ประเภทของการโฆษณา 7 ประเภท

นีลเส็น (Nielsen) บริษัทวิจัยด้านการตลาดและสื่อ เปิดเผยผลสำรวจล่าสุด “Global Trust in Advertising” ปี 2015 ซึ่งเกี่ยวกับรูปแบบโฆษณาประเภทไหนที่ผู้บริโภคเชื่อถือมากที่สุด  โดยการสำรวจครอบคลุมทั้งสื่อเดิม (Traditional Media) และสื่อดิจิตอล (Digital) มีผู้เข้าสำรวจกว่า 30,000 คน จาก 60 ประเทศทั่วโลก ผลสรุปที่น่าสนใจมีดังนี้

ประเภทของการโฆษณา 7 ประเภท

ประเภทของการโฆษณา 7 ประเภท
ประเภทของการโฆษณา 7 ประเภท

ทั้งหมด 19 รูปแบบโฆษณาที่น่าเชื่อถือมากที่สุด แบ่งตามประเภทรูปแบบ (Format)

1.คำแนะนำจากคนรู้จัก 83%

2.เว็บไซต์แบรนด์ 70%

3.บทความโฆษณา (ในหนังสือพิมพ์ ฯลฯ) 66%

4.ความคิดเห็นที่โพสในออนไลน์  66%

5.โฆษณาทางทีวี 63%

6.ผู้สนับสนุน (สปอนเซอร์) 61%

7.โฆษณาในหนังสือพิมพ์ 60%

8.โฆษณาในนิตยสาร 58%

9.บิลบอร์ดและสื่อนอกบ้าน 56%

10.อีเมลล์ที่สมัครไว้   56%

11. Tie-in โปรดักซ์ในรายการทีวี 55%

12. โฆษณาก่อนภาพยนตร์ 54%

13. โฆษณาวิทยุ 54%

14. โฆษณาวีดีโอออนไลน์ 48%

15. โฆษณาผลลัพธ์จากการเสริซ 47%

16.โฆษณาทางโซเซี่ยลมีเดีย 46%

17. โฆษณาบนอุปกรณ์โมบาย 43%

18. แบนเนอร์ออนไลน์ 42%

19. โฆษณาข้อความมือถือ  36%

ในแง่ของ Paid Media  สื่อดั้งเดิมยังคงได้รับความน่าเชื่อมากกว่าโฆษณาออนไลน์หรือมือถือ  โฆษณาทีวียังมานำในกลุ่ม Paid Media ด้วย  63%  จากการสำรววจทั่วโลก ตามด้วยโฆษณาบนหนังสือพิมพ์ 60%  โฆษณานิตยสาร 58%  ขณะที่รูปแบบดิจิตอลน่าเชื่อถือมากที่สุด คือ วีดีโอออนไลน์   48%

แต่อย่างไรก็ตามสื่อ Earned Media และ Owned Media ยังได้ความน่าเชื่อถือจากผู้เข้าร่วมสำรวมมากกว่า Paid Media   โดยคำแนะนำจากคนรู้จัก ได้รับความน่าเชื่อถือสูงที่สุดในการสำรวจครั้งนี้ถึง 83% (พลังของ word of mouth) ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าความคิดเห็นที่โพสในออนไลน์ และ บทความในหนังสือพิมพ์ (66%)ได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า Paid Media ทั่วไป แม้ว่าโฆษณาทีวีจะในระดับสูงสุดในกลุ่ม   ส่วน Owned Media  อย่างเว็บไซต์ของแบรนด์ 70%  ตามมาด้วยผู้สนับสนุน (สปอนเซอร์) 61% และ อีเมล์ที่สมัครไว้  56%

– รูปแบบโฆษณาที่น่าเชื่อถือมากที่สุด แบ่งตามกลุ่มวัย

จากการสำรวจกว่า 30,000 ผู้สำรวจใน 60 ประเทศนั้นพบกว่ากลุ่ม Millennials (อายุ 21-34 ปี)  เชื่อในโฆษณา 18 รูปแบบมากกว่าผู้บริโภคในกลุ่มอื่นๆ มีเพียงโฆษณาบนวิทยุเท่านั้นที่น้อยกว่ากลุ่ม Generation X (อายุ 35-49 ปี)  ส่วนกลุ่มที่แตกต่างกันมากระหว่าง Millenials กับ Silents คือ เว็บไซต์แบรนด์  ความคิดเห็นที่โพสในออนไลน์  โฆษณาทีวี  โฆษณาก่อนภาพยนตร์  โฆษณาบิลบอร์ด และ รูปแบบดิจิตอลต่างๆ   กลุ่ม Millennials  เชื่อในกลุ่มดิจิตอลมากกว่ากลุ่มวัยที่สูงกว่า  แต่ความเหมือนกันของแต่ละกลุ่มวัยในการเชื่อโฆษณาคือ  เริ่มจาก Earned Media  ตามด้วย การผสานระหว่าง Traditional และ Owned  และรูปแบบดิจิตอลต่างๆ

