ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

Close X

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด
ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด
ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด
ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด
ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด
SOLUTIONS CORNER
มารู้จัก Operating System หัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด
ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

Operating Systemหรือ OSซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถอย่างที่เราเห็นได้ในทุกวันนี้

คอมพิวเตอร์จะมีสเปกฮาร์ดแวร์ที่แรงแค่ไหนก็ตาม ก็จะหมดความหมายลงทันทีหากไม่มีสิ่งที่เรียกว่า Operating System หรือระบบปฏิบัติการติดตั้งเพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์อยู่ภายใน ระบบทุกอย่างอุปกรณ์ทุกชิ้นภายในคอมพิวเตอร์จะถูกควบคุมสั่งการทำงานด้วยระบบ OSที่ติดตั้งอยู่ภายในนั่นเอง และ OSที่เราทุกคนรู้จักกันดีที่สุดก็คือ ระบบปฏิบัติการณ์ Windowsที่ปัจจุบันเดินทางมาถึง Windows10 กันแล้ว แต่คุณรู้ไหมว่า OSในโลกเรานี้ไม่ได้มีแค่ Windowsเท่านั้น ยังมีระบบปฏิบัติการอื่นที่เกิดขึ้นก่อน รวมถึงที่ใช้งานควบคู่กับ Windowsในปัจจุบันนี้ด้วย

Operating System มีให้เลือกใช้หลากหลาย

โดยมากแล้วถ้าในองค์กรทั่วไปและส่วนงานที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ระบบปฏิบัติการที่เรามักจะใช้กันก็คือ Windowsนั่นทำให้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับ OSนี้มากที่สุด แต่ในโลกของเรานี้ไม่ได้มีแค่ OSนี้เท่านั้น Operating Systemที่มีคนหลากหลายวงการนิยมใช้กันก็ยังมีอีกหลายหลาย ดังนี้
·      DOS ดอสจะเป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานของคอมพิวเตอร์ที่มีมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ เลย การใช้งาน OSนี้จะมีการป้อนคำสั่งเป็นตัวอักษร ซึ่งแม้ปัจจุบันระบบปฏิบัติการนี้ก็ยังคงมีใช้อยู่ ด้วยความที่จะต้องมีการป้อนคำสั่งการทำงานเป็นตัวอักษรนี่เอง จึงทำให้ผู้ที่จะใช้งานต้องมีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์มาก่อนมาสมควร
·      Unix Operating Systemนี้ก็ถือว่ามีใช้กันมานานแล้วเหมือนกัน OSนี้เป็นระบบเปิด เกิดขึ้นเพราะต้องการให้ผู้ใช้งาน OSมีทางเลือกที่หลากหลาย โดยที่ระบบนี้เป็นระบบเปิดจึงมีนักพัฒนาทำการพัฒนาออกไปเพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย แต่โดยมากจะใช้สำหรับระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการทำงานพร้อมกันหลาย ๆ เครื่องเสียมากกว่า
·      LinuxOS นี้เป็นการพัฒนาต่อยอดมากจาก Unixอีกที เสน่ห์ของระบบนี้ก็อยู่ที่การเป็นระบบปฏิบัติการฟรี สามารถพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงในการทำงานได้ง่าย ปัจจุบันก็เน้นใช้งานกับเรื่องของการทำระบบเครือข่ายและ Server
·      Macintosh Operating Systemจากทางฝั่งแอปเปิล สามารถทำงานได้ดีครอบคลุมไม่แพ้ Windowsเป็นอีกหนึ่ง OSที่องค์กรต่าง ๆ นำไปใช้งานภายในบริษัทด้วยเช่นกัน

หน้าที่จริง ๆ ของ Operating Systemคืออะไร

เราได้รู้จักกันไปแล้วว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย แล้วควรจะเลือกใช้อะไรดี ก่อนจะตัดสินใจก็ต้องมาดูหน้าที่ที่แท้จริงของ Operating Systemก่อนว่าสิ่งเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่ออะไร ซึ่งหน้าที่ของ OSหลัก ๆ มีอยู่ 4 อย่างนั่นคือ
1.          บริหารทรัพยากรต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์
2.          เป็นศูนย์กลางเชื่อมการสื่อสารระหว่าง ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์โปรแกรมอื่น ๆ
3.          ช่วยในกระบวนการถนอมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
4.          เป็นศูนย์กลางสำหรับการติดต่อสื่อสารและเชื่อมการทำงานระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานอย่างเราสามารถที่จะเข้าใจระบบคอมพิวเตอร์และสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้
เมื่อเรารู้แล้วว่าหน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คืออะไร ทีนี้การจะเลือกใช้ OSไหนภายในคอมพิวเตอร์องค์กรก็ต้องพิจารณาจากหน้าที่หลักและความต้องการของคุณ ว่าลงตัวสอดคล้องกันหรือไม่ หลักง่าย ๆ ก็คือ ให้เลือกระบบปฏิบัติการที่คุณมีความรู้ คุ้นเคย และเข้าใจวิธีการทำงาน แม้ว่าอาจจะไม่สอดรับกับงานในบางส่วน แต่อย่างน้อย ๆ คุณก็สามารถดูแลจัดการในเบื้องต้นได้นั่นเอง
ในกรณีที่องค์กรของคุณมีผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ในOperating Systemที่หลากหลายสามารถใช้งานได้หลาย OSคุณก็อาจตัดสินใจเลือกใช้ OSที่ฟรีก็ได้ บางครั้งอาจจะประหยัดต้นทุนธุรกิจมากกว่าและให้ผลลัพธ์ในการทำงานที่ตรงใจกว่าด้วย ส่วนนี้ก็ต้องอยู่ที่คุณพิจารณาแล้ว
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์

ที่เราชอบพูดกันติดปากว่า ระบบปฏิบัติการ นู้น ระบบปฏิบัติการนั้น ไม่ว่าจะเป็นในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ฯลฯ แท้จริงแล้ว มันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ในยุคปัจจุบันบ้าง แล้วมันเหมือนกันหรือเปล่า ระหว่างสมาร์ทโฟนที่เราใช้กันกับในคอมพิวเตอร์ มาศึกษาเพิ่มเติมกัน

บทความเกี่ยวกับ Operating System อื่นๆ

ระบบปฏิบัติการ คืออะไร ?(What is Operating System ?)

Operating System (OS) หรือระบบปฏิบัติการ เป็น โปรแกรมที่ถูกโหลดเข้าสู่อุปกรณ์เครื่องนั้น ๆ โดยโปรแกรมบูท ที่มีหน้าที่จัดการ แอปพลิเคชัน (Application) ต่าง ๆ ภายในอุปกรณ์เครื่องนั้น ๆ อีกทีหนึ่ง

โดยแอปพลิเคชัน ก็จะอาศัยระบบปฏิบัติการในการร้องขอบริการ (Service) ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำงานผ่าน API (Application Programming Interface) โดย API นี้ จะมีหน้าที่สื่อสารระหว่างระบบด้วยกัน หรือในอีกทางหนึ่งก็คือ ผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ กับระบบปฏิบัติการได้ผ่าน หน้าจอผู้ใช้งาน หรือ หน้าจอที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface) เช่นในรูปแบบของ หน้าจอที่รองรับการพิมพ์คำสั่ง (Command-line Interface - CLI) หรือ หน้าจอแบบกราฟิก (Graphical User Interface - GUI) ก็ได้

ทำไมถึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการ ?(Why do we need to use an Operating System ?)

ระบบปฏิบัติการ นั้น นำมาซึ่งประโยชน์ต่าง ๆ มากมายให้กับผู้ใช้งานซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และการพัฒนาซอฟต์แวร์ หากปราศจากระบบปฏิบัติการแล้ว แอปพลิเคชันทุกแอปก็จะต้องมี UI (User Interface) เป็นของตัวเองหมด และจะต้องออกแบบให้สามารถรองรับฟังก์ชันเบื้องต้นอื่น ๆ ให้ครอบคลุมได้ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการรันแอป ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จัดเก็บ, อินเตอร์เฟซเน็ตเวิร์ก, ฯลฯ ซึ่งนั่นจะทำให้ขนาดของแอปพลิเคชันทุกแอปใหญ่ขึ้นไปอีก

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-vector/gradient-ui-ux-background_16695771.htm?query=user%20interface

อีกอย่างหนึ่งคือ งานทั่วไปอย่างเช่นการส่ง Network Packet หรือแสดงผลตัวอักษรบนอุปกรณ์เอาท์พุตมาตรฐาน เช่น จอแสดงผล ก็สามารถยกไปให้เป็นงานของซอฟต์แวร์ระบบ ที่ต้องเป็นตัวกลางระหว่างแอปพลิเคชันกับฮาร์ดแวร์อยู่แล้วได้ ทำให้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องรับรู้รายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ที่ใช้งาน เพราะมีซอฟต์แวร์ระบบคอยประสานงานให้อยู่

และตราบใดที่แอปพลิเคชันแต่ละแอป เข้าถึงทรัพยากรและเซอร์วิสต่าง ๆ ไปในทางเดียวกัน ซอฟต์แวร์ระบบ หรือระบบปฏิบัติการนี้ ก็สามารถให้บริการแอปต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าถึงได้พร้อม ๆ กัน ซึ่งช่วยลดภาระการเขียนโค้ด และลดเวลาในการพัฒนารวมไปถึงการแก้ไขบัคได้ดี และทำให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุม, ตั้งค่า, และจัดการฮาร์ดแวร์ระบบผ่านอินเตอร์เฟซที่มีหน้าตาการใช้งานเข้าใจง่ายได้

ประเภทของระบบปฏิบัติการ(Types of Operation System)

General-Purpose Operating System

ระบบปฏิบัติการสำหรับการใช้งานทั่วไป (General-Purpose Operating System) ที่สามารถรันแอปพลิเคชันบนฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลาย และทำให้ผู้ใช้สามารถรันแอปพลิเคชันมากกว่า 1 แอป ได้อย่างต่อเนื่องและลื่นไหล ซึ่งระบบปฏิบัติการที่ว่า สามารถนำไปติดตั้งได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปหลากรุ่น หลายรูปแบบ และรันแอปพลิเคชันได้ตั้งแต่การทำบัญชี, การจัดการฐานข้อมูล, ท่องเว็บผ่านเบราว์เซอร์ ไปจนถึงการเล่นเกม

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

เครดิตภาพ : https://www.microsoft.com/th-th/software-download/windows10

OS ประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะโฟกัสในด้านการประมวลผล และจัดการฮาร์ดแวร์ เพื่อให้แน่ใจว่าแอปพลิเคชันต่าง ๆ สามารถแบ่งปันการประมวลผลฮาร์ดแวร์ ณ เวลาปัจจุบันนั้น ๆ ได้อย่างกว้างขวาง

Mobile Operating System

ระบบปฏิบัติการบนมือถือ (Mobile Operating System) ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะตัวตามแบบของโทรศัพท์มือถือที่ต้องถูกพกพาติดตัวตลอดเวลา และถูกใช้เป็นอุปกรณ์ตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต โดยทั่วไปแล้ว อุปกรณ์เคลื่อนที่เหล่านี้มักจะมีทรัพยากรจำกัดในการประมวลผลเมื่อเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-vector/native-mobile-app-abstract-concept-illustration-smartphone-application-programming-language-operating-system-online-store-marketplace-web-browser-software_12144975.htm

Embedded Operating System

ระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับการทำงานแบบเฉพาะจุด หรือเฉพาะทาง (Embedded Operating System) เพราะใช่ว่าระบบประมวลผลทั่วไปจะสามารถใช้ได้กับทุกเครื่องทุกสถานการณ์ บางอุปกรณ์ หรือบางสถานที่ ก็มีความจำเป็นต้องใช้การทำงานในรูปแบบที่เฉพาะตัวที่สถานที่ทั่ว ๆ ไปไม่จำเป็นต้องใช้กัน เช่น เครื่องกดเงินอัตโนมัติ (ATM), ระบบบังคับการเครื่องบิน, เครื่องคิดเงินสำหรับพนักงานตามห้างร้าน (POS), ฯลฯ ซึ่งเครื่องเหล่านี้ ก็ทำงานเหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีระบบปฏิบัติการอยู่ภายใน แต่ต่างกันตรงจุดประสงค์ในการใช้งาน

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-vector/set-buyers-paying-purchases-supermarket-checkout_6703794.htm#query=POS%20counter&position=3&from_view=search

โดยระบบปฏิบัติการของเครื่องเหล่านี้ จะต้องมีคุณสมบัติที่สามารถรันได้ดี ไม่ค้างระหว่างทาง และสามารถรับมือกับทุกข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายในเครื่องเพื่อให้ระบบสามารถทำงานต่อไปได้ด้วยในทุกสถานการณ์

Network Operating System

ระบบปฏิบัติการเน็ตเวิร์ก หรือ เครือข่าย (Network Operating System) หรือตัวย่อคือ "NOS" เป็นระบบปฏิบัติการในอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย (Network) โดย NOS จะทำหน้าที่สแตคการสื่อสารที่จำเป็นต่อการสร้างโปรโตคอลเน็ตเวิร์ก, แลกเปลี่ยน และจำแนกแพ็กเก็ตเน็ตเวิร์ก

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/young-it-service-man-repairing-computer_6427086.htm#query=Network%20operating%20system&position=2&from_view=search

ซึ่งในปัจจุบัน คอนเซ็ปต์ของ NOS ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษนั้น ค่อนข้างจะล้าสมัยไปแล้วเนื่องจากระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ อย่าง Windows 10 สามารถรองรับการสื่อสารผ่านเครือข่ายขนาดใหญ่ได้เองและค่อนข้างครอบคลุมหลาย ๆ คุณสมบัติที่ NOS มี แต่ก็ยังมีใช้งานอยู่บ้างในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย เช่น เราเตอร์, ไฟร์วอลล์และสวิทช์, และมีผู้ผลิตบางรายที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ NOS ภายใต้ชื่อของตัวเองด้วย เช่น Cisco (Cisco Internetwork Operating System), RouterOS, และ ZyNOS

Real-time Operating System

เมื่ออุปกรณ์ที่ใช้ประมวลผลต้องโต้ตอบกับโลกจริง ในกรอบเวลาที่จำกัด และต้องทำซ้ำ ๆ ให้ได้ด้วย ซึ่งผู้ผลิตอุปกรณ์อาจปรับแต่งให้ใช้งาน ระบบปฏิบัติการแบบเรียลไทม์ (Real-time Operating System) หรือ RTOS ยกตัวอย่างเช่น ระบบควบคุมในอุตสาหกรรมที่ต้องส่งต่อการปฏิบัติการให้กับโรงงานสาขาหรือโรงผลิตไฟฟ้า บรรดาสิ่งอำนวยความสะดวกก็จะทำสัญญาญขึ้นมาจากเซนเซอร์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก แล้วส่งสัญญาณเหล่านี้ต่อไปยังวาล์ว, ตัวกระตุ้น, มอเตอร์, และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกนับไม่ถ้วน

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/industrial-building-large-warehouse-interior-with-forklift-palette-with-goods-shelves_11451232.htm#query=facility&position=15&from_view=search

ซึ่งในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ต้องใช้ระบบการควบคุมในอุตสาหกรรมที่ต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ตามสถานการณ์ในเปลี่ยนไปในโลกจริงได้ มิฉะนั้น ก็จะเกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงตามมา โดยตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่มีในประเภทนี้ได้แก่ FreeRTOS และ VxWorks

ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ(Components of Operating System)

Kernel

Kernel ในระบบปฏิบัติการจะมีระดับการควบคุมพื้นฐานอยู่เหนืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ (External Devices) ซึ่ง Kernel ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกระบบปฏิบัติการ ที่ต้องทำการโหลดและคงไว้ในหน่วยความจำหลัก เพื่อให้แอปพลิเคชันต่าง ๆ สามารถเข้าถึงและจัดการหน่วยความจำได้ภายใน หน่วยความจำ RAM และสร้างโปรแกรมเพื่อเข้าถึงทรัพยากรฮาร์ดแวร์ พร้อมทั้งจัดการรีเซ็ตสถานะการทำงานให้กับ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในการใช้งานแต่ละครั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม : Kernel คืออะไร ? ทำหน้าที่อะไรในระบบปฏิบัติการ ? และ Kernel มีกี่ประเภท ?

Process Execution

ตัวระบบปฏิบัติการ จะมีอินเตอร์เฟซไว้แสดงผลระหว่างฮาร์ดแวร์ด้วยกัน เฉกเช่นเดียวกันกับแอปพลิเคชัน เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ตามขั้นตอนและหลักการที่ถูกตั้งค่าไว้ใน OS โดยกระบวนการการทำงานของโปรแกรม ประกอบไปด้วยโปรเซสขึ้นพื้นฐานที่ถูกสร้างโดยเคอร์เนลของ OS ซึ่งจะใช้พื้นที่หน่วยความจำและทรัพยากรอื่น ๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย

Interrupt

การ Disruption หรือการแทรกแซงในระบบปฏิบัติการถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นเทคนิคที่เชื่อถือได้ภายใน OS มีไว้สำหรับการติดต่อสื่อสารและโต้ตอบกันภายใน OS โดย Disruption เป็นสัญญาณของอะไรบางอย่างที่อยู่ระหว่างอุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์ หรือในอีกแง่หนึ่งก็คือ เป็นตัวที่ทำให้เราช่วย OS ตัดสินใจได้ว่าจะตัดโปรแกรมไหนทิ้งไปและจะต้องไปทำอะไรต่อ

เมื่อไหร่ก็ตามที่ได้รับสัญญาณการถูกแทรกแซง ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์จะทำการย้อนกลับไปยังโปรแกรมใด ๆ ก็ตามที่กำลังทำงานอยู่ จัดการคงสถานะเอาไว้ และรันโปรแกรมที่ถูกเชื่อมต่อก่อนหน้าเข้ากับการ Interupt ในครั้งนั้น ๆ อีกครั้ง

Multitasking

คำ ๆ นี้หมายถึงฟังก์ชันในโปรแกรมอิสระหลาย ๆ โปรแกรมที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน เป็นการทำให้ตัวจัดการมัลติทาส์กกิ้ง (Multitasking) สามารถปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกันบน OS รวมทั้งคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ก็สามารถทำงานได้มากกว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกันด้วย ดังนั้น การมีระบบมัลติทาส์กกิ้ง ก็จะช่วยให้งานสามารถเสร็จพร้อมกันได้โดยการแชร์เวลาทำงานระหว่างกัน โดยทุกโปรแกรมจะทำงานโดยใช้เวลาของคอมพิวเตอร์เป็นหลัก

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-vector/multitasking-concept-with-man-computer_6686252.htm#query=multitasking&position=12&from_view=search

Memory Management

ฟังก์ชันการทำงานของ OS จะขึ้นอยู่กับการจัดการหน่วยความจำเป็นหลัก ซึ่งทำงานโดยการขับเคลื่อนโพรเซสไปมาระหว่างฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำหลักในระหว่างการประมวลผล โดยจะแทรคหน่วยความจำในทุก ๆ สถานะและทุกหน่วยความจำที่มีทั้งหมด โดยจะถูกเปิดไว้ตลอดเวลาจนกว่าจะได้รับมอบหมายให้เริ่มกระบวนการทำงาน

ฟังก์ชันการจัดการหน่วยความจำสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนที่สำคัญ ได้แก่ การจัดการหน่วยความจำฮาร์ดแวร์, ระบบปฏิบัติการ, และการจัดการหน่วยความจำของแอปพลิเคชัน

Networking

คำว่า Networking เราสามารถจำกัดใจความโดยคร่าวได้ว่า เมื่อหน่วยประมวลผลสื่อสารกับอีกฝ่ายหนึ่งผ่านสายสื่อสาร การออกแบบเครือข่ายวิธีการเชื่อมต่อเส้นทางการสื่อสาร ก็ควรคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัย, ความปลอดภัย, และประเด็นความคิดเห็นอื่น ๆ ด้วย

ระบบปฏิบัติการ ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อ ควบคุม สิ่ง ใด

เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-vector/cloud-services-isometric-composition-with-big-cloud-computing-infrastructure-elements-connected-with-dashed-lines-vector-illustration_7199787.htm

ซึ่งในปัจจุบัน ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่จะรักษาเทคโนโลยีเครือข่าย ฮาร์ดแวร์ และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไว้ ดังนั้น ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ก็จะสามารถรวมเข้ากับเครือข่ายทั่วไปเพื่อแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ ต่อกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์หลายเครื่อง, สแกนเนอร์, ปรินเตอร์ ที่อาจเชื่อมต่อผ่านสาย หรือไร้สายก็ได้

Security Management

จะมีการใช้วิธีการที่แตกต่างกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการปกป้องโพรเซสต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการจากกิจกรรมของแต่ละฝ่ายที่สื่อสารหากัน เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการที่ต้องการเรียกใช้ไฟล์ หน่วยความจำ และทรัพยากรฮาร์ดแวร์อื่นๆ จะต้องมีการอนุญาตที่เหมาะสมจากระบบปฏิบัติการ

ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ที่ระบุหน่วยความจำ สามารถช่วยให้เราแน่ใจได้ว่า โปรเซสนั้น ๆ จะรันบนพื้นที่ของตัวแอดเดรสเองที่ว่างอยู่ ซึ่งสุดท้ายแล้ว ไม่มีโปรเซสใดที่ได้รับอนุญาตให้แสดงผล I/O ของตัวเอง เพื่อเป็นการป้องกันที่ช่วยให้เราสามารถคงสภาพการผนวกรวมเข้ากับอุปกรณ์ปลีกย่อยต่าง ๆ ได้

Main Memory Management

หน่วยความจำหลักในที่นี้ สามารถมีมากขนาดเป็นที่เก็บข้อมูลสำรองได้ ไปจนถึงขนาดไบต์เล็ก ๆ และเพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานได้ มันจะต้องถูกแมปจนเต็ม และถูกโหลดภายในหน่วยความจำ ซึ่งกระบวนการจัดการหน่วยความจำ ก็จะมีหลาย ๆ ปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับว่า ตัวฮาร์ดแวร์ของระบบถูกออกแบบมาอย่างไร เพราะอัลกอริทึมทั้งหมด ล้วนต้องการการรองรับจากฮาร์ดแวร์ โดยหน่วยความจำหลัก จะทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าถึงได้โดยตรงผ่านทาง CPU ซึ่งหน่วยความจำหลักเหล่านี้จะมีราคาแพง และสามารถจุข้อมูลได้น้อย อย่างไรก็ตาม ตัวจัดการหน่วยความจำหลัก จะต้องอยู่ในหน่วยความจำหลักตามชื่อเท่านั้น จึงจะสามารถรันโปรแกรมได้

File Management

ไฟล์ ถือเป็นเซ็ตของข้อมูลที่ผู้สร้างไฟล์ควรเป็นผู้กำหนดเอง โดยทั่วไปแล้วจะแสดงทั้งแหล่งที่มากับรูปแบบของ Object และข้อมูลของโปรแกรมนั้น ๆ โดยไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ สามารถอยู่ในรูปแบบของสถิติ, ตัวอักษร, หรือตัวเลขก็ได้

ะบบปฏิบัติการถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อควบคุมสิ่งใด

ระบบปฏิบัติการถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์หลักคือ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ จึงสามารถแบ่ง หน้าที่หลักของระบบปฏิบัติการได้ดังนี้

ระบบปฏิบัติการมีไว้เพื่ออะไร

ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตาม ...

ระบบปฏิบัติการเบื้อนต้น หมายถึงอะไร

ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น

System calls มีไว้เพื่อเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อะไร

ในหลาย ๆ System calls มีอยู่เพื่อวัตถุประสงค์ในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรมกับระบบปฏิบัติการ เช่น ส่วนใหญ่ในระบบจะมี System calls ในการกลับไปยังเวลา และวันที่ปัจจุบัน แต่ในระบบอื่นอาจจะต้องมีการเรียกคืนข้อมูลเกี่ยวกับระบบ เช่น จำนวนผู้ใช้ปัจจุบันที่เวอร์ชันต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการ, จำนวนพื้นที่ว่างในหน่วยความจำ ...