Layer ของโปรโตคอล tcp ip ม ก ระด บ อะไรบ าง

TCP/IP คือ กฏหรือข้อกำหนดเบื้องต้นที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารระหว่างกันได้บนเครือข่ายหรือที่เรียกว่า network ทั้งสองตัวนี้แยกออกจากกันแต่ทำงานร่วมกัน เรียกว่าชุดโปรโตคอลอินเตอร์เน็ต หรือ Internet Protocol Suite

ย่อมาจาก Transmission Control Protocol ทำหน้าที่รับผิดชอบการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทาง network

IP

ย่อมาจาก Internet Protocol ทำหน้าที่เป็นสถานที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมา

การทำงานของ TCP/IP

TCP/IP แบ่งงานสื่อสารออกเป็น 4 ชั้น (layers) แต่ละชั้นจะมีหน้าที่ต่างกัน โดย TCP/IP จะแยกข้อมูลออกเป็นส่วนๆเรียกว่า packets และส่ง packets เหล่านี้ผ่านเลเยอร์ทั้ง 4 ชั้น จากนั้น TCP/IP จะทำงานผ่านเลเยอร์ทั้ง 4 แบบย้อนกลับ และประกอบข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกันก่อนจะแสดงข้อมูลนั้นให้แก่ผู้รับสาร

Layers of TCP/IP Model

Layer ของโปรโตคอล tcp ip ม ก ระด บ อะไรบ าง

(หรือเรียกว่า link layer, network interface layer หรือ physical layer)

เป็นอุปกรณ์เครือข่ายทางกายภาพที่เชื่อมต่อระหว่างจุดเชื่อมต่อ(nodes) และ servers เช่น สายนำสัญญาณ(สายแลน), ระบบเครือข่ายไร้สาย, การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย หรือ device driver เป็นต้น

Internet Layer

หรือ network layer ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของ packets บนเครือข่าย

Transport Layer

หรือชั้นขนส่ง เป็นชั้นที่ควบคุมการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองเครื่อง มันจะแยกข้อมูลใน packets ออก รับรอง packets ที่ได้รับจากอุปกรณ์ที่ส่ง และทำหน้าที่ให้อุปกรณ์ที่รับข้อมูล รับรอง packets ที่จะได้รับ

Application Layer

เป็นชั้นประยุกต์ใช้งาน โดยโปรโตคอลที่อยู่ชั้นนี้จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับโปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง เช่น การส่งอีเมลใช้โปรโตคอล SMTP, การรับและเรียกดูอีเมลใช้โปรโตคอล POP3 และการเรียกดูเว็บเพจบนบราวเซอร์ใช้โปรโตคอล HTTP เป็นต้น

โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol)

ภาพ Protocol ที่มา https://linjungdiary.wordpress.com/

โปรโตคอล TCP/IP

สถาปัตยกรรมชุดโปรโตคอล TCP/IP

ข้อแตกต่างระหว่างชุดโปรโตคอล TCP/IP และรูปแบบ OSI

- ลำดับการติดต่อสื่อสารของชั้นเลเยอร์ ในรูปแบบOSI นั้นจะกำหนดลำดับชั้นการสื่อสารที่เป็นลำดับขั้นตอนการติดต่อที่แน่นอน โดยเฉพาะการอินเตอร์เฟซระหว่างชั้นเลเยอร์ ซึ่งทำให้รูปแบบ OSI สามารถเป็นระบบเปิดสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป ในขณะที่ชุดโปรโตคอล TCP/IPจะไม่มีการกำหนดรูปแบบการติดต่อที่ตายตัว เพื่อให้ผู้ออกแบบเครือข่ายมีอิสระสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเครือข่ายได้ง่าย

- การสื่อสารระหว่างเครือข่ายหรือการอินเตอร์เน็ต (Internet) คือการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ 2ระบบ ที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านทางเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลเพียงเครือข่ายเดียวได้ ต้องอาศัยเครือข่ายตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปในการติดต่อสื่อสารกัน และเครือข่ายเหล่านี้อาจจะมีลักษณะของเครือข่ายที่ต่างกันก็ได้ ความแตกต่างในเรื่องนี้คือ TCP/IP จะใช้โปรโตคอลสำหรับอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า โปรโตคอล IP (Internet Protocol ) ซึ่งในรูปแบบ OSI จะเรียกว่า โปรโตคอล Network

- บริการการเชื่อมต่อการสื่อสาร (Connection Service) ในชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นจะมีการบริการการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างต้นทางและปลายทาง 2 แบบ คือการบริการแบบ Connectionless และแบบ Connection oriented ส่วนในรูปแบบ OSI จะให้ความสำคัญเฉพาะกับการบริการแบบ Connection oriented เท่านั้น

- โปรโตคอลควบคุมการจัดการสื่อสาร ในชุดโปรโตคอล TCP/IP จะใช้โปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับควบคุมการสื่อสาร กำหนดตำแหน่งต้นทาง และปลายทาง และอื่นๆ กับข้อมูล ซึ่งในรูปแบบ OSI นั้นจะแบ่งแยกการควบคุมการสื่อสารออกจากกันโดยใช้โปรโตคอล Session และโปรโตคอล Transport ตามลำดับ

TCP (Transmission Control Protocol) คือ หนึ่งในหลักโปรโตคอลของชุดโปรโตคอลอินเทอร์เน็ต มีต้นกำเนิดมาจากการใช้งานเครือข่ายเริ่มแรกซึ่งเสริมด้วยInternet Protocol (IP) ดังนั้นชุดทั้งหมดจะถูกเรียกกันทั่วไปว่าTCP / IP TCP ให้การจัดส่งที่เชื่อถือได้สั่งและตรวจสอบข้อผิดพลาดของสตรีมoctets (ไบต์) ระหว่างโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนโฮสต์ที่สื่อสารผ่านเครือข่าย IP แอปพลิเคชันอินเทอร์เน็ตที่สำคัญเช่นWorld Wide Web , อีเมล , การดูแลระบบระยะไกลและการถ่ายโอนไฟล์อาศัย TCP แอ็พพลิเคชันที่ไม่ต้องการบริการสตรีมข้อมูลที่เชื่อถือได้อาจใช้โปรโตคอลผู้ใช้เดตาแกรม (UDP) ซึ่งให้บริการดาต้าโมเด็มที่เชื่อมต่อ ซึ่งเน้นการลดเวลาในการตอบสนองต่อความน่าเชื่อถือ

ภาพ TCP Protocol ที่มาhttps://www.bestinternet.co.th/

โปรโตคอล IP

โปรโตคอล IP ที่อยู่ใน Network Layer จะมีหน้าที่ 3 อย่างต่อไปนี้ คือ

  1. Addressing

หน้าที่นี้หมายถึงการให้บริการในการติดตั้ง “ลอจิคัลแอดเดรส (Logical Address)” ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล IP เนื่องจาก ลอจิคัลแอดเดรสนี้จะไม่ได้ถูกกำหนดมาตายตัวหรือฝังมากับเน็ตเวิร์กการ์ด ดังนั้น มันจึงเป็นแอดเดรสที่ผู้ออกแบบหรือบริหารระบบเครือข่ายเป็นผู้ตั้งขึ้นมาเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ข้อดีของการมีลอจิคัลแอดเดรสหรือแอดเดรสใน Network Layer คือ

1.1 ทำให้เราสามารถออกแบบระบบเน็ตเวิร์กได้ง่ายขึ้น

1.2 ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กสามารถขยายเพิ่มเติมได้โดยง่าย

1.3 ทำให้การแก้ไขปัญหาทำได้โดยง่าย

2. Packaging

เป็นการจัดเตรียมแพ็คเกจ IP ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมส่งไปยังเครื่องปลายทาง โดยการนำเอา TCP Segment หรือ UDP Segment จากในเลเยอร์บนมาบรรจุไว้ในฟิลด์ Data ของแพ็กเกจ IP (หากขนาดของ Segment ใหญ่เกินกว่าจะส่งได้ภายในแพ็คเกจ IP แพ็คเกจเดียว จะต้องแบ่ง Segment ย่อยออกและส่งไปในหลาย ๆ แพ็จเกจ) จากนั้นใส่ค่าฟิลด์ Destination IP Address และ Source IP Address ให้เป็นหมายเลข IP Address ปลายทางและต้นทางตามลำดับ และที่สำคัญคือ จะใส่ค่าฟิลด์ Protocol Nember ลงไปด้วย ค่าตัวเลขค่าหนึ่งที่ระบุว่าเลเยอร์บนเป็น TCP หรือ UDP (หมายเลข 6 สำหรับ TCP และหมายเลข 17 สำหรับ UDP) แพ็คเกจ IP หนึ่ง ๆ บางครั้งเรียกว่า ดาต้าแกรม (Datagram)

3. Routing

Routing คือ การหาเส้นทางในการส่งแพ็คเกจไปให้ถึงเครื่องปลายให้ได้ หลักความสำคัญของการส่งแพ็จเกจโดยโปรโตคอล IP คือ จะส่งให้ดีที่สุด (Best Effort) โดยไม่การันตีว่าข้อมูลจะถึงปลายทางหรือไม่ และจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของโปรโตคอลในระดับสูงกว่า คือ TCP เป็นผู้รับประกันให้

Subnet mask (ซับเน็ตมาร์ค) คืออะไร สำคัญอย่างไร

Subnet mask เป็น Parameter (พารามิเตอร์) อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address (ไอพีแอดเดรท) หน้าที่ของ Subnet mask ก็คือ การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address (ไอพี แอดเดรท) เป็น Network Address (เน็ตเวิร์ก แอดเดรท) และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address (โฮด แอดเดรท) ดังนั้น จะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง

การแบ่ง Subnet คือ การแบ่ง IP address ออกเป็นชุดย่อย ๆ ทำให้ Network IP (เน็ตเวิร์ก ไอพี) เพิ่มขึ้น แต่ IP address ลดลง

ภาพ subnet mask ที่มา https://www.vrproservice.com/

ไอพีส่วนตัว (Private IP)

- ไอพีส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ไม่ว่าองค์กรนั้นจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใดก็ตาม ได้แก่

ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป

ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป

ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป

ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet) ได้

FTP คืออะไร

FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น

ภาพ FTP ที่มาhttp://intimenetwork.blogspot.com/

HTTP คืออะไร

ภาพ HTTP ทีมา https://saixiii.com/http-https/

Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็น โปรโตรคอล ที่ใช้งานสำหรับเผยแพร่ข้อมูล และ เป็นสื่อการสำหรับการสือสาร อีกทั้งเป็นจุดกำเนิของ World Wide Web ซึ่งมีโครงสร้างเป็นตัวอักษรและตัวเลข (text) ใช้สำหรับเป็น link เชื่อมระหว่าง ข้อมูล text อื่นๆ และถูกใช้ในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลในรูปแบบ multimedia สามารถเเรียกใช้งานผ่าน web browser เช่น Firefox, Google Chrome, Safari,Opera และ Microsoft Internet Explorer ซึ่งจะไปทำการดึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทาง Server ที่ระบุใน URL ข้อมูลที่ส่งไปจะอยู่ในรูป plain text ไม่มีการเข้ารหัส ทำให้สามารถถูกดักจับและอ่านข้อมูลได้ง่าย จึงไม่ปลอดภัย

UDP (User Datagram Protocol) คืออะไร

UDP (User Datagram Protocol) คือ หนึ่งใน Protocol หลัก ของชุด Protocol อินเทอร์เน็ต โปรโตคอลที่ถูกออกแบบโดยเดวิดพีกกในปี 1980 และกำหนดอย่างเป็นทางการใน RFC 768 UDP โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อความในกรณีนี้เรียกว่า Datagram (ดาต้าแกรม) ไปยังโฮสต์อื่น ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (IP Address) ไม่จำเป็นต้องมีการสื่อสารก่อนเพื่อตั้งค่าช่องทางการสื่อสารหรือเส้นทางข้อมูล

UDP ใช้รูปแบบการสื่อสารแบบไร้สายที่เรียบง่ายโดยมีกลไกโปรโตคอลต่ำสุด UDP ให้ checksums สำหรับความสมบูรณ์ของข้อมูลและหมายเลขพอร์ตสำหรับกำหนดฟังก์ชันต่าง ๆ ที่มาและปลายทางของดาต้า ไม่มีบทสนทนาเกี่ยวกับการแฮนด์ชิ่งดังนั้นจึงทำให้โปรแกรมของผู้ใช้ไม่สามารถเชื่อถือได้กับเครือข่ายต้นแบบ ไม่มีการรับประกันการจัดส่งการสั่งซื้อหรือการป้องกันซ้ำ ถ้าต้องการแก้ไขข้อผิดพลาดในระดับอินเตอร์เฟซเครือข่ายแอ็พพลิเคชันอาจใช้ Transmission Control Protocol (TCP) หรือStream Transmission Control Transmission Protocol (SCTP) ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อการนี้

UDP เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่การตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดไม่จำเป็นหรือมีการดำเนินการในโปรแกรมประยุกต์ UDP หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายของการประมวลผลดังกล่าวในโปรโตคอลสแต็ค การใช้งานเวลาที่สำคัญมักจะใช้ UDP เพราะวางแพ็คเก็ตเป็นที่นิยมในการรอคอยสำหรับแพ็กเก็ตล่าช้าเนื่องจากretransmissionซึ่งอาจจะไม่เป็นตัวเลือกในหนึ่งระบบเวลาจริง

Network (TCP/IP Model) มีทั้งหมดกี่ Layer

TCP/IP Model ซึ่งแบ่งเป็น 5 layers ตามภาพที่แสดง

Internet Protocol ใช้กี่ Layer

TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol / Internet Protocol เป็นชุดโปรโตคอลการสื่อสารที่ใช้อุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ได้รับการพัฒนาโดย ARPANET ซึ่งมีการจัดเรียงอยู่ 4 Layers ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับ OSI Model ได้ง่าย

Protocal IP ทำงานอยู่ Layer ใด *

- Internetwork layer มีหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลในระหว่างเครือข่าย โดยมีโปรโตคอลที่ทำงานเป็นกลไกสำคัญในการส่งผ่านข้อมูลไปยังเครือข่ายบนอินเตอร์เน็ต คือ โปรโตคอล IP นอกจากนี้ในชั้น Internetwork layer ยังมีโปรโตคอลทำงานอยู่ด้วยอีก 2 ชนิด คือ โปรโตคอล Internet Control Message Protocol (ICMP) และโปรโตคอล Address Resolution ...

OSI 7 Layer และ TCP/IP เป็นอะไร?

TCP / IP เป็นโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้สำหรับทุกเครือข่ายรวมถึงอินเทอร์เน็ตในขณะที่ OSI ไม่ได้เป็นโปรโตคอล แต่เป็นรูปแบบการอ้างอิงที่ใช้สำหรับการทำความเข้าใจและออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ TCP / IP เป็นรูปแบบสี่ชั้นในขณะที่ OSI มี 7 Layer. TCP / IP เป็นไปตามแนวตั้ง ในทางกลับกัน OSI Model รองรับการใช้งานในแนวนอน