กระบวนการควบคุมกลยุทธ์ 5 ขั้นตอน

การดำเนินการตามขั้นตอนการจัดการเชิงกลยุทธ์ให้ครบถ้วนและ เกิดความสอดคล้องกันทั้งระดับบริษัท, ระดับธุรกิจและระดับหน้าที่ รวมถึงการใช้จุดเด่นและโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม จะทำให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้

หากการบริหารไม่สามารถกำหนดเป็นแผนงานเชิงกลยุทธ์ได้ ก็จะทำให้งานได้ซึ่งประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล จะนำมาซึ่งความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นเนื่อง จากทิศทาง ที่กำหนดไว้ไม่ชัดเจน ทำให้ทุกคนในองค์กรไม่ได้เดินไปที่จุดเดียวกัน ดังนั้น การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงมีความสำคัญมาก

การควบคุมกลยุทธ์เป็นงานที่ต้องมีการศึกษา  วางแผน  และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอดจนต้องสามารถบูรณาการเข้ากับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  การกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ขององค์การ  และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างสอดคล้องกัน  โดยผู้ควบคุมกลยุทธ์ต้องกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติให้ประสานกับระบบกลยุทธ์ขององค์การโดยที่การควบคุมกลยุทธ์จะมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเกณฑ์และมาตราน  การที่ผู้บริหารจะสามารถตรวจสอบและประเมินความสำเร็จของกลยุทธ์องค์การได้  จะต้องมีวิธีการและมาตรวัดการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ว่าเป็นไปในทิศทางและมีคุณสมบัติตามที่ต้องการโดยใช้ทรัพยากรการดำเนินงานตามที่กำหนดหรือไม่  ซึ่งผู้ควบคุมกลยุทธ์ต้องกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการวัดผลงานที่เหมาะสมโดยแต่ละองค์การจะมีมาตรฐานและเกณฑ์การดำเนินงานของตน  ตลอดจนมีความแตกต่างกันตามอุตสาหกรรม  อย่างไรก็ตาม  ผู้ควบคุมควรกำหนดมาตรฐานที่สามารถสะท้อนความสำเร็จในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งจะกล่าวถึงการกำหนดมาตรฐานในหัวข้อต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การวัดผลการดำเนินงาน  ผู้ควบคุมกลยุทธ์จะวัดผลการดำเนินงานตามวิธีการที่กำหนดในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งสะท้อนภาพรวมของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์  โดยจะเรียกการวัดผลกระบวนการเชิงกลยุทธ์ว่า“ การตรวจสอบกลยุทธ์ (Strategic Audit) "ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่มีความละเอียดอ่อนและต้องดำเนินงานด้วยความเข้าใจ  เพื่อที่จะสามารถวัดข้อมูลที่ต้องการที่จะสามารถสะท้อนผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 การเปรียบเทียบและประเมินผล  ผู้ควบคุมกลยุทธ์นำผลลัพธ์จากการวัดผลการดำเนินงานมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายและมาตรฐานที่กำหนด  โดยที่เป้าหมายขององค์การจะอยู่ในรูปของภารกิจและวัตถุประสงค์  ขณะที่มาตรฐานถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นระดับของการดำเนินงานหรือผลลัพธ์ที่ยอมรับได้

ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการแก้ไข  ผู้ควบคุมควรทำการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของความแตกต่างระหว่างผลการดำเนินงานกับเป้าหมายและมาตรฐานของการดำเนินงาน  เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงการดำเนินงานให้ได้ตามมาตรฐานและสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยผู้ควบคุมอาจปรับปรุงการดำเนินงานด้วยวิธีการง่ายๆ และไม่ขับซ้อน  เช่น  การปรับราคา  การเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน  หรือการเพิ่มหรือลดสาขา  เป็นต้น  ขณะที่การแก้ไขหรือปรับปรุงการดำเนินงานในบางสถานการณ์อาจมีความซับซ้อนกว่า  เช่น  การปรับโครงสร้างองค์กา  การเปลี่ยนผู้บริหาร  หรือการปรับโครงสร้างทางการเงิน  เป็นต้น

เพื่อให้กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์การประสบความสำเร็จ  โดยที่การควบคุมกลยุทธ์มีวัตถุประสงค์สำคัญดังต่อไปนี้

1. ช่วยให้ผู้บริหารตรวจสอบและประเมินการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติว่าบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการหรือไม่เพียงใด

2. ช่วยผู้บริหารในการกำหนดแนวทางการปรับตัว  การแก้ปัญหา  และพัฒนาการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ

3. ช่วยผู้บริหารประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์  เพื่อทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นจริงขึ้น

ซึ่ง Ram Charan (1982) กล่าว้ถึงเป้าหมายของการควบคุมกลยุทธ์ 7 ประการดังต่อไปนี้

1. ประเมินความเที่ยงและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ธุรกิจ  โดยตรวจสอบกับเป้าหมายขององค์การความสามารถในการจัดหาทรัพยากร  และกรอบความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Framework)

2. เพื่อสร้างความแน่ใจว่าผู้จัดการในทุกระดับมีความเข้าใจในธุรกิจ

3. ประเมินข้อดี-ข้อเสียที่เกิดจากการดำเนินกลยุทธ์  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของผู้จัดการ

4. สร้างสัญญาระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับผู้จัดการระดับต่างๆ  โดยฝ่ายบริหารจะมีข้อผูกพันที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานและการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงาน  ขณะที่ผู้จัดการจะดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามที่ต้องการ

5. เพื่อให้การเจรจาประเด็นเชิงกลยุทธ์  การจัดสรร  และการบูรณาการกลยุทธ์ระหว่างหน่วยงานภายในองค์การมีความ
สอดคล้องกัน

6. เพื่อขยายขอบเขตความเข้าใจและการรับรู้ต่อการดำเนินงานขององค์การแก่พนักงาน

7. เพื่อประเมินความสามารถในด้านความคิด  แรงจูงใจ  และทัศนคติของผู้บริหาร

ถึงแม้การควบคุมกลยุทธ์จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเชิงกลยุทธ์  แต่การควบคุมกลยุทธ์ก็เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของกลยุทธ์  เนื่องจากการตรวจสอบและการประเมินกลยุทธ์จะให้ข้อมูลย้อนกลับว่ากระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์มีความเหมาะสมและการดำเนินงานราบรื่นเพียงใด  ประการสำคัญการควบคุมกลยุทธ์ช่วยให้ผู้บริหารมั่นใจว่าการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติสามารถบรรลุผลตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การควบคุมกลยุทธ์มีขั้นตอนอะไรบ้าง

ผู้นำ บุคคลที่ถูกมองและคาดหวังจากทีมงาน.
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์การแข่งขัน.
ขั้นที่ 2: การวางแผนเชิงกลยุทธ์และการกำหนดกลยุทธ์.
ขั้นที่ 3 : การปฏิบัติตามกลยุทธ์และการควบคุมเชิงกลยุทธ์.

การควบคุมกลยุทธ์คืออะไร

การควบคุมและกำกับกลยุทธ์ (Strategic control) คือกระบวนการที่ผู้บริหารใช้ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานทั้งหมดตามแผนกลยุทธ และผู้ปฏิบัติงานขององค์การอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่ากิจกรรมนั้นๆ ได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ

ขั้นตอนแรกของการควบคุมเชิงกลยุทธ์คืออะไร

ในขั้นตอนแรกของการควบคุมเชิงกลยุทธ์ผู้บริหารในทุกระดับจะต้องร่วมกัน ท าการระบุให้ชัดเจนว่ากระบวนการปฏิบัติงานและผลการด าเนินงานใดบ้างที่องค์การต้องการ ตรวจสอบและประเมินผล การก าหนดปัจจัยในข้างต้น จะท าให้ทราบถึงเป้าหมายหลักๆ ที่องค์การ ต้องการวัดผล ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมุ่งเน้นเฉพาะปัจจัยที่ส าคัญที่สุดในกระบวนการและจะท า ...

กระบวนการควบคุมมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

การกำหนดมาตรฐาน.
การสังเกตการปฏิบัติงาน.
การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน.
การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย.