เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า

ตัวกลาง เช่น เมื่อแสงตกกระทบผิวของกระจก แสงจะสะท้อนที่ผิวกระจกกลับสู่อากาศ เป็นต้น เมื่อแสงตกกระทบผิวของวัตถุใดๆ โดยที่พื้นผิวของวัตถุนั้นไม่ดูดกลืนแสงไปทั้งหมด แสงส่วนที่เหลือจะสะท้อนออกจากผิววัตถุนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุที่มีผิวเรียบหรือผิวขรุขระ

เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า

รูปแสดงการสะท้อนแสงของวัตถุที่มีผิวเรียบและผิวขรุขระ

การสะท้อนของวัตถุที่มีผิวเรียบหรือผิวขรุขระจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์อันเดียวกันคือ “กฎการสะท้อนของแสง”

เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า

รูป  แสดงการสะท้อนของแสงบนกระจกราบ

1. รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นแนวฉากหรือปกติ จะอยู่ในระนาบเดียวกัน

   รังสีตกกระทบ หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่ตกกระทบกับผิววัตถุ         

  รังสีตกสะท้อน หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่สะท้อนออกจากผิววัตถุ

  เส้นแนวฉากหรือเส้นปกติ คือเส้นตรงที่ลากตั้งฉากกับผิววัตถุ ณ จุดที่รังสีตกกระทบผิววัตถุ

2. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน

    มุมตกกระทบ คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นแนวฉาก(มุม i )

    มุมตกสะท้อน คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นแนวฉาก (มุม r )


เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า

รูปแสดงการสะท้อนของแสงที่วัตถุผิวเรียบแบบต่างๆ



  - ภาพในกระจกเงาราบ

เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาราบ เราสามารถเห็นทั้งวัตถุและภาพของวัตถุในกระจกเงาราบได้ เพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตา แต่การเห็นภาพของวัตถุนั้น เกิดจากการที่แสงจากวัตถุไปตกกระทบผิวกระจกเงาราบแล้วสะท้อนกลับมาเข้าตาเราตามปกติแสงจากวัตถุจะกระจายออกไปทุกทิศทางและจะตกกระทบเต็มพื้นที่ผิวของ กระจกเงาราบ ถ้าพิจารณาแสงจากวัตถุเป็นรังสี จะมีรังสีของแสงจำนวนมากมายจากวัตถุตก กระทบผิวของกระจกเงาราบ ทำให้สามารถแสดงที่มาของภาพในกระจกเงาราบได้ ด้วยการใช้ กฎการสะท้อนของแสงเขียนรังสีตกกระทบ รังสีสะท้อนและเส้นแนวฉากจากนั้นต่อแนวรังสี สะท้อนไปทางด้านหลังของกระจกเงาราบ จากสมบัติเชิงเรขาคณิตของแสง อาจแสดงได้ว่ารังสี สะท้อนเหล่านี้ เสมือนออกมาจากจุดจุดหนึ่ง ซึ่งก็คือตำแหน่งภาพของวัตถุนั่นเอง ดังรูป ก.ระยะที่วัตถุอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า ระยะวัตถุ ระยะที่ภาพอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า ระยะภาพ ตามรูป ก และ ข จุด P' เป็นภาพของ P โดยมี PA เป็นระยะวัตถุและ P'A เป็นระยะภาพ

เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า

ก.วัตถุที่มีลักษณะเป็นจุด ภาพก็เป็นจุด    ข.วัตถุที่มีขนาด  ภาพก็มีขนาด

  สำหรับวัตถุที่มีขนาดจะประกอบด้วยจุดหลายๆจุด ดังนั้นภาพของจุดเหล่านี้ จึงรวมกัน เป็นภาพของวัตถุซึ่งอาจหาได้โดยการเขียนรังสีต่างๆโดยใช้วิธีของรูป ก. และได้ภาพดัง แสดงในรูป ข.



เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า
รูปการมองเห็นภาพในกระจกเงาราบ

เพื่อความสะดวกในการหาตำแหน่งภาพ จะใช้รังสีตกกระทบจากจุดหนึ่งๆของ วัตถุเพียง 2 รังสี ดังนั้นการแสดงการเห็น ภาพของวัตถุในกระจกเงาราบอาจแสดงได้ ดังรูป โดยวางตาในตำแหน่งที่เหมาะสม

เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า

รูป การเขียนรังสีของแสงเพื่อหาตำแหน่ง และขนาดของวัตถุที่เกิดจากกรจกเงาราบ

รูป แสดงการหาระยะภาพ P เป็นวัตถุที่เป็นจุด ถ้า PB เป็นรังสีจากวัตถุที่ตกกระทบกระจกเงาราบ และ BQ เป็นรังสีสะท้อน ต่อ QB ไปตัดส่วนต่อของ PA ที่จุด P' ตามรูป ก.P' เป็นภาพของ P

เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า

สรุปได้ว่า ระยะวัตถุเท่ากับระยะภาพเสมอ

ในรูป 14.8 ข ถ้าวัตถุ PQ มีลักษณะเป็นเส้นตรง และ ยาว y จากข้างบนภาพของจุด P และ Q จะอยู่ที่จุด P' และ Q' ดังนั้น P' Q' เป็นภาพของ PQ และมีความยาม y'เพราะ PA = AP'  และ QB = BQ' จากเรขาคณิตจะได้ว่า

                      PQ       =        P' Q'

หรือ

y         =         y'

จะเห็นได้ว่าสำหรับการเกิดภาพในกระจกเงาราบความยาวของภาพเท่ากับความยาวของวัตถุเสมอสำหรับวัตถุที่มีรูปทรงเช่นกล่องหรือเก้าอี้ ซึ่งประกอบด้วยจุดจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อวัตถุ อยู่หน้ากระจกเงาราบ เพราะภาพของจุดแต่ละจุดที่เกิดขึ้นจะมีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ ทำให้องค์ประกอบอื่นๆของวัตถุที่ปรากฏเป็นภาพก็จะมีขนาดเท่ากันด้วย จึงทำไห้สรุปได้ว่า ขนาดของภาพที่ได้จากการวางวัตถุไว้หน้าผิวสะท้อนราบใดๆจะเท่ากับขนาดของวัตถุเสมอภาพของวัตถุในกระจกเงาราบนั้น เป็นภาพที่เกิดจากรังสีสะท้อนมาเข้าตาจึงทำไห้ดูเสมือนว่า รังสีเหล่านั้นมาจากภาพอยู่หลังกระจก และ ถ้าเรานำฉากไปวาง ณ ตำแหน่งที่เห็นภาพนั้นก็จะไม่มีภาพใดๆปรากฏบนฉาก ภาพที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ภาพเสมือน


    -  ภาพที่เกิดจากการสะท้อนของแสงบนกระจกผิวโค้งทรงกลม

เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า

กระจกเงาโค้งทรงกลมเป็นส่วนหนึ่งของผิวโค้งทรงกลม ถ้าใช้ผิวโค้งเว้าของกระจกเป็นผิวสะท้อนแสง เรียกว่ากระจกเว้า ดังรูป ก.และถ้าใช้ผิวโค้งนูนของกระจกเป็นผิวสะท้อนแสง เรียกว่า กระจกนูน ดังรูป ข.พิจารณารูปกระจกเว้าและกระจกนูน ในรูป C เป็นศูนย์กลางความโค้งของกระจก และของทรงกลม R เป็นรัศมีความโค้งของกระจก และรัศมีของทรงกลม เส้นตรงที่ลากผ่านจุด C ไปหาตำแหน่ง V ที่เป็นจุดกึ่งกลางบนผิวโค้งของกระจกเรียกว่า เส้นแกนมุขสำคัญ MM/เป็นความกว้างของกระจกโค้งซึ่งมีค่าน้อยเมื่อเทียบกับรัศมีความโค้ง   


       สำหรับรังสีตกกระทบทั้งหลายที่ขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญของกระจกเว้า และมีแนวไม่ห่างจากแกนมุขสำคัญมาก รังสีสะท้อนจะตัดแกนมุขสำคัญที่จุดๆหนึ่ง ซึ่งอยู่หน้ากระจกห่างจากจุดยอดของกระจกเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของรัศมีความโค้งของกระจก จุดนี้เรียกว่า โฟกัส ดังรูป

เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่าอะไร

Normal line คือ เส้นปกติ เป็นเส้นที่ลากตั้งฉากกับวัตถุ ตรงตำแหน่งรังสีตกกระทบ Incident ray คือ รังสีตกกระทบ เป็นแนวการเคลื่อนที่ของแสงที่ตกกระทบวัตถุ

เส้นสมมติที่ตั้งฉากกับผิวสะท้อนเรียกว่าอะไร

เส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุเรียกว่า เส้นรังสีตกกระทบ

เส้นแนวฉากเกิดจากอะไร

ใน ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต แนวฉาก คือเส้นที่ตั้งฉากกับพื้นผิว ของตัวกลางต่างๆ คำว่า normal ในที่นี้ใช้ในแง่ของคณิตศาสตร์ หมายถึงการตั้งฉาก โดยในการสะท้อนของแสง มุมตกกระทบ หมายถึงมุมระหว่างแนวฉากกับทิศทางที่แสงวิ่งเข้า ขณะที่ มุมสะท้อน คือมุมระหว่างแนวฉากกับทิศทางที่แสงสะท้อนออกไป

แสงตกกระทบผิวของวัตถุจะเป็นอย่างไร

การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง รังสีตก กระทบ (Incident Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ รังสีสะท้อน (Reflected Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