Percentage ม กจะแสดงเป นเปอร เซ นต ac.th

หน่วยนอร์แมลิตี (normality; N) หรือเรียกว่า นอร์แมล (normal) คือ ความเข้มข้นสารละลายบอกถึงจำนวนกรัมสมมูล (geq.wt.) ของตัวละลายในสารละลายปริมาตร 1 L เช่น สารละลายกรดไนทริก (HNO3) 1.0 N มีความหมายว่า ในสารละลายปริมาตร 1 L มีกรดไนทริกละลายอยู่ 1 กรัมสมมูล

Percentage ม กจะแสดงเป นเปอร เซ นต ac.th

geq.wt. = N x V

เมื่อ geq.wt. = จำนวนกรัมสมมูล (gram equivalent weight)

เมื่อ eq.wt. = น้ำหนักกรัมสมมูล

gFW = กรัมน้ำหนักสูตรตัวละลาย

n = จำนวนเวเลนซี

Percentage ม กจะแสดงเป นเปอร เซ นต ac.th

น้ำหนักสมมูลของสาร คำนวณได้จากสมการ (2.19) ซึ่งจำนวนเวเลนซีจะต้องพิจารณาจากชนิดของสารนั้น ๆ ดังนี้

  1. น้ำหนักสมมูลของกรด-เบส

กรด จำนวนเวเลนซี คือ จำนวน H+ ที่สามารถถูกแทนที่ได้ด้วยโลหะ เช่น

HCl มี n = 1

H2SO4 มี n = 2

เบส จำนวนเวเลนซี คือ จำนวน H+ ที่เข้าไปแทนที่ OH- ในเบส

NaOH มี n = 1

Ba(OH)2 มี n = 2

  1. น้ำหนักสมมูลของเกลือ พิจารณาจากจำนวนเวเลนซีของแคตไอออนและแอนไอออน โดยจำนวนเวเลนซีของเกลือไอออน คือ ผลคูณระหว่างเลขจำนวนอะตอม (เลขตัวห้อย) ของแคตไอออนและแอนไอออน เช่น

NaCl มี n = 1x1 = 1

Al2(SO4)3 มี n = 2x3 = 6

  1. น้ำหนักสมมูลของสารออกซิไดส์ (oxidizing agent) หรือสารรีดิวซ์ (reducing agent) ในปฏิกิริยารีดอกซ์ พิจารณาจากเลขออกซิเดชัน (oxidation number) ที่เปลี่ยนแปลงไปต่อ 1 โมเลกุล

สารออกซิไดส์หรือสารรีดิวซ์ที่นิยมใช้ในการไทเทรตหรือการวิเคราะห์ทางเคมี แสดงดังตารางซึ่งจะเห็นว่าเลขออกซิเดชันที่เปลี่ยนแปลงไปในปฏิกิริยารีดอกซ์ขึ้นกับสภาวะกรด-เบสของสารละลายด้วย

ตารางที่ 1 น้ำหนักสมมูลของสารออกซิไดส์หรือสารรีดิวซ์

Percentage ม กจะแสดงเป นเปอร เซ นต ac.th

ที่มาจาก เคมีวิเคราะห์: หลักการและเทคนิคการคำนวณเชิงปริมาณ (หน้า 37) โดย วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ, 2565, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.