Methodology ค อ อะไร คร บ ม ว ธ การ

วิธีดำเนินการวิจัย เป็นส่วนประกอบของเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่มีความสำคัญ นิสิต นักศึกษาต้องมีความรอบคอบ รัดกุม ในการเขียน การนำเสนอ ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล อย่างไรก็ตามในงานวิทยานิพนธ์เชิงปริมาณจะพบว่ามักมีข้อบกพร่องหลายประการ เขียนประชากรและกลุ่มตัวอย่างไม่ชัดเจน การสร้างเครื่องมือไม่สอดคล้องกับการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญที่พิจารณาเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไม่บอกว่าเป็นใคร ทำงานที่ไหน เขียนสูตรสถิติผิด ดังนั้นเพื่อลดปัญหาหรือข้อบกพร่องดังกล่าว นิสิต นักศึกษา ควรศึกษาวิธีการเขียน การนำเสนอให้เข้าใจเพื่อปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์และวิทยานิพนธ์ให้มีคุณภาพ

วิธีดำเนินการวิจัย คือ การกำหนด วิธีการ กิจกรรมต่างๆ และรายละเอียดการวิจัยที่นิสิต นักศึกษาจะต้องทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล นับตั้งแต่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปจนถึงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การได้มาซึ่งข้อมูลที่สามารถตอบปัญหาของการวิจัยตามความมุ่งหมายของการวิจัยที่กำหนดไว้

3.1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ หน่วยศึกษาหรือกลุ่มเป้าหมายที่นิสิต นักศึกษาจะเก็บข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สุดแท้แต่งานวิจัยนั้นจะศึกษาอะไรในเรื่องใด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในแต่ละเรื่องนั้น อาจจะมีกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่ม ระดับเดียวกันหรือหลายระดับก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขอบเขตของการวิจัย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยจะมีผลอย่างมากต่อวิธีการเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นการเลือก ประชากร กลุ่มตัวอย่างต้องชัดเจน การเขียนก็เช่นเดียวกัน ต้องระบุให้ชัดเจน ครอบคลุม ระบุประชากรและจำนวนประชากรให้ชัดเจน จำนวนกลุ่ม ตัวอย่างต้องกำหนดไว้อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาการ กล่าวถึงวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีที่เหมาะสมและทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพในการปฏิบัติจริง ๆ พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดของจำนวนกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจน

การเขียนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง มีข้อพึงระวังคือ ข้อความที่เขียนในบทที่ 1 ว่าประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือใคร ที่ไหน อย่างไร จำนวนเท่าใด ในบทที่ 3 ก็เช่นเดียวกัน ต้องเขียนเหมือนกันทุกประการ บ่งบอกถึงความคงเส้นความในการเขียนวิทยานิพนธ์ด้วย บทที่ 3 จะแตกต่างจากบทที่ 1 คือ จะเขียนบอกวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดของจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งในบทที่ 1 จะไม่เขียนและแสดงรายละเอียด สำหรับปัญหาที่พบในเค้าวิทยานิพนธ์ คือ จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างไม่เหมือนกัน รวมทั้งข้อความการเขียนไม่เหมือนกัน เช่น บทที่ 1 บอกว่า มีจำนวน 86 คน บทที่ 3 บอกว่า มี จำนวน 89 คน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นข้อบกพร่องที่พบบ่อย ดังนั้นการแก้ไขคือ คัดลอกข้อความจากบทที่ 1 เลยแล้วมาเพิ่มเติมวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พร้อมแสดงรายละเอียด เท่านี้ก็เสร็จ ส่วนหลักในการเขียนอธิบายประชากรและกลุ่มตัวอย่าง มีรายละเอียดดังนี้

1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ………(คือใคร)…….(ที่ไหน)……….(ปีไหน)

…………(จำนวนเท่าใด)……………………………. (อาจจะแสดงตารางจำนวนประชากรประกอบ)

2. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ………(คือใคร)…….(ที่ไหน)……….(ปีไหน)

…………(จำนวนเท่าใด)………………….ซึ่งได้มาโดย…………………(ระบุวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง)…………..มีรายละเอียดการเลือกดังนี้(นิสิต นักศึกษา สามารถแสดงเป็นตารางหรือเป็นแผนภูมิแลดงวิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างทั้งนี้ขึ้นอยู่วิธีการนั้น) ดังตัวอย่างการเขียน

1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2549 จำนวน 13,104 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2549 จำนวน 500 คน ซึ่งได้ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – stage Random Sampling) มีวิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างและขั้นตอนการสุ่ม ดังนี้……..

