แก้ไขใบกํากับภาษี ข้ามเดือน

ผู้ประกอบการควรทำอย่างไรเมื่อใบกำกับภาษีมีรายการส่วนที่มีสาระสำคัญไม่ถูกต้อง

กรณีเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ เมื่อได้รับการร้องขอให้ยกเลิกฉบับเดิมและจัดทำฉบับใหม่ ให้ดำเนินการดังนี้

  1. เรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิม และนำมาประทับตราว่า "ยกเลิก" หรือขีดฆ่า แล้วเก็บรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม

  2. จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่ต้องลง วัน เดือน ปี ให้ตรงกับ วัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม

  3. หมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า "เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่...เล่มที่..." และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย

กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีระบบงานจัดทำใบกำกับภาษีบันทึกเข้าระบบบัญชีแยกประเภทอัตโนมัติ ไม่สามารถระบุวัน เดือน ปีในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ให้ตรงกับวัน เดือน ปีในฉบับเดิมได้ ให้ดำเนินการดังนี้

  • ให้จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ตีพิมพ์จากโรงพิมพ์ เพื่อให้สามารถระบุวัน เดือน ปีตามใบกำกับภาษีฉบับเดิมได้

กรณีเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อพบว่าใบกำกับภาษีมีรายการในส่วนที่มีสาระสำคัญไม่ถูกต้องให้ดำเนินการดังนี้

  • ร้องขอต่อผู้ออกใบกำกับภาษี ให้ยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเพื่อจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่

  • ต้องถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่ขอยกเลิกติดเรื่องไว้ด้วย

ทั้งนี้การยกเลิกใบกำกับภาษีเดิมแล้วจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่นี้ยังช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องภาษีซื้อต้องห้ามให้แก่ผู้ประกอบการที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการแล้วได้รับใบกำกับภาษีที่มีรายการส่วนที่มีสาระสำคัญไม่ถูกต้องด้วย

แก้ไขใบกํากับภาษี ข้ามเดือน

อ้างอิง: กรมสรรพากร

  • 26May 19
  • 0

ปัญหาใบกำกับภาษีที่ SMEs ควรทราบ!


แก้ไขใบกํากับภาษี ข้ามเดือน

Tags : ERP

กรณีถูกร้องขอให้ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเนื่องจากมีข้อผิดพลาด ในรายละเอียดของใบกำกับภาษีควรปฏิบัติอย่างไร

1.วิธีการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่
– เรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิมและนำมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือขีดฆ่าแล้วเก็บต้นฉบับรวมไว้ในสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม
– จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลงวันที่  เดือน ปี ให้ ตรงกับ วันที่ เดือน ปี ตามใบกำกับภาษัฉบับเดิม และระบุหมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษี ฉบับใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ แทนฉบับเดิมเลขที่ …เล่มที่…” และหมายเหตุการณ์ยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย

กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีระบบซอฟท์แวร์ในระบบงานจัดทำใบกำกับภาษีบันทึกเข้าระบบบัญชี แยกประเภท อัตโนมัติ ถ้าระบบซอฟท์แวร์ดังกล่าวไม่สามารถระบุ วันที่ เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม ลงในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ได้

ให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีตีพิมพ์จากโรงพิมพ์ เพื่อให้สามารถระบุวันที เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิมได้

กรณีใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ที่บริษัท / ห้าง ได้ออกให้ลูกค้าแล้ว และลูกค้าแจ้งกลับมาเอกสารดังกล่าวสูญหาย ขอให้ออกฉบับใหม่ให้ ควรปฏิบัติอย่างไร

1. ให้ถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ที่ทางบริษัท / ห้างมีสำเนาเก็บไว้
2. ให้บันทึกรายการต่อไปนี้ลงในภาพถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าว
– ออกใบแทน  ออกให้ครั้งที่
– วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
– อธิบายอย่างย่อ ๆ ถึงสาเหตุการออกใบแทน
– ลายมือชื่อผู้ออกใบแทน ให้ผู้ออกใบแทนบันทึกรายการ ออกใบแทนในรายงานภาษีขาย ในเดือนที่มีการออกใบแทน โดยระบุชื่อผู้ซื้อ เลขที่-เล่มที่วันที่ออกใบกำกับภาษี  ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ที่ได้มีการออกใบแทนนั้นด้วย
กรณีซื้อสินค้าและได้ใบกำกับภาษีมา เมื่อตรวจสอบกับ ทะเบียน ภ.พ.20 ที่ผู้ขายแนบมาเป็นหลักฐาน  มีรายละเอียดที่ตั้งบริษัทไม่ตรงกับใบ ภ.พ.20 ที่แนบมาด้วยกัน จะทำอย่างไร

มีปัญหาว่า หากใบกำกับภาษีมีความไม่ตรงกับในทะเบียน ภ.พ.20เช่น ใบทะเบียน ภ.พ.20 มีชื่อ…….เลขที่ …ถนน…..ตำบล….จังหวัด   แต่ใบกำกับภาษีมีแต่ ชื่อ………..เลขที่…..ถนน….ตำบล….ไม่มีชื่อจังหวัด

ดังนี้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจะนำไปหักได้หรือไม่

ปัญหานี้ กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว ว่าหากผู้ซื้อสินค้าสามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ค้าเป็นใคร ผู้ซื้อก็มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักในการคำนวณภาษีได้  แต่ผู้ออกใบกำกับภาษียังมีความผิดทางอาญา ฐานออกใบกำกับภาษีมีรายการไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

ERP product