Pat ย อมาจากอะไร หมายถ งอะไร ม patอะไรบ าง

Pat ย อมาจากอะไร หมายถ งอะไร ม patอะไรบ าง

Show

GAT ย่อมาจาก General Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป เพื่อวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนมหาวิทยาลัย โดยข้อสอบจะเน้นวิเคราะห์เป็นหลัก

เนื้อหา -> การอ่าน เขียน คิดวิเคาระห์และการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 50% -> การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50%

ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นแบบปรนัยและอัตนัย -> คะแนน 300 คะแนน เวลาสอบ 3 ชั่วโมง -> ข้อสอบเน้น Content Free และ Fair -> เน้นความซับซ้อน (Complexity) มากกว่าความยาก -> มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อสอบ

จัดสอบปีละ 3 ครั้ง (มีนาคม , กรกฎาคม, ตุลาคม ) -> คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (สอบได้ตั้งแต่ม.4)

Pat ย อมาจากอะไร หมายถ งอะไร ม patอะไรบ าง

PAT ย่อมาจาก Professional Aptitude Test เป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ แบ่งเป็นทั้งหมด 6 ชุด ประกอบด้วย

PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonomentry, Calculus ฯลฯ -> ลัษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills

PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ -> เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics,Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Preceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability

PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น Architectural Math and Sciences ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability

PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น ความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ ครุศาสตร์ (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทางศิลป์ ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศ -> เนื้อหา จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions -> ลักษณะข้อสอบ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills

ลักษณะข้อสอบ PAT – จะเป็นปรนัย และอัตนัย – เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก – มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ

จัดสอบ – เมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง – คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด

ขอขอบคุณขอมูลดีๆจาก blog.eduzone.com

เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ

Pat ย อมาจากอะไร หมายถ งอะไร ม patอะไรบ าง

บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าอภิปราย หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้ทันที โดยการกดปุ่ม แก้ไข ด้านบน ซึ่งเมื่อตรวจสอบและแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออก

การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (เรียกสั้น ๆ ว่า ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา) เป็นระบบการรับสมัครบุคคลที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษามีการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 :3 ระบบเริ่มแรกเป็น (ปี 2543 - 2548) ซึ่งมักเรียกกันว่า องค์การและหน่วยงานในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ปัจจุบัน) และสถาบันอุดมศึกษาของไทย ก็ได้ร่วมมือกันปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องเป็น ระบบแอดมิสชันส์กลาง ซึ่งสามารุถแบ่งออกเป็น 3 เวอร์ชันตามกระบวนการรับสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา คือ (ปี 2549 - 2552), (ปี 2553 - 2560) และ (ปี 2561 - ปัจจุบัน)

ประวัติ[แก้]

การพัฒนาระบบคัดเลือกกลาง19611962รวม 6 สถาบัน คือ จฬ. มธ. มก. มม. มศก. และ มจธ.19631964รวม 8 สถาบัน คือเพิ่ม มช. และ มข.196519661967รวม 10 สถาบัน คือเพิ่ม มอ. และ สจล.196819691970197119721973ทบวงมหาวิทยาลัย รับงาน197419751976197719781979198019811982198319841985198619871988198919901991199219931994199519961997199819992000200120022003มีพรบ. สกอ.20042005ก่อตั้ง สทศ.2006200720082009เริ่มสอบ GAT/PAT201020112012201320142015201620172018

ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย ผ่านการพัฒนาตั้งแต่ปีการศึกษา 2504 จนถึงปัจจุบัน โดยมีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

สกอ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (OHEC) ทบวง ทบวงมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2515 - 2546 ปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สพฐ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC) สำนักงานปลัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (OPS-MOE) สกศ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หรือ สภาการศึกษาแห่งชาติ (ONEC) ทปอ. ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (CUPT)... สทศ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (NIETS)

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง CUAS[แก้]

ประวัติ[แก้]

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา CUAS (Central University Admissions System) เป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย มีพัฒนาการในช่วงปีการศึกษา 2504 – 2542

  • ก่อนปีการศึกษา 2504 – มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งดำเนินการสอบเอง
  • ปีการศึกษา 2504 – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) จัดสอบร่วมกัน โดยมี (สภาการศึกษาแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงาน
  • ปีการศึกษา 2505 – สถาบันการศึกษาอีก 6 แห่ง จัดสอบร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการสละสิทธิ์และการเพิ่มจำนวนสำรองที่นั่งจากการที่ผู้สมัครได้หลายสถาบัน ทำให้นักเรียนในขณะนั้นต้องเสียเวลาสอบหลายแห่ง มีค่าใช้จ่ายมาก และมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปัจจุบัน)
  • ปีการศึกษา 2507 – สถาบันการศึกษาอีก 2 แห่งเข้าร่วม คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปัจจุบัน)
  • ปีการศึกษา 2509 – คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลับไปใช้วิธีสอบแยก แต่การดำเนินการเกิดปัญหามาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไป เนื่องจากต้องมีการเรียกสอบสัมภาษณ์เพิ่มหลายรอบ
  • ปีการศึกษา 2510 – คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของสภาการศึกษาแห่งชาติ ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลับมาใช้วิธีสอบรวมอีกครั้ง และสถาบันการศึกษาอีก 2 แห่งเข้าร่วม คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปัจจุบัน)
  • ปีการศึกษา 2516 – ทบวงมหาวิทยาลัยรับโอนงานการสอบคัดเลือกจากสำนักสภาการศึกษาแห่งชาติ แนวทางการคัดเลือกในช่วงนี้ ผู้สมัครมีสิทธิ์เลือกคณะหรือสถาบันการศึกษาได้ 6 อันดับ และเลือกวิชาสอบไปในคราวเดียวกัน หลังจากที่ระบบสอบคัดเลือกรวมได้ดำเนินการได้ระยะหนึ่ง ก็พบประเด็นปัญหาที่สำคัญดังนี้
    • การคัดเลือกแบบเดิมมีผลทางลบต่อการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ ผู้เรียนส่วนใหญ่จะไม่สนใจเรียนวิชาที่ไม่ต้องใช้ในการสอบคัดเลือก เป้าหมายของการเรียนกลายเป็นการสอบเข้าศึกษาต่อเท่านั้น ผลที่ตามมาคือ นักเรียนที่เรียนดีได้มุ่งสอบเทียบเพื่อให้ตนมีคุณสมบัติเทียบเท่าสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยโดยเรียนไม่ครบตามชั้นปี ผู้ปกครองหรือนักเรียนอาจเห็นว่าเป็นการประหยัดเงินและเวลา ส่งผลให้มีผู้เรียนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาก่อนมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม และการจัดชั้นเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายก็มีปัญหาตามมา
    • การคัดเลือกแบบเดิมได้นักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เข้าเรียน เนื่องจากมีการสอบเฉพาะวิชาสามัญ
    • จำนวนผู้เข้ารับการคัดเลือกมีแนวโน้มสูงขึ้น
    • ระบบการคัดเลือกสร้างความเครียดให้นักเรียนและผู้ปกครอง
    • มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา เนื่องจากดำเนินการเฉพาะช่วงปิดภาคการศึกษาเท่านั้น

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง UCAS (2543 - 2548)[แก้]

ระบบคัดเลือก UCAS ถูกใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย ในช่วงปีการศึกษา 2543 - 2548 ทบวงมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา ตรวจสอบ และพัฒนาการนำผลการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จึงได้ผลเป็นระบบคัดเลือกใหม่และทบวงให้ใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ระบบคัดเลือกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้ผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถและความถนัดตรงกับสาขาวิชาที่ต้องการเข้าเรียน การคัดเลือกใช้องค์ประกอบ 2 ส่วนในการพิจารณา คือ ผลการเรียนตลอดหลักสูตรระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (ค่าน้ำหนัก 10%) และผลการสอบวิชาหลักและวิชาเฉพาะ (เรียกรวมว่า การสอบวัดความรู้ ) (ค่าน้ำหนัก 90%) และมีการดำเนินการสอบวัดความรู้ ปีละ 2 ครั้ง แล้วนำคะแนนครั้งที่มากมาคำนวณและจัดลำดับผลการสอบของผู้สมัครแต่ละคน

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง ระยะที่ 1[แก้]

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง หรือ ระบบ Admissions ระยะที่ 1 ได้ประกาศใช้โดย สกอ. และ ทปอ. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 ระบบคัดเลือกนี้ใช้ GPAX, GPA (กลุ่มสาระฯ ), O-NET และ A-NET เป็นองค์ประกอบของเกณฑ์การคัดเลือก

ในที่นี้ คำว่า ผลการเรียน หมายถึง ผลการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า, การรับเข้าศึกษาต่อ : การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย, สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยหรือสถาบันผู้รับเข้าศึกษา, การคัดเลือก : การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

ความเป็นมาของระบบกลาง (Admissions) ระยะที่ 1

  • ทปอ. ได้เสนอให้ทบวงพิจารณาปรับปรุงระบบการคัดเลือกในระบบสอบรวม โดยขอให้เริ่มตั้งแต่รุ่นปีการศึกษา 2547 เป็นต้นไป โดยยึดหลักการให้เพิ่มผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกมากขึ้น และพิจารณาความสามารถของผู้สมัครจากผลการสอบวิชาหลัก และ/หรือแบบทดสอบมาตรฐานความสามารถทางการเรียน ซึ่งจัดสอบโดย สทศ. ที่จะจัดตั้งขึ้น
  • สำหรับผลการเรียนต้องได้รับการตรวจสอบจาก สพฐ. หรือสำนักงานปลัด หรือต้นสังกัดต่าง ๆ เพื่อป้องกันการคิดเกรดผิดพลาด
  • ทั้งนี้ สถานศึกษาอาจกำหนดคุณสมบัติอื่น หรือให้มีการสอบวิชาเฉพาะ ซึ่งแต่ละสถานศึกษา หรือ สทศ.เป็นฝ่ายจัดสอบ หรือกลไกการสอบรวม (ทบวงเป็นผู้ประสานงานและสถานศึกษาเป็นศูนย์สอบ) เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 Admissions ระยะที่ 1: องค์ประกอบ GPAX 10% GPA (กลุ่มสาระ) 20% O-NET 35–70% A-NET และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา 0–35%
  • การพิจารณาของ ทปอ. ร่วมกับ สกอ. ได้ยึดหลักการแนวทางเพื่อกำหนดเป็นระบบกลางของการรับเข้าศึกษาต่อ มีสาระดังนี้
  • ระบบใหม่จะต้องปรับเปลี่ยนจาก เป็นระบบที่พิจารณาจากผลการเรียน และต้องเป็นระบบที่มีความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • การพิจารณาผลการเรียนเพื่อการรับเข้าศึกษาต่อจะพิจารณาจากการวัดผลด้วยวิธีการและตามช่วงวลาต่าง ๆ ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ตามกระบวนการปฏิรูปการศึกษา
  • หลีกเลี่ยงการสอบเพิ่มเติม หรือแม้หากมีการสอบเพิ่มเติมกำหนดให้ไม่เกิน 3 วิชา
  • การปรับปรุงระบบการคัดเลือกได้ดำเนินการมาโดยลำดับ ได้ข้อยุติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2548 โดย ทปอ. ประกาศการใช้ระบบการคัดเลือกนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 (ดูตารางขวามือ)

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง ระยะที่ 2[แก้]

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง หรือ ระบบ Admissions ระยะที่ 2 ได้ประกาศใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 โดยใช้ GPAX, GPA (กลุ่มสาระ), O-NET, และ PAT เป็นองค์ประกอบของเกณฑ์การคัดเลือก

เนื่องจาก ได้รับเสียงวิจารณ์เรื่องการให้สัดส่วนผลการเรียนมากเกินไป การรับเข้าศึกษาด้วยระบบ Admissions มีเป้าหมายว่า เมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบ สถานศึกษาจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณารับเข้าและประกาศเกณฑ์อย่างทั่วถึง ผู้ที่สนใจจะสมัครเข้าศึกษาต่อสถาบันศึกษาใดจะต้องนำผลการสอบที่ สทศ. จัดสอบเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันและต้องไม่เพิ่มภาระแก่ผู้สมัคร ที่สามารถจะนำผลการสอบไปยื่นสมัครที่หน่วยคัดเลือกกลางที่มีกลไกดำเนินงานที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

Admissions ระยะที่ 2: องค์ประกอบ GPAX 20% GAT 10–50% O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30% PAT 0–40%

ในการปรับปรุงระบบ ทปอ. ได้มอบให้กลุ่มเสวนาการรับบุคคลเข้าศึกษาและการวัดผล (Admissions and Assessment Forum) ดำเนินการ โดยมีหลักการซึ่ง ทปอ. ให้พิจารณานำผลการเรียนและการสอบ PAT เป็นองค์ประกอบของการคัดเลือก ผลการเรียนประกอบด้วย GPAX และผลการสอบ O-NET ส่วน PAT จะแทนที่การสอบ A-NET และ/หรือวิชาเฉพาะ เนื่องจากหลักการของ PAT เป็นการทดสอบความถนัดทางการเรียนซึ่งไม่เน้นเนื้อหาวิชา จึงสามารถจัดสอบได้หลายครั้งในแต่ละปี ทปอ. เห็นชอบองค์ประกอบการคัดเลือกปีการศึกษา 2553 ดังตารางทางขวามือ

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS[แก้]

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS (Thai university Central Admission System) เป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561

ความเป็นมา

  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) พิจารณาปรับรูปแบบการรับเข้าศึกษา โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนจนจบหลักสูตร ให้จัดการสอบเพื่อการคัดเลือกได้หลังจากนักเรียนเรียนจบหลักสูตรโดยใช้ข้อสอบของส่วนกลาง และให้มีการบริหารสิทธิ์ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย :6
  • ทปอ.ได้รับหลักการและเสนอแนวทางการรับเข้าอุดมศึกษาแบบใหม่ โดยสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายทปอ. 30 แห่ง ร่วมกันพิจารณากระบวนการคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา เพื่อความเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ด้วยหลักการ 3 ประการ :6
  • ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎและที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับหลักการในการเข้าร่วมดำเนินการตามแนวทางนี้ด้วย :6

เกณฑ์การคัดเลือกและกระบวนการ[แก้]

ระเบียนสถาบันอุดมศึกษา[แก้]

การสอบเอ็นทรานซ์[แก้]

การสอบเอ็นทรานซ์ (Entrance Examination) เป็นส่วนหนึ่งของ การสอบเอ็นทรานซ์เป็นการวัดความรู้เป็นหลัก โดยสำนักทดสอบกลาง ทบวงมหาวิทยาลัย ต่อมาคือ สำนักทดสอบกลาง สกอ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ในปัจจุบัน)

การจัดสอบเอ็นทรานซ์มีรายวิชาหลัก (วิชาความรูพื้นฐานวิชาการ) และวิชาเฉพาะ (วิชาพื้นฐานวิชาชีพ) จัดสอบปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 วัน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2541 ผลของการสอบเอ็นทรานซ์ถูกใช้ในการนำคะแนนครั้งที่มากมาคำนวณจัดเรียงลำดับที่ของผู้สมัครแต่ละคน คะแนนของการสอบเอ็นทรานซ์มีอายุ 3 ปี

วิชาสอบเอ็นทรานซ์[แก้]

การสอบวิชาหลักและวิชาเฉพาะ (เรียกรวมว่า การสอบวัดความรู้ ) มีรายวิชาที่กำหนดไว้ตามความต้องการของแต่ละคณะหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ในระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย

  • 01 ภาษาไทย
  • 02 สังคมศึกษา
  • 03 ภาษาอังกฤษ
  • 04 คณิตศาสตร์ 1
  • 05 เคมี
  • 06 ฟิสิกส์
  • 07 ชีววิทยา
  • 08 วิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ
  • 09 คณิตศาสตร์ 2
  • 10 ภาษาฝรั่งเศส
  • 11 ภาษาเยอรมัน
  • 12 ภาษาบาลี
  • 13 ภาษาอาหรับ
  • 14 ภาษาจีน
  • 15 ภาษาญี่ปุ่น
  • 16 ความถนัดทางวิศวกรรม (พื้นฐานทางวิศวกรรม)
  • 17 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ (พื้นฐานสถาปัตย์)
  • 18 ความถนัดทางวิชาชีพครู วัดแววความเป็นครู)
  • 19 พลศึกษา
  • 20 ดนตรีปฏิบัติ (ไทย)
  • 21 ดนตรีปฏิบัติ (สากล)
  • 22 ความถนัดทางศิลป์
  • 23 ทฤษฎีทัศนศิลป์
  • 24 ปฏิบัติทัศนศิลป์
  • 25 ทฤษฎีนฤมิตศิลป์
  • 26 ปฏิบัตินฤมิตศิลป์
  • 27 ความรู้ทั่วไปทางศิลปวัฒนธรรม
  • 28 ความสามารถทางศิลปะ
  • 29 วาดเส้น
  • 30 องค์ประกอบศิลป์
  • 31 วาดเส้นมัณฑนศิลป์
  • 32 ออกแบบภายใน
  • 33 ออกแบบนิเทศศิลป์
  • 34 ออกแบบผลิตภัณฑ์
  • 35 ออกแบบประยุกต์ศิลป์
  • 36 ออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา
  • 37 ความถนัดทางนิเทศศิลป์
  • 38 ทฤษฎีดุริยางคศิลป์
  • 39 ทฤษฎีนาฎยศิลป์
  • 40 ปฏิบัตินาฎยศิลป์ (ไทย)
  • 41 ปฏิบัตินาฎยศิลป์ (สากล)

เกณฑ์การคัดเลือกและกระบวนการ TCAS[แก้]

หลักเกณฑ์การคัดเลือกและกระบวนการที่สำคัญ

  1. การคัดเลือกของทั้งประเทศจะมี 5 รอบ :11-13
  2. การสอบคัดเลือกในแต่ละรอบเมื่อรับเสร็จจะทำการ Clearing คือ ผู้สมัคร 1 คน มี 1 สิทธิ์ในการยืนยันการเข้าศึกษต่อในสาขาที่สอบได้ เมื่อยืนยันแล้วระบบจะตัดชื่อออกจากการมีสิทธิ์สมัครสอบรอบต่อไป หากต้องการสมัครรอบต่อไปต้องสละสิทธิ์ก่อน หากมีการสมัครครั้งต่อไปโดยไม่สละสิทธิ์แล้วผ่านการคัดเลือกจะถือเป็นโมฆะ :13 ทั้งนี้มีปฏิทินกำหนดวันที่ทำการ Clearing แน่นอน ดังเช่นในประกาศของ ทปอ. ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2560
  3. คะแนนวิชาสามัญ มี 9 วิชา วิชาละ 100 คะแนน (มีการจัดสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที จัดสอบ 2 วัน) วิชารวม:
    • สายวิทย์-ศิลป์ คือ ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ
    • สายวิทย์ 3+4 วิชา 700 คะแนน
    • สายศิลป์ 3+2 วิชา 500 คะแนน
  4. คะแนน GAT/PAT มีอายุ 2 ปี :36
  5. สำหรับรอบที่ 3 (การรับตรงร่วมกัน) ทปอ. เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร ผู้สมัครสามารถเลือก 4 สาขาวิชา แบบไม่มีลำดับ :12
  6. สำหรับรอบที่ 4 (การรับแบบ Admission) ทปอ. เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร ผู้สมัครสามารถเลือก 4 สาขาวิชา แบบมีลำดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี :12 - ดูเกณฑ์ค่าน้ำหนักที่ หลักเกณฑ์การคัดเลือก และกระบวนการ TCAS รอบ กระบวนการ กลุ่มเป้าหมาย ที่รับสมัคร สอบข้อเขียน? กำหนดเวลา หมายเหตุ ผู้สมัครทั่วไป เฉพาะกลุ่ม 1 รับด้วย Portfolio
    Pat ย อมาจากอะไร หมายถ งอะไร ม patอะไรบ าง
    กลุ่มเฉพาะ 1 สถานศึกษา ไม่ มีนาคม ไม่มีการสอบข้อเขียน 2 รับแบบโควต้า
    Pat ย อมาจากอะไร หมายถ งอะไร ม patอะไรบ าง
    กลุ่มเฉพาะ 2 สถานศึกษา อาจจะ พฤษภาคม มีการสอบข้อเขียนหรือข้อปฏิบัติ 3 รับตรงร่วมกัน
    Pat ย อมาจากอะไร หมายถ งอะไร ม patอะไรบ าง
    กลุ่มเฉพาะ 3 ทปอ. ใช่ มิถุนายน 4 รับแบบ Admissions
    Pat ย อมาจากอะไร หมายถ งอะไร ม patอะไรบ าง
    ทปอ. ใช่ กรกฎาคม ใช้เกณฑ์แต่ละสาขาเหมือนกัน 5 รับตรงอิสระ
    Pat ย อมาจากอะไร หมายถ งอะไร ม patอะไรบ าง
    สถานศึกษา อาจจะ ปลายกรกฎาคม คุณสมบัติของผู้สมัครและเงื่อนไข TCAS
  7. จบการศึกษามัธยมตอนปลายหรือเทียบเท่า (กศน. และ ปวช.)
  8. มีระเบียน (ใบรับรองผลการศึกษา) แสดงผลการเรียนที่แสดงค่าผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ที่ระบุวันที่จบภายในวันสุดท้ายของการรับสมัครแอดมิชชั่นกลาง
  9. เลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ 4 อันดับ (สาขาวิชา)
  10. มีคุณสมบัติเฉพาะ (ถ้ามี) ในหนังสือระเบียบการคัดเลือกฯ ซึ่มีรายละเอียดตามที่มหาวิทยาลัยแค่งละแห่งเป็นผู้กำหนด

เกณฑ์การคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาระบบกลาง[แก้]

ระบบการตัดเลือกเข้าอุดมศึกษาระบบกลาง (Admissions) เป็นระบบที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) รับผิดชอบในการจัดการทดสอบวัดความรู้พื้นฐาน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549

เกณฑ์การคัดเลือก จากการสอบมีการเปลี่ยนแปลงในชนิดการทดสอบ และค่าน้ำหนัก ดังตารางข้างล่างนี้ ในช่วงปีการศึกษา 2549 - 2561 ตามข้อมูลต่อไปนี้

  • 2549 : เมื่อปีการศึกษา 2549
  • 2550 : ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง ระยะที่ 1
  • 2551 : ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง ระยะที่ 1
  • 2559 : เมื่อปีการศึกษา 2553 และ 2559
  • 2561 : ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS, รอบที่ 4 เกณฑ์การคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา องค์ประกอบ ค่าน้ำหนัก ระบบ Admissions กลาง หมายเหตุ 2549 2550 2551 2553-2559 2561 GPAX 10% 10% 10% 20% 20% GPA (กลุ่มสาระ) 20% 30% 40% O-NET 35–70% 60% 50% 30% 30% A-NET และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา 0–35% GAT 10-50% 10-50% PAT 0-40% 0-40%

ค่าน้ำหนักกลุ่มสาขาวิชา TCAS 4[แก้]

ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบ (GPAX, O-NET, GAT, PAT) ตามกลุ่มสาขาในการคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษา เมื่อปีการศึกษา 2561

PAT

1: คณิตศาสตร์ 2: วิทยาศาสตร์ 3: วิศวกรรมศาสตร์ 4: สถาปัตยกรรมศาสตร์ 5: วิชาชีพครู 6: ศิลปกรรมศาสตร์ 7.1: ภาษาฝรั่งเศส 7.2: ภาษาเยอรมัน 7.3: ภาษาญี่ปุ่น 7.4: ภาษาจีน 7.5: ภาษาอาหรับ 7.6: ภาษาบาลี 7.7: ภาษาเกาหลี

ระบบกลาง TCAS รอบ 4 : กลุ่มสาขาวิชาและค่าน้ำหนัก# กลุ่มสาขา สาขา GPAX O-NET GAT PAT หมายเหตุ 01 วิทยาศาสตร์สุขภาพ | - ดูรายชื่อสาขาในคอลัมน์ 'สาขา' 20% 30% 20% 30% PAT 2 - ทันตแพทยศาสตร์ 20% 30% 20% 30%

  • PAT 1 10%
  • PAT 2 20%

- เภสัชศาสตร์ 20% 30% 10% 40% PAT 2 02 วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ - วิทยาศาสตร์, ทรัพยากรธรรมชาติ 20% 30% 10% 40%

  • PAT 1 10%
  • PAT 2 30%

- เทคโนโลยีสารสนเทศ 20% 30% 10% 40%

  • PAT 1 20%
  • PAT 2 20%

03 วิศวกรรมศาสตร์ 20% 30% 15% 35%

  • PAT 2 15%
  • PAT 3 20%

04 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 20% 30% 10% 40% PAT 4 05 เกษตรศาสตร์ 20% 30% 10% 40%

  • PAT 1 10%
  • PAT 2 30%

06 บริหารธุรกิจ พาณิชย์ศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ - บริหารธุรกิจ |พาณิชยศาสตร์ การบัญชี เศรษฐศาสตร์ 20% 30% 30% 20% PAT 1 - การท่องเที่ยวและการโรงแรม รูปแบบที่ 1 20% 30% 50% - การท่องเที่ยวและการโรงแรม รูปแบบที่ 2 20% 30% 40% 10% PAT 7 (เลือก 1 วิชา) 07 ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ - รูปแบบที่ 1 20% 30% 20% 30% PAT 5 - รูปแบบที่ 2 20% 30% 20% PAT 1/2/3/4/6/7 (เลือก 1 วิชา) 08 ศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ 20% 30% 10% 40% PAT 4 หรือ PAT 6 (เลือก 1 วิชา) 09 สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ - พื้นฐานวิทยาศาสตร์ 20% 30% 30% 20% PAT 1 - พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 20% 30% 50% - พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 20% 30% 30% 20% PAT 7 (เลือก 1 วิชา)

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้[แก้]

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือ GPA กลุ่มสาระฯ คือ ผลการเรียนเฉลี่ยของวิชาพื้นฐาน และวิชาเลือก ที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย เฉพาะในสาระการเรียนรู้นั้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้'

  • 21 ภาษาไทย
  • 22 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • 23 ภาษาต่างประเทศ
  • 24 คณิตศาสตร์
  • 25 วิทยาศาสตร์
  • 26 สุขศึกษาและพลศึกษา
  • 27 ศิลปะ
  • 28 การงานอาชีพและเทคโนโลยี

เช่น หากได้เรียนวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ก็จะนำผลการเรียนไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หรือหากเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานและวิชาภาษาเยอรมัน ก็จะนำไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เป็นต้น

แต่ละคณะจะกำหนดกลุ่มสาระและค่าน้ำหนัก (เป็น %) ของกลุ่มสาระที่จะนำ GPA มาพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับสาขาที่จะศึกษาต่อ โดยส่วนใหญ่จะนำ GPA ของวิชาภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มาใช้ แต่คณะมนุษยศาสตร์ก็มักจะไม่ใช้ GPA คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาในการพิจารณา

เมื่อนักเรียนจบ () จะได้รับใบแสดงผลการเรียน (ปพ.) ซึ่งบอกทั้ง GPAX และ GPA กลุ่มสาระอยู่แล้ว จึงไม่ต้องคำนวณเอง

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน[แก้]

หรือ โอเน็ต (O-NET) โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ จัดสอบตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ โอเน็ต วัดผล ใน จัดสอบ 5 กลุ่มสาระ ได้แก่

  • ภาษาไทย
  • คณิตศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์
  • ภาษาอังกฤษ
  • สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

แต่ละปีมีการจัดสอบโอเน็ตเพียงครั้งเดียว เวลาสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง[แก้]

การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูง (Advanced National Educational Test; A-NET) เป็นการสอบความรู้ขั้นสูง 6 ภาคเรียน ทดสอบเฉพาะนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในระบบแอดมิชชั่น จำนวนวิชาสอบ 11 วิชา ตามแต่ละคณะที่กำหนด มีช่วงเวลาสอบในเดือนตุลาคมและเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้ยกเลิกการสอบเอเน็ตแล้วเปลี่ยนไปใช้ (GAT-PAT) แทน รวมมีการจัดสอบเอเน็ตทั้งหมด 4 ครั้ง

เอเน็ต (A-NET) เป็นการสอบสำหรับผู้ประสงค์จะเข้าศึกษาสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 ()

การสอบวิชาเฉพาะ[แก้]

วิชาเฉพาะ' ภาษาต่างประเทศ

  • 31 ภาษาฝรั่งเศส
  • 32 ภาษาเยอรมัน
  • 33 ภาษาบาลี
  • 34 ภาษาอาหรับ
  • 35 ภาษาจีน
  • 36 ภาษาญี่ปุ่น

ความถนัด

  • 37 ความถนัดทางวิศวกรรม (พื้นฐานทางวิศวกรรม)
  • 38 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
  • 39 ความถนัดทางวิชาชีพครู (วัดแววความเป็นครู)
  • 40 ความรู้ความถนัดทางศิลป์
  • 41 ทฤษฎีทัศนศิลป์
  • 42 ปฏิบัติทัศนศิลป์
  • 43 ทฤษฎีนฤมิตศิลป์
  • 44 ปฏิบัตินฤมิตศิลป์
  • 45 วาดเส้น
  • 46 องค์ประกอบศิลป์
  • 47 ความถนัดทางนิเทศศิลป์

วิชาเฉพาะมีลักษณะเดียวกับ A-NET คือ ขึ้นอยู่กับความต้องการของคณะหรือสาขาวิชา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาษาต่างประเทศ และความถนัด

  • สำหรับปีการศึกษา 2548 สทศ. จัดสอบวิชาเฉพาะ (ภาษาต่างประเทศ) พร้อมกับการสอบ O-NET และ A-NET ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2549
  • สำหรับปีการศึกษา 2548 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เป็นผู้จัดสอบวิชาเฉพาะ (ความถนัด) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548
  • ปี พ.ศ. 2552 เป็นปีสุดท้ายที่มีการใช้ A-NET และปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นไปได้ใช้ และ แทน

ขั้นตอนของระบบแอดมิสชันส์[แก้]

ระบบแอดมิสชันส์: กลุ่มสาขาวิชา

  • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • วิทยาศาสตร์กายภาพ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากร
  • วิศวกรรมศาสตร์
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • เกษตรศาสตร์
  • บริหารธุรกิจพาณิชย์ศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์
  • ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
  • ศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
  • สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ขั้นตอนของแอดมิสชันส์ต่อไปนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือก และ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไปใช้

  1. ทดสอบแบบทดสอบต่าง ๆ ตามที่แต่ละคณะ/สาขาวิชาได้กำหนดไว้ให้ครบถ้วน
  2. สมัครและเลือกคณะที่ต้องการศึกษาต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเลือกได้ไม่เกิน 4 อันดับ และชำระค่าสมัครผ่านทางธนาคารหรือไปรษณีย์
  3. ระบบการคัดเลือกจะนำคะแนนขององค์ประกอบต่าง ๆ มาคำนวณเพื่อตัดสินผลตามอันดับที่ผู้มัครได้เลือกไว้ การคำนวณนี้จะใช้ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบตามกลุ่มสาขาที่เลือก (ดูตารางขวามือ) แต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำหนักตามข้อตกลงร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษา, ทปอ. และ สกอ. องค์ประกอบของการพิจารณาคัดเลือก - ปีการศึกษา 2549-2552 : GPAX, GPA (กลุ่มสาระฯ ), O-NET และ A-NET - ปีการศึกษา 2553-2560 : GPAX, GPA (กลุ่มสาระฯ ), O-NET และ PAT
  4. สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย
  5. ประกาศผลการคัดเลือก โดย สกอ. หรือ ทปอ. หรือองค์กรตัวแทน

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา โดยรับตรง[แก้]

ระบบรับตรง เป็นวิธีคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา โดยจะใช้ระเบียบของแต่ละสถาบันในการคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะทาง และเปิดโอกาสทางการศึกษา โดยทั่วไปสถาบันแต่ละแห่งมักจะพิจารณาด้วยเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นกับความต้องการของคณะหรือสาขาวิชา อาทิเช่น

  • ประวัติผลงาน (Portfolio) ที่แสดงศักยภาพเชิงวิชาการ และผลการเรียนเฉลี่ยรวมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามที่กำหนด (สาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ ภาคพิเศษ)
  • ประวัติผลงานเกี่ยวกับคหกรรมศาสตร์, ประสบการณ์ที่สะท้อนความสนใจในวิชาชีพครูหรือคหกรรมศาสตร์, และเรียงความแสดงเจตจำนงในการเข้าศึกษา (Statement of Purpose) (สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา)
  • ประวัติผลงานมีการได้รับรางวัลทางด้านภาษาไทยระดับภูมิภาคขึ้นไป (สาขาภาษาไทย)
  • หลักฐานที่แสดงว่ามีประสบการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ หรือได้รับรางวัลจากการแข่งขันหรือการประกวดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (สาขานวัตกรรมการท่องเที่ยว)
  • เรียงความ "แรงบันดาลใจในการเข้าศึกษาต่อสาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว" (สาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว ภาคพิเศษ)

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ตามคำสั่งทบวงมหาวิทยาลัย ที่ 90/2542 คณะกรรมการศึกษา ตรวจสอบ และพัฒนาการนำผลการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วยผู้แทนกรมวิชาการ ผู้แทนกรมสามัญศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปัจจุบัน) ผู้แทนคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมเป็นอนุกรรมการ
  2. เหตุผลที่ต้องปรับระบบการคัดเลือกในปีการศึกษา 2549 เนื่องจากเป็นปีที่นักเรียนเรียนจบตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 เป็นรุ่นแรกและเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2549)
  3. กลุ่มเฉพาะ 1: ผู้สมัครที่มีความสามารถพิเศษ ผู้สมัครโควตา ผู้สมัครเครือข่าย
  4. กลุ่มเฉพาะ 2: ผู้สมัครที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาคโควตาโรงเรียนในเครือข่าย โครงการความสามารถพิเศษ และโควตา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  5. กลุ่มเฉพาะ 3: โครงการ กสพท. โครงการอื่น ๆ
  6. โดยใช้เกณฑ์แต่ละสาขาเหมือนกัน (ตามเกณฑ์ค่าน้ำหนักที่กำหนดไว้ 3 ปี แล้ว), ดูเกณฑ์การสอบ และค่าน้ำหนักที่:
  7. GPAX : ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนปลาย หรือเทียบเท่า
  8. GPA (กลุ่มสาระ) : ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนปลายตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPA กลุ่มสาระ 3 - 5 กลุ่ม จาก 8 กลุ่ม
  9. O-NET : ผลการสอบทางศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test)
  10. A-NET : ผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (Advanced National Educational Test) และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา;
  11. GAT : ผลการทดสอบความถนัดทั่วไป
  12. PAT : ผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ
  13. 01 วิทยาศาสตร์สุขภาพ,
    • สัตวแพทยศาสตร์
    • สหเวชศาสตร์
    • สาธารณสุขศาสตร์
    • เทคนิคการแพทย์
    • พยาบาลศาสตร์
    • วิทยาศาสตร์กีฬา
  14. 05 เกษตรศาสตร์
    • เกษตรศาสตร์
    • อุตสาหกรรมเกษตร
    • วนศาสตร์
    • เทคโนโลยีเกษตร
  15. 07 ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์,
    • ครุศาสตร์
    • ศึกษาศาสตร์
    • พลศึกษา
    • สุขศึกษา
  16. 08 ศิลปกรรมศาสตร์,
    • ศิลปกรรมศาสตร์
    • วิจิตรศิลป์
    • ศิลปประยุกต์
    • ดุริยางคศิลป์
    • นาฏศิลป์
    • ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
    • ศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
  17. 09 สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,
    • มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • นิเทศศาสตร์
    • วารสารศาสตร์
    • อักษรศาสตร์
    • ศิลปศาสตร์
    • มนุษยศาสตร์
    • รัฐศาสตร์
    • นิติศาสตร์
    • สังคมวิทยา
    • สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  18. ข้อสอบ O-NET ฉบับหนึ่ง ๆ จะมีคำถาม 75-100 ข้อ เฉพาะในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จะเป็นข้อสอบที่มีทั้งปรนัยและอัตนัย มีประมาณ 10% เป็นคำถามตอบสั้น

อ้างอิง[แก้]

  • ↑ วีระถาวร, ธีระพร (2541). "เอ็นทรานซ์ระบบใหม่ของไทยจะดีขึ้นได้อย่างไร". วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 11 (2): 1–12. ISSN 0857-2933.
  • ↑ "ความเป็นมาของระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา". ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561. ก่อนปีการศึกษา 2504 - ปีการศึกษา 2542 [....]
  • "ประวัติทบวงมหาวิทยาลัย". MUA.go.th. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-17. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2561.
  • "ผลการดำเนินงาน". MOE.go.th. กระทรวงศึกษาธิการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-10. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2561. 2.การพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานส่งเสริมการใช้ผลการเรียนเฉลี่ยเพื่อการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา [....] 4.การประสานงานกับทบวงมหาวิทยาลัย [....] คณะกรรมการชุดนี้แต่งตั้งตามคำสั่งทบวงมหาวิทยาลัย ที่ 90/2542 [....]1.กำหนดการส่ง GPA และ PR
  • "การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่". MOE.go.th. กระทรวงศึกษาธิการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2561. ทบวงมหาวิทยาลัย[....]กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542
  • ตามหนังสือที่ ทปอ.44/147 ลงวันที่ 19 เมษายน 2544 พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๗๔ ก หน้า ๑ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