3.1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกุญแจสำคัญของการวิจัย เพราะจะเป็นสิ่งที่นิสิต นักศึกษาได้เชื่อมกรอบแนวคิดของการวิจัยและแนวคิดต่าง ๆ ของตนกับความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือตัวข้อมูลที่จะนำมาสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการทำวิทยานิพนธ์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลถือว่าเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมาก ในหัวข้อย่อยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเค้าโครงวิทยานิพนธ์เป็นการเขียนอธิบายว่าในหัวข้อเรื่องที่ศึกษานั้นมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่ามีกี่ชนิด ประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งการกำหนดเขียนนั้นให้เขียนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยเท่านั้น ส่วนเครื่องมือที่ไม่เกี่ยวข้องในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยไม่ต้องนำมาเขียนไว้ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น แบ่งออเป็น 3 กรณี คือ 1) เครื่องมือที่มีผู้อื่นสร้างไว้เรียบร้อยแล้ว นิสิต นักศึกษายืมมาใช้ ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นของใคร สร้าง พ.ศ. ใด 2) เครื่องมือที่นิสิต นักศึกษาสร้างขึ้นมาเอง 3) กรณีที่วิทยานิพนธ์ทำเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาเครื่องมือ ต้องเขียนแผนภาพประกอบรายละเอียดและทดลองไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง สำหรับการเขียนอธิบายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีรายละเอียดไม่ซับซ้อน มี 2 ลักษณะ คือ

กรณีที่ 1 มีเครื่องมือชนิดเดียวเท่านั้นและมีแบบเดียว มีลักษณะการเขียนดังนี้

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบ…………………….ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน …ฉบับ คือ ………………………………… แบ่งเป็น …………………ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ……………………………(ส่วนมากเป็นสถานภาพของผู้ตอบ) มีลักษณะเป็น ………………………..

ตอนที่ 2 …………………………………..ซึ่งมีลักษณะเป็น …………………………………

กรณีที่ 2 มีเครื่องมือหลายชนิดและมีหลายแบบ มีลักษณะการเขียน ดังนี้

กรณีลักษณะนี้นั้น ควรเขียนเรียงลำดับบอกรายละเอียดของเครื่องมือแต่ละชนิดเท่านั้นตัวอย่างเช่น

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย … ชนิด ดังนี้

1. แบบ…..(ระบุชนิดเครื่องมือ)……..จำนวน .. ฉบับ แบ่งออกเป็น … ตอน คือ …….(บอกชื่อแต่ละตอนเท่านั้นว่าเป็นแบบไหน มีกี่ระดับ อะไรบ้าง)……….

2. แบบ…..(ระบุชนิดเครื่องมือ)……..จำนวน .. ฉบับ แบ่งออกเป็น .. ตอน คือ …….(บอกชื่อแต่ละตอนเท่านั้นว่าเป็นแบบไหน มีกี่ระดับ อะไรบ้าง)……….

3. แบบ…..(ระบุชนิดเครื่องมือ)……..จำนวน .. ฉบับ แบ่งออกเป็น .. ตอน คือ …….(บอกชื่อแต่ละตอนเท่านั้นว่าเป็นแบบไหน มีกี่ระดับ อะไรบ้าง)……….

ตัวอย่างการเขียนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ

ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม

มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List)

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด ตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน มีลักษณะแบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 อันดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด (Open-ended form)

3.1.3 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

หัวข้อนี้ จะกล่าวถึงหลักการ ขั้นตอนการเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือรวบรวมข้อมูล ว่านิสิต นักศึกษาคาดว่าจะสร้างเครื่องมือแต่ละชนิดประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง มีหลักการใดบ้าง กำหนดว่าจะสร้างจำนวนเท่าใด ต้องการจริงเท่าใด มีลักษณะอย่างไร เช่น สร้างแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ สร้างจำนวน 20 ข้อ ต้องการจริง 15 ข้อ เป็นต้นและการหาคุณภาพเครื่องที่ใช้ในการวิจัยนั้น จะใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือกี่คน ทดลองกับใคร จำนวนเท่าใด จะใช้สูตรใดในการหาค่าอำนาจจำแนก หาความยาก หาค่าความเชื่อมั่น และมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเครื่องมือที่ระดับใด ซึ่งในการเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นขั้นตอนโครงร่างที่นิสิต นักศึกษาจะคาดว่าทำและปฏิบัติตามขั้นตอนที่เขียนไว้เท่านั้น แต่หลังจากนิสิตทำแล้วซึ่งจะเขียนเป็นวิทยานิพนธ์นั้น นิสิตต้องปรับเปลี่ยนข้อความใหม่ ซึ่งพบข้อบกพร่องมากในวิทยานิพนธ์ กล่าวคือ นิสิต นักศึกษาไม่มีปรับเปลี่ยนยังคงใช้ข้อความเดิมที่เขียนไว้ในเค้าโครงวิทยานิพนธ์ แท้จริงและถูกต้องนั้น เมื่อนิสิต นักศึกษาทำการสร้างจริง ตรวจสอบและทดลองไปใช้จริงแล้ว ผลที่ได้จะแตกต่างกัน ดังนั้นข้อความก่อนทำกับหลังต้องการแตกต่างกัน ตรงที่ต้องมีการนำเสนอผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและการทดลองใช้ว่า ได้ผลอย่างไร มีการปรับปรุงอะไรบ้าง เข้าเกณฑ์กี่ข้อ นำไปใช้จริงกี่ข้อ นิสิต นักต้องพึงระวังในการเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเค้าโครงวิทยานิพนธ์ สำหรับหลักการ เกณฑ์การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้

3.1) ก่อนลงมือเขียนขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย นิสิต ศึกษาควรศึกษารูปแบบการสร้างเครื่องมือชนิดนั้น ๆ ให้เข้าใจเพื่อความถูกต้องในการเขียน

3.2) ในขั้นการศึกษาเอกสารและงานวิจัย นิสิต นักศึกษาควรระบุชื่อเอกสารที่ค้นคว้าให้ครบและชัดเจน ว่าเป็นของใคร ชื่อหนังสือ พ.ศ. ที่พิมพ์ เช่น ศึกษาเอกสารการสร้างแบบสอบถามจากหนังสือการวิจัยเบื้องต้นของบุญชม ศรีสะอาด(2545 : 90-100)

3.3) กรณีที่เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ขั้นตอนการสร้างนิสิต นักศึกษา ควรสร้างตารางวิเคราะห์รายละเอียด(เนื้อหา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง) และระบุจำนวนข้อที่สร้างขึ้นและต้องการจริงเท่าใด

3.4) การเลือกผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงนั้น นิสิต นักศึกษาควรเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงเครื่องมือ ดังนั้นการเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญ จะทำให้เครื่องมือมีคุณภาพด้วย ผู้เชี่ยวชาญควรมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล

3.5) ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือ นิสิต นักศึกษาต้องเขียนระบุตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งหรือหน้าที่การงาน สถานที่ทำงาน เช่น รศ.ดร. บุญชม ศรีสะอาด อาจารย์ภาควิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล และกรณีเครื่องมือที่สร้างมีมากกว่า 1 ชนิดแต่ใช้คณะผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม การเขียนอธิบายในขั้นตอนการสร้างไม่ต้องเขียนรายละเอียดอีก ระบุข้อความ ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม ในขั้นตอนการสร้างเครื่องมือเท่านั้นพอ เช่น นำเครื่องมือไปให้ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมตรวจสอบความถูกต้อง

3.6) นิสิต นักศึกษาต้องเขียนขั้นตอนการสร้างให้ชัดเจน ถูกต้อง เช่น กระบวนการสร้าง อธิบายค่าอำนาจจำแนก วิธีหาความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรง เพื่อให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจง่ายกรณีที่ใช้เครื่องมือคนอื่นสร้างไว้มาใช้ ต้องระบุว่าเป็นของใคร สร้าง พ.ศ.ใด และที่สำคัญเครื่องนั้นต้องทันสมัย มีความสอดคล้องกับเรื่องที่ทำและไม่ควรเกิน 5 ปี

3.7) เครื่องมือแต่ละชนิดที่สร้างขึ้น ควรเขียนแสดงตัวอย่างลักษณะของเครื่องมือที่ใช้วัด อธิบายวิธีการตรวจให้คะแนน เกณฑ์การให้คะแนนอย่างชัดเจน พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน เช่น มากที่สุด ให้ 5 คะแนน หรือ คะแนนความคิดคล่องในการคิด พิจารณาคำตอบที่เป็นไปได้ในเงื่อนไขของข้อสอบถือว่าเป็นคำตอบที่เป็นไปได้ ให้คำตอบละ 1 คะแนน

3.8) การหาคุณภาพเครื่องมือเป็นรายข้อ (อำนาจจำแนก ความยาก) ให้ทดลองใช้ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างไม่น้อยกว่า 50 คน แล้วคัดเลือกข้อที่ดีไว้ใช้แล้วจึงหาคุณภาพทั้งฉบับ(ความเชื่อมั่น)

3.9) การเขียนขั้นทดลองใช้ นิสิต นักศึกษาควรระบุให้ชัดเจนว่ากลุ่มที่ใช้ทดลองเป็นใคร จำนวนเท่าใด ทดลองวันที่เท่าใด

ตัวอย่าง การเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนการเขียนดังนี้

1. กำหนดจุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

2. ศึกษาเอกสาร ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ(เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย) จากหนังสือของ ……………………………………

3. วางแผนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ว่าจะสร้างกี่ข้อ มีกี่ด้าน แต่ละด้านมีกี่ข้อ

4. สร้าง..(ระบุชื่อเครื่องมือ)…บอกลักษณะของเครื่องมือเป็นแบบใด มีกี่ระดับ มีกี่ด้านอะไรบ้าง สร้างขึ้นจำนวน…ข้อและต้องการจริง จำนวน …. ข้อ (อาจจะสร้างตารางวิเคราะห์รายละเอียดหรือไม่สร้างก็ได้)

5. นำ(ระบุชื่อเครื่องมือ)ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (ระบุด้าน) พิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรง(เชิงประจักษ์) โดยพิจารณาว่าข้อความของเครื่องมือที่สร้างขึ้นนั้น วัดได้(จุดประสงค์ นิยามศัพท์เฉพาะหรือเนื้อหาหรือไม่)แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนน อาจจะเป็น +1 เมื่อแน่ใจวัดได้ตรงในด้านนั้น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าวัดได้ในด้านนั้น และ -1 เมื่อแน่ใจว่าวัดได้ไม่ตรงในด้านนั้น และให้ระบุจำนวนผู้เชี่ยวว่ามีกี่คน ระบุตำแหน่งหน้าที่ สถานที่ทำงาน และระบุผลการตรวจสอบ

ผลการตรวจสอบคุณภาพของ…(ระบุชื่อเครื่อง) … ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเป็นรายข้อแล้วคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง พบว่า ได้ดัชนีความสอดคล้องระหว่าง…..ถึง…..

6. แก้ไข…(ระบุชื่อเครื่อง).. ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำไปทดลองใช้(Try out) กับ …..(ระบุว่าเป็นกลุ่มใด) … ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน…คน

7. วิเคราะห์คุณภาพของ…(ระบุชื่อเครื่องมือ)…

วิเคราะห์..(ระบุชื่อเครื่องมือ)..โดยคำนวณหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยใช้….(ระบุสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์)…. ซึ่งได้ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อตั้งแต่….ถึง…..(ได้ค่าความยากเป็นรายข้อตั้งแต่….ถึง…..(ถ้ามี))และหาค่าความเชื่อมั่นของ..(ระบุชื่อเครื่องมือ)…โดยใช้….(ระบุสถิติที่ใช้)…ปรากฏว่าได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ…

8. จัดพิมพ์..(ระบุชื่อเครื่องมือ)…ฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้จริง (พร้อมแสดงตัวอย่างเครื่องมือ)

จากการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สามารถเขียนเป็นแผนภาพ ดังนี้

1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้าง (เครื่องมือ)

2. ศึกษาทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3. วางแผนการสร้าง(เครื่องมือ)

4. สร้าง(เครื่องมือ)

5. ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงของ(เครื่องมือ)

6. นำ(เครื่องมือ)ที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ (Try – out)

7. วิเคราะห์คุณภาพของ(เครื่องมือ)

8. จัดพิมพ์และนำไปใช้จริง

3.1.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองความมุ่งหมายของการวิจัย เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการวิจัยที่มีความสำคัญ การเขียนขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลในเค้าโครงวิทยานิพนธ์นั้น เป็นการบอกเรื่องราวของขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างว่านิสิต นักศึกษามีขั้นตอนอย่างไรในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยปกติแล้ว จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ การติดต่อขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัยของสถาบันตนเองเพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ติดต่อกับกลุ่มตัวอย่างและดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งในขั้นนี้ต้องมีการเขียนอธิบายให้ชัดเจนตามเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น ถ้าเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบทดสอบหรือแบบวัด ต้องเขียนรายละเอียด วัตถุประสงค์การทำแบบทดสอบหรือแบบวัด การอธิบายวิธีการทำแบบทดสอบหรือแบบวัดและบอกระยะเวลาที่คาดว่าจะเก็บรวบข้อมูล(กรณีที่ระบุได้)

ดังตัวอย่างการเขียนขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

1. ติดต่อขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย………….. เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง

2. ติดต่อกับทางโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง นัดวัน เวลา เพื่อดำเนินการทดสอบ

3. เตรียมแบบทดสอบและแบบวัดให้พร้อมที่จะทำการทดสอบแต่ละครั้ง

4. อธิบายให้นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเข้าใจในวัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำแบบทดสอบ และแบบวัด

5. อธิบายวิธีการทำแบบทดสอบ และแบบวัดให้เข้าใจเสียก่อนลงมือทำ

6. ดำเนินการเก็บรวบรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ ……………ถึงวันที่………………………..

7. นำผลที่ได้จาการทดสอบและวัดมาตรวจดูความสมบูรณ์ของการตอบ

แล้วจึงนำไปตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนที่อธิบายไว้หัวข้อการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.1.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

การเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ หัวข้อการวิเคราะห์ข้อมูล มักพบข้อบกพร่องในการเขียนทั้งนี้เนื่องจากนิสิต นักศึกษา มักจะเขียนอธิบายวิธีการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ซึ่งแท้จริงแล้วในขั้นนี้จะเขียนอธิบายการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัยเท่านั้น ส่วนมากนิสิต นักศึกษามักเข้าใจผิด เช่น ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์แบบสอบถาม เป็นต้น

ตัวอย่างการเขียนการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

1. หาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย โดยใช้โปรแกรม SPSS for Window

วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์กับตัวแปรเกณฑ์

3.1.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ปกติแล้วหัวข้อนี้มักพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ หัวข้อเป็นหัวข้อสุดท้ายในการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เป็นการเขียนอธิบายหรือรวบรวมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยทั้งหมด ว่าสถิติที่ใช้มีอะไรบ้าง พร้อมสูตรสถิตินั้นที่ใช้ บางสถาบันอาจจะไม่มีการเขียนอธิบายสูตรสถิติ เพียงอธิบายว่าใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น สำหรับการเขียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นประกอบด้วยสถิติ 3 กลุ่มด้วยกันคือ 1) สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2) สถิติพื้นฐานและ3) สถิติทดสอบสมมติฐาน ซึ่งในหัวข้อนี้มักพบบกพร่องหลายประการคือ เขียนสูตรผิด ไม่มีการอ้างอิงว่าเอามาจากไหน เขียนสถิติซ้ำซ้อน ดังนั้นเพื่อลดข้อบกพร่องเหล่านี้มีหลักในการเขียน ดังนี้

7.1) เรียงลำดับหัวข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้อง ปกติแล้วจะเริ่มด้วย สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติพื้นฐานและสถิติทดสอบสมมติฐาน ตามลำดับ

7.2) สถิติที่นำมาเขียนทุกตัวต้องมีอ้างอิงที่มาอย่างชัดเจน และถูกต้อง เช่น

หาค่าเฉลี่ยโดยใช้สูตร ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2543 : 102)

7.3) สูตรที่นำเขียน ต้องเขียนอธิบายสัญลักษณ์ ให้ถูกต้องและชัดเจน

7.4) กรณีการหาค่าอำนาจำแนก ค่าความยากต้องระบุสถิติให้ชัดเจนว่าเป็นสูตรใด เพราะมีสถิติหลายตัวที่สามารถหาค่าเหล่านี้ได้และต้องมีความถูกต้องกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยด้วย เช่น ถ้าเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ส่วนมากคือ t-test หรือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย เป็นต้น

ตัวอย่างการเขียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้

1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย

3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

Credit : https://bit.ly/3lPb6sI

#เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation #ทำthesis #ทำวิทยานิพนธ์ #ทำวิทยานิพนธ์ปตรี #ทำวิทยานิพนธ์ปโท #ทำวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนโปรแกรมSPSS #รับทำงานวิจัย #ที่ปรึกษางานวิจัย #รับทำดุษฎีนิพนธ์ #รับติววิทยานิพนธ์ #รับติวธีสิส #รับติวสารนิพนธ์ #รับติววิจัย #รับติวงานวิจัย #รับสอนวิทยานิพนธ์ #รับสอนธีสิส #รับสอนสารนิพนธ์ #รับสอนวิจัย #รับสอนงานวิจัย #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ #รับปรึกษาธีสิส #รับปรึกษาสารนิพนธ์ #รับปรึกษาวิจัย #รับปรึกษางานวิจัย #รับติววิทยานิพนธ์ปตรี #รับติววิทยานิพนธ์ปโท #รับติววิทยานิพนธ์ปเอก #รับสอนวิทยานิพนธ์ปตรี #รับสอนวิทยานิพนธ์ปโท #รับสอนวิทยานิพนธ์ปเอก #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปตรี #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปโท #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนทำวิจัย ##รับสอนดุษฎีนิพนธ์ #รับติวดุษฎีนิพนธ์ #รับปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ #ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ปรึกษาวิจัย #ปรึกษางานวิจัย #ทำวิจัยปโท

phdthesis #หัวข้อวิทยานิพนธ์ #รับทำdissertation #บริษัทรับทำวิจัย #รับเขียนบทความวิชาการ

thesiswriter

spssราคา #ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ทำวิจัยพยาบาล #รับปรึกษาวิจัย #ราคารับทำงานวิจัย

Research Methodology มีกี่ขั้นตอน

การก าหนดปัญหา (Problem) การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) การรวบรวมข้อมูล (Data gathering) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) การสรุปผล (Conclusion)

Methodology กับ method ต่างกันอย่างไร

Methodology \= Methods หลายตัวรวมกัน Method \= แนวทาง ขั้นตอน หรือการดำเนินงานเพื่อทำงานหรือแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง (มักอ้างถึง procedure + processes) แต่ Practices หรือการนำ Process มาลองทำ แล้วพิจารณาข้อดีข้อเสียและความเหมาะสมในการนำไปใช้ ใน context/environment ของตนหรือไม่ (practice = process + experience)

ขั้นตอนการวิจัย 5 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง

ขั้นตอนการทำวิจัย.

1. เลือกหัวข้อปัญหาที่จะศึกษาวิจัย.

2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมแนวคิดและทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.

3. กำหนดขอบเขตของปัญหา คำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย.

4. ค้นหาและกำหนดสมมติฐานของการวิจัย.

5. นำแนวคิดและทฤษฎีมาสร้างปัจจัยหรือตัวแปรที่ส่งผลต่องานวิจัย.

Content analysis มีวิธีการอย่างไร

2.3 การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เป็นเทคนิคการวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ สาร โดยมุ่งเน้นการค้นหาข้อสรุปและการตีความเกี่ยวกับคุณลักษณะต่าง ๆ ของสาร ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร บริบทในการสื่อสาร ผลจากการสื่อสาร พฤติกรรมทางสังคมที่สะท้อนผ่านสารตลอดจน เพื่อทดสอบสมมติฐานต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในทฤษฎี