ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ 3 ชนิด

ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ 3 ชนิด

6.4 ความหมายของปริมาณเงิน ปริมาณเงินแบ่งเป็น 2 ความหมายใหญ่ คือ ปริมาณเงินในความหมายแคบ และปริมาณเงินในความหมายกว้าง

  1. ปริมาณเงิน (M1) คือ ปริมาณเงินตามความหมายแคบ หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือของประชาชน ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือของประชาชน และเงินฝากเผื่อเรียกของธุรกิจและครัวเรือนที่ระบบธนาคารพาณิชย์
  2. ปริมาณเงิน (M2) คือ ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หมายถึง M1+ เงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ของธุรกิจและ ครัวเรือนที่ระบบธนาคารพาณิชย์

6.5 บทบาทของปริมาณเงินต่อระดับราคา

ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ 3 ชนิด

ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ 3 ชนิด

    1. นโยบายการเงิน  คือ การดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อโดยธนาคารกลาง เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของระดับราคา การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น การรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ และการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม  เครื่องมือของนโยบายการเงิน แบ่งตามลักษณะการดำเนินการ ได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
  1. การควบคุมทางด้านปริมาณ (Quantitative control) ประกอบด้วย
    1. การซื้อขายหลักทรัพย์ (open-market operation)
    2. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด (changing rediscount rate)
    3. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (changing reserve requirement)
    4. การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (changing bank rate)
  2. การควบคุมทางด้านคุณภาพ (Qualitative control)
  3. การควบคุมโดยตรง (Direct control)
  1. การควบคุมทางด้านปริมาณ (Quantitative control) เป็นการควบคุมปริมาณเครดิต ไม่ใช่ชนิดของเครดิต ดังนั้น จึงมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาดและ ปริมาณเครดิตทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ การดำเนินการโดยผ่านเครื่องมือดังกล่าวจะมีผลโดยตรงทันทีต่อ การเปลี่ยนแปลงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการขยายเครดิตของ ธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยในตลาด การควบคุมทางด้านปริมาณ ได้แก่

ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ 3 ชนิด

ผู้ดูแลเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง นอกจากรัฐบาลแล้วยังมีธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) ของประเทศนั้นๆ อีกด้วย ฉะนั้นแล้วเราจะได้ยิน "นโยบายการคลัง" รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม หรือ "นโยบายการเงิน" ธนาคารกลางเป็นผู้ควบคุมจากในข่าวบ่อยๆ ซึ่งวันนี้จะมาพูดถึง นโยบายการเงินกันครับ

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
  2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในเวลาที่ต่างกัน ยกตัวอย่างในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย" เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือกล่าวคือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่าง การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

  1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปรียบเสมือนการลดดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลงอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จะส่งผลให้สนับสนุนภาคการลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการจ้างงานมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 
  2. การซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนน้อยจนเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการบริโภคลดลง ฉะนั้นธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เอกชนหรือรัฐบาลได้รับเงินจากการขายพันธบัตรให้กับธนาคารกลาง ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลสามารถนำเงินมาใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนและบริโภคตามลำดับ
  3. การปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากจากประชาชนเข้ามา ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ตามกฎหมาย ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 10% หมายความว่า ทุกๆ การฝากเงิน 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องเก็บสำรองไว้ 10 บาท ในขณะที่อีก 90 บาท ธนาคารสามารถนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ ฉะนั้น หากมีการประกาศลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จะทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

กลับกันหากประเทศกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบเข้มงวด" ซึ่งการดำเนินการจะตรงข้ามกับตัวอย่างด้านบน ตัวอย่างเช่น ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย, ขายพันธบัตรเพื่อดึงออกจากระบบเศรษฐกิจ หรือเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

จากตัวอย่างดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกลางสามารถเข้ามาแทรกแซงได้ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบใด ซึ่งการใช้นโยบายเหล่านี้ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป จะเห็นได้ว่า นโยบายการเงิน เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต้องพิจารณาการใช้นโยบายให้ดี เพราะจะกระทบเศรษฐกิจออกเป็นวงกว้าง

ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจคืออะไร

ปริมาณเงินหรืออุปทานของเงิน (Money Supply : Ms) หมายถึง เงินที่ใช้หมุนเวียนอยู่ในมือของประชาชน ในขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเงินฝากกระแสรายวัน โดยไม่นับรวมปริมาณเงินที่อยู่ในระบบธนาคารและเงินที่อยู่ในมือรัฐบาล

ปริมาณเงินมีอะไรบ้าง

ปริมาณเงิน (Money Supply) ปริมาณเงินตามความหมายแคบ (M1) หมายถึง สินทรัพย์ทางการเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งประกอบด้วยเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเงินฝากกระแสรายวันทั้งหมดที่อยู่ในมือของประชาชน บริษัท ห้างร้าน และองค์กรธุรกิจอื่นๆ ในขณะใดขณะหนึ่ง M1 = เหรียญกษาปณ์ + ธนบัตร + เงินฝากกระแสรายวัน

เงินในทางเศรษฐศาสตร์มีอะไรบ้าง

EC 112 Page 4 1. ความหมายของเงิน “เงิน” ในทางเศรษฐศาสตร์หมายรวมถึงเงินตราและเงินประเภทอื่น คือ หมายถึง (1) เงิน เหรียญกษาปณ์ (Coinage) (2) ธนบัตร (Paper Currency) และ (3) เงินฝากธนาคารประเภท ฝากกระแสรายวัน (Demand Deposit) โดยใช้เช็ค

ปริมาณเงินตามความหมายแศบประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. ปริมาณเงิน M1 หรือปริมาณเงินตามความหมายแคบ (Narrow Money) หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญ กษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝากเผื่อเรียกของประชาชนที่ระบบธนาคาร