สำนวน ใน ข้อ ใด มี ความ หมาย ต่าง จาก กลุ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำนวนไทย คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่[1]หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวน คือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปไมยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่า สำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

การแบ่งประเภท[แก้]

  1. การแบ่งตามมูลเหตุ
    1. หมวดที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ ปลากระดี่ได้น้ำ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง ไก่แก่แม่ปลาช่อน
    2. หมวดที่เกิดจากการกระทำ เช่น ไกลปืนเที่ยง สาวไส้ให้กากิน ชักใบให้เรือเสีย ปิดทองหลังพระ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
    3. หมวดที่เกิดจากสภาพแวดแวดล้อม เช่น ตีวัวกระทบคราด ใกล้เกลือกินด่าง ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
    4. หมวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
    5. หมวดที่เกิดจากระเบียบแบบแผนประเพณีความเชื่อ เช่น กงเกวียนกำเกวียน คู่แล้วไม่แคล้วกัน ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
    6. หมวดที่เกิดจากความประพฤติ เช่น หงิมหงิมหยิบชิ้นปลามัน ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา คบคนดูหน้าซื้อผ้าดูเนื้อ ขี้เกียจสันหลังยาว
  2. มีเสียงสัมผัส
    1. คำสัมผัส เช่น คอขาดบาดตาย (ขาด กับ บาด คล้องจองกัน) มั่งมีศรีสุข (มี กับ ศรี คล้องจองกัน) ทำมาค้าขาย (มา กับ ค้า คล้องจองกัน)
    2. 6–7 คำสัมผัส เช่น ปากเป็นเอก เลขเป็นโท (เอก กับ เลข คล้องจองกัน) คดในข้องอในกระดูก (ข้อ กับ งอ คล้องจองกัน) แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร (พระ กับ ชนะ คล้องจองกัน) ขิงก็ราข่าก็แรง (รา กับ ข่า คล้องจองกัน)
    3. 8–9 คำสัมผัส เช่น ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
  3. ไม่มีเสียงสัมผัส
    1. 2 คำเรียงกัน เช่น กัดฟัน ของร้อน ก่อหวอด
    2. 3 คำเรียงกัน เช่น ไกลปืนเที่ยง ก้างขวางคอ ดาบสองคม พริกกับเกลือ
    3. 4 คำเรียงกัน เช่น ใกล้เกลือกินด่าง ผักชีโรยหน้า เข้าด้ายเข้าเข็ม
    4. 5 คำเรียงกัน เช่น ชักแม่น้ำทั้งห้า ลางเนื้อชอบลางยา ขว้างงูไม่พ้นคอ
    5. 6–7 คำเรียงกัน เช่น ยกภูเขาออกจากอก วันพระไม่มีหนเดียว ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

คุณค่า[แก้]

ภาษาพูดหรือภาษาเขียนของชนแต่ละชาติย่อมจะมีอยู่ด้วยกันสองอย่าง คือ พูดตรงไปตรงมาตามภาษาของตนเอง เป็นภาษาพูดที่ต่างคนต่างฟังเข้าใจกันได้ง่าย พูดเป็นชั้นเชิง มีการใช้โวหารและคำคล้องจองในการพูดและการเขียน ทั้งนี้ เพื่อให้ความหมายชัดเจนหรือขยายความออกไปให้กระจ่างขึ้น หรือเพื่อให้เกิดความไพเราะน่าฟัง เป็นภาษาที่เราเรียกว่า "โวหาร" "เล่นลิ้น" หรือ" พูดสำบัดสำนวน" สำนวนเหล่านั้นจะแสดงความหมายอยู่ในตัวประโยคนั้นเอง

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อสำนวนไทยและความหมาย

อ้างอิง[แก้]

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

  1. ฝนสั่งน้ำ ปลาสั่งถ้ำ จระเข้สั่งถ้ำ. หมายความว่าอย่างไร

ก. ต่างฝ่ายต่างร้ายเข้าหากัน                             ข. คิดถึงกำไรและขาดทุนอย่างรอบคอบ

ค. ทำการใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย                         ง. ทำสิ่งที่สำเร็จได้ยาก

ตอบ  ก. ต่างฝ่ายต่างร้ายเข้าหากัน

  1. ข้อใดอธิบายคำพังเพยที่ว่า .อย่าติเรือทั้งโกลน.

ก. คนที่พูดอะไรพล่อย ๆ ย่อมได้รับอันตราย

ข. มีความพิถีพิถันถึงช้าแต่ก็ได้ผลดี

ค. สอนผู้ที่มีความรู้ดีกว่าตน

ง. สิ่งที่คนอื่นทำไม่สำเร็จอย่าไปตำหนิ

ตอบ  ง. สิ่งที่คนอื่นทำไม่สำเร็จอย่าไปตำหนิ

  1. เขาเป็นคำไม่แน่นอน โลเลเหมือน…….

ก. ไม้หลักปักเลน                                               ข. คิดหน้าคิดหลัง

ค. ไม้เบื่อไม้เมา                                                  ง. แจงสี่เบี้ย

ตอบ  ก. ไม้หลักปักเลน

  1. พ่อของอรวรรณบังคับให้อรวรรณแต่งงานกับคนอื่น ตรงกับสำนวนใด

ก. น้ำขึ้นให้รีบตัก                                               ข. คลุมถุงชน

ค. น้ำขึ้นให้รีบตัก                                               ง. น้ำกลิ้งบนในบอน

ตอบ  ข. คลุมถุงชน

  1. สำนวนใดมีความหมายคล้ายคลึงกันมากทีสุด

ก. เกลือเป็นหนอน . สาวไส้ให้กากิน            ข. หน้าซื่อใจคด – หน้าไว้หลังหลอก

ค. ปากว่าตาขยิบ . ยักคิ้วหลิ่วตา                       ง. ขิงก็ราข่าก็แรง . ขนมพอสมน้ำยา

ตอบ  ข. หน้าซื่อใจคด – หน้าไว้หลังหลอก

  1. นายสมคิด แสดงกริยาดีใจเมื่อเข้าสอบได้ ตรงกับสำนวนใด

ก. กระดี่ได้น้ำ                                                      ข. ขนทรายเข้าวัด

ค. งอมพระราม                                                   ง. เจ้าไม่มีศาล

ตอบ  ก. กระดี่ได้น้ำ           

  1. ปัจจุบันน้ำมันมีราคาแพง ราคาสิ่งของก็ขึ้นตามไปด้วยมารับประทานก็ขัดสนไปหมด

ก. เข้าตาจน                                                          ข. คาบลูกคาบดอก

ค. จนแต้ม                                                            ง. ข้าวยากหมากแพง

ตอบ   ง. ข้าวยากหมากแพง

  1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสุภาษิต

ก. น้ำลดต่อผุด                                                     ข. น้ำตาลใกล้มด

ค. น้ำน้อยแพ้ไฟ                                                                 ง. ชันน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน

ตอบ  ก. น้ำลดต่อผุด

  1. นายเอกซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินบอกให้นางน้อยไปสร้างบ้านที่อื่น ถ้าไม่ไปจะฟ้องศาล ตรงกับสำนวนใด

ก. เขียนเสือให้วัวกลัว                                        ข. ไล่ที่ทำวัง

ค. ข้าวแดงแกงร้อน                                            ง. เต่าใหญ่ไขกลบ

ตอบ  ข. ไล่ที่ทำวัง

  1. สำนวนข้อใดผิด

ก. เงียบเหมือนเป่าสาก                                      ข. ดำเหมือนถ่าน

ค. อาภัพเหมือนปูน                                           ง. หน้าบานเท่ากระด้ง

ตอบ    ข. ดำเหมือนถ่าน

  1. คำว่า .กินน้ำใต้ศอก. มีความหมายว่า

ก. ฐานะต่ำกว่า                                                    ข. ด้วยวาสนา

ค. เป็นฝ่ายเสียเปรียบ                                         ง. เป็นฝ่ายเสียหาย

ตอบ    ค. เป็นฝ่ายเสียเปรียบ

  1. ข้อใดถือว่าเป็น .พุทธสุภาษิต.

ก. ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน                                ข. ฆ่าความเสียดายพริก

ค. งูเห็นนมไก่                                                     ง. วานรได้แก้ว

ตอบ  ก. ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

  1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นเป็น .สุภาษิตพระร่วง.

ก. จงเตือนตนด้วยตน                                        ข. วัวแก่ชอบกินหญ้าอ่อน

ค. น้ำพึ่งเรือ เสือผึ่งป่า                                       ง. เข้าเถือนอย่าลือพร้า

ตอบ  ง. เข้าเถือนอย่าลือพร้า

  1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นเป็น .สุภาษิตโลกนิติ.

ก. การไม่ทำบาปนำสุขมาให้                            ข. อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจนพอแรง

ค. เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว                                  ง. ท่านรักตนจงรักตอบ

ตอบ  ข. อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจนพอแรง

  1. สำนวนในข้อใดมิได้เกิดจากวรรณคดี

ก. ชักใบให้เรือเสีย                                             ข. ชักแม่น้ำทั้งห้า

ค. กลัวดอกพิกุลจะร่วง                                      ง. สิบแปดมงกุฎ

ตอบ  ก. ชักใบให้เรือเสีย