ประเภทของการโฆษณา 7 ประเภท

– โฆษณาทำให้เกิด Action กับผู้บริโภคได้มากที่สุด

การสำรวจของ Nielsen ยังสำรวจไปถึงโฆษณาที่ทำให้เกิด Action หรือมีปฏิกริยาต่อโฆษณา ผลสำรวจพบว่าไม่แตกต่างจากผลสำรวจของความน่าเชื่อถือ (แบ่งตามรูปแบบ) มากนัก

1.คำแนะนำจากคนรู้จัก  83%

2.เว็บไซต์แบรนด์  70%

3.โฆษณาทีวี  69%

4.ความคิดเห็นที่โพสในออนไลน์  69%

5.โฆษณาหนังสือพิมพ์ , อีเมลล์ , บทความโฆษณา  (แต่ละรูปแบบ 63%)

นอกจากนี้ Nielsen เผยว่าโฆษณาที่จะประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้วัดกันที่ Reach อย่างเดียวเท่านั้น เพราะต้องคำนึงถึงการส่งเมสเสสที่ถูกต้องกับผู้บริโภคด้วย  และผลของการสำรวจพบว่า ธีมของโฆษณานั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคก็จะมีความแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น อเมริกาเหนือ โฆษณาประเภทตลกกว่า 50% นั้นถูกพูดถึงมากกว่าโฆษณาที่เป็นชีวิตความเป็นจริง (Real Life)  (24%) ซึ่งชาวยุโรปก็มีความเห็นแบบเดียวกัน  แต่ในขณะที่ชาวแอฟริกาหรือเอเชียนั้นมักจะชอบโฆษณาที่เป็น Real Life  มากกว่า  และละตินอเมริกามักตอบสนองกับธีม “สุขภาพ”

ประวัติความเป็นมาของการโฆษณาในประเทศไทยยังไม่เป็นที่ประจัก และแน่ชัดว่าเป็นมาอย่างไรหรือไม่ได้ระบุไว้แน่ชัดว่า การโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการนั้นเกิดขึ้นมาเมื่อไร แต่เข้าใจได้ว่าการ โฆษณาของประเทศไทยนั้นมีมาช้านานตั้งแต่โบร่ำโบราณ หรือแต่ครั้งโบราณกาลนับตั้งแต่คนไทยเริ่มมีผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการเข้ามาวางขายตามท้องตลาด โดยวิธีการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของ มีคนขายและคนซื้อ การโฆษณาสินค้าของคนไทยหรือประเทศไทยนั้น ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นการร้องขายสินค้าของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลาย โดยอาศัยการบอกกล่าวขายผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการของตนไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยตรง  ซึ่งรูปแบบของการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้า  และบริการในลักษณะนี้นั้น ยังคงสืบทอดต่อมาจนกระทั่งรุ่นลูกรุ่นหลานหรือประชาชนในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากบรรดาหาบเร่ แผงลอย รถเข็น และพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นรูปแบบ ในลักษณะของรถบรรทุกเล็ก ที่วิ่งขายผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการไปตามแหล่งชุมชน และที่อยู่อาศัยเพื่อขายสินค้าทั่วไปตามท้องตลาดและที่ชุมชนต่างๆ  และเมื่อย้อนหลังไปประมาณเกือบ 200 ปี การโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้นเป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้น และพัฒนามาจากประเทศกลุ่มตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ได้แพร่ขยายเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกพร้อมๆ กับการพัฒนาของสื่อมวลชนชนิดแรก คือ หนังสือพิมพ์วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 นายแพทย์ Dan Beach Bradley ได้ออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทยชื่อ หนังสือจดหมายเหตุฯ หรือ The Bangkok Recorder โดยออกเป็นรายปักษ์ความหนาจำนวน 8 หน้า ด้วยยอดพิมพ์ 300 ฉบับ และพร้อมกำเนิดของหนังสือพิมพ์ฉบับแรกนี้โฆษณาชิ้นแรกของไทยก็ได้ปรากฎขึ้นด้วย นั่นคือ โฆษณาของอู่ต่อเรือบางกอกด๊อก และนับจากนั้นมา เมื่อมีนิตยสารอื่นๆ เกิดขึ้น ก็จะมีสินค้าลงโฆษณาในนิตยสารเหล่านั้นด้วยแทบทุกฉบับ()

รากฐานของการจัดทำโฆษณาอย่างเต็มรูปแบบ ถูกวางพื้นฐานขึ้น เมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงตั้งแผนกโฆษณากรม รถไฟ พร้อมทั้งการวางแผนและหลักปฏิบัติงานโฆษณาไว้ให้อย่างดี โดยทรงนำเอาตัวอย่างแผน การโฆษณากิจการรถไฟในประเทศอังกฤษ มาใช้ในเมืองไทย เป็นครั้งแรก ต่อมาได้ทรงวางแผนและทรงรณรงค์โฆษณา ให้กับการคลังออมสินจนประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง การโฆษณาครั้งนั้นได้กลายเป็นรูปแบบปฏิบัติของ การพัฒนามาตราบเท่าทุกวันนี้ เมื่อธุรกิจการค้าขยายตัว การสื่อสารเพื่อแจ้งข่าวสารต่อมวลชนจึงทวีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 6 การโฆษณาเจริญมาก เพราะ เป็นหนังสือพิมพ์และนิตยสารได้เปลี่ยนมือผู้บริหาร จากการเป็นของเจ้านายมาสู่สามัญชน และต้อง ดำเนินการในรูปธุรกิจเพื่อเลี้ยงตัวในรอด การโฆษณาจึงได้กลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชน ประเภทอื่นๆ ในเวลาเดียวกันการโฆษณาก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกิจการค้า อีกด้วยในปี พ.ศ. 2467 มีเหตุการณ์ สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวงการโฆษณาเกิดขึ้น นั่นคือ ได้มีบริษัทที่รับจ้างทำงานโฆษณา เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ดำเนินงานในลักษณะ ของบริษัทโฆษณาท้องถิ่นชื่อ บริษัทสยามแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด จากการก่อตั้งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชร อัครโยธิน และผู้เล็งเห็นประโยชน์อย่างคุ้มค่าของการใช้บริการจากบริษัทโฆษณารายแรกคือ ห้างนายเลิศ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสินค้า หลายประเภท ดังนั้นกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินยังได้ทรงถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมของประเทศไทย เช่น โรงงานสบู่ของบริษัท สยาม อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตสบู่ซันไลต์ เป็นต้น ฉะนั้น การเกิดของ บริษัท สยามแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ย่อมแสดงให้เห็นว่า การโฆษณาในสมัยนั้นเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งมีผู้คิดทำธุรกิจเกี่ยวกับการโฆษณาขึ้น ในรูปของบริษัทการค้า ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของธุรกิจโฆษณาในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น โดยเปลี่ยนจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายสินค้าติดต่อโดยตรง กับเจ้าของสื่อโฆษณา มาเป็นตัวกลางรับจัดทำโฆษณา และติดต่อสื่อสารต่างๆให้ ซึ่งเป็นลักษณะของธุรกิจการ โฆษณาในปัจจุบัน การที่กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินทรงเป็นผู้บุกเบิก และนำเอากิจการโฆษณาแบบตะวันตก เข้ามาใช้ในกิจการหลายแห่ง และ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเป็นอย่างดี หลักการปฏิบัติก็ยังคงทันสมัยอยู่เสมอ จึงทำให้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น พระบิดาแห่งวงการโฆษณาไทย ()

ฉะนั้นบทบาทสำคัญของการโฆษณาการโฆษณา จึงมีหน้าที่สำคัญเพื่อติดต่อสื่อสารไปยังลูกค้า  ด้วยเหตุที่การแข่งขันทางด้านธุรกิจในปัจจุบันมีความรุนแรง   บทบาทของการโฆษณาจึงทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น  ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ ๆ ได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อการโฆษณาโดยเฉพาะ  ทำให้ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยการโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  การโฆษณาจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเราอย่างแยกไม่ออก การประกอบธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การขายหรือการให้บริการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ย่อมต้องอาศัยสื่อมวลชน เพื่อบอกกล่าว ให้ความรู้หรือจูงใจให้ผู้บริโภคสนใจและเกิดความพอใจในสินค้าหรือบริการการโฆษณา (Advertising) เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารไปยังผู้บริโภคโดยอาศัยเหตุผลหรือคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าหรือบริการมาใช้ในการจูงใจ ด้วยจุดมุ่งหมายที่ช่วยให้การจำหน่ายสินค้าหรือบริการผ่านมือจากผู้ผลิต ผู้จำหน่ายไปยังผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด (ศิริวรรณ เสรีรัตน์, 2538: 4)()

ความหมายของการโฆษณา (Advertising) เป็นสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการโฆษณาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญทางการตลาด เป็นกระบวนการทางด้านสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นเพื่อจูงใจให้มีความต้องการในการซื้อสินค้าหรือบริการ ()  หรือ หรือสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (the American marketing association หรือ AMA) ให้คำจำกัดความโฆษณาว่า “การโฆษณาคือรูปแบบของการเสนอใดๆ ซึ่งต้องชำระเงินและผ่านสื่อที่มิใช้ตัวบุคคลการเสนอนี้เป็นการส่งเสริม และเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการต่าง ๆ โดยมีผู้อุปถัมภ์ที่ระบุไว้” (แน่งน้อย บุญยเนตร, 2539 : 7) หรือ เสรีวงษ์มณฑา (2535 : 6) ได้ให้คำจำกัดความหมายของ “โฆษณา” ไว้ว่าการโฆษณาเป็นกิจกรรมสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้น เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมอันเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ การขายสินค้าหรือบริการโดยอาศัยจากเหตุผลซึ่งมีทั้งกลยุทธ์จริงและผลสมมุติผ่านสื่อโฆษณา (ศิริพรรณวดี รุ่งวุฒิขจร (2541 : 13) ให้ความหมายของการโฆษณาว่าเป็นการสื่อสารผ่านสื่อโฆษณาเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับสื่อและระบุตัวผู้โฆษณาด้วย ()

2. องค์ประกอบของการโฆษณา

องค์ประกอบของการโฆษณาเป็นการสร้างสรรค์งานโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หรือประเภทอื่นๆ จะมีองค์ประกอบที่ประกอบด้วยภาพ (Picture) ข้อความ (Words) และเสียง (Sound) เพื่อให้งานโฆษณามีความน่าสนใจและดึงดูดใจผู้บริโภค ( กัลป์ยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช , 2551 : 169) ได้อธิบายองค์ประกอบของภาพ ข้อความและสีของภาพไว้ดังนี้1) ภาพ การสร้างสรรค์ด้านภาพสำหรับการโฆษณามีความแตกต่างกันระหว่างการสร้างสรรค์ภาพทางสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโทรทัศน์ โดยที่สื่อสิ่งพิมพ์ จะเป็นภาพที่ทำขึ้นจากคอมพิวเตอร์หรือภาพวาดด้วยมือก็ได้ ในขณะที่โทรทัศน์อาจเป็นภาพเคลื่อนไหวสมจริง (Life Action) หรือเป็นภาพอนิเมชั่น (Animation) ที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์หรือวาดขึ้นได้เช่นกัน 2) ตัวอักษร การออกแบบลักษณะตัวอักษร ลักษณะตัวอักษรที่ต้องการก็สามารถแสดงถึงอารมณ์ที่ต่างกันได้เช่น ตื่นเต้น เป็นต้น การออกแบบลักษณะตัวอักษรนั้นต้องให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของภาพโฆษณา รวมทั้งต้องผสมผสานกับบุคลิกของตราสินค้าด้วยเช่น รถกระบะนิสสัน 4WD ตัวอักษรที่ใช้เข็มแข็ง ท้าทาย เป็นต้น 3) สีของภาพ สีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสรรค์ ควรจะแสดงเอกลักษณ์ของตราสินค้านั้นๆ เช่น โฆษณาโค้ก จะมีโทนสีของภาพเป็นสีแดง ในขณะที่เป๊ปซี่จะมีโทนสีของภาพเป็นสีฟ้าเป็นต้น และยังมีความเกี่ยวของกันทางด้านโฆษณาดังนี้คือ

         1.ผู้โฆษณา (Advertiser) คือ เจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ มีประสงค์ที่จะทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ โดยยินยอมที่จะรับผิดชอบ กับค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์    ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการทั้งหมด()

