Intelligent farm อ นเตอร ร เจ นท ฟาร ม

หนว่ ยที่ 2 การเกษตรสมยั ใหม่ (Smart Farming)

สาระสาคัญ เกษตรอัจฉริยะเป็นการทาเกษตรสมัยใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ เคร่ืองจักร ฯลฯ ท่ีมี

ความแม่นยาสูงเข้ามาช่วยในการทางาน โดยให้ความสาคัญกับสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ การใชท้ รพั ยากรให้คมุ้ คา่ ท่ีสดุ ในยคุ ทแ่ี รงงานในภาคเกษตรลดลง อยา่ งต่อเนื่อง การทางานของฟาร์มอัจฉริยะ ประกอบด้วย การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู การวินิจฉยั ขอ้ มูล การวิเคราะหข์ ้อมลู การดาเนินการตามแผนปฏิบัติงาน การประเมินผล

เทคโนโลยีท่ีเก่ียวข้องหลายชนิด และหลายระบบ เช่น ระบบกาหนดตาแหน่งบนพื้นผิวโลก ระบบ สารสนเทศทางภมู ิศาสตร์ เป็นตน้

จดุ ประสงค์ 1. อธบิ ายการเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming)ได้ 2. เขียน และอธิบาย Model canvas ได้ 3. สบื ค้นและใช้ Application สาหรับเกษตรอัจฉรยิ ะได้

เนือ้ หา 1. เกษตรอัจฉริยะ

เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm, Smart Farming หรือ Intelligent Farm) เป็นการทาเกษตร สมยั ใหม่ ดว้ ยการใช้เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ เคร่ืองจักร ฯลฯ ที่มีความแม่นยาสูงเข้ามาช่วยในการทางาน โดย ใหค้ วามสาคัญกบั สิ่งแวดล้อม ความปลอดภยั ต่อผูบ้ ริโภค และการใช้ทรพั ยากรใหค้ ุม้ คา่ ทสี่ ุด ในยคุ ท่ีแรงงานใน ภาคเกษตรลดลง อย่างตอ่ เน่อื ง ทาให้ภาคการเกษตรเร่มิ มกี ารปรับตัวโดยนาเอาเทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงและ ประยกุ ตใ์ ชเ้ พอ่ื เพิ่มประสทิ ธิภาพการผลิตมากข้นึ

แนวคดิ ของการทาเกษตรอจั ฉรยิ ะ คอื การเกษตรแม่นยาสูง (Precision Agriculture หรือ Precision Farming) โดยเป็นการทาการเกษตรให้เข้ากับสภาพพื้นท่ี เน้นพ้ืนที่ท่ีไม่ใช่พ้ืนที่เกษตรขนาดใหญ่ เน้น ประสิทธิภาพในการเพาะปลูก ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จนถึงกระบวนการปลูกท่ีนาเอาเทคโนโลยีเข้ามา ช่วยในการตรวจวัดทั้งเร่ืองของสภาพดิน ความช้ืนในดิน แร่ธาตุในดิน ความเป็นกรดด่าง สภาพปริมาณแสง ธรรมชาติ รวมถึงเร่ืองศัตรูพืชต่าง ๆ บางประเทศมีการควบคุมส่ิงแวดล้อมผ่านการปลูกในโรงเรือน เพื่อ ปอ้ งกนั ศตั รพู ชื และสามารถควบคมุ ปจั จัยต่าง ๆ ไดเ้ ข้มงวดและมปี ระสิทธิภาพมากข้นึ

ฟาร์มอัจฉริยะมีความต้องการและมีความแตกต่างจากการทาเกษตรแบบปกติเป็นอย่างมาก โดยมี วตั ถุประสงค์อีกขอ้ หนง่ึ คอื ไม่ใช้ทรัพยากรอย่างสน้ิ เปลอื ง ดงั น้ัน ความแม่นยาในการเสริมปัจจัยต่าง ๆ ให้ตรง กับความต้องการของพชื แต่ละชนดิ จงึ เปน็ กุญแจสาคญั ในการทาเกษตรอัจฉริยะท่ไี ดป้ ระสทิ ธภิ าพ

องค์ประกอบที่สาคัญในการทาฟาร์มอัจฉริยะจะต้องมี 3 ด้านด้วยกัน จึงจะทาให้ฟาร์มอัจฉริยะมี ประสิทธภิ าพน่ันคือ

1.1 การระบุตาแหนง่ พ้ืนทเ่ี พาะปลกู 1.2 การแปรวิเคราะหข์ ้อมูลที่ตรงกับระยะเวลาของการเพาะปลกู พืช 1.3 การบรหิ ารจดั การพื้นท่โี ดยใช้เทคโนโลยที ีเ่ หมาะสม ไม่สิน้ เปลืองทรพั ยากร และตอ้ งเขา้ กับการ เพาะปลูกพืชในชนิดนัน้ ๆ การทาฟาร์มอัจฉริยะเป็นเรื่องของความแม่นยาเพื่อนาไปสู่การเพาะปลูกพืชท่ีเข้ากับพ้ืนท่ีบริเวณน้ัน ผ่านการตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้อง โดยช่วยลดต้นทุนกระบวนการผลิต เพ่ิมผลผลิตต่อพ้ืนท่ี สร้างมาตรฐาน การผลิต ควบคุมคณุ ภาพผลผลิตไดต้ ามทีล่ กู ค้าตอ้ งการ ผลผลิตจงึ ได้ราคาสงู กว่าฟาร์มท่วั ไป ปจั จุบันความรูท้ างด้านการเกษตรอัฉรยิ ะมมี ากขนึ้ ในอินเทอรเ์ น็ต เพราะเป็นแนวโน้มที่สาคัญของการ ทาการเกษตรในศตวรรษที่ 21 หลายฟาร์มเริ่มมีการนาเอาเทคโนโลยี Precision Farming เพ่ือควบคุมความ แม่นยาท้ังการให้น้าท่ีถูกต้องทั้งปริมาณ ระยะเวลา ผ่านสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ของฟาร์มเอง มีการ นาเอาเซ็นเซอร์มาควบคุมเพ่ือวัดอุณหภูมิร่วมกับการปล่อยน้าเพ่ือรักษาอุณหภูมิ รวมไปถึงการให้ปุ๋ยผ่านการ ใหน้ ้า ปัจจุบันน้ีอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ เริ่มหาซื้อได้ง่ายข้ึน แม้ว่านวัตกรรมท่ีเกี่ยวกับการเกษตรจะหายาก และราคาค่อนข้างแพง แต่หากการพัฒนามีอย่างต่อเนื่องและรัฐบาลสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยี เหลา่ น้ไี ด้อยา่ งครอบคลุม เช่ือไดเ้ ลยว่า การพฒั นาเกษตรไทยจะไมน่ ้อยหนา้ ชาติใดแนน่ อน

