Activity iphone ใช หลายเครื่อง

Activity iphone ใช หลายเครื่อง

iOS15 ระบบปฏิบัติการ Apple เวอร์ชั่นใหม่สำหรับผู้ใช้งาน iPhone ถูกปล่อยให้ดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเวอร์ชั่นใหม่มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่โดดเด่นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นปล่อยตามหลังการเปิดตัว iPhon13 เมื่อไม่นานมานี้ โดยระบบปฏิบัติการในเวอร์ชั่นก่อนช่วยระวังเฝ้าการติดตามของผู้ใช้งาน iPhone จนถึงขนาดที่แบรนด์และโซเชียลมีเดียรายใหญ่อย่าง Facebook ต้องออกมาโวยวายถุงการป้องกันการติดตามพฤติกรรม ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำธุรกิจ การอัพเกรดในครั้งนี้ยังคงมีฟีเจอร์การป้องกันการติดตามอยู่ แต่เพิ่มเติมระบบความปลอดภัยอื่นๆ เข้ามา ซึ่งผู้ใช้ควรปรับการตั้งค่าความปลอดถัยทันทีหลังการอัพเกรดเสร็จสิ้น

บล็อกการติดตาม e-Mail

โดยปกติอีเมล์ที่ส่งมาให้จากเพื่อนหรือที่ทำงานสามารถเปิดใช้งานได้ปกติ แต่อีเมล์ที่ต้องระวังส่วนใหญ่เป็นอีเมล์ที่ไม่รู้จัก หรืออีเมล์ที่มาเสนอขายสินค้า อีเมล์เหล่านี้จะมีระบบติดตามตัวผู้ใช้งานแฝงมากับอีเมล์ ซึ่งเป็นระบบติดตามที่เล็กมากจนหลุดรอดระบบความปลอดภัยได้ แถมยังติดมากับทั้งหัวจดหมาย ท้ายจดหมาย เมื่อทำการเปิดอีเมล์ระบบติดตามจะเข้าสู่ระบบมือถือและคอยตรวจสอบการใช้งานเพื่อรายงานพฤติกรรมต่างๆ ไปยีงต้นทาง รวมไปถึงไวรัสและการแฮกข้อมูล

Activity iphone ใช หลายเครื่อง

แต่ด้วยฟีเจอร์ความปลอดภัยใน iOS15 จะบล็อคการมองเห็น IP Address แถมระบบจะทำการสุ่ม IP Address หลอกขึ้นมา หากมีระบบติดตามหลุดมา ซึ่งจะทำให้ต้นทางไม่ทราบว่ากำลังติดตามใคร และจะไม่มีทางรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานสามานถเข้าไปที่การตั้งค่า แล้วเลือกจดหมาย จากนั้นเข้าไผที่หัวข้อ “คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” แล้วเปิดตัวเลือกสำหรับกิจกรรมจดหมายป้องกัน

ส่องดูแอปฯ แอบเจาะข้อมูล

นอกจากอีเมล์ที่สามารถเข้ามาในเครื่องได้แล้ว ยังมีแอปพลิเคชั่นที่เข้ามาในเครื่องจากการกดดาวน์โหลดเพื่อใช้งาน ซึ่งบางแอปฯ อาจจะแอบฝังตัวในระบบต่างๆ เพื่อดูข้อมูลหรือแอบส่องพฤติกรรมผู้ใช้ โดยเฉพาะแอปฯ ที่บังคับให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เช่น รูปภาพ กล้อง GPS เป็นต้น มิเช่นนั้นจะไม่สามารถใช้งานแอปฯ นั้นได้ ซึ่งเท่ากับผู้ใช้อนุญาตให้มีการติดตาม ซึ่งเบื้องต้นแอปฯ เหล่านี้ผู้ใช้งานสามารถต้องสงสัยและปฏิเสธการใช้แอปฯ ได้

แต่ในแอปฯ ที่จำเป็นต้องใช้แต่ต้องการตรวจสอบการทำงานว่าเป็นแอปฯ ที่เข้ามสเจาะข้อมูลหรือไม่ สามารถทำได้ ด้วยการไปที่การตั้งค่าแล้วเลือกความเป็นส่วนตัว ในหัวข้อรายงานความเป็นส่วนตัวของแอปฯ ในส่วนของบันทึกกิจกรรมแอปฯ สามารถเลือกเปิดฟีเจอร์นี้ได้

ซ่อน IP ไว้ท่องเน็ตปลอดภัย

ในบางครั้งการท่องเน็ตก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงเพราะผู้ใช้งานไม่มีทางรู้เลยว่ามีการฝังระบบติดตามไว้หรือไม่ หรือในปัจจุบันจะมีการขอติดตามสำหรับเว็บที่ต้องการเข้า (ส่วนใหญ่จะทำการขออนุญาตผู้ใช้ในการติดตาม ตามข้อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลที่เริ่มใช้ทั่วโลก) และบางเว็บหากไม่ให้อนุญาตในการติดตามก็จะไม่สามารถเข้าเว็บนั้นได้

Activity iphone ใช หลายเครื่อง

ในระบบปฏิบัติการ iOS15 ก็มีฟีเจอร์สำหรับการซ่อน IP Address เพื่อป้องกันการติดตามได้ โดยเว็บไซต์จะรู้ว่าผู้ใช้มี IP แต่ไม่สามารถระบุหมายเลข IP ได้ ทำให้เว็บไม่สามารถติดตามหมายเลข IP ดังกล่าวได้ ด้วยการเข้าไปที่เมนูตั้งค่า แล้วเลือก Safari จากนั้นเลือก “ซ่อน IP Address” แล้วเปิดสำหรับการติดตามและเว็บไซต์

ตรวจสอบยืนยันรหัสผ่าน

หลายแห่งมักจะมีให้ตรวจสอบรหัสผ่าน ด้วยการส่ง SMS ยืนยัน แน่นอนว่าการส่ง SMS เป็นระบบที่ช่วยป้องกันการเจาะข้อมูล แต่บางครั้งผู้ที่ต้องการเจาะข้อมูลก็มักจะฉลาดด้วยการไม่ใช้วิธีตรงๆ ที่เรียบง่าย แต่ใช้วิธีที่ซับซ้อนทำให้ผู้ใช้งานเชื่อมั่นและยอมให้เจาะข้อมูลโดยที่ตัวเองไม่รู้ นั่นเพราะ SMS ที่ส่งมายืนยันอาจมีการฝากระบบเจาะข้อมูลติดมาด้วย ซึ่งเมื่อ SMS ยืนยันมาถึงยังไงผู้ใช้งานก็ต้องเปิด เท่ากับผู้ใช้งานเปิดประตูต้อนรับให้เข้ามาเจาะข้อมูลได้เลย

Activity iphone ใช หลายเครื่อง

แต่ด้วยฟีเจอร์ใหม่ใน iOS15 ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบยืนยันตัวตนของ Apple เป็นการยืนยันรหัสผ่านแทน โดยไม่ต้องใช้ SMS เข้ามาช่วยยืนยัน  ด้วยการเข้าไปที่การตั้งค่า เลือกรหัสผ่าน

iCloud+ ช่วยท่องเว็บปลอดภัยมากขึ้น

สำหรับ iCloud+ เป็นระบบที่ผู้ใช้งานต้องสมัครสมาชิก โดยใน iCloud+ จะมีระบบ iCloud Private Relay ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน VPN ซึ่งจะทำให้เกิด IP Address จำลองขึ้นมาเป็นจำนวนมาก กระจายตัวผ่านเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในระบบพันธมิตร ทำให้เว็บไซต์หรือใครก็ตามที่ต้องการติดตาม IP Address ไม่สามารถติดตามได้เนื่องจากมีการกระจายตัวเข้าใช้งานเซิร์ฟเวอร์ในหลายแห่งพร้อมกัน โดยปัจจุบัน Apple กำลังมองหาพันธมิตรที่น่าเชื่อถือในการกระจายเซิร์ฟเวอร์

นอกจากนี้ใน iCloud+ ยังมีฟีเจอร์การซ่อนอีเมล์ส่วนตัวไว้ด้วย โดยผู้ใช้สามารถไปที่การตั้งค่า แล้วเปิดใช้งาน iCloud Private Relay

ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว

ก่อนที่จะทำการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของ iPhone ควรตรวจสอบตัวเลือกให้ชัดเจนก่อน เนื่องจากหลายฟีเจอร์อาจกลายเป็นการแชร์ข้อมูลกับแอพและบริษัทมากกว่าที่คุณจำได้ และมีขั้นตอนด่วนที่คุณสามารถทำได้เพื่อปรับปรุงความเป็นส่วนตัวในอุปกรณ์ เริ่มต้นด้วยการไปที่การตั้งค่าแล้วเลือกความเป็นส่วนตัว จากนั้นเลือก “Location Services” ผู้ใช้งานสามารถปิดบริการตำแหน่งได้

Activity iphone ใช หลายเครื่อง

การปิด Location Services อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากบางแอปฯ จำเป็นต้องทราบตำแหน่งของผู้ใช้ เช่น แอปฯ แผนที่ที่ใช้เพื่อหาทิศทางการเดินทาง หรือกล้องเพื่อบันทึกตำแหน่งที่ถ่ายภาพ โดยฟีเจอร์ระบุตำแหน่งสามารถเลือกให้ใช้งานได้เฉพาะในแต่ละแอปฯ ที่จำเป็นเท่านั้น นอกจากนี้ในส่วน ความเป็นส่วนตัว” ยังสามารถตรวจสอบในการดูว่าแอปฯ ใดบ้างที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงส่วนต่างๆ เช่น รายชื่อผู้ติดต่อ รูปภาพ เป็นต้น

Source: Wired


  • TAGS
  • Apple
  • e-mail
  • icloud
  • iCloud Private Relay
  • iOS15
  • IP Address
  • iphone
  • Location Service
  • Security & Privacy
  • sms