Lanzaar 50 เปล ยนไปก นย ห ออ นได ม ย

เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด การตรวจวัดความดันโลหิตจะได้ผลออกมา 2 ตัวเลขด้วยกัน เช่น 120/80 mmHg หมายถึง ระดับความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวเท่ากับ 120 mmHg และระดับความดันโลหิตเมื่อหัวใจคลายตัวเท่ากับ 80 mmHg โดยผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) จะหมายถึง ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตมากกว่า หรือเท่ากับ140/90 mmHg ซึ่งจะเป็นค่าบนหรือค่าล่างก็ได้

เมื่อผู้ป่วยวัดความดันโลหิตแล้วพบว่าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

เหตุใดผู้ป่วยต้องมีความรู้เรื่องยารักษาโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยต้องมีความรู้เรื่องยารักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ตนเองรับประทานอยู่ เพราะยานอกจากจะสามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วยได้แล้ว ยายังอาจจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงแก่ผู้ป่วยได้ ซึ่งแตกต่างกันไปในยาแต่ละตัวยา หากผู้ป่วยทราบอาการข้างเคียงจากการใช้ยาก็จะสามารถสังเกตและเฝ้าระวังตัวเองได้ และการรับประทานยาอย่างถูกต้องถูกวิธีก็จะส่งผลดีในการรักษาโรคของผู้ป่วยเอง

ยาลดความดันโลหิตแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ซึ่งจากยากลุ่มต่างๆ นี้ แพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งมีข้อที่ควรทราบดังนี้

1.ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)

เช่น Hydrochlorothiazide (HCTZ), Furosemide ออกฤทธิ์โดยการขับน้ำออกจากหลอดเลือด ทำให้ปริมาตรเลือดในหลอดเลือดลดลง ความดันโลหิตจึงลดลง

•อาการข้างเคียงจากการใช้ยา

- ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากยามีฤทธิ์ขับปัสสาวะขนาดยาโดยทั่วไปรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า ผู้ป่วยบางราย จำเป็นต้องรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ในกรณีหลังนี้ให้รับประทานยาหลังอาหารเช้าและเที่ยง ห้ามรับประทานยาหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะตอนกลางคืน และต้องลุกมาเข้าห้องน้ำตลอดคืน

- อาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, เป็นตะคริว เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยสามารถเสริมโพแทสเซียมได้จากอาหาร เช่น ผลไม้ประเภทกล้วย ส้ม แคนตาลูป หรือผัก เช่น บรอคโคลี มะเขือเทศ เป็นต้น

2. ยากลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors)

เช่น Captopril , Enalapril , Perindopril, Ramipril ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติ้ง (angiotensin converting enzymes) ออกฤทธิ์ด้วยกลไกหลายอย่าง เช่น ขยายหลอดเลือด, ขับโซเดียมและน้ำออกจากร่างกาย เป็นต้น จึงส่งผลโดยรวมทำให้สามารถลดความดันโลหิตได้

•อาการข้างเคียงจากการใช้ยา

- อาการไอแห้งๆ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และไม่ใช่อาการแพ้ยา สามารถบรรเทาได้ด้วยการจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ ร่างกายจะสามารถปรับตัวได้เอง แต่ในกรณีที่อาการเป็นมากจนรบกวนคุณภาพชีวิต อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยาเป็นยากลุ่มแองจิโอเทนซินรีเซบเตอร์บล็อกเกอร์ (angiotensin receptor blockers (ARB)) เช่น Losartan ซึ่งลดความดันโลหิตได้ในทำนองเดียวกับยากลุ่ม ACE inhibitors แต่ อาการข้างเคียงเรื่องการไอได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไม่ควรเปลี่ยนยาหรือหยุดยาด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาให้

- เกิดผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งพบได้บ่อย

- โพแตสเซียมในเลือดอาจจะสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไตทำงานไม่ดี ดังนั้นผู้ที่ใช้ยานี้ควรควบคุมการรับประทานอาหารที่มีโพแตสเซียมสูง เช่น ผลไม้ประเภทกล้วย ส้ม แคนตาลูป หรือผัก เช่น บรอคโคลี มะเขือเทศ เป็นต้น

เมื่อใช้ยากลุ่มนี้จะต้องระวังการใช้ยาชนิดไหน

  • ยาขับปัสสาวะที่ทำให้เกลือโปแทสเซียมสูงขึ้น เช่น Spironolactone, Amiloride + HCTZ เป็นต้น
  • ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID เช่น Diclofenac, Piroxicam, Indomethacin เพราะอาจจะทำให้ผลการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยลดลง
  • ผู้ที่เป็นโรคจิตและได้ยากลุ่ม Lithium จะทำให้เกิดอาการข้างเคียงของ lithium เพิ่ม

ข้อห้ามใช้

  • หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งครรภ์ในเดือนที่ 4-9
  • เมื่อเกิดผื่นจากการใช้ยา
  • ผู้ที่มีโพแตสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalaemia)
  • ผู้ป่วยที่พบว่ามีเส้นเลือดแดงที่ไตตีบทั้งสองข้าง (Bilateral renal artery stenosis)

3. ยากลุ่มแองจิโอเทนซินรีเซบเตอร์บล็อกเกอร์ (angiotensin receptor blockers (ARB)) เช่น Candesartan , Losartan , Valsatan ออกฤทธิ์ลดความดัน และมีอาการข้างเคียงจากยาคล้ายยากลุ่ม ACE inhibitors แต่ทำให้เกิดอาการไอน้อยกว่า

4. ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-blockers) เช่น Atenolol , Metoprolol, Propranolol ออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตและชีพจรลดลง

•อาการข้างเคียงจากการใช้ยา

- ผู้ป่วยจะมีอาการเย็นตามปลายมือปลายเท้า

- อาจทำให้เกิดอาการฝันร้าย, ซึมเศร้า, อ่อนเพลีย

- อาจทำให้หัวใจเต้นช้าลง

- อาจทำให้หลอดลมหดเกร็ง

* หากมีอาการข้างเคียงดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร

ข้อควรระวังจากการใช้ยา

  • ผู้ที่มีภาวะหอบหืด (Asthma) หรือ หลอดลมอุดกลั้นเรื้อรัง (COPD) ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยากลุ่มนี้ เพราะยามีผลต่อการทำงานของหลอดลม
  • ควรระวังในผู้ป่วยที่ได้รับยาเบาหวานร่วมด้วย เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลไปบดบังภาวะน้ำตาลต่ำ (เช่น ใจสั่น, รู้สึกหิว, จะเป็นลม ฯลฯ) ในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยสามารถสังเกตภาวะน้ำตาลต่ำได้จากการมีเหงื่อออก เพราะอาการนี้จะไม่ถูกบดบังจากยาลดความดันกลุ่มดังกล่าว

5. ยากลุ่มแคลเซียมแชลแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers) เช่น Amlodipine , Diltiazem , Felodipine, Nifedipine, Verapamil, ออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นการไหลเข้าของเกลือแคลเซียมทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวลดลง ช่วยขยายหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง

•อาการข้างเคียงจากการใช้ยา

- ปวดศีรษะ, หน้าแดง (flushing)

- ข้อเท้าบวม (ankle-edema)

- ท้องผูก

- อาจพบภาวะหัวใจเต้นเร็ว ยกเว้นในยา Verapamil, Diltiazem

* หากมีอาการข้างเคียงดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร

6. ยากลุ่มอื่นๆ ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง เช่น

6.1 Doxazosin , Prazosin

•อาการข้างเคียงจากการใช้ยา

- ความดันต่ำเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ จึงควรเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ช้าๆ เช่น จากการนอนให้ลุกขึ้นนั่งพักสักครู่ก่อนที่จะยืน

- อาจเป็นลมภายหลังการได้รับยาครั้งแรก

- ปวดศีรษะ

- ใจสั่น

* หากมีอาการข้างเคียงดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร

6.2 Methyldopa

•อาการข้างเคียงจากการใช้ยา

- ง่วงซึม

- ปากแห้ง

- เกิดการคั่งของน้ำและเกลือ

- หัวใจอาจเต้นช้าลง

* เป็นยาลดความดันโลหิตที่เลือกใช้ในหญิงตั้งครรภ์

6.3 Hydralazine

•อาการข้างเคียงจากการใช้ยา

- หัวใจเต้นเร็ว

- ปวดศีรษะ

- เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย

- คัดจมูก

ใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงอย่างไรให้ได้ผลดี

1. ต้องรับประทานยาต่อเนื่องกันทุกวันและรับประทานยาให้ตรงเวลา

2. หากลืมรับประทานยาและนึกขึ้นได้เมื่อใกล้จะรับประทานยามื้อต่อไป ให้รับประทานยาของมื้อนั้นก็พอ และห้ามรับประทานยาเพิ่มเป็น 2 เท่า มิฉะนั้นความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างมาก เกิดอาการหน้ามืด ล้มลง หมดสติ เป็นอันตรายได้

3. ห้ามบด เคี้ยว หรือหักเม็ดยาเอง โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร เพราะยาบางตัวเมื่อ บด เคี้ยว หรือ หักเม็ดยา จะทำให้ได้ตัวยาเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่สูงอย่างทันทีทันใด ฤทธิ์ยาก็จะสูงมากและความดันโลหิตจะตกลงอย่างมาก จนอาจทำให้หน้ามืด ล้มลงและหมดสติได้

4. ควรเก็บยาในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสง และความร้อน และควรแกะเม็ดยาออกจากห่อในมื้อที่จะรับประทาน ให้เป็นมื้อๆ ไป ไม่ควรแกะไว้ล่วงหน้า เพราะอาจทำให้ตัวยาเสื่อมได้

5.ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยามื้อละหลายเม็ด ต้องรับประทานยาให้ครบทุกตัว ห้ามขาดยาตัวใดตัวหนึ่งไป และอย่าหยุดยา เพราะคิดว่าไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เนื่องจากการหยุดยาจะทำให้ความดันโลหิตกลับสูงขึ้นมาอีก และอาจสูงมากจน หลอดเลือดในสมองแตก จนทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมาได้

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อมีความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตร่วมกับการใช้ยา เพราะการใช้ยาอย่างเดียวอาจไม่สามารถที่จะควบคุมโรคที่ผู้ป่วยเป็นได้ โดยผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

1. งดรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม โดยรับประทานเกลือแกงให้ได้น้อยกว่า 6 กรัม/วัน

2. ควรรับประทานอาหารที่มีสัดส่วนของผลไม้ ผัก และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ โดยพยายามลดปริมาณของอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ราดหน้า, ขนมหวาน , ทุเรียน, อาหารทอด เป็นต้น

3. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น ลอดช่องน้ำกะทิ, ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นต้น

4. งดบุหรี่ จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ให้เกิน 30 มิลลิลิตรเอทิลแอลกอฮอล์/วัน หรือเป็นไปได้ก็ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไปเลยยิ่งดี

5. ควรลดน้ำหนักตัวไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป

6. ออกกำลังกายแบบ aerobic เช่น เดินไวๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เกือบทุกวันในแต่ละสัปดาห์ และควรงดการออกกำลังที่ต้องใช้แรงมาก เช่นยกน้ำหนัก, ปีนเขา เป็นต้น

7. สตรีที่มีความดันโลหิตสูงจากยาคุมกำเนิด ควรหยุดยา ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรเพื่อหาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม

8. ทำจิตใจให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เครียด วิตกกังวล หงุดหงิด โมโห

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีความดันโลหิตสูงแล้วไม่รักษาหรือรักษาแต่ปฏิบัติตัวไม่สม่ำเสมอ

  • อาจเกิดภาวะความดันโลหิตสูงร้ายแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนดังนี้
  • มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตกจนอาจทำให้เกิดอัมพาตได้
  • หลอดเลือดในตาอาจตีบตันหรือแตกมีการตกเลือดในตาหรือบวมในชั้นตาที่รับภาพ
  • สายตาเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว หรืออาจจะทำให้ตาบอด
  • หัวใจล้มเหลว จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานมากขึ้น จึงทำให้หัวใจโต เกิดอาการเหนื่อย หอบหายใจลำบาก และภาวะความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อขาดเลือดจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
  • ไตอักเสบ ไตพิการ หรือเกิดอาการบวม เป็นต้น

ดังนั้นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทุกคนควรใช้ยาอย่างถูกต้อง ถูกวิธี คอยสังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ร่วมกับการปรับปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขได้

Losartan 50 mg อันตรายไหม

Losartan อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ จนนำไปสู่ภาวะไตวายได้ ผู้ป่วยที่กำลังใช้ยาจึงควรเฝ้าระวังอาการ และไปพบแพทย์ทันทีหากพบสัญญาณของอาการป่วยที่เป็นอันตราย

Amlodipine 5 mg อันตรายไหม

ยาแอมโลดิพีน (amlodipine) ขนาด 5 มิลลิกรัม เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ ผลข้างเคียงที่อาจพบ เช่น ปวดศีรษะ, วิงเวียน, หน้ามืด, อาการบวมบริเวณข้อเท้าหรือขา จากการสืบค้นข้อมูลไม่พบปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยากับผัก ผลไม้ หรือชาสมุนไพร และไม่พบข้อห้ามในใช้ร่วมกันกับยา กรณีที่เกี่ยวกับน้ำเกรปฟรุต ( ...

ยาlanzaar 50คือยาอะไร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เรียกคืนยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ลอซาร์แทน เนื่องจากพบสารก่อมะเร็งในสารตั้งต้นในการผลิตยาดังกล่าวในหนูทดลอง ดังนั้นจึงต้องเรียกคืนเพราะมันมี ส่วนประกอบที่ผลิตจากอินเดีย และจากหลายๆที่ เรียกคืนผลิตภัณฑ์ยา LANZAAR 50 และ LANZAAR 100 จำนวน 142 รุ่นการผลิต ประกอบด้วย 1.LANZAAR 50 ทะเบียน ...

ยาลดความดันโลหิตสูง มีอะไรบ้าง

แคลเซี่ยมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers).

แอมโลดิพีน (amlodipine).

ไดไฮโดรไพริดีน (dihydropyridine).

ดิลติอะซิม (diltiazem).

ฟิโลดิปีน (felodipine).

อิสราดิปีน (isradipine).

นิฟิดิปีน (nifedipine).

นิโมดิปีน (nimodipine).

ไนเทรนดิปีน (nitrendipine).