การขนส ง ว ชา logistics ม อะไรบ าง

บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน) บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน) Bachelor of Business Administration (Logistics and Supply Chain Management) B.B.A. (Logistics and Supply Chain Management)

แผนการเรียน/โครงสร้างหลักสูตร

4 ปี 126 หน่วยกิต

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

หลักสูตร 4 ปี 283,400.-

การขนส ง ว ชา logistics ม อะไรบ าง

ระยะเวลาในการรับสมัคร

กำหนดการรับสมัครนักศึกษา เทอม S/2567 วันที่สมัคร: ขณะนี้ ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2567 *ขอสงวนสิทธิ์ปิดรับสมัครก่อนกำหนดในกรณีที่นั่งเต็ม*

Days

Hours

Minutes

Seconds

การขนส ง ว ชา logistics ม อะไรบ าง

คำถามเกี่ยวกับสาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

แนะนำสาขาวิชา

การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจประสบการแข่งขันที่รุนแรงมาก ดังนั้นการดำเนินธุรกิจ จึงต้องแสวงหาวิธีการหรือกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กร หรือ เพื่อความอยู่รอดขององค์กรทางธุรกิจ โลจิสติกส์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยใน การวางแผน สนับสนุน ควบคุมการไหลเวียนของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่งไปถึงจุดที่มีการใช้งาน หรือถึงมือผู้บริโภค

การขนส ง ว ชา logistics ม อะไรบ าง

การขนส ง ว ชา logistics ม อะไรบ าง

จุดเด่นสาขาวิชา

การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งอยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์กระจายสินค้า และสนามบิน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะผลิตบัณฑิตด้านการจัดการโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต การกระจายสินค้า และการขนส่ง รวมถึงสามารถใช้ทรัพยากรภายนอกและร่วมมือกับภาคเอกชน สนับสนุนให้บัณฑิตมีคุณภาพ โดยการศึกษาดูงาน หรือการฝึกงานวิชาสหกิจศึกษา ตลอดจนเชิญผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์สูงมาเป็นวิทยากรพิเศษ

ตอบ : สาขาวิชาโลจิสติกส์เป็นการเรียนเกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน อีกด้วย

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : จบโลจิสติกส์ทำงานอะไร?

ตอบ : ทำงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชนเลย เพราะทั้งสองภาคส่วนนี้ต้องใช้คนในการดูแลหน่วยงานและธุรกิจที่ขยายตัวขึ้นด้วยในภาคเอกชน อาจไปอยู่ในฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายขนส่ง หรือเป็นนักวิเคราะห์ supply chain นักวางแผนการกระจายสินค้าและกระบวนการธุรกิจก็ได้หรือทำธุรกิจส่วนตัวก็อาจเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ หรือตัวแทนขนส่งทางเรือ ทางบกหรือทางอากาศก็ได้เช่นกัน และส่วนงานราชการ กรมศุลกากร กรมการขนส่งทางอากาศ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อยากเรียนโลจิสติกส์ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

ตอบ : ถ้าจะเรียนทางด้านนี้ ต้องมีพื้นฐานคำนวณที่ดีเพราะต้องเรียนคำนวณเยอะมาก และอีกวิชาหนึ่งที่เน้นคือภาษาอังกฤษ ต้องเป็นคนชอบคิด ชอบวางแผน ชอบวิเคราะห์

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนคณะโลจิสติกส์ดียังไง?

ตอบ : ความน่าเรียนของคณะนี้ คือ เป็นสาขาที่มาแรงอย่างเห็นได้ชัด เพราะ โลจิสติกส์คือการเคลื่อนย้าย การขนส่ง การบริหารจัดการพื้นที่และเวลา ซึ่งในอนาคต บริษัทที่ขายของออนไลน์ใหญ่ๆ เช่น Shopee หรือ Lazada จะมีแผนกโลจิสติกส์เป็นของตัวเองและก็อาจจ้างบริษัทโลจิสติกส์อื่น ๆ มาช่วยอีกเยอะทำให้สาขาอาชีพนี้เป็นที่ต้องการมากและหางานได้ง่ายรายได้ดี

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะโลจิสติกส์เรียนยากไหม?

ตอบ : เรียนไม่ยากเลย แต่น้องต้องมีพื้นฐานในเรื่องการคำณวน และที่สำคัญเลยคือเรื่องของภาษาเป็นหลักที่จะต้องใช้เรียนและการทำงานในอนาคต

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อยากเข้าคณะโลจิสติกส์เรียนสายอะไรมา?

ตอบ : สาขานี้รับ สายวิทย์-คณิต และศิลป์คำนวณ หรือน้องที่เรียน ปวส.โลจิสติกส์ก็สามารถเทียบโอนเข้าเรียนคณะนี้ได้

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อยากเรียนโลจิสติกส์แต่ไม่เก่งภาษาเลย?

ตอบ : ไม่เก่งภาษาก็เรียนคณะนี้ได้ขอแค่น้อง ๆ ขยันอ่านหนังสือบ่อยๆรวมไปถึงฝึกภาษา ท่องศัทพ์เยอะ ๆ และไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเองเรื่อย ๆ

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะโลจิสติกส์คือเรียนส่งขนส่งใช่ไหม?

ตอบ : สาขาวิชาด้านโลจิสติกส์ไม่ได้เรียนรู้เฉพาะเรื่องการขนส่งเท่านั้น จะเรียนในเรื่องกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ และความเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจ

_________________________________________________________________________________________________________________________

สาขาของคณะโลจิสติกส์มีสาขาไหนบ้าง ?

