บท วิเคราะห์ บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ ลูก

วิเคราะห์คุณค่าวรรณกรรม บทละคร เรื่อง เห็นแก่ลูก by k_forever love
บท วิเคราะห์ บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ ลูก

1. คุณค่าด้านเนื้อหา

1.1. โครงเรื่อง

1.1.1. นายล้ำเคยทุจริตต่อหน้าที่จนต้องติดคุก

1.1.2. นายล้ำมาหาแม่ลออ เพื่อทวงสิทธิความเป็นพ่อ

1.1.3. ซึ่งปัจจุบันพระยาภักดีนฤนาถได้ชับเลี้ยงเหมือนบุตรีและกำลังจะแต่งงาน

1.1.4. พระยาภักดีเกรงว่าแม่ลออจะเสื่อมเสียและต้องทุกข์ใจจึงพยายามกีดกัน

1.1.5. เมื่อนายล้ำได้พบแม่ลออ ความดีและภาพพ่อที่แสนดีในใจของแม่ลอทำให้นายล้ำสำนึกได้

1.1.6. และยอมจากไปโดยไม่เปิดเผยตัวตน

1.2. ตัวละคร

1.2.1. นายล้ำ

1.2.1.1. ชายวัยประมาณ 40 ปี

1.2.1.2. หน้าตาเหี่ยวย่น ผมหงอก ดูเป็นคนดื่มเหล้าจัด

1.2.1.3. มีอุปนิสัยเห็นแก่ตัว รักความสบาย

1.2.1.4. แต่ในตอนท้ายเรื่องสำนึกในความเป็นพ่อได้เห็นความดีของแม่ลออ

1.2.2. พระยาภักดีนฤนาถ

1.2.2.1. ชายอายุรุ่นราวคราวเดียวนายล้ำ

1.2.2.2. การแต่งกายภูมิฐาน เป็นผู้มีอำนาจราชศักดิ์

1.2.2.3. แม้แม่ลออจะเป็นเพียงลุกเลี้ยง แต่พระยาภักดีก็เลี้ยงดูแม่ลออย่างดี

1.2.2.4. เป็นห่วงเป็นใยอนาคตของแม่ลออประหนึ่งลูกในไส้

1.2.3. แม่ลออ

1.2.3.1. หญิงสาวอายุ 17 ปี

1.2.3.2. ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ดี

1.2.3.3. กิริยามารยาทและจิตใจ เป็นคนมองดลกในแง่ดี

1.2.3.4. เป็นลูกของนายล้ำกับแม่นวล

1.3. ฉาก

1.3.1. ห้องหนังสือภายในบ้านของพระยาภักดีนฤนาถ

1.3.2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงสมัยร.๖

2. คุณค่าด้านวรรณศิลป์

2.1. ลักษณะคำประพันธ์

2.1.1. บทละครพูด

2.1.2. ร้อยแก้ว

2.2. ศิลปะการประพันธ์

2.2.1. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย มีการบรรยายกิริยาอาการ ความรู้สึกแทรกไว้

2.2.2. มีคำอุทานในบทสนทนา

2.2.2.1. เอ้า!

2.2.2.2. อ๊าย!

2.2.3. มีการใช้ภาษาพูดในยุคสมัยนั้น

2.2.3.1. หล่อน

2.2.3.2. เทียว

2.2.3.3. กระได

2.2.4. มีการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

2.2.4.1. ออฟฟิศ

2.2.4.2. กรีนโซดา

2.2.5. มีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนตามรูปแบบของภาษาอังกฤษ

2.2.5.1. ,

2.2.5.2. .

3. ข้อคิดและการประยุกต์ใช้

4. คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม

4.1. สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการแต่งงาน

4.1.1. มีการรดน้ำอวยพรจากผู้ใหญ่

4.2. ค่านิยมไทยสมัยก่อน

4.2.1. สตรีผู้ดีไม่จำเป็นต้อทำงานนอกบ้านและแต่งงานเมื่ออายุยังน้อย

4.3. สังคมไทยสมัยก่อน

4.3.1. มีการถ่ายรูป

4.3.2. ยกย่องชื่นชมการทำมาหากินอย่างสุจริต

4.3.3. ผู้ที่ทำผิดทางกฏหมายจะไม่ได้รับการยอมรับทางสังคม

5. ประวัติ

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

            เป็นบ่าวของพระยาภักดี ซึ่งเป็นคนซึ่งสัตย์ ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รักเจ้านายมาก ฉลาดและดูคนเป็น เห็นได้จากตอนที่นายล้ำเข้ามาหาพระยาภักดีที่บ้าน อ้ายคำเล็งเห็นว่านายล้ำมีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ อ้ายคำจึงยืนยันที่จะนั่งเฝ้าอยู่ด้วยแม้จะถูกบอกให้ไปที่อื่นก็ตาม

ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้นามแฝงว่าพระขรรค์เพชร พระองค์ทรงผูกเรื่องและทรงเรียบเรียงเอง

ประวัติผู้แต่ง :

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรี พัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2423 เมื่อ พระชนมายุ 8 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรม ขุนเทพทวาราวดี และต่อมาทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร แทนสมเด็จพระบรมเชษฐา เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งสวรรคต และได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักปราชญ์ (ทรงได้รับการถวายพระ ราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า) และทรงเป็นจินตกวีที่ทรงเชี่ยวชาญทาง ด้านอักษรศาสตร์โบราณคดี มีพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วร้อยกรองทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มากกว่า 200 เรื่อง ทรงใช้นามแฝงต่างๆกัน เช่น อัศวพาหุ รามจิตติ ศรีอยุธยา พันแหลม นายแก้วนายขวัญ ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา

ฉาก : ห้องหนังสือ ในบ้านพระยาภักดีนฤนาถ

ตัวละคร :

นายล้ำ เป็นคนที่หน้าแก่กว่าอายุเนื่องจากตัวเองเป็นคนดื่มเหล้าจัด แท้จริงแล้วเป็นบิดาแท้ๆของแม่ลออแต่เดิมเคยรับราชการจนได้รับราชทินนามว่า ทิพเดชะ แต่ก็ต้องเข้าคุกเข้าตารางเพราะโกง เมื่อทราบข่าวว่าลูกสาวของตนซึ่งก็คือแม่ลออกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำ จึงลงจากพิษณุโลกมาหาพระยาภักดีมีจุดประสงค์คือมาเกาะลูกกิน คือไม่มีปัญญาที่จะทำมาหากินแล้วเพราะไม่มีเงิน แต่สุดท้ายความเห็นแก่ตัวของนายล้ำก็แปรเปลี่ยนเป็น “เห็นแก่ลูก” เมื่อได้รู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของแม่ลออต่อพ่อผู้ให้กำเนิดโดยการแสดงความรักและความภาคภูมิใจถึงแม้จะไม่เคยพบหน้ากันเลยก็ตามนายล้ำได้ฟังดังนั้นจึงเกิดความละอายเลยตัดสินใจที่จะไม่บอกความจริงว่าตนเป็นพ่อแท้ๆของงแม่ลออและยอมเสียสละความสุขส่วนตนโดยที่ยอมลำบากต่อไปเพื่อให้ลูกสุขสบายและไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม

อ้ายคำ เป็นบ่าวของพระยาภักดี ซึ่งเป็นคนซึ่งสัตย์ ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รักเจ้านายมาก ฉลาดและดูคนเป็น เห็นได้จากตอนที่นายล้ำเข้ามาหาพระยาภักดีที่บ้าน อ้ายคำเล็งเห็นว่านายล้ำมีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ อ้ายคำจึงยืนยันที่จะนั่งเฝ้าอยู่ด้วยแม้จะถูกบอกให้ไปที่อื่นก็ตาม

พระยาภักดีนฤนาถ เป็นเพื่อนกับนายล้ำมาแต่ก่อน และชอบผู้หญิงคนเดียวกันนั่นก็คือแม่นวลก่อนที่แม่นวลจะสิ้นใจนางก็ได้ฝากฝังลูกสาวของนาง นั่นก็คือแม่ลออไว้กับพระยาภักดี ซึ่งพระยาภักดีก็ได้ทำหน้าที่พ่อด้วยความเต็มใจและรักแม่ลออเหมือนลูกแท้ๆ พระยาภักดีได้อบรมสั่งสอนแม่ลอออย่างตระกูลผู้ดีและปลูกฝังให้ลูกรักและภูมิใจในตัวพ่อแท้ๆ(ซึ่งก็คือนายล้ำ)พระยาภักดีจึงรับหน้าที่กลายเป็นพ่อบุญธรรมของแม่ลออไปโดยปริยาย  เมื่อนายล้ำต้องการที่จะแสดงตนว่าเป็นพ่อแท้ๆของแม่ลออพระยาภักดีก็ขัดขวางทุกวิถีทางเพราะเกรงว่าแม่ลออจะขายหน้าและถูกสังคมรังเกียจเมื่อรู้ว่าพ่อตนจริงๆแล้วเป็นแบบไหน ด้วยความที่พระยาภักดีเป็นคนที่ร่ำรวยในตอนแรกจึงจ่ายเงินปิดปาก แสดงให้เห็นถึงความรักของพระยาภักดีที่มีให้กับแม่ลออแม้จะไม่ได้เป็นลูกแท้ๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพระยาภักดีเป็นคนที่เห็นแก่ลูกมาก

แม่ลออ กำลังจะออกเรือนเพื่อไปแต่งงานกับนายทองคำ แม่ลออเป็นคนอ่อนโยน เรียบร้อย สุภาพ และมีมารยาทงามสมกับเป็นตระกูลผู้ดี อีกทั้งยังเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีเห็นได้จากการที่คิดว่าพ่อของตนเป็นคนดีและสมบูรณ์แบบ (จนทำให้นายล้ำเกิดความละอายใจ)

เรื่องย่อ :

นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำซึ่งเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดีให้การต้อนรับ และนั่งคอยดูอยู่ห่างๆเนื่องจากไม่ไว้ใจเพราะเห็นสภาพของนายล้ำที่แต่งตัวปอนๆ ท่าทางดื่มเหล้าจัด จนเมื่อพระยาภักดีกลับมาบ้านได้พบนายล้ำจึงทำให้ทราบเรื่องราวของคนทั้งสอง จากการสนทนาโต้ตอบกันว่า เดิมนายล้ำเป็นเพื่อนกับพระยาภักดี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหลวงกำธร ส่วน นายล้ำเป็นทิพเดชะ นายล้ำมีภรรยา คือแม่นวล มีลูกสาวคือ แม่ลออ เมื่อแม่ลออมีอายุ 2 ขวบ เศษ นายล้ำก็ถูกจำคุกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม่นวลเลี้ยงดูลูกสาวมาตามลำพัง ก่อนตายจึงยก ลูกสาวให้เป็นลูกบุญธรรมของพระยาภักดี นายล้ำจำคุกอยู่ 10 ปี ก็ออกจากคุกไปร่วมค้าฝิ่นอยู่ กับจีนกิมจีนเง็ก ที่พิษณุโลก พอถูกตำรวจจับได้ก็แก้ข้อกล่าวหาเอาตัวรอดฝ่ายเดียว ต่อมาก็ ตกอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว จึงตั้งใจจะมาอยู่กับแม่ลออ ซึ่งมีอายุ 17 ปี กำลังจะแต่งงาน กับนายทองคำ แต่พระยาภักดีพยายามชี้แจงให้นายล้ำเห็นแก่ลูกสาวไม่ต้องการให้ถูกคนอื่น รังเกียจว่ามีพ่อเป็นคนขี้คุกและฉ้อโกง จนในที่สุดเสนอเงินให้ 100 ชั่ง แต่นายล้ำก็ไม่ยอมเมื่อ แม่ลออกลับมาถึง นายล้ำจึงได้รู้จักกับแม่ลออและได้เห็นประจักษ์ว่าตนเลวเกินกว่าจะเป็นพ่อ ของแม่ลออ ซึ่งหล่อนได้วาดภาพพ่อไว้ในใจว่า พ่อเป็นคนดีที่หาที่ติไม่ได้เลย                                                                                                      โครงเรื่อง :

๑.นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำซึ่งเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดีให้การต้อนรับ และนั่งคอยดูอยู่ห่างๆ

๒.พระยาภักดีกลับมาบ้านและเดินเข้ามาในห้องหนังสือทำให้ได้พบนายล้ำ

๓.พระยาภักดีกับนายล้ำพูดคุยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของนายล้ำ

๔.นายล้ำได้กล่าวถึงลออลูกสาวบุญธรรมของพระยาภักดี และจะขอพบลออ

๕.พระยาภักดีโกรธที่นายล้ำต้องการพบลูกสาวตนเนื่องจากไม่ต้องการที่จะให้คบค้าสมาคมกับคนที่เคยติดคุกติดตะราง

๖.นายล้ำได้พูดถึงงานแต่งงานของลออ และต้องการมาที่งาน จึงถกเถียงพระยาภักดี ทำให้ได้รู้ว่าแท้จริงแล้วลออเป็นลูกสาวแท้ๆของนายล้ำ

๗.นายล้ำได้ถกเถียงกับพระยาภักดีรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นพระยาภักดีโกรธจัดเตรียมตัวจะลงมือเพื่อทำร้ายนายล้ำ อ้ายคำได้เข้าพร้อมบอกว่าลออกำลังขึ้นเรือนมาเพื่อมาหาพระยาภักดี

๘.ลออได้เข้ามาในห้องหนังสือ ทำให้ได้พูดคุยกับนายล้ำว่าเป็นใคร รู้จักพ่อกับแม่ของตนหรือไม่ และได้ชวนให้นายล้ำมางานแต่งงานของตนที่กำลังจะจัดขึ้น แต่นายล้ำปฏิเสธอ้างว่าต้องรีบกลับหัวเมืองพิษณุโลก แต่ลออก็คะยั้นคคะยอให้นายล้ำมางานแต่งตน และขอให้พระยาภักดีช่วยพูดให้ด้วย

๙เมื่อลออเดินออกไปจากห้องหนังสือ จากการพูดคุยกับลออทำให้นายล้ำคิดได้ว่าตนนั้นไมม่มีความดีพอให้เป็นพ่อของลออ เนื่องจากลออนั้นเป็นคนดี มีเมตตา จึงได้มอบแหวนซึ่งเป็นแหวนของแม่นวลแม่ของลออให้กับพระยาภักดีเพื่อมอบให้ลออ

๑๐.พระยาภักดีได้มอบเงินให้นายล้ำเพื่อให้นายล้ำใช้ในการดำรงชีวิต และกล่าวว่าต่อไปจะประกอบอาชีพที่เป็นธรรม

๑๑.พระยาภักดีได้หยิบรูปแม่ลออส่งให้นายล้ำ นายล้ำรับเอาไว้ จากนั้นก็เดินออกไปจากห้องหนังสือ พระยาภักดีมองนายล้ำอยู่ครู่หนึ่งก่อนเดินออกทางประตูอีกทางนึง

 แก่นเรื่อง :

ความรักที่พ่อมีต่อลูกนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถนำสิ่งใดมาเปรียบได้

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง :

1.ความดีความชั่วที่บุคคลได้กระทำลงไป อาจส่งผลช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆหลายประการ

2.เหตุการณ์ที่กระทบใจมนุษย์ และมีผลให้มนุษย์แปรเปลี่ยนความตั้งใจไปได้อย่างตรงกันข้ามนั้น อาจเกิดได้โดยไม่ได้คาดฝัน และโดยมิใช่เจตนาของใครทั้งสิ้น

3.ความรักและความภูมิใจที่บิดามีต่อบุตร ทำให้บิดายอมเสียสละให้แก่บุตรโดยไม่หวังผลตอบแทน ใดๆทั้งสิ้น

4.ความรักอันบริสุทธิ์ที่บุคคล 2 คนมีต่อกันนั้น จะไม่จำกัดอยู่เฉพาะบุคคล 2 คน เท่านั้น แต่อาจเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย

แนวคิดสําคัญของบทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก คืออะไร

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ 1. การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังจะเห็นได้จากผลทุจริตของนายล้ำที่ต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลา ๑๐ปี 2. ความรักระหว่างพ่อลูกเป็นความรักบริสุทธิ์ไม่หวังผล ดังที่นายล้ำล้มเลิกความเห็นแก่ตัวของตนเอง เมื่อได้รับรู้ว่าแม่ลออมีความภาคภูมิใจในตัวบิดาผู้ให้กำเนิดอย่างไร

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกมีลักษณะอย่างไร

เรื่อง เห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดร้อยแก้ว มีความยาว ๑ องก์ เนื้อเรื่องมีขนาดสั้น ปมเรื่องไม่ซับซ้อน บทละครพูดเป็นการสนทนาโต้ตอบของตัวละครที่เหมือนในชีวิตจริง “บทละครพูดมีที่มาจากประเทศทางตะวันตก และเริ่มแพร่หลายในประเทศไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก แสดงถึงคุณค่าในด้านใด

ข้อคิดที่เด่นที่สุดจากบทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก ความดีความชั่วที่บุคคลได้กระทำลงไป อาจส่งผลช้าหรือเร็ว ความรักที่พ่อมีต่อลูกนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ความรักที่บิดามีต่อบุตร ทำให้บิดายอมเสียสละให้แก่บุตรโดยไม่หวังผลตอบแทน ใดๆทั้งสิ้น

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกมีที่มาอย่างไร

เห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ พระนามแฝงว่า “พระขรรค์เพชร” เป็นบทละครพูดขนาดสั้นเพียงหนึ่งองก์ สันนิษฐานว่าเป็นบทละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง