Pharmacotherapy in critical care and emergency medicine ม.สงขลา

วันที่ 23-25 สิงหาคม 2566 สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการงานเภสัชกรรมคลินิก เรื่อง Pharmacotherapy in Critical Care and Emergency Medicine รูปแบบออนไลน์ โดยการจัดประชุมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางเภสัชกรรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาผู้ป่วยวิกฤต) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉิน จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้นมา โดยมี คณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยศิลปากร, เภสัชกรโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลชลบุรี และคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้เกียรติเป็นวิทยากร โดยมีเภสัชกรจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ และคณจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จากสถาบันต่างๆ เข้าร่วมประชุม รวมทั้งสิ้น 200 คน

———————-

RxPSUOpenHouse2023 #มอวิชาการ2566

RxPSU #เภสัชมอ

45RxPSU

45ปีเภสัชศาสตร์มอ

Pharmaknowledgeformankind

Pharmacotherapy in critical care and emergency medicine ม.สงขลา

Pharmacotherapy in critical care and emergency medicine ม.สงขลา

Pharmacotherapy in critical care and emergency medicine ม.สงขลา

Pharmacotherapy in critical care and emergency medicine ม.สงขลา

Pharmacotherapy in critical care and emergency medicine ม.สงขลา

ดูโพสต์ต้นฉบับ


Share this:



Post navigation

1

4 - 6 มี.ค. 2567

ณ โรงแรมแรมแบรนดท์ โฮเต็ล แอนด์ สวีท สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร

20 พ.ย. 66 03 มี.ค. 67

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการงานเภสัชกรรมคลินิก ครั้งที่ 19/2563 เรื่อง Pharmacotherapy in Critical Care and Emergency Medicine

หลักการและเหตุผล

ผู้ป่วยวิกฤตเป็นผู้ป่วยที่มีสภาวะโรคที่รุนแรง และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ภาวะความเจ็บป่วยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชจลนศาสตร์ได้ทุกกระบวนการ การใช้ยาจึงมีความพิเศษกว่าผู้ป่วยทั่วไปเนื่องจากมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และมีความเสี่ยงในการไม่ตอบสนองต่อการรักษาได้สูงกว่า ในขณะที่ผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นผู้ป่วยที่มักมาโรงพยาบาลด้วยสถานการณ์ที่เร่งด่วนจึงทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาที่รุนแรงได้ นอกจากนี้ยาที่ใช้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้หลายๆชนิดเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง (high alert drug) ได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการรักษา ผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉินจึงควรได้รับการดูแลการใช้ยาอย่างใกล้ชิด การมีเภสัชกรร่วมเข้าปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัช-กรรมในผู้ป่วยกลุ่มนี้คาดว่าน่าจะช่วยลดปัญหาด้านยาได้ แต่การที่เภสัชกรจะปฏิบัติงานนี้ให้ได้ผลสมฤทธิ์นั้น ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญทั้งหลายประการร่วมกัน โดยปัจจัยประการหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือความรู้ที่ทันสมัย ในการนี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉิน จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้นมา