สำหรับคณะโลจิสติกส์ จะมีสาขาต่าง ๆ ดังนี้

1. วิทยาการเดินเรือ

สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับ ‘หลักการการเดินเรือ’ คือ กฎระเบียบและข้อบังคับในการเดินเรือ การเดินเรือ การทรงตัวเรือ ทักษะชาวเรือ ระบบเครื่องจักรขับเคลื่อนเรือ รวมไปถึงฝึกภาคปฏิบัติทางทะเลและการจัดและการจัดเก็บสินค้าทางเรือ เป็นต้น

2. การจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี

ในสาขานี้ก็จะเรียนเกี่ยวกับการเดินเรือพาณิชย์ทั้งหมด เช่น กฎหมายพาณิชยนาวี ประกันภัยทางทะเล ธุรกรรมธุรกิจพาณิชยนาวี ธุรกิจการเช่าเรือ การจัดการท่าเรือ กรจัดการการขนส่งทางทะเล

3. สาขาการจัดการโลจิสติกส์

สาขานี้จะได้เรียนเกี่ยวกับ การขนส่งและการกระจายสินค้า การลำเลียงวัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการการจัดหา ทฤษฎีเกมส์และกลยุทธ์ทางธุรกิจ การขนส่งและการกระจายสินค้า การจัดซื้อ การออกแบบและการปฏิบัติการคลังสินค้า การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

4. สาขาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์

วิชาสาขานี้ที่เรียนจะคล้ายๆกับสาขาที่การจัดการโลจิสติกส์ จะเรียนการจัดการระหว่างประเทศ ในต่างประเทศด้วย เช่น กฎหมายการขนส่งระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ระหว่างประเทศ การจัดการการค้าชายแดน เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เป็นต้น

คณะนี้เรียนอะไรในแต่ละปี ?

ปี 1

เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป

สำหรับปี 1 น้องๆก็จะได้เรียนในวิชาพื้นฐานทั้งหมดที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์เนื้อหายังไม่เจาะลึกมากแต่เนื้อหาที่เรียนค่อนข้างเยอะ ในคณะนี้เราไม่ได้เรียนแค่วิชาที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์อย่างเดียวเราจะได้เรียนวิชาบัญชีด้วยที่เพิ่มมา

ปี 2

เรียนเยอะขึ้น

ปี 2 จะได้เรียนในเรื่องห่วงโซ่อุปทานและกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ทั้งหมดรวมไปถึงการขนส่งสินค้าต่าง ๆ ในปีนี้กิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนจะค่อนข้างเยอะเราจะได้ทำงานกลุ่มมากขึ้นมีการพรีเซนนำเสนองานรวมไปถึงการออกแบบบรรจุบรรจุภัณฑ์เนื้อหาในปีนี้จะเจาะลึกมากขึ้นยิ่งช่วงเวลาสอบเป็นช่วงที่ต้องอ่านหนังสือเยอะมาก

ปี 3

เรียน + ฝึกงาน

พอขึ้นปี 3 ปีนี้รายวิชาที่ต้องเรียนจะเยอะมากขึ้นยิ่งในส่วนวิชาคำนวณจะเยอะมากรวมไปถึงการทำจัยในปีนี้เนื้อหาที่เรียนจะเรียนทั้งหมดในสายงานโลจิสติกส์ คือ การขนส่งทุกอย่างทุกรูปแบบรวมไปถึงคลังสินค้าที่เราต้องเราต้องเรียนทั้งหมดต้องรู้ว่าคลังสินค้ามีกี่ประเภทมีอะไรบ้างสินค้าแบบนี้ต้องทำการขนส่งแบบไหน

ปี 4

ปีสุดท้ายสอบมาตราฐานวิชาชีพ

สำหรับปีสุดท้ายปี 4 เนื้อหาที่ต้องเรียนจะไม่เยอะมากสำหรับปีนี้น้องจะต้องสอบมาตราฐานวิชาชีพทางด้านโลจิสติกส์ซึ่งก็จะมีสายงานให้เลือกว่าน้อง ๆ จะสอบอะไรหรือจะสอบทุกสาขาสายงานเลยก็ได้

Supply Chain Management เรียนเกี่ยวกับอะไร

"คำว่า supply chain - ที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก - มีความหมายถึงกระบวนการในการผลิตและขนส่งสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปยัง ผู้บริโภค ซึ่ง Supply Chain Management เป็นการจัดการในเรื่องของอุปทานและอุปสงค์ (supply and demand), การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างๆ, การผลิตและการประกอบ, การจัดเก็บสินค้าคงคลัง, การรับคำสั่งซื้อ, ...

Logistics Service Provider มีอะไรบ้าง

1.ให้บริการขนส่งสินค้า (Transportation Services) ... .

2.ให้บริการคลังสินค้า (Warehousing Services) ... .

3.ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (International Freight Forwarder) ... .

4.ตัวแทนออกของ (Customs Brokerage Services) ... .

5.การให้บริการพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ (Courier and Postal Services).

โลจิสติก จบมาได้วุฒิอะไร

หากจบหลักสูตรข้างต้นจะได้รับวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาโลจิสติกส์ และสามารถเลือกศึกษาต่อได้ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงต่อได้ในสาขาการจัดการโลจิสติกส์ ได้แก่ ปริญญาตรีธุรกิจพาณิชยนาวีและโลจิสติกส์

ตําแหน่ง Supply Chain ทําอะไรบ้าง

งานซัพพลายเชนในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต เราจะเรียกงานในส่วนนี้ว่า “การจัดซื้อจัดจ้าง” หรือ “Procurement” ในเนื้องานของการจัดซื้อจัดจ้างนั้นประกอบไปด้วย การทำกลยุทธ์การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดหาและประเมินซัพพลายเออร์เพื่อการจัดซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ ...