อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ (22 เมษายน พ.ศ. 2453 – 19 ตุลาคม 2536) ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2528 เป็นศิลปินและจิตรกร ผู้ได้รับการยกย่องเป็น “ครูใหญ่ในวงการศิลปะ” ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. 2526[1] และเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[2]

เฟื้อ หริพิทักษ์
ท.ช., ท.ม.
อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
เกิดเฟื้อ
22 เมษายน พ.ศ. 2453
ตำบลราษฎร์บูรณะ อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต19 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (83 ปี)
ชื่ออื่นเฟื้อ ทองอยู่
การศึกษามหาวิทยาลัยวิศวภารตี ศานตินิเกตัน
ศิษย์เก่าโรงเรียนเพาะช่าง
อาชีพศิลปิน, จิตรกร
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2536
องค์การราชบัณฑิตยสถาน
ตำแหน่งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
วาระ9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร
สมถวิล หริพิทักษ์
บุตรทำนุ
บิดามารดาเปล่ง ทองอยู่
เก็บ ทองอยู่
รางวัล
  • ในประเทศ
    • ศิลปินชั้นเยี่ยม - สาขาจิตรกรรม - พ.ศ. 2500
    • ศิลปินแห่งชาติ - สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2528
  • ต่างประเทศ
    • แมกไซไซ - สาขาบริการสาธารณะ - พ.ศ. 2526
ผลงานสำคัญ
  • ทิวทัศน์เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี
  • ทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่
  • ภาพเหมือนคุณยายของฉัน
  • ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
  • หอพระไตรปิฏก วัดระฆังโฆสิตาราม

สมุดบันทึก สมุดสเก็ตช์ งานลอกลายจิตรกรรมฝาผนัง จดหมาย หนังสือ รูปถ่าย ฟิล์มสไลด์ โล่รางวัล เกียรติบัตร หลอดสี พู่กัน และสิ่งละอันพันละน้อยที่เคยอัดแน่นและปิดล็อกอยู่ในตู้เหล็กขนาดใหญ่ 4 ตู้และอีก 1 หีบสมบัติของ อาจารย์เฟื้อ หรือ เฟื้อ หริพิทักษ์ ได้ถูกเปิดขึ้นอีกครั้งและนำมาเรียงร้อยเรื่องราวใหม่เพื่อบอกเล่าชีวประวัติและการสร้างสรรค์งานของศิลปินผู้ล่วงลับที่ฝากผลงานยิ่งใหญ่ไว้ให้แผ่นดินมากมาย

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
ภาพถ่ายอาจารย์เฟื้อขณะศึกษาที่ประเทศอิตาลี

อาจารย์เฟื้อ (พ.ศ.2453-2536) เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกศิลปะแนวอิมเพรสชันนิสต์ในเมืองไทยและอุทิศตนในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆโดยเฉพาะงานอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก ที่วัดระฆังโฆษิตารามที่ใช้เวลาร่วม20 ปีและได้รับการยอมรับว่าเป็นงานบูรณะที่มีรูปแบบของการอนุรักษ์ศิลปกรรมที่สมบูรณ์ที่สุด ท่านยังเป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลแมกไซไซเมื่อ พ.ศ. 2526 สาขาบริการชุมชนและได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์เมื่อ พ.ศ. 2528

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
พื้นที่จัดแสดงงาน Archive ของอาจารย์เฟื้อที่ 333 Gallery สาขาถนนสุรศักดิ์

ธีระ วานิชธีระนนท์ ผู้ก่อตั้ง 333 Gallery ที่กรุงเทพฯได้ใช้เวลาสืบค้นร่องรอยของอดีตจากเอกสารมากมาย สมุดบันทึก ผลงานสเก็ตช์ และสิ่งของต่างๆของอาจารย์เฟื้อที่เขาเก็บสะสมและรวบรวมมากว่า 8 ปี และเปิดพื้นที่บริเวณชั้น 3 ของแกลเลอรีสาขาถนนสุรศักดิ์จัดแสดงสิ่งของเหล่านี้ในรูปแบบ Archive หรือแบบจดหมายเหตุ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาชีวิต ความคิดเบื้องหลังการสร้างสรรค์และกระบวนการทำงานของศิลปินที่ได้ชื่อว่าเป็น“ครูใหญ่ในวงการศิลปะ”

จุดเริ่มต้นสะสมงาน Archive ของบรมครู

“ผมเริ่มต้นสะสมงานศิลปะ เช่นภาพสเก็ตช์และภาพสีน้ำมันของศิลปินเวียดนามระดับมาสเตอร์ อย่าง Bui Xuan Phai และ To Ngoc Van เพราะทำธุรกิจที่เวียดนามมาร่วม 30 ปี จนเมื่อ 8 ปีที่แล้วมีนักค้าของเก่าชวนสะสมงาน Archive ของอาจารย์เฟื้อ ในขณะนั้นผมยังไม่รู้ประวัติชีวิตและผลงานของอาจารย์อย่างละเอียดมากนัก แต่ผมคิดว่างานของศิลปินเวียดนามเรายังเก็บสะสมได้ งานของศิลปินไทยระดับมาสเตอร์เรายิ่งต้องสะสม” ธีระกล่าว

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
ธีระ วานิชธีระนนท์

เมื่อตัดสินใจดังนั้นธีระจึงเหมาซื้อตู้เหล็กใหญ่ 2 ตู้ที่เก็บเอกสารต่างๆของอาจารย์เฟื้อมาในราคา 2 ล้านบาท เขาใช้เวลาเป็นปีในการอ่านและศึกษาเอกสารต่างๆที่อาจารย์เก็บไว้ เอกสารและผลงานจำนวนมากอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยเฉพาะงานชุดภาพคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ที่อาจารย์เฟื้อใช้กระดาษแก้วในการคัดลอกและปัจจุบันชำรุดกรอบเปราะแตกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆจนต้องส่งไปให้อาจารย์ขวัญจิต เลิศศิริ ผู้ที่ได้ชื่อว่า “หมอศิลปะ” ซ่อมแซมเพื่อให้กลับฟื้นคืนสภาพแข็งแรงขึ้น

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
งานคัดลอกลายจิตรกรรมฝาผนังของ อาจารย์เฟื้อ ที่ยังไม่ได้ผ่านการอนุรักษ์

“ในตู้เหล็ก 2 ตู้แรกที่ผมได้มาส่วนใหญ่เป็นงานสเก็ตช์ต่าง ๆ งานคัดลอกลายจิตรกรรมฝาผนัง ไดอารี สมุดโน้ตและจดหมายที่ท่านเขียนโต้ตอบกับคุณถวิล ภรรยาคนที่ 2 ของท่าน ยิ่งศึกษาชีวิตและผลงานของอาจารย์ผมก็ยิ่งประทับใจ ภาพวาดของท่านโดยเฉพาะชุดที่วาดขณะศึกษาที่ประเทศอิตาลีแสดงให้เห็นว่าฝีมือของท่านอยู่ในระดับท็อปของโลกได้เลย แต่ท่านกลับอุทิศตนในการอนุรักษ์จิตรกรรมไทยอย่างแท้จริง”

จิ๊กซอว์ที่เติมเต็มภาพชีวิตและผลงานให้สมบูรณ์ขึ้น

ในวาระครบรอบ 107 ปีชาตกาลของอาจารย์เฟื้อเมื่อ พ.ศ.2560 ธีระนำงาน Archive บางส่วนที่เขาสะสมไว้มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกที่ 333 Gallery อาคารริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อกในช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นเดือนเกิดของอาจารย์เฟื้อ และขณะกำลังจัดเตรียมงานเพื่อแสดงในปีถัดไปเขาก็ได้งานของอาจารย์มาเพิ่มอย่างไม่คาดคิดและช่วยต่อจิ๊กซอว์ให้การรวบรวมเอกสารหลักฐานสมบูรณ์มากขึ้น

“ก่อนจะถึงวันคล้ายวันเกิดครบรอบปีที่ 108 ของอาจารย์ (22 เมษายน พ.ศ. 2561)ไม่นาน ผมได้รับการติดต่อจากญาติของคุณถวิล (ภรรยาคนที่ 2 ของอาจารย์เฟื้อ) เพราะเห็นว่าผมเก็บงานของอาจารย์ ผมก็ไปดูที่บ้านและได้ข้าวของของอาจารย์ที่เก็บอยู่ในตู้มาอีก 2 ตู้ และอีก 1 หีบสมบัติขนาดใหญ่ ที่สำคัญคือมีชุดงานสเก็ตช์จำนวน 80 ภาพที่ท่านคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆในภาคเหนือรวมถึงงานสเก็ตช์โบราณสถานต่างๆ”

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
หีบสมบัติเก็บเอกสารและผลงานบางส่วนของอาจารย์เฟื้อ

เอกสารและผลงานจำนวนมากอยู่ในสภาพชำรุดและต้องผ่านมือ อาจารย์ขวัญจิต ช่างอิสระของไทยระดับเซียนที่ทำงานอนุรักษ์และซ่อมงานศิลปะเพื่อช่วยให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

บางส่วนของงานลอกลายจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ภาพสเก็ตช์โบราณสถาน สมุดบันทึก รูปถ่าย หนังสือ พู่กันและหลอดสีที่ท่านเคยใช้ได้นำมาจัดแสดงที่แกลเลอรี นอกจากนี้ธริศา วานิชธีระนนท์ ลูกสาวของธีระและควบตำแหน่งผู้จัดการของแกลเลอรีได้ตามรอยเส้นทางงานอนุรักษ์ของอาจารย์โดยใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์ตระเวนขับรถจากกรุงเทพฯ ล่องขึ้นเหนือเพื่อถ่ายภาพวัดต่างๆตามที่อาจารย์เฟื้อสเก็ตช์ภาพเอาไว้แล้วนำมาเทียบเคียงกับผลงานของอาจารย์ เช่นที่ วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุและวัดพุทไธศวรรย์ที่ จ.อยุธยา, วัดจามเทวี จ.ลำพูน, วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง, วัดภูมินทร์ จ.น่าน และวัดพระสิงห์ จ.เชียงราย

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
เทียบเคียงผลงานสเก็ตช์ของอาจารย์เฟื้อกับภาพถ่ายสถานที่จริงในปัจจุบัน (ภาพ: 333Gallery)

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค

“แม้ปัจจุบันเรามี GPS นำทาง แต่บางวัดก็วกวนหายากกว่าจะเจอ หากลองนึกย้อนไป 40-50 ปีที่แล้วว่าอาจารย์เฟื้อต้องบุกป่าฝ่าดงแค่ไหนในการออกสำรวจไปยังวัดต่างๆเพื่อคัดลอกภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ไม่มีใครเหลียวแล งานสเก็ตช์ของท่านแม่นยำมากเพราะเมื่อเห็นสถานที่จริงเรารู้เลยว่าเรามาถูกที่แล้ว ภาพจิตรกรรมฝาผนังในหลายๆวัดได้เลือนรางหรือโบราณสถานบางแห่งชำรุดทรุดโทรมไปมากแต่งานของอาจารย์เฟื้อสามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการอนุรักษ์ได้เป็นอย่างดี” ธริศากล่าว

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค

“อาจารย์เฟื้อเป็นคนช่างเก็บ ท่านเก็บแม้กระทั่งเมนูอาหารในเรือที่ท่านเดินทางไปศึกษาต่อที่อิตาลี หรือแม้แต่บิลเงินสดซื้อโคคาโคล่า 1 กระป๋องขณะอยู่ที่นั่น เอกสารที่เก็บในตู้และในหีบมีเป็นจำนวนมากและต้องใช้เวลาในการศึกษาและเรียบเรียงเรื่องราวเพื่อย้อนรอยชีวิตและการทำงานของท่าน” ธีระกล่าวเสริมพร้อมกับเปิดหีบสมบัติของอาจารย์ที่เต็มไปด้วยแฟ้มเอกสารและสิ่งของให้ชม

ศิลปินผู้ยึดมั่นในแนวทางขบถของตัวเอง

ตั้งแต่วัยหนุ่มอาจารย์เฟื้อมีวิญญาณขบถและแนวทางของตัวเองชัดเจน เขาเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างถึงปีที่ 5 แต่ไม่จบเพราะไม่ยอมวาดรูปตามหลักสูตรของโรงเรียน

“ผมก็ไม่ได้วิเศษอะไรหรอก ผมแหกคอกออกมา อารมณ์ตอนนั้นมันรุนแรง เพาะช่างเขามีแนวของเขา มีแบบแผนชัดเจน ตามแนวการสอนของโรงเรียนที่ต้องการผลิตนักเรียนให้เป็นครูสอนศิลปะตามโรงเรียน แต่ผมไม่ยอม ผมอยากได้ศิลปะจริงๆ” อาจารย์เฟื้อเคยให้สัมภาษณ์ไว้ในนิตยสารสารคดีฉบับเดือนมิถุนายน2533

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค

อาจารย์เฟื้อจึงออกมาเรียนเขียนรูปเองกับขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิตผู้เคยใช้ชีวิตในยุโรปกว่า 20 ปีและมีความรู้งานศิลปะตะวันตกมากที่สุดคนหนึ่งในขณะนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ท่านเข้าใจเรื่องการใช้สีและการถ่ายทอดบรรยากาศซึ่งเป็นหัวใจของการเขียนแบบอิมเพรสชันนิสต์

เมื่ออาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม (ต่อมาคือมหาวิทยาลัยศิลปากร) อาจารย์เฟื้อก็ได้มาสมัครเป็นศิษย์รุ่นแรกในปี พ.ศ.2476และเข้าเรียนวิชาจิตรกรรมกับพระสรลักษณ์ลิขิต แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกมาขอเรียนพิเศษกับอาจารย์ศิลป์โดยตรง

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค

หลังจากนั้นอาจารย์เฟื้อตั้งใจจะไปศึกษาศิลปะเพิ่มเติมที่ประเทศอิตาลี แต่ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจารย์ศิลป์จึงแนะนำให้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิศวภารตี ศานตินิเกตัน ประเทศอินเดียซึ่งก่อตั้งโดยปราชญ์และมหากวี รพินทรนาถ ฐากุร

อาจารย์เฟื้อ ออกเดินทางในปีพ.ศ.2484 ด้วยเงินสนับสนุนจากภรรยาคือ ม.ร.ว.ถนอมศักดิ์ กฤดากร ซึ่งชีวิตรักของทั้งคู่คือตำนานของหญิงสูงศักดิ์และศิลปินไส้แห้ง อาจารย์เฟื้อไปอินเดียโดยไม่มีประกาศนียบัตรใดๆนอกจากใบรับรองที่อาจารย์ศิลป์ช่วยเขียนให้

ชีวิตที่ศานตินิเกตันและในค่ายกักกันเชลยสงคราม

อาจารย์เฟื้อ ใช้ชีวิตในอินเดียในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484-2489 แต่เป็นการใช้ชีวิตนักศึกษาเพียงไม่กี่เดือน ที่เหลือเป็นการใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในค่ายกักกันเนื่องจากเมื่อสงครามแผ่ขยายมายังทวีปเอเซีย รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ลงนามสัญญากับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ทำให้นักเรียนไทยในอินเดียโดนจับกุมคุมขังในฐานะเชลยสงครามเพราะอินเดียเป็นประเทศในกลุ่มฝ่ายสัมพันธมิตร

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค

เอกสารและผลงานในช่วงชีวิตของอาจารย์เฟื้อที่อินเดียไม่ได้มีการกล่าวถึงมากนัก แต่นับว่าเป็นโชคดีของธีระที่เขาได้รับการติดต่อจากเพื่อนซึ่งเป็นนักวิชาการชาวสิงคโปร์ว่ามีนักประวัติศาสตร์และคิวเรเตอร์ชาวอินเดียชื่อ Sushobhan Adhikary ที่ทำงานที่ศานตินิเกตันเก็บเอกสารของอาจารย์เฟื้อขณะที่ท่านใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค

“เพื่อนชาวสิงคโปร์ของผมเป็นศาสตราจารย์ที่กำลังศึกษาเรื่องนักเรียนชาวเอเชียที่ศึกษาที่ศานตินิเกตัน เขาเดินทางไปศึกษาหาข้อมูลที่นั่นและได้พบกับอาจารย์Sushobhan Adhikary ซึ่งท่านได้เก็บเอกสารและผลงานของอาจารย์เฟื้อไว้โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นงานของใคร แต่เพื่อนผมรู้ว่าเป็นงานของอาจารย์เฟื้อจึงบอกเขาว่าที่ไทยมีคนเก็บ Archive งานของอาจารย์และให้ผมเขียนจดหมายติดต่อไปหาอาจารย์ Sushobhan”

ธีระจึงเขียนจดหมายไปขอความร่วมมือจากอาจารย์ Sushobhan นำเอกสารเหล่านั้นมาจัดแสดงในนิทรรศการ 108 ปีชาตกาลของ อาจารย์เฟื้อ เมื่อ 2 ปีก่อนพร้อมทั้งเชิญเขาให้มาบรรยายในครั้งนั้นด้วย ต่อมาอาจารย์ Sushobhan ได้มอบเอกสารและผลงานทั้งหมดให้ธีระเก็บรักษาไว้ซึ่งธีระเรียกว่า “ชุดเติมเต็มที่ศานตินิเกตัน”

เอกสารและผลงานที่บอกเล่าช่วงชีวิตที่ผกผันในอินเดีย

บางส่วนของ “ชุดเติมเต็มที่ศานตินิเกตัน” ได้นำมาจัดแสดงใน Archive ครั้งนี้ด้วย เช่น จดหมายของอบานินทรนาถ ฐากุร (Abanindranath Tagore) ผู้เป็นหลานของรพินทรนาถ ฐากุร ตอบกลับจดหมายของ อาจารย์เฟื้อ ที่แสดงความจำนงเข้าเรียนที่ศานตินิเกตัน และจดหมายที่อาจารย์ศิลป์เขียนถึงนันทลาล โบส (Nandalal Bose) ผู้อำนวยการศานตินิเกตันในขณะนั้นเพื่อแนะนำตัวอาจารย์เฟื้อ (ต้นฉบับจริงไม่มีแต่อาจารย์เฟื้อคัดลอกและเก็บรักษาไว้) รวมถึงใบตอบรับอย่างเป็นทางการลงนามโดยนันทลาล โบสให้เฟื้อ ทองอยู่ (นามสกุลในขณะนั้น) เข้าเรียนที่นั่น

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
ใบตอบรับอย่างเป็นทางการให้เฟื้อ ทองอยู่ (นามสกุลในขณะนั้น) เข้าเรียนที่ศานตินิเกตัน

นอกจากนี้ยังมีจดหมายต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ม.ร.ว.ถนอมศักดิ์ กฤดากร ภรรยาคนแรกของท่านเขียนถึงขณะอาจารย์เฟื้ออยู่ที่อินเดียและเป็นจดหมายฉบับสุดท้ายของเธอ ’รงค์ วงษ์สวรรค์เคยเขียนเล่าไว้ในงานเขียนเรื่อง “เฟื้อ หริพิทักษ์” ว่า “เฟื้อเก็บเอาไว้อย่างทะนุถนอม (โดยผนึกกาวไว้กับผืนผ้า และม้วนไว้ในกลักป้องกันแมลงกัดทำลาย)”

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
ภาพสเก็ตช์ลูกชายที่อาจารย์เฟื้อวาดขณะอยู่ที่อินเดียนำมาเข้ากรอบและจัดแสดงคู่กับภาพถ่ายเก่า

“มีหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งด้านในมีรูปดรออิ้งลูกชายของท่าน (ทำนุ หริพิทักษ์) จึงคาดว่าเมื่อได้รับจดหมายจากภรรยาซึ่งมีข้อความกล่าวถึงลูกด้วย อาจารย์เฟื้อ อาจคิดถึงลูกจึงวาดรูปนั้น” ธีระตั้งข้อสังเกต

“ในช่วงที่อาจารย์เฟื้อไปถึงอินเดียได้ไปอยู่กับอาจารย์กรุณา กุศลาสัย ที่อาคารไชนีส ของ ดร.ตัน นักธุรกิจชาวจีนที่เป็นคนสำคัญในการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างจีนกับอินเดีย ช่วงที่อาศัยอยู่ที่นั่นอาจารย์เฟื้อก็ได้สเก็ตช์ภาพสมาชิกในครอบครัวของดร.ตันลงในสมุดโน้ตเล่มเล็ก ๆ ซึ่งเรานำมาจัดใส่กรอบแสดงร่วมกับภาพถ่ายของครอบครัว ดร.ตัน”

นอกจากนี้ยังมีหนังสือจำนวนหนึ่งที่อาจารย์เฟื้อนำออกมาจากค่ายกักกันเพราะมีลายเซ็นของเจ้าหน้าที่อนุญาตให้นำออกจากค่ายได้ รวมทั้งภาพสเก็ตช์ที่อาจารย์เฟื้อวาดผู้คนและทิวทัศน์ที่อินเดียนำมาจัดแสดงด้วย การเรียนที่ศานตินิเกตันแม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆแต่นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อาจารย์เฟื้อสนใจงานอนุรักษ์ศิลปกรรมโบราณ การเรียนการสอนของศานตินิเกตันคล้ายคลึงกับการศึกษาแบบคุรุกุลของอินเดียโบราณที่เน้นการเรียนในสภาพใกล้ชิดธรรมชาติ และท่านยังมีโอกาสติดตามอาจารย์นันทลาล โบส ไปคัดลอกภาพเขียนที่มีคุณค่าตามแหล่งโบราณสถานต่าง ๆ ของประเทศอินเดีย

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
ภาพสเก็ตช์ที่อาจารย์เฟื้อวาดในหนังสือที่เขานำติดตัวไปด้วยขณะอยู่ในค่ายกักกันที่อินเดีย

“ในบรรดาภาพสเก็ตช์ที่ได้มายังมีบางภาพที่ผมไม่แน่ใจว่าเป็นฝีมือของอาจารย์เฟื้อต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจสอบ งานสเก็ตช์ของอาจารย์จะสะอาดและมีพลัง ลงลายมือชื่อซึ่งลอกเลียนแบบยาก”

ธีระกล่าวและพาชมข้าวของอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้นำมาจัดแสดง เช่น อัลบั้มรูปถ่ายของอาจารย์ขณะเดินทางไปรับรางวัลแมกไซไซที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และร่างสุนทรพจน์ของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในพิธีรับรางวัลเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2526 รวมทั้งคลิปปิงข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ และที่สำคัญคือฟิล์มสไลด์จำนวนมากที่ท่านบันทึกภาพวัดและโบราณสถานต่าง ๆ รวมถึงงานอนุรักษ์ชิ้นเอกของท่านที่หอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆษิตาราม ซึ่งอาจารย์เฟื้อได้อุทิศกายถวายชีวิตในการบูรณะเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
อาจารย์เฟื้ออุทิศชีวิตในการอนุรักษ์ศิลปกรรมไทยและถ่ายทอดความรู้ให้ลูกศิษย์ (ภาพ: นิตยสารสารคดี)

อุทิศชีวิตเพื่องานอนุรักษ์จิตรกรรมไทย

หลังจากกลับเมืองไทยเมื่อปลายปี พ.ศ.2489 อาจารย์ศิลป์ช่วยเหลือให้อาจารย์เฟื้อรับราชการตำแหน่งครูช่างเขียน คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อ พ.ศ.2490 ระหว่างนั้นท่านก็เริ่มออกสำรวจภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆและได้คัดลอกลายด้วยเกรงว่างานทรงคุณค่าเหล่านี้จะเลือนหายหรือถูกทำลาย จนกระทั่ง พ.ศ.2497 อาจารย์เฟื้อได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลอิตาลี ให้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ราชบัณฑิตยสถาน ( Accademia de Belle Arti di Roma) ที่กรุงโรม เป็นเวลา 2 ปี โดยไม่มีประกาศนียบัตรใดๆติดตัวนอกจากจดหมายรับรองจากอาจารย์ศิลป์ซึ่งมีความตอนหนึ่งระบุว่า นายเฟื้อมีพรสวรรค์ที่หาตัวจับยากและเป็นศิลปินผู้อุทิศตนเพื่องานศิลปะอย่างจริงจัง

แม้ฝีมือของท่านจะเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นสุดยอดฝีมือคนหนึ่ง แต่เมื่อกลับมาอาจารย์เฟื้อกลับหันมาจับงานอนุรักษ์จิตรกรรมไทยอย่างจริงจัง ในระยะแรกอาจารย์ศิลป์ได้ทัดทานด้วยเสียดายความสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปะแต่ในที่สุดท่านก็ยอมรับในความตั้งใจจริง

“จริงๆแล้วท่าน (อาจารย์ศิลป์) ไม่อยากให้ผมนั่งคัดลอกอะไรหรอก มันไม่ใช่งานสร้างสรรค์ศิลปะ มันเป็นการค้นคว้าโบราณศิลปะ เพราะท่านอยากให้ผมได้สร้างสรรค์ศิลปะมากกว่า แต่ผมก็บอกท่านว่า ถ้าผมไม่ทำไม่วิจัยแล้วจะมีใครไปรักษา”

อาจารย์เฟื้อได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ในนิตยสารสารคดีฉบับเดือนกรกฎาคม 2533

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค

งานคัดลอกลวดลายบานประตูหอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆษิตาราม ของอาจารย์เฟื้อได้นำมาจัดแสดงให้ชมในครั้งนี้ด้วย หอพระไตรปิฎกนี้เคยเป็นพระตำหนักของรัชกาลที่ 1 และที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับปิดทองในอดีตจิตรกรรมฝาผนังยังเป็นผลงานของพระอาจารย์นาค บรมครูสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่ออาจารย์เฟื้อเห็นสภาพชำรุดทรุดโทรมอย่างหนักจึงทำเรื่องของบประมาณเร่งด่วนจากมหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2500 แรกเริ่มท่านคิดจะอนุรักษ์แค่จิตรกรรมฝาผนังแต่ท้ายสุดคือบูรณะทั้งหอไตร เรียกว่าท่านแทบจะสิงอยู่ที่นั่นเพื่อให้การบูรณะเสร็จทันพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีใน พ.ศ.2525 จนกระทั่งล้มป่วย

อาจารย์เฟื้อทำงานอนุรักษ์และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตราบจนจากโลกนี้ไปในวัย 83 ปีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค
เอกสารและสิ่งของของอาจารย์เฟื้ออีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้นำมาจัดแสดงและเผยแพร่

ธีระตั้งใจจะรวบรวมเอกสารและผลงานของอาจารย์เฟื้อในงานสะสมของเขาจัดทำเป็นหนังสือเพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการศึกษาชีวิตและงานของบรมครูโดยตั้งเป้าจะให้เสร็จทันวันครบรอบ 110 ปีชาตกาลของอาจารย์เฟื้อในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 แต่ในระหว่างนี้ผู้สนใจสามารถเข้าชมงาน Archive หรือจดหมายเหตุ ของอาจารย์เฟื้อได้ฟรีแต่ต้องนัดหมายล่วงหน้า และธีระยินดีเป็นผู้นำชมด้วยตัวเอง

อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เทคนิค

Fact File

  • งาน Archive ของ เฟื้อ หริพิทักษ์ จัดแสดงที่ 333Gallery ถนนสุรศักดิ์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
  • สามารถนัดหมายเข้าชมล่วงหน้าได้ทางโทร. 08-1845-1371 หรืออินบ็อกซ์ไปที่ FB: 333Gallery

อ้างอิง

  • นิตยสารสารคดีฉบับเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม พ.ศ.2533
  • สูจิบัตรนิทรรศการ “ตามชีวิตเฟื้อ หริพิทักษ์: 109ปีชาตกาล” จัดทำโดย 333 Gallery และสมาคมขัวศิลปะ เชียงราย, เดือนเมษายน พ.ศ.2562