2. เทคโนโลยีฟารม์ อัจฉริยะ (Smart Farms Technology) ปัจจุบนั เทคโนโลยสี ารสนเทศเขา้ มามบี ทบาทในชีวิตประจาวันมากขึ้น มีการใช้งานอย่างแพร่หลายใน

ทุกสาขาอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่อาชีพเกษตรกรรม ซ่ึงจัดเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า งานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่กลับไม่ได้เก้ือหนุนต่ออาชีพเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย มากนกั อาชพี เกษตรกรยงั คงเป็นอาชีพที่ต้องใช้การจัดการแบบในอดีต คือ ต้องเดินตรวจสวน ใส่ปุ๋ยตามเวลา ท่กี าหนด แต่ไม่ได้คานึงถงึ ธาตุอาหารทมี่ อี ย่ใู นดนิ ก่อนแลว้ การจัดการโรคแมลงเมื่อเจอปัญหาการระบาด และ อาจจะใช้สารเคมเี กนิ อตั ราความจาเป็นทีต่ ้องใช้ อกี ทัง้ ยังประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตตกต่าในขณะที่ต้นทุน ในการผลิตสูงข้ึน ปัญหาด้านกระบวนการจัดการ การดูแลรักษา การจัดการโรค แมลง การเก็บเกี่ยวและการ จาหน่ายผลผลิต ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่สาคัญในการทาการเกษตรท้ังส้ิน รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ดิน น้า แสงแดด อากาศ และทรัพยากรท่ีต้อง เพมิ่ เติมเขา้ ไป เชน่ ปยุ๋ สารกาจัดศตั รูพืช ถอื เป็นปัจจยั ทม่ี คี วามสาคญั ตอ่ การผลิตทางการเกษตร

การผลิตสนิ ค้าเกษตรอยา่ งมีประสิทธิภาพ จาเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตท่ีดีร่วมกับระบบการจัดการที่ดี การตัดสินใจว่าควรปลูกพืชชนิดใด เลี้ยงสัตว์ชนิดใด และใช้ปัจจัยการผลิตชนิดใดท่ีเหมาะสมต่อพื้นท่ีน้ัน ก็ นบั เปน็ ปัจจัยท่ีสาคัญต่อการผลิตทางการเกษตร แต่ในปัจจุบันกลับพบว่างานวิจัยทางด้านการเกษตรของไทย ไม่ได้ก้าวตามโลกที่ได้ข้ามไปสู่ยุค IT (Information Technology) ซ่ึงแตกต่างจากประเทศท่ีพัฒนาแล้วท่ีให้

ความสาคญั กับงานวิจยั ในศาสตร์ทจ่ี ะทาใหก้ ารเกษตรกรรมของศตวรรษท่ี 21 เป็นอาชีพที่ทันสมัย (ธีรเกียรติ์ เกดิ เจริญ, 2550) โดยมีการนาเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกดิ ประโยชน์และผสมผสานกับเทคโนโลยีด้าน อื่น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ไอที ส่ือสาร เซ็นเซอร์เทคโนโลยีชีวภาพ ดาวเทียม รวมทั้งนาโน เทคโนโลยีเขา้ มาช่วยในการจัดการฟาร์ม ซึ่งจะส่งผลให้การทาฟาร์มในรูปแบบเดิมก้าวข้ามไปสู่ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm หรือ Intelligent Farm) หรือ ท่ีได้รับการขนานนามว่า “ฟาร์มท่ีมีการจัดการอย่างถูกต้อง แม่นยา” (Precision Farm) (Soni, Mandloi, & Jain 2011) ดังนั้น การทาฟาร์มอัจฉริยะจึงเป็นแนวทางที่ เหมาะสมต่อการทาการเกษตร เพ่ือให้เกิดการนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีด้านอ่ืน ๆ ไป ประยกุ ต์ใช้เพ่ือใหเ้ กดิ การผลิตสินค้าเกษตรท่ีเหมาะสม ปลอดภัย และเพียงพอต่อความต้องการของประชากร ท่ีจะเพ่ิมสูงข้ึนในอนาคต อีกท้ังยังช่วยส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม นาไปสู่ การทาการเกษตรแบบยัง่ ยืนและเปน็ มติ รกบั สิ่งแวดลอ้ ม

2.1 ฟาร์มอจั ฉรยิ ะ หรอื ฟาร์มท่มี คี วามแม่นยา ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) หรือฟาร์มที่มีความแม่นยา (Precision Farm) เป็นการทาฟาร์ม

โดยนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการจัดการ โดยสามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยา มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า เพิ่มปริมาณ และคุณภาพของผลผลิต ช่วยลดต้นทุนการผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม นาไปสู่การ แข่งขันในระดับสากลได้ การทาฟาร์มอัจฉริยะเป็นการทาการเกษตรแบบควบคู่กับนวัตกรรม (Shashwathi, Priyam, & Suhas, 2012) ซง่ึ เป็นทีน่ ยิ มอย่างมากในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและ ออสเตรเลีย และใน ปัจจบุ นั เรมิ่ แพร่หลายไปยังประเทศแถบทวีปยุโรป ญ่ีปุ่น มาเลเซีย และอินเดีย เป็นต้น ซ่ึงประเทศเหล่านี้เป็น ประเทศท่ีขึ้นชื่อในเรื่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก โดยมีการนาเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมา ปรับใช้กับการ ทาการเกษตร เพ่ือให้มีประสิทธิภาพการผลิตที่สูงข้ึน มีการนาเอาเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ มาประยกุ ต์ ใชใ้ นการจดั การมากขึน้ ทาให้สามารถลดแรงงานดา้ นการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันแรงงานในส่วนของ ภาคเกษตรก็จะยิ่งลดลงไปเรื่อย ๆ ย่ิงในประเทศที่พัฒนาแล้วก็จะย่ิงมีแรงงานภาคการเกษตรท่ีลดลง แต่ ประเทศดงั กล่าวหันมาให้ความสนใจภาคการเกษตรมากขึ้น ดังนั้น จึงได้มีการนาเอาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มา ช่วยในการจัดการ ส่งผลให้เกิดการผลิต สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปริมาณท่ีเพียงพอต่อความต้องการของ ตลาด ซ่ึงประเทศไทยเองจัดเป็นประเทศท่ีมีความเกี่ยวพันกับการเกษตรมาตั้งแต่สมัยโบราณ ประชากรใน ประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ดังน้ัน ภาครัฐจึงควรหันมาให้ความสาคัญในด้านการทา การเกษตรแบบอจั ฉริยะ และควรนาเอาเทคโนโลยสี ารสนเทศมาใช้กับภาคเกษตรให้มากขึ้น นาไปสู่การเกษตร ยัง่ ยนื และเปน็ มิตรกบั ส่งิ แวดล้อมต่อไปในอนาคต