         2.บริษัทตัวแทนโฆษณา (Advertising Agency) เป็นด้านองค์กรหรือบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างจากผู้โฆษณาประชาสัมพันธ์ ทางด้านผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ได้ให้ทำการออกแบบ  และผลิตโฆษณาต่างๆ()

         3.สื่อโฆษณา (advertising media) เป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการไปยังกลุ่มผู้บริโภคหรือลูกค้าเป้าหมาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ (ฐิติรัตน์ แก้วผนึกรังษี 2556)()

         4.ผู้บริโภค (consumer)  เป็นผู้ที่ยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ  ต่างๆซึ่งเลือกจากความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภคหรือลูกค้า โดยอาศัยทางด้านการรับรู้ข่าวสารสินค้าผ่านสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในตัวผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการในการช่วยตัดสินใจอีกทางหนึ่ง()

ประเภทการโฆษณา

การแบ่งการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ทำให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติหรือกลยุทธ์ในการโฆษณาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และเป็นการแบ่งการโฆษณา สามารถแบ่งได้หลายแบบตามแนวทางการนำเสนอของนักวิชาการหลายๆ ท่าน เช่น การแบ่งตามหน้าที่ แบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย แบ่งตามสื่อโฆษณา แบ่งตามจุดมุ่งหมายและตามเขตภูมิศาสตร์ แต่ยังคงสาระที่ใกล้เคียงกัน ประเภทการโฆษณาตามแนวทางของ (วิไลลักษณ์ ซ่อนกลิ่น และศิริชัยสุวรรณประภา (2551 : 70-76) ทั้งนี้เพราะมีความชัดเจน และเข้าใจงานการโฆษณาได้ในขั้นพื้นฐานดังนี้   

         1.การโฆษณาแบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าและริการประเภทนี้จะเน้นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่จะซื้อผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการของผู้โฆษณาที่เป็นองค์กรธุรกิจทั้งหลาย ทั้งนี้เพื่อสร้างความดึงดูดใจให้ลูกค้าเป้าหมาย ให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเกิดความสนใจที่จะดูผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ และซื้อสินค้า โดยผ่านสื่อโฆษณาต่างๆ() 4 ประเภท ดังนี้ (1) การโฆษณามุ่งสู่ผู้บริโภค (consumer advertising) เป็นการโฆษณาผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ในการนำข่าวสารไปสู่ผู้บริโภค คือ สื่อทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต และสื่อโฆษณาอื่นๆ (2) การโฆษณามุ่งอุตสาหกรรม (industrial advertising) การโฆษณาประเภทนี้ มีจุดประสงค์ให้กลุ่มลูกค้าได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางอุตสาหกรรมเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรมต่างๆ (3) การโฆษณามุ่งการค้า (trade advertising) การโฆษณาประเภทนี้จะถูกนำมาใช้ในเรื่องของการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และบริการของบริษัทที่ทำการโฆษณา ทั้งนี้เพื่อให้มีการเพิ่มการขายมากขึ้น 4) การโฆษณามุ่งงานอาชีพ (professional advertising) เป็นการโฆษณาที่ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายโฆษณาให้แก่บุคคลผู้มีอาชีพต่างๆ ได้ซื้อสินค้าไว้ในการประกอบอาชีพการงาน รวมทั้งแนะนำให้ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ซื้อสินค้าไว้ ()

          2.การโฆษณาแบ่งตามสื่อโฆษณา เป็นการนำสื่อโฆษณามาใช้เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร จากผู้ผลิตสินค้าไปสู่กลุ่มผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด ซึ่งสามารถแบ่งได้ 9 ประเภทได้แก่(1) การโฆษณาทางโทรทัศน์ (2) การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ (3) การโฆษณาทางวิทยุ ได้แก่ คลื่นต่างๆ(4) การโฆษณาทางนิตยสาร(5) การโฆษณาทางยวดยานพาหนะ(6) การโฆษณาทางไปรษณีย์7) การโฆษณากลางแจ้ง(8) การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต(9) การโฆษณาทางภาพยนตร์ก่อนฉาย()

           3.การโฆษณาที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย โดยจะมีการแบ่งตามลักษณะการนำไปใช้งาน หรือจุดมุ่งหมายทางการตลาด รวมทั้งการโฆษณาระหว่างบริษัทผู้ขายสินค้าหรือบริการไปยังกลุ่มเป้าหมาย 5 ประเภทได้แก่ (1) การโฆษณาผลิตภัณฑ์ (2) การโฆษณาตรา  ยี่ห้อของสินค้า (3) การโฆษณาสถาบัน (4) การโฆษณาเพื่อแก้ไขความผิดพลาด (5) การโฆษณาแยกประเภท เป็นการโฆษณาเกี่ยวกับเหตุการณ์ ประกาศรับสมัครงาน ขายลดรารา หรือบริการต่างๆ ตามหน้าของการโฆษณา          

           

            4.การโฆษณาแบ่งตามภูมิศาสตร์ การโฆษณาโดยแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่ (1) การโฆษณาระดับชาติ เป็นการโฆษณาที่จัดทำโดยผู้ผลิตสินค้า ที่มีสินค้าจำหน่ายอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เพื่อโฆษณากระจายข่าวสารผ่านทางสื่อโฆษณาระดับชาติต่างๆ ได้แก่ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม หนังสือพิมพ์และนิตยสารเพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงตราของสินค้า เครื่องหมายการค้า คุณภาพของสินค้า เป็นหลักสำคัญ (2) การโฆษณาระหว่างประเทศ เป็นการโฆษณาที่จัดทำขึ้นมาเพื่อต้องการที่จะโฆษณาไปในตลาดทั่วโลก ที่มีลักษณะความต้องการซื้อสินค้าและบริการเหมือนกัน ชิ้นงานโฆษณาจะเป็นรูปแบบเดียวกันทุกตลาดทั่วโลก (3) การโฆษณาระดับท้องถิ่น ในบางครั้งเรียกว่า การโฆษณาร้านค้าปลีก (local or retail advertising) เป็นการโฆษณาสำหรับร้านค้าปลีก หรือร้านค้าย่อยต่างๆ ในท้องถิ่นนั้นๆ ()

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นการคนคว้า หรือวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและการบริโภค ทั้งที่เป็นบุคคลกลุ่มบุคคล หรือองค์กร เพื่อให้ทราบถึงลักษณะความต้องการและพฤติกรรมการซื้อการบริโภคการเลือกบริการแนวคิด (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554) หรือประสบการณ์ที่จะทําให้ผู้บริโภคพึงพอใจ หรือ (ปณิศาลัญ  ชานนท์, 2548) หรือเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ด้วยการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมการเลือกซื้อ การตัดสินใจซื้อ และการใช้สินค้าและการบริการของผู้บริโภค เพื่อที่จะให้นักการตลาดทราบถึงความพึงพอใจและความต้องการของผู้บริโภค (กมลรัตน์ สัตยาพิมล, 2552 ; นฤมล อดิเรกโชติกุล, 2548) โดยสามารถช์7 คําถาม (6Ws 1H) ที่จะช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อค้นหา 7 คําตอบ (7Os)  ()

         1.ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย (Who is in the target market?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบตลาดเป้าหมาย (target market) หรือลักษณะกลุ่มเป้าหมาย (occupants) โดยมีกลุ่มเป้าหมายทางด้าน (1) ประชากรศาสตร์(2) ภูมิศาสตร์(3) จิตวิทยาหรือจิตวิเคราะห์(4) พฤติกรรมศาสตร์กลยุทธ์การตลาด (4Ps) ประกอบด้วยกลยุทธ์ด้าน ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด ที่เหมาะสมและการตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)  ()

         2.ผู้บริโภคซื้ออะไร (What does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ (objects) โดยสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือ คุณสมบัติหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (product component) และความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน (competitive Differentiation) โดยมีกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product strategy) ทางด้าน (1) ผลิตภัณฑ์หลัก  (2) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (3) ผลิตภัณฑ์ควบ   (4) ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง (5) ศักยภาพผลิตภัณฑ์ และ(6) ความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive differentiation) (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554) ()

         3.ทําไมผู้บริโภคจึงซื้อ (Why does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบวัตถุประสงค์ในการซื้อ (objectives) โดยต้องทําการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อคือ (1) ปัจจัยทางจิตวิทยา (2) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจน (3) ปัจจัยเฉพาะบุคคล เพราะผู้บริโภคซื้อสินค้าเพื่อสนองความต้องการด้านร่างกาย และจิตวิทยา ซึ่งต้องศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)()

         4.ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ (Who participates in the buying?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบบทบาทของกลุ่มต่างๆ (organizations) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริหารโดยมีองค์ประกอบในการตัดสินใจซื้อคือ (1) ผู้ริเริ่ม (2) ผู้มีอิทธิผล (3) ผู้ตัดสินใจซื้อและ (4) ผู้ใช้ (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)()

