ข่าวมลพิษทางอากาศ ต่างประเทศ

ข่าวมลพิษทางอากาศ ต่างประเทศ
แฟ้มภาพ เอเอฟพี

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 กันยายน สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป (อีอีเอ)เปิดเผยว่า ปี 2017 เพียงปีเดียว มลพิษทางอากาศที่มาจากอุตสาหกรรมต่างๆในยุโรปได้ทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 430,000 ล้านยูโร (16.9 ล้านล้านบาท)

ในรายงานของหน่วยงานดังกล่าวระบุว่า เมื่อปี 2017 มลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมสร้างความเสียหายให้กับสังคมราว 277,000 – 433,000 ล้านยูโร (10.9 – 17 ล้านล้านบาท) มูลค่าดังกล่าวเทียบเท่ากับ 2-3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหภาพยุโรป (อียู) และเป็นมูลค่าที่สูงกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจทั้งหมดในแต่ละปีของหลายชาติสมาชิกยุโรป

ในขณะที่อุตสาหกรรมในยุโรปมีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ส่วนต้นทุนทางสังคมหรือผลกระทบภายนอกที่เกิดจากมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมนี้ยังคงสูงอยู่

มูลค่าดังกล่าวประเมินจากผลกระทบของมลภาวะทางอากาศซึ่งรวมถึงการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ตลอดจนความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ แหล่งที่อยู่อาศัย และพืชผล

จากสถานที่มากกว่า 11,000 แห่งที่มีการรายงานการปล่อยมลพิษ มีเพียง 211 แห่งที่รับผิดชอบค่าเสียหายครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด สถานที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเยอรมนี สหราชอาณาจักร โปแลนด์ สเปน และอิตาลี

โดยมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ถ่านหิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด รองลงมาคือการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมหนัก การผลิตเชื้อเพลิงและกระบวนการแปรรูป อ้างอิงจากข้อมูลของหน่วยงานของอียู

ข่าวมลพิษทางอากาศ ต่างประเทศ

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

ข่าวมลพิษทางอากาศ ต่างประเทศ

“เมืองที่มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุดคือ กรุงธากา ของบังคลาเทศ พบผู้เสียชีวิตรวมแล้วประมาณ 24,000 ราย รองลงมาเป็นเมืองมุมไบประเทศอินเดีย กว่า 18,000 ราย ส่วนกรุงเทพมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรแล้วกว่า 6000 ราย”

มีผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advance พบว่า หลายประเทศในเขตร้อนชื้น เผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศ และนั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นก็มาจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม การจราจร การเผาขยะ รวมถึงการเผาไหม้ถ่านหิน ซึ่งทำให้คุณภาพอากาศในหลายพื้นที่แย่ขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเมืองที่มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุดคือ กรุงธากา เมืองหลวงของบังคลาเทศ พบผู้เสียชีวิตรวมแล้วประมาณ 24,000 ราย รองลงมาเป็นเมืองมุมไบประเทศอินเดีย กว่า 18,000 ราย ตามมาด้วยเมืองบังกาลอร์ อินเดียอีกเช่นกัน 17,500 ราย ส่วนกรุงเทพมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรแล้วกว่า 6000 ราย ซึ่งก็สอดคล้องกับผลสำรวจคุณภาพอากาศจากองค์การอนามัยโลกประเทศที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก คือ บังคลาเทศและชาด ในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดเกณฑ์คุณภาพอากาศใหม่ คือค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 นั้น ไม่ควรเกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต่อปี ดังนั้นปี 2564 ที่ผ่านมาจึงไม่มีประเทศไหนเลยที่ผ่านเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศองค์การอนามัยโลก องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ฝุ่นพิษแม้จะมีปริมาณน้อย ก็สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพได้ ดังนั้นเราต้องช่วยกันรับมือกับปัญหานี้ เช่น ปลูกป่าเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงลดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละออง

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

ข่าวมลพิษทางอากาศ ต่างประเทศ

Advertisement

ผลการศึกษาล่าสุดชี้ ปัญหามลพิษในอินเดียคร่าชีวิตประชาชนก่อนวัยอันควรกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2562 

วันที่ 18 พ.ค. 2565 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า วารสารการแพทย์เดอะแลนซิต (The Lancet) ได้เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุดซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวอินเดียต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไปมากกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2562 เนื่องจากการได้รับมลพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยตัวเลขดังกล่าวแบ่งเป็นผู้เสียชีวิตจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศมากถึง 1.6 ล้านคน และอีกกว่า 500,000 เสียชีวิตจากการได้รับมลพิษทางน้ำ 

ผลการศึกษาในรายงานแลนซิตคอมมิชชัน (Lancet Commission) ฉบับล่าสุดยังบ่งอีกชี้ว่า ปัญหามลพิษได้คร่าชีวิตประชาชนไปราว 9 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากรายงานฉบับปี 2558 แม้จำนวนผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษที่เกี่ยวข้องกับความยากจนขั้นรุนแรง เช่น มลพิษทางอากาศในครัวเรือน หรือมลพิษทางน้ำ จะลดลง แต่ตัวเลขเหล่านี้ได้ถูกชดเชยด้วยการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากปัญหามลพิษทางอุตสาหกรรม มลพิษทางอากาศในพื้นที่โดยรอบ รวมถึงมลพิษที่เกิดจากสารเคมีเป็นพิษ

ทั้งนี้ แลนซิตระบุในรายงานว่า อินเดียต้องเป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญกับปัญหาความย่ำแย่ของสภาพอากาศรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่งผลให้มีประชาชนที่ต้องเสียชีวิตอันเนื่องจากสาเหตุของมลพิษมากกว่า 1 ล้านคนในทุกๆ ปี 

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้อีกว่า การเสียชีวิตอันมีสาเหตุมาจากมลภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นมากกว่า 90% อยู่ในประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง อย่างอินเดีย ซึ่งอยู่ในอันดับหนึ่งของรายงาน ตามมาด้วยจีน อยู่ในอันดับที่ 2 โดยมีผู้เสียชีวิตจากปัญหามลพิษ 2.1 ล้านคนในปี 2562 

รายงานระบุต่อว่า แม้ทางการอินเดียอินเดียจะตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนาเรนทรา โมดี ได้จัดตั้งโครงการ Pradhan Mantri Ujjwala Yojana ขึ้นมาเมื่อปี 2559 เพื่อรณรงค์ให้แม่บ้านที่มีฐานะยากจนในชนบทเปลี่ยนมาใช้ก๊าซหุงต้มแทนการใช้ฟืน แต่นโยบายเหล่านี้ยังคงไม่สามารถสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม

“อินเดียได้มีการพัฒนาทั้งเครื่องมือและการกำกับดูแลเพื่อลดแหล่งที่มาของมลพิษ แต่ยังคงขาดแคลนการดำเนินการแบบรวมศูนย์เพื่อขับเคลื่อนความพยายามในการควบคุมมลพิษและนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์สำคัญ” แลนซิตระบุในรายงาน พร้อมเสริมว่า พื้นที่ 93% ทั่วอินเดียยังคงมีปริมาณมลพิษสูงกว่าค่ากำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) 

ด้านบีบีซีได้กล่าวเสริมในบทความนี้ว่า เมืองต่างๆ ในอินเดียต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหามลพิษอยู่เป็นประจำ โดยเมื่อปีที่แล้ว นักวิจัยชาวสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยงานวิจัยฉบับหนึ่งซึ่งพบว่า มีชาวอินเดียมากกว่า 480 ล้านคนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ เผชิญกับมลพิษทางอากาศในระดับที่รุนแรงที่สุดในโลก 

ขณะเดียวกัน สถาบันนโยบายพลังงานแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกได้ออกมาเปิดเผยการศึกษาอีกฉบับเมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว ระบุว่า ชาวกรุงนิวเดลีอาจมีชีวิตยืนยาวมากขึ้นไปอีกถึง 10 ปี หากรัฐบาลอินเดียสามารถจัดการกับปัญหามลพิษให้อยู่ในขอบเขตตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกที่ 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งในปี 2562 อินเดียมีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองเฉลี่ยอยู่ที่ 70.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในโลก

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...