การให้ปุ๋ยในฟาร์มอัจฉริยะมีแนวคิดวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดินท่ีปลูกพืชก่อน จากน้ัน จัดทาแผนที่ดิน (Soil Mapping) เพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบ้ืองต้นว่าดินในบริเวณนั้น ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ใน ระดับใด มีแร่ธาตุอะไรบ้างและมีในปริมาณที่เพียงพอ ขาด หรือเกิน จากน้ันข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ใน ฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับแผนท่ีดินของฟาร์ม เข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล และส่งต่อไปยังเครื่องหยอดปุ๋ยบน รถไถที่ติดต้ังระบบ GPS (Global Positioning System) ทาให้การหยอดปุ๋ยสามารถกาหนดได้ว่าจะหยอดปุ๋ย

ชนิดใด ปริมาณเท่าใด และจะหยอดลงบริเวณตาแหน่งใดในฟาร์ม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช และช่วยลดอัตราการสูญเสียปุ๋ยหรือลดระดับความเป็นพิษของ ปุ๋ยที่มีต่อพืชปลูกน้ันด้วย (Maheswari, Ashok, & Prahadeeswaran, 2008)

2.2 ความแตกต่างระหวา่ งฟาร์มอจั ฉริยะและฟาร์มท่วั ไป ฟาร์มอัจฉริยะมีการใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้องแม่นยา ตรงต่อความต้องการของพืช ช่วยลดการ

สญู เสียทรพั ยากร และยงั ชว่ ยลดตน้ ทนุ การผลติ รวมถึงลดการให้ปุ๋ยและสารกาจัดศัตรูพืชในระดับที่เกินความ ตอ้ งการของพชื หรือการใหไ้ มต่ รงกับการเกดิ โรคและแมลง ซ่งึ สิง่ เหลา่ นี้จะยิง่ สง่ ผลให้เกิดการตกค้างในดินและ เกิดอาการดื้อยา ทาให้เกิดการแก้ปัญหาท่ีไม่มีประสิทธิภาพ นาไปสู่การเกษตรท่ีไม่ยั่งยืนและยังส่งผลให้เกิด การทาลายสิ่งแวดลอ้ มอีกด้วย (ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ, 2550)

พันธพุ์ ชื และสภาพแวดล้อมท่ีแตกตา่ งกนั ในแตล่ ะพ้ืนท่ีจะส่งผลให้มีผลผลิตที่ได้ต่างกัน ดังน้ัน จึง ตอ้ งมกี ารบริหารจัดการพ้ืนที่อย่างเหมาะสม เพื่อให้มีการสร้างผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตอย่าง สม่าเสมอในแต่ละพ้ืนท่ี เพ่ือเป็นการใช้พ้ืนท่ี ท่ีมีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอัตราการตอบแทนผลผลิตต่อ หน่วยพ้ืนที่สูงกว่าการจัดการแบบฟาร์มธรรมดาทั่วไป ในส่วนน้ีจะสามารถตรวจสอบและคานวณรายได้ต่อ พน้ื ทปี่ ลูกยอ่ ยของแตล่ ะพ้นื ท่แี ละประเมนิ ต้นทุนการผลิต รายได้ และคานวณเป็นผลกาไรที่ได้จากการผลิตพืช ในแต่ละฤดูกาล นาไปสู่การวางแผนการผลิตในฤดูกาลถัดไปได้อย่างแม่นยา และเที่ยงตรง สร้างกาไรให้กับ เกษตรกรอย่างคุ้มค่าต่อการลงทุน และมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาสภาพแวดล้อมให้ คงอยู่นาไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรอย่างย่ังยืน มีคุณภาพและปลอดภัย (ธีรเกียรต์ิ เกิดเจริญ, 2550) สาหรับ การทางานของระบบฟาร์มอัจฉริยะจะมีการกาหนดรูปแบบการทางานออกเป็นข้ันตอน เพื่อทาหน้าที่ในการ จัดการฟาร์ม ทาใหผ้ ้ใู ช้งานสามารถดาเนนิ การและตรวจสอบไดท้ กุ ขนั้ ตอน

2.3 การทางานของระบบฟาร์มอจั ฉรยิ ะ การทางานของฟาร์มอจั ฉรยิ ะแยกไดเ้ ปน็ 5 ข้นั ตอน ดงั นี้ (ธรี พงศ์ มงั คะวฒั น์, 2554) 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) คือ การเก็บข้อมูลของดิน น้า แสง ภูมิอากาศ

ผลผลิต เป็นต้น ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เครือข่าย เซ็นเซอร์ สถานีตรวจวัดอากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียม เครอื่ งสแกนสภาพดิน เป็นตน้

2. การวินิจฉัยข้อมูล (Diagnostics) คือ การสร้าง กรอง และเก็บข้อมูลท่ีเป็นประโยชน์เข้าสู่ ฐานขอ้ มลู ซึง่ มกั จะใชเ้ ทคโนโลยีภมู ิสารสนเทศ (GIS)

3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) คือ การ วิเคราะห์ข้อมูล การทานายผลผลิตเชิงพ้ืนท่ี รวมไป ถึงการวางแผนจัดการ เช่น เทคโนโลยี Crop Modeling ซ่ึงจะนาข้อมูลต่าง ๆ มาทาโมเดลเพื่อหา ความสัมพนั ธ์ กบั ผลผลิตท่เี ก็บเก่ยี วได้

4. การดาเนินการตามแผนปฏิบัติงาน (Precision Field Operations) คือ การปฏิบัติการตาม แผนทีว่ างไว้ เชน่ การหยอดปุย๋ ดว้ ยรถขบั เคล่ือนด้วย GPS การติดต้ังโปรแกรมการให้น้า การให้ปุ๋ยหรือ ยาฆ่า แมลงด้วยแคปซูลนาโน ซ่ึงสามารถควบคมุ การปลดปลอ่ ยตามเงือ่ นไขทีก่ าหนด เปน็ ตน้

5. การประเมินผล (Evaluation) คือ การ ประเมินผลการปฏิบัติงานว่ามีประสิทธิภาพมากน้อย เพียงใด คมุ้ ค่าแกก่ ารลงทนุ หรือไม่ โดยใช้เทคโนโลยี ดา้ นการเงินและเศรษฐศาสตรอ์ ตุ สาหกรรม

การทาฟาร์มอัจฉริยะ นอกจากต้องมีการ กาหนดข้ันตอนการดาเนินงานที่ชัดเจนและเป็นระบบ แลว้ ยังต้องมกี ารนาเอาเทคโนโลยใี นรปู แบบ ต่าง ๆ มาเพ่ือประยกุ ต์ใชก้ บั การทาฟารม์ อัจฉริยะด้วย โดยต้องมี การคัดเลือกเอาเทคโนโลยที เ่ี หมาะสมไปใชใ้ นฟารม์ เพอื่ ใหเ้ กิดประสิทธภิ าพในการทางานมากท่ีสดุ

2.4 เทคโนโลยีท่เี กย่ี วข้องกับระบบฟาร์มอัจฉรยิ ะ ในการทางานของฟาร์มอจั ฉริยะ มเี ทคโนโลยที ี่เกยี่ วข้องหลายชนดิ และหลายระบบ ดงั น้ี 1. ระบบกาหนดตาแหนง่ บนพ้นื ผิวโลก (Global Positioning System: GPS) เป็นเทคโนโลยี ใน

การระบุพิกัดหรือตาแหน่งบนพ้ืนผิวโลกโดยใช้ ดาวเทียม จานวน 24 ดวง สารอง 4 ดวง สามารถระบุ ตาแหน่งได้อย่างแม่นยา 1-3 เมตร เช่น บริษัทรถไถควบคุมด้วย GPS ของบริษัท John Deere ใน สหรัฐอเมริกา ทาหน้าที่พรวนดิน หยอดปุ๋ยและ เก็บเกี่ยวอัตโนมัติ มีระบบควบคุมการบังคับการเลี้ยว ของ พวงมาลัยทาให้สามารถวิ่งไปกลับตลอดทั้งแปลง ตามแผนท่ีและคาสั่งท่ีระบุโดยสามารถหยอดปุ๋ย หรือสาร กาจัดศัตรูพืชในพื้นท่ีท่ีมีความแตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของแผนที่สภาพดินท่ีได้ ทาการเก็บข้อมูลใน ฐานข้อมลู และเขา้ สูข่ ้ันตอนการ ประมวลผลตามความต้องการของพื้นที่ (ธีรพงศ์ มังคะวฒั น์, 2554)

2. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็น เทคโนโลยี ในการรวบรวมและวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิง พื้นที่ แล้วนามาแสดงผลในรูปแบบต่าง ๆ (วรเดช จันทรศร และสมบัติ อยู่เมือง, 2545) โดยมีความ สามารถในการเก็บข้อมูลได้หลากหลายมิติ ที่มีความ เกี่ยวข้องกับพิกัดของพ้ืนท่ี จากนั้นนามาวิเคราะห์ผล ในอดีตเทคโนโลยีGIS เคยถูกมองว่ามีราคาแพง และยุ่งยากต่อการใช้งาน ทาได้ เฉพาะผทู้ ่มี ีความ เชย่ี วชาญ แต่ในปจั จุบนั กลับพบว่ามีการเข้าถึง เทคโนโลยี GIS กันมากข้ึนโดยผ่านทางกูเก้ิล เอิร์ท (Google Earth) ซ่ึงถูกมองว่าเป็นเพียงโปรแกรม แสดงผลเท่าน้ัน (ชัชชัย หนูเจริญ, 2550) หากแต่ยัง ขาดความสามารถด้านการประมวลผล แต่เช่ือว่าใน อนาคตนักพัฒนาโปรแกรมจะสามารถพัฒนาความ สามารถด้านการประมวลผลเข้าไปในกูเกิ้ลเอิร์ท ทาให้สามารถนาไปใช้งานได้อย่างกว้างขวางมาก ย่ิงข้ึน ปัจจุบนั บรษิ ทั กเู ก้ิลเอง กไ็ ด้ทาการเพมิ่ ฟังกช์ ันตา่ ง ๆ ท่เี ปน็ ประโยชน์ต่อการทางานทางด้าน วิทยาศาสตร์เข้า ไปในโปรแกรม อีกท้ังยังมีแนวทาง ในการพัฒนาโปรแกรมให้ทันสมัย เหมาะสมต่อการ ใช้งานของทุกสาขา อาชีพย่งิ ข้ึน

3. การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing: RS) เป็นเคร่ืองมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล พ้ืนที่โดย อาศัยคลื่นแสงในช่วงความยาวคล่ืนต่าง ๆ และคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปแบบต่าง ๆ (ณรงค์ พลีรักษ์, 2556) เช่น เรดาร์ไมโครเวฟ วิทยุ ฯลฯ จัดเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการใช้งานในพ้ืนที่ ขนาดใหญ่ ในอดีตมีการ นาเทคโนโลยีนมี้ าใช้ใน การเกษตร แต่ก็เป็นการใช้ในระดับภาครัฐ ยงั ไมม่ ี การนามาใชก้ บั บริษัทหรือฟาร์มของ เกษตรกร เน่ืองจากมีราคาค่อนข้างสูง ทาให้เกษตรกรเข้าถึง เทคโนโลยีนี้ได้ยาก แต่ในปัจจุบันกลับพบว่า เทคโนโลยี RS มีราคาถูกลงและสามารถใช้งาน ได้ง่าย ข้อมูลท่ีได้เป็นข้อมูลของพ้ืนที่กว้าง ดังนั้น การนามาใช้ สาหรบั พืน้ ทีย่ อ่ ย ๆ ในระดบั ฟารม์ จึง ต้องมีการแปลผลเพอ่ื ใหเ้ กดิ ความถกู ต้องแมน่ ยา มากขึน้

4. การรับรู้ระยะใกล้ (Proximal Sensing: PS) เป็นเทคโนโลยีการใช้เซ็นเซอร์วัดข้อมูลต่าง ๆ เชน่ เซ็นเซอร์ตรวจอากาศ เซน็ เซอรว์ ดั ความชื้นดิน (Paul et al., 1998) เซ็นเซอร์ตรวจวัดโรคพืช (Minghua, Zhihao, Xue, & Susan, 2003) เซ็นเซอร์ วัดปริมาณผลผลิต (Johnson, Bosch, Williams, & Lobitz,

  1. เปน็ ตน้ เซ็นเซอร์เหล่าน้ีสามารถ ทางานร่วมกับระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network) โดยนาไป ติดตั้งในพื้นท่ีเพื่อเก็บข้อมูล ต่าง ๆ เช่น ความชื้นในดิน อุณหภูมิ ปริมาณแสง การเกิดโรค เป็นต้น (Raghuveer, Eric, Craig, & Joshua, 2011) โดยติดตั้งให้ครอบคลุมพื้นที่ของ ฟาร์ม จากน้ันเซ็นเซอร์เหล่าน้ี จะทาหน้าที่ส่งผ่าน ข้อมูลไปยังศูนย์บัญชาการกลางของฟาร์ม เช่น บริษัท Accenture ในประเทศ สหรัฐอเมริกา ใช้ เซ็นเซอร์ 17 ตัว ติดต้ังในไร่องุ่นพื้นท่ี 10 ไร่ ส่งข้อมูล แบบเรียลไทม์ ควบคุมการเปิดปิด วาล์วน้าอัตโนมัติ เม่ือพืชต้องการน้า และให้ในปริมาณที่พืชต้องการและสอดคล้องกับข้อมูลอากาศในท้องถ่ิน นั้น ๆ ด้วย นอกจากนี้ ยังมีเซ็นเซอร์บางประเภทใช้สาหรับการ เฝ้าระวังโรคพืช โดยตรวจจับโมเลกุลตัวบ่งช้ี บาง ชนิดที่สื่อว่าพืชกาลังจะเป็นโรคก่อนท่ีจะลุกลาม ทาให้เกิดความเสียหายกับฟาร์ม (Minghua et al.,
  2. ซ่ึงหนว่ ยงานราชการที่มีหน้าที่ในการกากับ ดูแลและช่วยเหลือเกษตรกร ควรหันมาให้ความสาคัญกับ เทคโนโลยีดังกล่าว เพ่ือให้สามารถแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที ไม่ส่งผลกระทบให้เกิดความ เสยี หายกับผลผลิตได้ (ธีรพงศ์ มังคะวฒั น์, 2554)

5. เทคโนโลยีจัดการพ้ืนท่ีตามความเหมาะสม (Variable Rate Technology: VRT) หรือ เทคโนโลยีการให้ปุ๋ย ให้น้า สารเคมีควบคุมศัตรูพืช ตามสภาพ ความแตกต่างของพื้นที่ โดยมักจะใช้ร่วมกับ เทคโนโลยี GPS เช่นเดียวกับการใช้รถไถให้ปุ๋ย อัตโนมัติ ท้ังนี้อาจจะใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี การรับรู้ ระยะใกล้ เพอ่ื ความถกู ตอ้ งและแม่นยามาก ย่ิงข้นึ (ธีรพงศ์ มงั คะวฒั น์, 2554)

6. เทคโนโลยีเพ่ือการตัดสินใจในระบบการทาฟาร์ม (Crop Models and Decision Support System: DSS) เป็นการบูรณาการ 5 เทคโนโลยีไว้ ด้วยกัน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติ งานใน ฟาร์ม และยงั สามารถชว่ ยในเรอ่ื งการทานาย ผลผลติ ท่ีจะสามารถเก็บเก่ียวได้โดยทานายจาก ข้อมูลผลผลิตใน อดีต ควบคู่กับข้อมูลสภาพอากาศ ซ่ึงถือเป็นปัจจัยหลักในงานด้านเกษตรกรรม ระบบ DSS จะทาการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากอดีต ร่วมกับ ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และอาจผสมกับข้อมูลจาก หน่วยงานภาครัฐ แล้วเสนอ ให้เจ้าของฟาร์มทาการ ตัดสินใจว่าจะทาการผลิตสินค้าเกษตรน้ัน ๆ อีกหรือ ไม่ นอกจากนี้ ยังสามารถนาเอา ไปประยุกต์ใช้ สาหรับการกาหนดเขตพื้นท่ีปลูกพืชท่ีเหมาะสมต่อสภาพพ้ืนท่ีแต่ละแหล่ง เพ่ือให้เกิดการใช้ พ้ืนท่ีเพาะ ปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ซ่ึงในปัจจุบันถือว่าการ กาหนดเขตพ้ืนที่ปลูกพืชนับส่ิงสาคัญ และเป็น นโยบายทที่ างภาครัฐต้องการให้เกดิ ขึ้น (Jones & Barnes, 2000) ในข้ันตอนน้ีเป็นการประมวลผลจาก ข้อมูล ท่ีได้เก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูล โดยส่ง ข้อมูลผ่านการใช้ระบบการรับรู้จากระยะไกล แล้ว นาผลที่ได้มา ประมวลผลแล้วสง่ ตอ่ ไปยังหนว่ ย ศูนยก์ ลางหลัก เพื่อเป็นการตดั สนิ ใจในการจัดการ ฟารม์ ให้มีความแม่นยาสูง และเหมาะสมกับความ ต้องการของพืช ซ่ึงในสมัยแรก ๆ มีการทดลอง การนาเอาเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ซ่ึงในบางครั้งก็มีท้ังสาเร็จและล้มเหลว และใน ปัจจุบันก็ยังต้องมีการทดลองต่อไปเรื่อย ๆ เพ่ือให้ ตรงกบั ความตอ้ งการของเกษตรกรและใหร้ ะบบ ฟาร์มอัจฉริยะมปี ระสทิ ธิภาพมากยง่ิ ข้นึ

2.5 การพฒั นาระบบฟาร์มอัจฉริยะ เน่ืองจากจานวนประชากรโลกที่เพ่ิมสูงข้ึน ความต้องการอาหารจึงมากข้ึนตามไปด้วย ในขณะท่ี

พื้นที่เพาะปลูกและการทาฟาร์มลดลง ภาคอุตสาหกรรม รุกล้าพื้นท่ีทาการเกษตรที่มีอยู่เดิม อีกท้ังเมื่อสภาพ อากาศที่เปล่ยี นแปลงไปเกิดการแห้งแลง้ พ้นื ท่ีเพาะปลกู ลดลง การระบาดของโรคแมลงศัตรูเพิ่มขึ้น และมีการ ใช้ปัจจัยการผลิตมากข้ึน ดังน้ัน ประเทศ ที่พัฒนาแล้วจึงหันมาให้ความสาคัญต่อการพัฒนา ระบบฟาร์ม อัจฉริยะมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของประชากร ท่ีเพ่ิมข้ึน ลด ปญั หาการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า โดยมีการเร่ิมดาเนินการวิจัยต้ังแต่ปลายศตวรรษท่ี 19 ซึ่งอยู่ในช่วงของ การเลอื กใชเ้ ทคโนโลยบี าง เทคโนโลยีในการจดั การฟาร์ม

Lowenberg (1999) ได้ศึกษาถึงการทาการเกษตรโดยใช้ระบบ Remote-sensing ควบคู่ไปกับ การใช้ GPS ของฟาร์ม ตงั้ แต่ปี 1992-1997 เพื่อแก้ ปัญหาผลผลิตตกต่า และการใช้ปัจจัยการผลิตท่ี เกินกว่า ความต้องการของพืช ซ่ึงพบว่า แนวโน้มการ ใช้ GPS และ Remote-sensing สาหรับฟาร์มเพ่ือมุ่ง ไปสู่การ เป็นฟาร์มอจั ฉรยิ ะหรือฟาร์มทม่ี ีการจัดการ อยา่ งถกู ตอ้ งแม่นยาน้ันเพม่ิ สงู ข้นึ

Maheswari et al. (2008) ดาเนินการศึกษา การปลูกมะเขือเทศและมะเขือยาวในพื้นท่ีเสื่อม โทรม โดยเปรียบเทียบวิธีการใช้เกษตรท่ีมีความแม่นยาสูง กับวิธีแบบดั้งเดิม ซึ่งมีระบบการให้ปุ๋ยพร้อมน้า แบบอัตโนมัติตามความต้องการของพืช มีระบบการ หยอดเมล็ดพันธุ์ท่ีเหมาะสมกับพ้ืนที่ปลูกพบว่า ผลผลิต ของมะเขือเทศและมะเขือยาวสูงข้ึนร้อยละ 80 และร้อยละ 34 ตามลาดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบ รายได้สุทธิ พบว่า ฟาร์มที่มกี ารใชร้ ะบบฟารม์ ท่มี ี การจดั การอย่างถูกตอ้ งแมน่ ยามรี ายไดส้ ทุ ธิสูงกว่า ฟาร์มแบบด้ังเดิม คือ ร้อยละ 39 และร้อยละ 28 ตามลาดับ ซึ่งส่งผลให้ฟาร์มมีการใช้ปัจจัยการผลิต ลดลง สามารถลดต้นทุนการ ผลิตได้ ในขณะเดียวกัน สามารถเพม่ิ ปริมาณผลผลิตใหส้ งู ขนึ้ ทาให้ฟาร์มมี กาไรเพิ่มมากขึ้นกว่าการใช้วิธีแบบ ดง้ั เดมิ ซ่งึ มกี าร คาดการณ์วา่ ฟาร์มในอนาคตจะมีการนาเอาเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้อย่างเต็มรูปแบบมาก ย่ิงข้นึ

เหน็ ได้ว่าการพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะ หรือฟารม์ ท่ีมกี ารจัดการอย่างถูกต้องแม่นยาดาเนินการ มาแลว้ ตงั้ แตป่ ลายศตวรรษที่ 19 แตก่ ็ยังพบว่าตอ้ งมี การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยและธรุ กจิ ตอ่ มาเรื่อย ๆ เพื่อให้ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ และประชากรที่เปล่ียนแปลงไป อีกท้ังในปัจจุบันก็ มีระบบส่ือสาร ไร้สายมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการพัฒนา ระบบฟาร์มอัจฉริยะให้สอดคล้องทันกับยุคดิจิตอล มากย่ิงขึ้น โดยเฉพาะ ในประเทศที่มีการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารไร้สายเคลื่อนท่ีเข้าสู่ยุค 3G และ 4G ยิ่งหันมาให้ความสาคัญในการ พฒั นาระบบฟารม์ มากยงิ่ ข้ึน เหน็ ได้จากบริษัททางด้านไอที และเครื่อง ใช้ไฟฟ้า ต่างก็หันมาให้ความสนใจใน ธุรกิจด้าน การเกษตรมากย่ิงข้ึน เชน่ กูเกลิ้ ฟูจติ สึ โซน่ี โตชิบา ชารป์ พานาโซนคิ ฮติ าชิ และ เอ็นอีซี (NEC) มี การ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเกษตร อาหาร และโรงเรือน ที่มีการควบคุมการทางานอัตโนมัติ ท้ัง การใหน้ า้ ปยุ๋ สารกาจัดศัตรูพืช เหล่านี้ได้ถูก พัฒนาขึ้นเพ่ือนามาใช้กับการผลิตภาคเกษตร โดย บริษัทฟูจิตสึ ในประเทศญีป่ ่นุ เปน็ ทรี่ ้จู ักกันดใี นนาม ของการผลิตสินค้าไอทแี ละอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เล็ง เห็นความสาคัญและ แนวทางในการพัฒนาระบบ การผลิตสินค้าเกษตร เน่ืองจากมีความพร้อมในด้าน เทคโนโลยีเซ็นเซอร์บันทึก ข้อมลู โรงเรอื น เมคคาทรอนิกส์ หุ่นยนต์ ระบบฐานข้อมูลด้านเกษตร โดย ในปี พ.ศ.2557 บริษัทฟูจิตสึได้ทา

สญั ญากับบรษิ ทั เอกชนในประเทศเวียดนาม เพ่อื พัฒนาระบบฟาร์ม อัจฉริยะ โดยหวังจะให้เป็นโมเดลสาหรับ การส่งออก เทคโนโลยนี ้ีไปทั่วโลก นอกจากฟูจิตสึแล้ว บริษัท อ่ืน ๆ ในญ่ีปุ่นยังได้รับการสนับสนุนให้มาลงทุน ด้านการเกษตรในเวียดนาม ด้วยการสนับสนุนเงินทุน จากธนาคารมิตซูบิชิ (Vietnamnet, 2015) ในขณะที่ บริษัทพานาโซนิค ซ่ึงประสบปัญหาการแข่งขัน ทางการตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้กับจีนและ เกาหลีใต้ ได้ ปรับเปล่ียนช่องทางการทาธุรกิจโดยได้ เล็งเห็นช่องทางการทาธุรกิจด้านการเกษตรจึงได้ เริ่มต้นพัฒนาการ ผลิตตน้ แบบโรงเรอื นอจั ฉรยิ ะ (Intelligent Greenhouse Prototype) เพ่อื ใช้สาหรบั ผลิตพืชเปน็ การค้า โดย เป็นโรงเรือนที่มีการควบคุม และการจัดการอัตโนมัติ มีการพัฒนาโปรแกรมใช้ สาหรับการควบคุมแผงวงจร การประมวลผล ระบบ การใหน้ ้า ใหป้ ุ๋ย การระบายอากาศภายในโรงเรือนเปน็ ตน้

2.6 แนวโนม้ การใชร้ ะบบฟาร์มอจั ฉรยิ ะในประเทศไทย สาหรับในประเทศไทย ฟาร์มอัจฉริยะหรือ ฟาร์มท่ีมีการจัดการอย่างถูกต้องแม่นยา ยังถือเป็น

เรือ่ งใหม่สาหรบั เกษตรกรรายย่อย แต่สาหรับ เกษตรกร หรือฟาร์มท่ีมีขนาดใหญ่ หันมาให้ความ สนใจในการ ทาฟาร์มอัจฉริยะกันมากข้ึน เน่ืองจาก มีการตื่นตัวและการกระตุ้นจากนานาประเทศ แต่ ท้ังนี้รัฐบาลหรือ หน่วยงานด้านเกษตรหรอื ด้านไอที อาจจะตอ้ งใหค้ าแนะนา การสนับสนุนอุปกรณ์ พัฒนาเครือข่ายไร้สาย (3G และ 4G) และความช่วย เหลือแก่เกษตรกรเจ้าของฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีอยู่เป็น จานวนมากในประเทศ และเนอ่ื งจากยงั เป็นเทคโนโลยีใหม่ การนาไปใช้ ประโยชน์หรือการแปลผลข้อมูลยังไม่ เป็นทเ่ี ข้าใจ ของเจ้าของฟาร์ม และยังถกู มองวา่ ไม่คุ้มค่าต่อการ ลงทุน เนื่องจากอุปกรณ์มีราคาค่อนข้างสูง จึง มักถูก มองว่าไมค่ ุ้มทนุ สาหรับเกษตรกรรายยอ่ ย แต่สาหรับ เกษตรกรรายใหญ่ ที่ต้องใช้แรงงานปริมาณมากใน การดูแลจดั การสวน การนาเอาเทคโนโลยีเกษตร ฟาร์มอัจฉริยะมาใช้ ถึงแม้ว่าจะทาให้ต้นทุนสาหรับ อุปกรณ์ สูงขึ้น แต่ก็สามารถลดต้นทุนผันแปร (ปัจจัย การผลิตและแรงงาน) ลงได้ (กรกัญญา อักษรเนียม, สุปราณี ณ สงขลา, วสิ ทุ ธิ์ โลหติ นาวี, และธรี เกียรต์ิ เกิดเจรญิ , 2555)

การนาเอาระบบฟารม์ อจั ฉรยิ ะมาใชก้ บั ฟารม์ ขนาดใหญ่มีความเป็นไปได้มากกว่าฟาร์มขนาดเล็ก เช่น ไร่องุ่นกรานมอนเต้ อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ แห่งชาติ ได้มีการนาเอาระบบฟาร์ม อัจฉริยะมาใช้ เม่ือปี 2551 ในไร่องุ่นเพ่ือผลิตไวน์ โดยการรวมเอา เทคโนโลยหี ลายเทคโนโลยไี วด้ ้วยกัน มีการติดตงั้ อปุ กรณ์ ดงั นี้

2.6.1 สถานตี รวจวดั อากาศ (Weather Station) เพ่อื ตรวจวดั ขอ้ มลู อุณหภมู ิ ความชนื้ ความเร็ว ลม เป็นต้น

2.6.2 จมกู อเิ ลคทรอนิคส์ (Electronic Nose) เพ่ือตรวจวัดกล่ิน ความหวานและรสชาติขององนุ่ 2.6.3 เทคโนโลยีตรวจวดั ตน้ พืช (Machine Vision) เชน่ โรค แมลง การเจริญเติบโตของตน้ องนุ่ การออกดอก ตดิ ผล เป็นต้น 2.6.4 เทคโนโลยีเรดาร์ (Radar Technology) เพ่ือทาแผนท่ีสภาพดินและลักษณะการเติบโต ของ รากพืช และใช้ GPS เพ่ือติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ในฟาร์ม จากน้ันข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากอุปกรณ์จะถูกส่ง มายังศูนย์บัญชาการกลางและส่งต่อไปยังผู้จัดการฟาร์มโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ ยังมีการติดต้ังเซ็นเซอร์วัดความช้ืนดิน เพ่ือประเมินความต้องการใช้น้าขององุ่น ซ่ึงเชื่อมโยงกับ

เรดาร์ตรวจวัดอากาศ เพื่อประเมินการให้น้ากับองุ่น ในกรณีที่ประเมินว่าจะมีฝนตก ก็จะไม่สั่งการให้มีการให้ น้าแก่องุ่น เพราะถือว่าเป็นการให้น้าเกินความจาเป็นของพืช ในขณะเดียวกันยังได้มีการติดต้ังเซ็นเซอร์เพ่ือ ตรวจวัดความชนื้ ของใบองุ่น เน่ืองจากโรคขององุ่นที่พบมากคือโรคราน้าค้าง ซึ่งสัมพันธ์กับความช้ืนในใบองุ่น หากเซ็นเซอร์ตรวจพบว่าใบองุ่นมีความช้ืนสูง เส่ียงต่อการเกิดโรคราน้าค้าง ระบบก็จะส่ังการให้มีการฉีดพ่น สารเคมีกาจดั โรคทนั ที สง่ ผลให้การจดั การฟารม์ ทาไดง้ า่ ยและสะดวกมากย่ิงข้ึน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการ ใช้ปัจจัยการผลิต เพ่ิมปริมาณผลผลิตท่ีมีคุณภาพจากเดิม 20-40 ตัน/ปี เป็น 60-80 ตัน/ปี (พ้ืนที่ 80 ไร่) ลด แรงงานลงเหลอื เพียง 10 คน/พน้ื ทปี่ ลกู 80 ไร่ (กรกัญญา อักษรเนียม , สุปราณี ณ สงขลา, วิสุทธิ์ โลหิตนาวี, และธีรเกียรติ์ เกิดเจรญิ , 2555)

หากประเทศไทยนาเอาเทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะมาใช้ก็จะสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งมาก ขึ้น ในยุคการค้าเสรีหากประเทศใดมีต้นทุนในการผลิตต่ากว่า ผลผลิตมีคุณภาพมากกว่า มีการผลิตท่ีแม่นยา มากกว่าก็ย่อมได้เปรียบในการซื้อขายมากกว่า รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เก่ียวข้องจึงควรให้การสนับสนุนและ การช่วยเหลือเจ้าของฟาร์ม โดยเฉพาะฟาร์มรายย่อยให้มีความรู้ ความเข้าใจเพ่ือให้ก้าวทันโลกยุคดิจิตอล เพ่ือให้ทัดเทียมต่อนานาประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรอยู่ดีกินดีมากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่า รายไดส้ ูง แต่เนือ่ งจากปจั จบุ นั ประเทศไทยยงั อยรู่ ะหว่างการดาเนินการปรบั เปลีย่ นและพฒั นาระบบสื่อสารเข้า สู่ระบบดิจิตอลและมีการขยายเครือข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย ทาให้ระบบสัญญาณ GPS GIS ยังไม่ดี เท่าทคี่ วรและยงั ไมค่ รอบคลุมทุกพ้ืนที่ ส่งผลให้ ระบบสัญญาณเครือข่ายอินเตอร์เน็ต GPS GIS ยัง ไม่สามารถ ใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ ทาให้เป็น อุปสรรคต่อการนาเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ กับการเกษตรซึ่ง จาเปน็ ตอ้ งใชส้ ญั ญาณอินเตอรเ์ น็ต ความเร็วสงู ในการเชอื่ มตอ่ การสง่ ผา่ นขอ้ มลู และ การประมวลผล

สรปุ ผล ฟาร์มอัจฉริยะหรือฟาร์มท่ีมีการจัดการอย่างถูกต้องแม่นยา เป็นการนาเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

สารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในระบบฟาร์ม เพ่ือให้เกิดการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เป็นการเปลี่ยน ปัจจัยการผลิต (Input) ไปเป็นผลผลิต (Output) ด้วยต้นทุนต่าที่สุด (ค่าน้า ค่าไฟ ปุ๋ย สารเคมี แรงงาน พลังงาน รวมทั้งส่ิงแวดล้อม) เกิดของเสียน้อยท่ีสุด โดยการออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีการใช้ทรัพยากรที่มี ให้เหมาะสาหรับพ้ืนที่ สามารถเพ่ิมปริมาณและคุณภาพของผลผลิต เพ่ิมรายได้ ลดต้นทุน ลดผลกระทบต่อ ส่ิงแวดล้อม สะดวกและรวดเร็วสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า นาไปสู่การเกษตรย่ังยืนและเป็นมิตรกับ ส่ิงแวดล้อม แต่ท้ังนี้เกษตรกรควรมีความสามารถมีความสนใจที่จะเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในระดับท่ี เหมาะสม สามารถปรบั ตัวให้เท่าทันกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพ่ือให้คนรุ่นใหม่สนใจทาการเกษตรมาก ข้นึ สนับสนุนการรวมกล่มุ ของเกษตรกรรายย่อยเพอื่ แก้ไขขนาดการถอื ครองทดี่ ินท่ีมขี นาดเล็กไม่คุ้มค่า ต่อการ ลงทุนในการใช้เทคโนโลยี มีการค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสามารถบูรณาการความรู้ให้เป็น ประโยชนแ์ ละสามารถปฏิบัติไดจ้ ริง ภาครัฐหรอื หนว่ ยงานท่ีเก่ียวข้องต้องให้ความสาคัญกับการวิจัยเทคโนโลยี เพ่อื ให้เกดิ นวัตกรรมทางการ เกษตรมากขน้ึ

เอกสารอ้างอิง กรกญั ญา อกั ษรเนียม, สปุ านี ณ สงขลา, วิสทุ ธ์ิ โลหิตนาว,ี และ ธรี เกยี รต์ิ เกิดเจรญิ . (2555). เปล่ียน เกษตรกรไทยสูเ่ กษตรอจั ฉริยะ ตวั อยา่ งไร่องนุ่ กราน-มอนเต้ อาเภอปากชอ่ ง จงั หวัดนครราชสมี า. วารสารเคห การเกษตร, 36(7), 82-101. ชชั ชัย หนเู จรญิ . (2550). การประยกุ ต์ใชโ้ ปรแกรม GOOGLE EARTH กบั การจดั การทรัพยากรนา้ กรณี ศึกษา : สานกั ชลประทานที่ 17 สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานพิ นธว์ ทิ ยาศาสตรมหาบณั ฑิต). มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. ณรงค์ พลรี ักษ.์ (2556). เทคโนโลยภี มู สิ ารสนเทศเพือ่ ศกึ ษาการเปล่ยี นแปลงภมู ิอากาศ: การทบทวน วรรณกรรม.วารสารวิจยั และพฒั นา มจธ, 36(4), 503-515 ธีรเกียรต์ิ เกิดเจริญ. (2550). ฟารม์ อจั ฉริยะ ตอนที่ 1. วารสารอพั เดท, 22(241), 93-96 ธรี พงศ์ มงั คะวัฒน์. (2554). การใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศในระบบการจัดการฟาร์ม. Journal of Agricultural Extension and Communication, 7(2), 102-109 วรเดช จันทรศร, และสมบัติ อยเู่ มือง. (2545). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบรหิ ารภาครฐั GIS in Government. กรุงเทพฯ: ศนู ยว์ ิจัยภมู ิสารสนเทศเพื่อทรพั ยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอ้ ม เศรษฐกิจ และ สงั คมของประเทศไทย. CCTV America. (2014). Japanese electronics companies turn to enter agriculture sector. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=9rMZtACQyrI&feature=youtu.be Jones, D., & Barnes, E. M. (2000).Fuzzy composite programming to combine remote sensing and crop models for decision support in precision crop management. Agricultural Systems, 65, 137-158 Johnson, L. F., Bosch, D. F., Williams, D. C., & Lobitz., B. M. (2001). Remote sensing of vineyard management zone: implications for wine quality. Applied Engineering in Agriculture, 17(4), 557-560 Lowenberg-DeBoer, J. (1999). Risk management potential of precision farming technologies. Journal of Agricultural and Applied Economics, 31(2), 275-285 Maheswari, R., Ashok, K. R., & Prahadeeswaran, M. (2008). Precision farming technology, adoption decisions and productivity of vegetables in resource-poor environments. Agricultural Economics Research Review, 21, 415-424. Minghua, Z., Zhihao, Q., Xue, L., & Susan, L. U. (2003). Detection of stress in tomatoes induced by late blight disease in California, USA, using hyperspectral remote sensing. International Journal of Applied Earth Observation and Geoinformation, 4(4), 295–310.

Paul, R. H., James, W. S., James, S. F., Hoshin, V. G., Kamran, H. S., & David, C. G. (1998). Integration of soil moisture remote sensing and hydrologic modeling using data assimilation. Water Resources Research, 34(12), 405-420

Raghuveer, K. V., Eric, F. W., Craig, R. F., & Joshua, B. F. (2011). Global estimates of evapotranspiration for climate studies using multi-sensor remote sensing data: Evaluation of three process-based approaches. Remote Sensing of Environment, 115(3), 801–823.

Soni, S., Mandloi, S., & Jain, J. K. (2011, March). Zig bee based farming using sensor- based wireless mesh networks. Proceeding of The 5th National Conference; INDIACom - 2011: Computing For Nation Development. New Delhi: Bharati Vidyapeeth’s Institute of Computer Applications and Management.

Shashwathi, N., Priyam B., & Suhas, K. (2012). Smart farming: A step towards techno- savvy agriculture. International Journal of Computer Applications, 57(18), 45-48.

Vietnamnet Bridge. (2015). Japan plants seeds of hi-tech agriculture. Retrieved from http://english. vietnamnet.vn/fms/business/119013/japan-plants-seeds-of-hi-tech- agriculture.html

Smart Farm คือเทคโนโลยีระดับใด

สมาร์ฟาร์ม หรือ เกษตรอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ที่จะทำให้การทำไร่ทำนามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ย่อย (Microclimate) ระดับไร่ (Mesoclimate) และระดับมหภาค (Macroclimate) มาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิด ...

สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) คืออะไร

Smart Agriculture หรือ Smart Farm คือ การเกษตรแบบใหม่ ที่เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานแบบเก่า มาใช้ข้อมูล (Data) และเทคโนโลยีในการบริหารงานเกษตร เพื่อค้นหาวิถีการทำงานให้เหมาะสมและสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพิ่มกำไรให้มากยิ่งขึ้น

Smart Farmer อายุกี่ปี

(1) มีอายุระหว่าง 17 – 45 ปีและเริ่มต้นทาการเกษตร

Smart Farm ใช้ทําอะไรได้บ้าง

อุปกรณ์ฟาร์มระบบ Smart Farm นำไปปรับใช้กับฟาร์มได้ทุกขนาดการทำเกษตรอินทรีย์, การทำฟาร์มแบบครอบครัว รวมถึงการเพาะพันธุ์พืชผักเฉพาะถิ่น การรักษาพันธุ์พืชเฉพาะหรือเพาะผักคุณภาพสูง และส่งเสริมการทำฟาร์มที่โปร่งใสสูง