         5.ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด (When does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบโอกาสในการซื้อ (occasions) ของผู้บริโภค เช่น ช่วงฤดูกาลใด ช่วงเดือนใด ตลอดจนเทศกาลหรือ โอกาสพิเศษหรือเทศกาลวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น()

         6.ผู้บริโภคซื้อที่ไหน (Where does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบช่องทางหรือแหล่ง (outlets) ที่ผู้บริโภคไปทําการซื้อ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตตลอดจนรานขายของชํา เป็นต้น ()

        7.ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบขั้นตอนหรือกระบวนการในการตัดสินใจเลือกซื้อ (operation)โดยมีองค์ประกอบการซื้อโดย (1) การรับรู้ปัญหา  (2) การค้นหาข้อมูล  (3) การประเมินผลทางเลือก (4) การตัดสินใจซื้อ (5) ความรู้สึกภายหลังการซื้อ()

3.ตัวชี้วัดของการโฆษณา

ตัวชี้วัดและประเมินผลของการโฆษณา  ( วิไลลักษณ์ ซ่อนกลิ่น และศิริชัยสุวรรณประภา 2551 : 234-236) กล่าวถึงความสำคัญของการติดตามและประเมิน ผลการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการว่า เป็นการตรวจสอบเพื่อให้ได้คำตอบว่า การโฆษณาที่ได้ดำเนินการไปแล้วมีปัญหา มีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร เป็นไปตามกำหนดเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ รวมทั้งติดตามว่ามีผู้รับสารเป็นไปตามที่องค์กรหรือบริษัทคาดหวังหรือไม่ วิธีการติดตามและประเมินผลทางการโฆษณาดังกล่าวหรือไม่ เรียกว่า Monitoring Audience Research เพื่อให้การโฆษณานั้นได้ส่งผลไปสู่ความสำเร็จที่ดีในการขายผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ

           

            ความจำเป็นที่ต้องวัดประสิทธิผลของการโฆษณา  การวัดประสิทธิผลของการโฆษณาเป็นเหตุผลที่มีความจำเป็นต่อผู้บริหารงานโฆษณา และการตลาดของบริษัทต่างๆ การวัดผลประสิทธิผลจะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นคือ(1) เป็นหลีกเลี่ยงความผิดพลาดด้านต้นทุน (Avoiding costly mistakes) เป็นการวัดประสิทธิผลของการโฆษณาว่าคุ้มค่า และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น หรืออุปสรรคที่จะแก้ปัญหานั้นไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป(2) เป็นการประเมินทางเลือกจากกลยุทธ์ (Evaluating alternative strategies) เป็นการเลือกว่าควรใช้สื่อใดที่มีประสิทธิผล โดยการประเมินเปรียบเทียบระหว่างกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด หลายอย่างที่ต้องเลือกและตัดสินใจ (3) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการโฆษณา (increasing the efficiency of advertising in general) เป็นการให้ข่าวสารที่ผู้รับข่าวสารเข้าใจง่ายซึ่งข้อมูลข่าวสารไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นการติดต่อสื่อสารที่เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการโฆษณา

การประเมินประสิทธิภาพ การโฆษณา (Efficiency evaluation) เป็นการค้นหาแนวทางหรือวิธีการที่ดีสำหรับการนำเครื่องมือมาประยุกต์ใช้ ในการวัดประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลของการโฆษณาอย่างต่อเนื่องเพื่อได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กรหรือบริษัท  เพื่อประสบสำเร็จทางการตลาดทางด้านการเพิ่มยอดขายและผลกำไรตามเป้าหมายขององค์กรหรือบริษัทที่กำหนดไว้ โดยจะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ 3 ประการคือ (1) สื่อโฆษณานั้นสามารถเข้าถึงผู้รับสารเป้าหมายมีประสิทธิภาพเพียงใด (2) ผู้รับสารเป้าหมายได้รับสื่อโฆษณานั้นด้วยความถี่เท่าใดที่มีประสิทธิภาพ (3) การประเมินเปรียบเทียบระหว่างการเข้าถึงกลุ่มผู้รับสารกับการใช้เงินคุ้มค่าเพียงใด

การประเมินผลประสิทธิผลการโฆษณา (Effective evaluation) เป็นการประเมินผลในด้านการบรรลุผลสำเร็จ (achievement) หรือผลที่ได้จากการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการนั้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่องค์กร หรือบริษัทกำหนดไว้ หรือไม่ซึ่งขั้นตอนในการประเมินผลการโฆษณาสามารถทำได้ 3 ขั้นตอนคือ (1) ก่อนการโฆษณา (2) ระหว่างการโฆษณา และ (3) หลังการโฆษณา

           

            วิธีการประเมินผลการโฆษณา เป็นการประเมินผลการโฆษณาทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด มีวิธีการต่างๆ ดังนี้ (1) การประเมินผลการโฆษณาด้วยคูปอง เหมาะสำหรับสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ ใบลิว ฯลฯ โดยการพิมพ์คูปองไปกับสื่อเหล่านั้นให้ผู้สนใจกรอกข้อความ ส่งกลับมาทางผู้ที่ต้องการวัดผล (2) การประเมินผลจากยอดขาย เหมาะสำหรับการประเมินผลการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการโดยวิธีง่ายๆ คือเป็นการสังเกตหรือบันทึกสถิติยอดขายก่อนการโฆษณา และเปรียบเทียบจากยอดขายหลังจากที่ได้โฆษณาไปแล้วระยะหนึ่ง (3) การประเมินผลโดยการส่งชิ้นส่วนมาจับฉลากชิงรางวัล เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบ่อยๆ ในการวัดผลโฆษณา และเป็นการส่งเสริมการขายหรือนำมาใช้สิทธิเป็นส่วนลด หรือแลกซื้อสินค้าชนิดอื่นๆ (4) การประเมินผลของการโฆษณาประชาสัมพันธ์   โดยใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการออกแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของการโฆษณาโดยนักวิจัยโฆษณาจะวัดผลสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ โดยมีการจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ เช่น พนักงานสัมภาษณ์ สอบถามทางไปรษณีย์ สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

เอกสารอ้างอิง

ฐิติรัตน์ แก้วผนึกรังษี (2556). การโฆษณาผ่านสื่อ Super Mart TV ของร้าน 7-Eleven ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง่

ปนัดดา ตันสุวรรณรัตน์ (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างจุดดึงดูดใจทางโฆษณา (จุดดึงดูดใจด้านความกลัว จุดดึงดูดใจด้านอารมณขัน และจุดดึงดูดใจทางเพศ) กับบุคลิกภาพตราสินค้าในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยะพล หรูรักวิทย์ (2551). การโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์กลางแจ้งต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร เอสแอนด์ พี, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ผดุงศักดิ์ ตั้งติระโสภณ (2552). ความพึงพอใจภาพยนต์โฆษณารณรงค์การดื่มนมของคู่สมรสใหม่, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิรดา สุริโย (2553). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาแฝง : ศึกษากรณีสินค้าประเภทให้โทษ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิรัช  ลภิรัตนกุล.ประวัติและวิวัฒนาการของการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์.ในการบริหารงานโฆษณา. เล่ม1. หน้า 53 – 67. พิมพ์ครั้งที่ 10.

นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2537.

ธนัญญา เชรษฐา. วิวัฒนาการและแนวคิดเกี่ยวกับการโฆษณา. ใน การบริหารงานโฆษณา. เล่ม 1. หน้า 1 – 50. พิมพ์ครั้งที่ 3.

นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535.

ธวัลวรัตน์  อินทนนชัย (2552). การโฆษณาเครื่องดมชูกําลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การสื่อสารการศึกษา.

ธวัลวรัตน์  อินทนนชัย (2552). การโฆษณาเครื่องดมชูกําลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การสื่อสารการศึกษา.

ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย (2552). การโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศิลปศาตร์มหาบัณฑิต การสื่อสารการศึกษา.

ไพศาล กาญจนวงศ์ (2556). คณะพัฒนาการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาการท่องเที่ยว.

อนุพงษ์ พูลพร (2552). การเปิดรับสื่อและทัศนคติต่อการโฆษณาและการรณรงค์การเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลทางโทรทัศนของประชาชน ในเขตอำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัย. จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.

เอนก นาวิกมูล. โฆษณาไทย. กรุงเทพมหานคร : โนรา, 2543.

Britt, S.H.Advertising. In The Encyclopedia Americana International edition.(Vol.1, pp.195 – 206).           Danbury, CT : Grolier, 1995.

O’ Guinn, T.C , Allen, C.T. and Semenik, R.J. Advertising.Cincinnati,OH :South–Western College, 1998.