รวมถึงการถ่ายทำก็ทุลักทะเล เรียกว่า Spielberg ไม่ได้ชอบหนังภาคนี้พอๆ กับตอนถ่ายทำน่ะแหละ แต่แล้วคำพูดของ Lucas กลับเป็นจริงในอีกหลายปีต่อมา เพราะเขาได้สานต่อสัมพันธ์รักกับ Kate Capshaw จนได้สมรักแต่อยู่กินกัน จวบจนปัจจุบัน… Lucus ไม่ทำ Spielberg ผิดหวังจริงๆ ได้เมียมาตั้งคนแน่ะ

ครั้งหน้าเตรียมพบกับบทที่สามของตำนาน Indiana Jones ครับ ในอินดี้ภาคที่ Spielberg บอกว่าชอบที่สุด

ภาคนี้ก็ประมาณ สองดาวครึ่งครับ

Indiana jones 2 ถล ม ว หาร เจ าแม กาล

(7.5/10)

Indiana jones 2 ถล ม ว หาร เจ าแม กาล

(อันนี้คือบทความดั้งเดิมที่ผมเคยเขียนไว้ครับ)

อินเดียน่า โจนส์ (Harrison Ford) กับการผจญภัยลำดับถัดมาครับ เปิดเรื่องมาเขาก็ต้องเจอกับการตามล่าของมาเฟียในเซี่ยงไฮ้ แล้วก็สามารถเอาตัวรอดมาได้พร้อมกับ วิลลี่ สก็อตต์ (Kate Capshaw) นักร้องสาวที่ตกกระไดพลอยโจนมากับเขาด้วยตอนตีกันในคลับและ ช็อตราวน์ (Ke Huy Quan) เด็กน้อยที่คอยติดสอยห้อยตามอินดี้ จากเซี่ยงไฮ้เครื่องบินก็นำพวกเขาไปยังหมู่บ้านห่างไกลแถบอินเดีย ที่นั่นเขาก็ได้พบกับชาวบ้านที่กำลังเดือดร้อน เนื่องมาจากมีผู้มาขโมย ศิวลึงค์ หินศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านไป แล้วยังจับตัวเด็กๆ ทั้งหมู่บ้านไปด้วย งานนี้อินดี้ก็เลยต้องเอาตัวไปเผชิญกับอันตรายครั้งใหม่จนได้

ภาคนี้ เล่นกับเรื่องความเชื่อและไสยศาสตร์ รวมไปถึงลัทธิบูชายันต์ โทนหนังเลยมืดๆ ครับ น่ากลัวสำหรับเด็กพอสมควรถ้าจะว่าไปแล้วน่ะนะครับ แต่ผู้กำกับ Steven Spielberg แกก็พยายามทำออกมาให้โทนหนักน้อยที่สุด เลยมีมุขค่อนข้างมาก

ผม รู้สึกว่าการผจญภัยครั้งนี้มันทำให้ย้อนนึกถึงหนังเก่าๆ น่ะครับ ประเภทเดินทางไปยังดินแดนที่ลึกลับ (ในป่าอะไรเงี้ย) แล้วก็ไปพบปราสาทหลังโตๆ แล้วตัวเอกก็ได้รับการต้อนรับจากเจ้าของปราสาท ก่อนจะต้องมาผจญภัยเอาตัวรอดและค้นหาความลับในนั้นอีกที สไตล์และจังหวะของหนังมันก็ประมาณนั้นเลยครับ ซึ่งมันก็เข้าท่าดีเหมือนกัน แล้วก็ต้องชมเฮีย Spielberg แกด้วยที่ทำออกมาได้ไม่เลวครับ น่าติดตามและสนุกดี ใส่ฉากผจญภัยลงมาแบบ Non-Stop เดี๋ยวก็ตกลงมา ล่องแพ ซักพักพอเข้าถ้ำก็ต้องเจอผู้ร้ายอีกไรเงี้ย เลยทำให้หนังไม่น่าเบื่อครับ

สำหรับ ผมแล้วการผจญภัยครั้งนี้ของอินดี้นับว่าสนุกน้อยที่สุดในบรรดาหนังทั้ง 3 ภาค คือไอ้เพลินมันก็เพลินครับ ดาราก็ดี ความน่าติดตามก็มี มุขตลกก็มาก หรือแม้แต่ปมแบบ Spielberg ก็ยังโผล่เข้ามาในเรื่องด้วย นั่นคือ เรื่องเกี่ยวกับพ่อลูก (ในเรื่องก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอินดี้กับช็อตราวน์นั่นเอง)

แต่ถึงกระนั้น ประเด็นต่างๆ ในเรื่องเช่นความเชื่อ หรือการเล่าถึงตำนานต่างๆ มันกลับเป็นไปอย่างนิ่งๆ เนิ่บๆ ยังไงชอบกลก็ไม่รู้ มันไม่ได้เร้าใจหรือชวนค้นหาเท่าตอนแรก (หรือตอน 3 ด้วย) ซึ่งถ้าถามว่าทำไมเป็นเช่นนั้นผมก็เดาว่าคงเพราะ เรื่องราวตำนานในภาคนี้มันเป็นของฮินดู (ตำนานพระศิวะ เจ้าแม่กาลี ศิวลึงค์ สังฆรา) ซึ่งทีมงานไม่ได้คุ้นเคยเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่เขาเป็นชาวคริสต์กัน

จากการสังเกตนะครับ ภาคแรกเรื่องหีบศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุบัญญัติ 10 ประการที่โมเลสนำลงมาจากยอดเขา ซึ่งเรื่องนี้ Spielberg แกรู้ดีอยู่แล้วล่ะครับ เพราะเขาก็มีความเป็นยิวอยู่ เรื่องพวกนี้ก็ซึมลึกอยู่แล้ว ส่วนภาค 3 หนังก็เล่นเรื่องจอกศักดิ์สิทธิ์หรือจอกกาลิสที่พระเยซูใช้ในการเสวยพระ กระยาหารมื้อสุดท้ายและตำนานนี้ยังเกี่ยวโยงมาถึงเรื่องของสงครามครูเสดและ อัศวันโต๊ะกลมอีกด้วย นี่จึงเป็นอะไรที่ทีมงานคุ้นเคยเพราะชาวคริสต์ล้วนได้รับการบอกเล่ามา ตั้งแต่เด็กๆ แต่กับเรื่องของฮินดูนั้น แม้คนจะเล่ามาให้ฟังหรือค้นคว้าข้อมูลเท่าไร มันก็ได้แค่รับรู้ แต่ไม่ได้ซึมลึกลงไป ดังนั้นการถ่ายทอดออกมาเป็นหนังมันจึงเป็นไปตามที่ได้ “รับรู้” เท่านั้น ไม่ไ่ด้เป็นไปตามที่ “รู้สึก”

อีกอย่างถ้าคนดู หนังแล้วน่าจะจำได้ ว่ามีการพูดถึงว่าศิวลึงค์แท้จริงมี 5 ก้อน แต่ในหนังจะปรากฎเพียง 3 ก้อนเท่านั้นเอง ส่วนอีก 2 ก้อน โมลา แรม (Amrish Puri) ตัวร้ายของเรื่องได้บอกไว้ว่ามันถูกฝังอยู่ใต้บริเวณวังแพนคอตนั่นเอง แต่หลังจากนั้นก็ไมไ่ด้มีการค้นหาต่อแต่อย่างใด จุดนี้ผมก็รู้สึกตะหงิดๆ อยู่บ้าง ที่ไหนๆ ก็มีการพูดถึงแล้วยังมีการนั่งรถรางลงไปใจกลางอุโมงค์ใต้ดินด้วย มันก็น่าจะมีการเจอบ้าง แต่นี่ศิวลึงค์สองก้อนนั้นก็หายไปเลย ไม่ไ่ด้เอาไปใช้เป็นประเด็นอะไรอีก ซึ่งก็น่าเสียดายอยู่บ้างที่ไหนๆ ก็พูดถึงแล้วน่ะ อีกอย่างนี่มันหนังผจญภัย ถ้ามีการค้นเจออะไรแบบนี้มันคงจะตื่นเต้นไม่ใช่น้อย

ซึ่งถ้าลอง พิจารณาดูจากหนังสามภาค ภาคแรกกับภาคสาม อินดี้ค้นหาทั้งหีบและจอกด้วยแรงศรัทธาและความเชื่อมาแต่ครั้งยังเด็ก แต่กับภาคนี้เขาค้นหาศิวลึงค์ด้วยความบังเอิญมากกว่า ไม่ได้มีเจตนาแต่เริ่มต้น

นี่ไม่ได้จับผิดอะไรนะครับ แค่นั่งดูแล้วก็ว่าตามที่คิดเท่านั้นเองว่าทำไมการดำเนินเรื่องในภาคนี้มัน ถึงสู้อีก 2 ภาคไม่ได้ ซึ่งตอนผมดูภาคแรกนี่ที่เขาร่ายกันถึงตำนานหีบ ที่มาและการหายไปของมัน รู้สึกบทพูดมันเป็นไปอย่างเผ็ดร้อนและเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกตื่นเต้น ปมก็มีการทิ้งตลอดให้เราสงสัยว่า หีบนี้มีอะไรอยู่กันแน่ แต่กับภาคนี้เหมือนเล่าๆ มายังงั้นน่ะ ไม่ได้ชวนลุ้นเท่าไหร่เลย

สงสัยว่าที่ The Color Purple มันไม่ค่อยเต็มที่เท่าไหร่ก็น่าจะมาจากเหตุผลเดียวกันนี่แหละครับ

แต่ หนังก็ดูสนุกครับ ผมชอบไอ้พวกฉากตอนเข้าถ้ำมากเลย ทั้งแหยงทั้งได้อารมณ์ แมลงไต่เพียบ นี่แหละให้อารมณ์หนังผจญภัยแท้ๆ เลยครับ ทางเข้าทางลับทั้งหลายมันต้องแบบนี้แหละ ต้องมีทั้งฝุ่น ทั้งแมงไต่กันแบบนี้แหละ ดาราก็แสดงกันได้ดีทุกคน ยิ่งไปกว่านั้นหนังยังมีบทรับเชิญอีกเพียบ ไม่ว่าจะ Spielberg และ George Lucas ก็มาโผล่แบบแว่บๆ เป็นมิชชั่นนารีที่เดินอยู่แถวสนามบินตอนต้นเรื่อง Frank Marshall ก็มาด้วยในฉากเดี่ยวกันน่ะแหละฮะ แต่เขาเป็นนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ฉากที่ว่ายังมีดารารับเชิญอีกคนที่โผล่มาแบบเห็นหน้าชัดกว่าใคร เพื่อน นั่นก็คือ Dan Aykroyd เจ้าหน้าที่สนามบินที่เดินไปคุยไปกับอินดี้นั่นแหละครับ ที่เขามาโผล่เรื่องนี้ก็เพราะ Spielberg เคยไปโผล่ใน The Blues Brothers มาก่อน นี่จึงเป็นประมาณโครงการแลกเปลี่ยนอะไรยังงั้นน่ะครับ

Ford คล่องสุดๆ กับบทครับ ส่วน Capshaw ก็ดูน่ารักวุ่นวายดี ตอนแรกได้ข่าวว่า Sharon Stone จะมารับบทนี้นะครับ แต่ก็ไม่ได้เล่น หวยมาลงที่ Capshaw แทน (แต่ผมก็อยากเห็นเธอเล่นบทแบบนี้แฮะ น่าจะเข้าท่า), ดาราเด็ก Ke Huy Quan ก็ไปได้ดีกับบทนี้ครับ ช่วงแรกเขาดูจะยังไม่เข้าที่นัก แต่มาหลังๆ นี่ก็สามารถตีตื้นขึ้นมาได้

ดาราต่างชาติที่มารับบทสำคัญในเรื่องก็ มีอย่าง Roy Chiao นักแสดงชาวจีน – ฮ่องกงที่คอหนังจีนเก่าๆ น่าจะคุ้นหน้า เพราะเขาเล่หนังอยู่เพียบครับ เล่นหนัง Bruce Lee ก็หลายอยู่ มาเล่นเป็น เล่าชิ เจ้าพ่อแห่งเซี่ยงไอ้ที่มีเรื่องกับอินดี้ ซึ่งเขาเสียชีวิตไปเมื่อปี 1999 นี่เองล่ะครับ ส่วนอีกคนก็คือ Amrish Puri กับบทตัวร้ายของเรื่อง โมลา แรม คนนี้คอหนังอินเดียก็น่าจะคุ้นครับ เพราะเขาเล่นหนังไว้เยอะมาก ร่วมๆ 200 เรื่อง ซึ่งท่านนี้ก็เสียชีวิตไปแล้วเช่นกันเมื่อต้นปีนี้เอง (12 มกรา) ก็ขอไว้อาลัย ณ. ที่นี้ด้วยครับ

สรุปว่าหนังดูได้ ไม่ผิดหวัง เพียงแต่มันยังไม่ถึงเครื่องเท่านั้นเอง

หมวดหมู่:Action, Adventure, รีวิวหนัง/ภาพยนตร์, หนังแนะนำ Recommended, Treasure Hunting Movies

Tagged as: 1984, 7.5/10, Amrish Puri, หมื่นทิพ, George Lucas, Harrison Ford, Indiana Jones, Kate Capshaw, Ke Huy Quan, Steven Spielberg