ปวดท้องน้อยด้านขวา จี๊ดๆ ตั้งครรภ์7เดือน

หน้าแรก ปวดท้องในขณะตั้งครรภ์ อาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์?

ปวดท้องในขณะตั้งครรภ์ อาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์?

คุณแม่

ปวดท้องน้อยด้านขวา จี๊ดๆ ตั้งครรภ์7เดือน

อาการปวดท้อง หรือปวดบีบ เป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้จะเป็นเรื่องปกติ แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของสิ่งที่ร้ายแรงกว่าที่ควรต้องให้คุณหมอเป็นผู้วินิจฉัย

อาการปวดแบบใดบ้างที่ไม่เป็นอันตราย?
ไม่มีอะไรที่คุณแม่ต้องกังวลถ้าหากความเจ็บปวดนั้นไม่รุนแรงและหายไปได้เองเมื่อคุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถ นอนพักผ่อน หรือผายลม อาการปวดท้องที่ไม่เป็นอันตรายซึ่งอาจปวดแบบตื้อ ๆ หรือปวดแปลบอาจเกิดจาก:

  • อาการปวดเส้นเอ็น เกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นยืดออกเพื่อรองรับหน้าท้องของคุณแม่ที่กำลังโตขึ้น ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเหมือนเป็นตะคริว เจ็บ เสียดที่ด้านหนึ่งของหน้าท้องส่วนล่าง
  • ท้องผูก
  • มีแก๊สในท้องมากกว่าปกติ

อาการที่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันทีมีอะไรบ้าง?
คุณแม่ควรไปพบคุณหมอที่โรงพยาบาลทันทีหากมีอาการปวดท้องพร้อมกับอาการดังต่อไปนี้:

  • มีเลือดออก
  • ปวดบีบเกร็งเป็นประจำ
  • มีตกขาวผิดปกติ
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • ปวดหรือแสบขณะปัสสาวะ
  • อาการปวดนั้นรุนแรง หรือไม่หายไปหลังจากที่คุณแม่พักเป็นเวลา 30 ถึง 60 นาทีแล้ว

ภาวะที่อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องและจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างเร่งด่วนได้แก่:

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก: คือภาวะที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิและมีการฝังตัวนอกมดลูก อาจมีอาการปวดท้อง รวมถึงปวดที่หัวไหล่ และรู้สึกไม่สบายขณะปัสสาวะและอุจจาระ มักจะปรากฏอาการขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4 – 12 ของการตั้งครรภ์
  • การแท้งบุตร: มีอาการปวดบีบและมีเลือดออกก่อนสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการแท้งบุตรได้
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ: อาการปวดใต้ซี่โครงนั้นสามารถพบได้บ่อยในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกในครรภ์โตขึ้น และมดลูกดันขึ้นไปบริเวณใต้ซี่โครง แต่หากมีอาการเจ็บปวดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านขวา ก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษได้ (คือมีความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์) และคุณแม่จะต้องได้รับการตรวจในโรงพยาบาล อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาในการมองเห็น และมีอาการบวมที่เท้า มือ และใบหน้าร่วมด้วย
  • คลอดก่อนกำหนด: หากคุณแม่ตั้งครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และมีอาการปวดท้องเป็นประจำ ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะนี่อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด: ภาวะที่รกเริ่มหลุดออกจากผนังมดลูก ซึ่งมักจะทำให้มีเลือดออก และปวดท้องอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ซึ่งไม่เหมือนกับอาการเจ็บครรภ์ทั่ว ๆ ไป และอาจเป็นเหตุฉุกเฉิน เพราะหมายความว่ารกอาจไม่สามารถทำหน้าที่ส่งอาหารและอากาศให้ทารกในครรภ์ได้อย่างสมบูรณ์
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (UTI): การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และสามารถรักษาได้ง่าย โรคนี้อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย และบางครั้งก็รู้สึก เจ็บหรือแสบในขณะปัสสาวะ

เจ็บท้องน้อย ขณะตั้งครรภ์ ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดท้องน้อยใต้สะดือ ปวดแบบจี๊ด ๆ หน่วง ๆ ปวดเป็น ๆ หาย ๆ ปวดหน่วงมดลูก ตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อยเป็นพัก ๆ ตั้งครรภ์ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงท้องน้อย ตั้งครรภ์ หรือ ใครที่มีอาการ ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ เจ็บท้องน้อย  ท้อง 5 เดือน ปวดท้องจี๊ด ๆ ปวดท้องจี๊ดๆ ปวดท้องหน่วงๆ ตั้งครรภ์อ่อนๆ  จะเป็นอะไรไหม ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อันตรายหรือเปล่า

ท้องแล้วปวดท้องน้อย เจ็บท้องน้อยจี๊ดๆ ตั้งครรภ์

ปวดท้องจี๊ด ๆ ท้องน้อย ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ จะอยู่บริเวณใต้สะดือ ซึ่งเป็นที่อยู่ของอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ มดลูก ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ และช่องคลอด ซึ่งอาการปวดตรงช่วงท้องน้อยนั้น จะเป็นอาการปวดแบบหน่วง ๆ หรือปวดแบบจี๊ด ๆ คล้ายกับอาการปวดประจำเดือน โดยอาการปวดดังกล่าว จะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ และจะค่อย ๆ อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะหายไปเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการปวดท้องคลอดลูกเป็นอย่างไร อาการใกล้คลอด เจ็บท้องจริง เจ็บท้องหลอก

ปวดท้องน้อยด้านขวา จี๊ดๆ ตั้งครรภ์7เดือน

คนท้องปวดท้องน้อย ตั้งครรภ์ปวดท้องน้อย ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ

อาการปวดท้องน้อย ปวดท้องจี๊ดๆ  ปวดหน่วงมดลูกตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ ท้องแล้วปวดท้องน้อย ที่เกิดกับคนท้อง อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ปวดท้องน้อยหน่วงๆ การเปลี่ยนแปลงของมดลูก

เมื่อตั้งท้อง มดลูกของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น และเกิดการเกร็งตัว เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเด็กทารก ซึ่งคุณแม่หลาย ๆ ท่านมักจะรู้สึกปวดท้องน้อยจี๊ด ๆ ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่สอง อาการ ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ ดังกล่าวก็จะหายไป ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลใจ เพราะอาการปวดที่เกิดจากการที่มดลูกขยายตัว เกิดขึ้นได้กับคนท้องทุกคน

2. ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ เสี่ยง ท้องนอกมดลูก

ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ หากคุณแม่รู้สึกปวดท้องน้อย หรือ ปวดท้องจี๊ดๆ ที่ข้างใดข้างหนึ่งอย่างรุนแรง ปวดแบบเฉียบพลัน และปวดมากถึงขนาดจะเป็นลม พร้อม ๆ กับมีเลือดไหลในช่องคลอดกะปริบกะปรอย ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้ อาจบ่งบอกได้ว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์นอกมดลูก

โดยทั่วไปแล้ว ปวดท้องน้อยจี๊ดๆ  ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อาการปวดนี้ จะเกิดจากการที่ตัวอ่อน ได้ไปฝังตัวอยู่นอกโพรงมดลูก หากปล่อยไว้จะทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตนอกมดลูกได้ จนอาจทำให้อวัยวะนั้นฉีกขาด มีเลือดออกในช่องคลอด และเป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่ ซึ่งคนที่มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศ อุ้งเชิงกรานอักเสบ เคยเข้ารับการผ่าตัดทางช่องท้อง เคยมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน รวมทั้งคนที่ชอบสูบบุหรี่ เคยใช้ถุงยางคุมกำเนิด และคนที่ตั้งครรภ์หลังจากอายุ 35 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงท้องนอกมดลูกมากกว่าคนอื่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบื่อมาก!! ปวดหลังปวดท้อง หนาวใน ไม่มีนมให้ลูก ขอเคล็ดลับ ฟื้นฟูร่างกายแม่ ด่วน!

ปวดท้องน้อยด้านขวา จี๊ดๆ ตั้งครรภ์7เดือน

3. ปวดหน่วงมดลูกตั้งครรภ์ อาจนำไปสู่แท้งลูก

ปวดท้องจี๊ด ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่แท้งลูก จะมีเลือดหรือมูกปนเลือด ไหลออกมาทางช่องคลอด จะรู้สึกปวดท้องน้อย ปวดท้องจี๊ดๆ  ปวดหลังอย่างมาก รวมทั้งน้ำหนักตัวลด มดลูกแข็งตัวหรือบีบตัวบ่อย ท้องมีขนาดเล็กลง หรือท้องไม่โตขึ้นเลย นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตึงคัดเต้านม เป็นต้น ซึ่งภาวะแท้งบุตรมักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 4 - 20 สัปดาห์ ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ 4 เดือน หากคุณแม่พบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ให้รีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน

4. ปวดท้องหน่วงๆตั้งครรภ์อ่อนๆ ภาวะแทรกซ้อนของอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ปวดท้องน้อยด้านขวา จี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ โรคติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรืออุ้งเชิงการอักเสบ สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือเหมาะสม โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่มักพบจากโรคนี้ มีดังต่อไปนี้

  • โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง

ผู้ป่วยบางคนอาจเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบ ไม่รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หรือมีคู่นอนที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังไม่ได้รับการตรวจ หรือรักษา หรืออาจจะเกิดจากกรณีที่รังไข่ หรือท่อรังไข่ เคยอักเสบเเล้วติดเชื้ออีก ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะใช้ชีวิตได้ยากขึ้น เพราะอาจต้องรับมือกับอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น นอนไม่หลับ เป็นซึมเศร้า เป็นต้น ซึ่งการรับประทานยาแก้ปวดอย่างยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน จะช่วยบรรเทาอาการได้เบื้องต้น แต่หากรับประทานแล้วอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หรือสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและทำการรักษา

  •  ฝี

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ อาจทำให้เกิดฝีได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งฝีมักจะขึ้นที่บริเวณท่อนำไข่และรังไข่ โดยผู้ป่วยที่เป็นฝีจะต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และในบางกรณี อาจต้องผ่าตัดเพื่อระบายน้ำหนองออกจากฝี

นอกจากนี้ ผู้หญิงที่เป็นอุ้งเชิงกรานอักเสบและเป็นฝีในท่อนำไข่ อาจมีบุตรได้ยากขึ้น เนื่องจากไข่จะไม่สามารถผ่านเข้าไปในมดลูกได้ หากได้รับการรักษาล่าช้า ก็จะยิ่งทำให้มีลูกยากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายขาดจากโรค สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้ตามปกติ ซึ่งโรคนี้ จะสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

ปวดท้องน้อยด้านขวา จี๊ดๆ ตั้งครรภ์7เดือน

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อคุณแม่ ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อยหน่วงๆ

สำหรับคุณแม่ที่มีอาการปวดท้องน้อย คนท้องเจ็บท้องน้อย ปวดท้องหน่วงๆตั้งครรภ์อ่อนๆ แนะนำให้ดูแลตัวเองด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • ให้นอน หรือนั่งพักทันที เมื่อมีอาการปวดท้องน้อย และยกขาสูง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น เพราะบางครั้ง อาการปวดท้องน้อย ก็เกิดจากการยืนหรือเดินมากเกินไป 
  • ออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยการเดินเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ และเล่นโยคะสำหรับคนท้อง เพื่อช่วยให้หน้าท้องและหลังแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดีขึ้น   
  • ไม่ออกแรงยกของหนัก จามแรง ๆ หรือเอี้ยวตัวหยิบของระยะไกล เพราะจะทำให้หน้าท้องเกร็ง จนรู้สึกปวดท้อง
  • ในขณะที่นอน ให้วางหมอนหนุนท้องและขาเอาไว้ เพื่อช่วยพยุงน้ำหนัก และทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น
  • ใช้หมอนหลาย ๆ ใบหนุนหลังในขณะที่กำลังนั่ง
  • ใช้มือลูบหน้าท้อง การลูบหน้าท้องจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดีมาก ๆ โดยก่อนลูบให้นำมือสองข้างมาถูกกันจนรู้สึกอุ่น ๆ ก่อน แล้วนพมาลูบหน้าท้องเบา ๆ จนอาการปวดทุเลาลง

อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์ทันที

  • ปัสสาวะแสบขับ ไม่สุด ปวดท้องน้อยเวลาปัสสาวะ
  • มีอาการคันบริเวณช่องคลอด
  • ตกขาวมีกลิ่น หรือสีที่แปลกไปจากเดิม
  • นอนไม่หลับ
  • ท้องผูก
  • ปวดหลังมาก
  • เป็นตะคริว
  • มีอาการชาปลายมือหรือปลายเท้า
  • จุกแสบลิ้นปี่ หรือมีอาการแสบร้อนที่อก หรือลำคอหลังรับประทานอาหารหรือเวลานอน

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

ปวดท้องน้อยด้านขวา จี๊ดๆ ตั้งครรภ์7เดือน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่ต้องเจอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 9

ปวดท้องด้านซ้ายระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากสาเหตุ อันตรายไหม?

ปวดท้องหลังคลอด ปวดมดลูกหลังคลอดเกิดจากอะไร มีวิธีลดอาการปวดไหม

ที่มา: 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!