ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง ค่าเสื่อม

แผนธุรกิจ

                  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้                                                                                                            

สารบัญ

                                                                                                                                                                                                           หน้า

1.             บทสรุปผู้บริหาร                                                                                                                         

2.             ความเป็นมาของโครงการ                                                                                        

3.             การวิเคราะห์อุตสาหกรรม                                                                                                        

4.             การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)                                                                       

5.             วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย (Vision, Mission & Goals)                                         

6.             กลยุทธ์ ( Strategy )                                                                                                                   

·       กลยุทธ์ระดับองค์กร ( Corporate Strategy )                                                               

·       กลยุทธ์ระดับธุรกิจ  ( Business Strategy )                                                   

·       กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ ( Functional Strategy )                                                        

7.             ปัจจัยที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ                      

8.             การบริหารโครงการ                                                                                                                   

9.             การวิเคราะห์ด้านการตลาด                                                                                                       

10.      การวิเคราะห์ด้านเทคนิคหรือการผลิต                                                                   

11.      การวิเคราะห์ด้านการเงิน                                                                                                          

12.      การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ                                                                    

13.      แผนการปรับปรุงขีดความสามารถในการประกอบการ                                        

14.      ภาคผนวก (แหล่งที่มาของข้อมูลต่างๆ)                                                                

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้

1.              บทสรุปผู้บริหาร

Ø   วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ

เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ

Ø   แนวคิดทางธุรกิจ

ผู้รับบริการมั่นใจในคุณภาพและพึงพอใจในบริการที่ได้รับจากกิจการ

Ø   การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน

               ปีพ.ศ. 2544 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้ มีผลกำไรลดลงเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้ มีขนาดเล็กรับคำสั่งซ่อมเฉพาะหน้าร้านจากลูกค้าในละแวกใกล้เคียงเท่านั้น ช่างซ่อม 2คน รับงานได้เพียงวันละ 2 ชิ้น/วัน โดยเฉลี่ย ซึ่งโดยสถานภาพของช่างแล้ว ถูกประเมินว่าควรสามารถรับงานได้มากถึง 5 ชิ้น/วัน โดยเฉลี่ย

กิจการเชื่อว่า การขยายสาขาจะช่วยให้ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นและให้บริการลูกค้าได้ทั่งถึงกว่าการมี    กิจการเพียงแห่งเดียวเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคมักซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้บ้าน เมื่อซ่อมที่ใดแล้วมักนิยมซ่อมที่เดิม (ถ้าพอใจ) และเมื่อไว้ใจได้ก็จะแนะนำบอกต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นๆ

กิจการคาดว่าการขยายกิจการตามแผนธุรกิจนี้จะต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท โดยจะเป็นการขยายกิจการแบบค่อยเป็นค่อยไป และช่วยให้เจ้าของสามารถใช้เงินส่วนตัวลงทุนในกิจการได้ทั้งหมด

Ø   กลยุทธ์ของกิจการ

1)            เพิ่มทักษะในการซ่อมแซมให้กับช่าง ให้ช่างมีความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น

2)             สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าให้มากขึ้น

3)            สร้างการรู้จักในหมู่ผู้บริโภค โดยการทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์

 2.              ความเป็นมาของโครงการ

                 กิจการก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2541 เพื่อทำธุรกิจซ่อมไฟฟ้า โดยจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด  มีผู้ร่วมลงทุน 3 คน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศูนย์บริการแต่งตั้ง PANASONIC รับบริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าในส่วนของ โทรทัศน์ ตู้เย็น FAX เครื่องเสียง ฯลฯ ปัจจุบัน มีพนักงานจำนวน 5 คน โดยช่าง 2 คน ทำหน้าที่นายช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า และช่างอีก 2 คน ทำหน้าที่ติดตั้งระบบไฟฟ้า และพนักงานธุรการ 1 คน รับผิดชอบการเงิน  ในด้านผลการดำเนินงานปี 2544 พบว่า กำไรรวมของห้างลดต่ำลงจาก 200,000 บาทในปี 2543 เหลือเพียง 150,000 บาท ในปี 2544 เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวนมาก

                  ต่อมา ผู้จัดการหุ้นส่วนได้พยายามที่จะขยายสาขาของห้างเพื่อรับงานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มากขึ้น            โดยแนวคิดในการขยายสาขา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้ สืบเนื่องจากผู้จัดการ (คุณศศินทร์  เที่ยงตรง) ประเมินว่า ช่าง 2 คนยังทำงานสามารถรับงานเพิ่มได้อีก และการเปิดสาขาในย่านชุมชนที่อยู่อาศัย จะทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกในการใช้บริการมากขึ้น

3.              การวิเคราะห์อุตสาหกรรม มาตรฐานการประกอบการในอุตสาหกรรม

Ø  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม

§  ด้านเศรษฐกิจ

·       ภาวะเศรษฐกิจซบเซา จะไม่กระทบกับกิจการให้บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ามากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคจะใช้จ่ายอย่างประหยัด ดังนั้น จึงไม่ค่อยนิยมซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่มากนัก ถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมชำรุด ก็มักจะนำไปซ่อม ซึ่งจะประหยัดกว่าการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่

               §  ด้านสังคมและวัฒนธรรม

·       ปัจจุบัน เครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตมากขึ้น

·       จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้นด้วย

      §  ด้านเทคโนโลยี

·       ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้มีการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าออกมามากขึ้น ส่งผลให้ราคาเครื่องใช้ไฟฟ้ามีราคาถูกลงและมีผู้ซื้อไปใช้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้กิจการที่ให้บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นด้วย

      §  การแข่งขัน

·       จำนวนคู่แข่งขันในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงเพิ่มขึ้นไม่มากนัก

Ø  สภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

                ปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้กลายเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับครอบครัวมากขึ้น อุปกรณ์    ไฟฟ้าในแต่ละครัวเรือนเพิ่มจำนวนขึ้นตามจำนวนผู้อาศัย โดยยอดจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยรวมจึงมีอัตราเติบโตสูงขึ้นปีละ 15-20% (จากการสำรวจ) ขณะเดียวกันก็เน้นการให้บริการหลังการขายมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับบริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งในลักษณะของเปิดศูนย์ซ่อมของร้านเองและจัดทำธุรกิจซ่อมในท้องถิ่นเป็นศูนย์บริการซ่อมให้กับยี่ห้อของตน

                จากสถานการณ์ดังกล่าว ห้างหุ้นส่วนจำกัดซ่อมได้ เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจ จึงมีแนวคิดที่จะ ติดต่อขอเป็นศูนย์บริการซ่อมให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า 3 ยี่ห้อ คือ Panasonic Hitachi และ Misubishi โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่ว่า ผู้จัดการ คือ คุณศศินทร์ เที่ยงตรง เคยเป็นผู้จัดการศูนย์ซ่อมให้กับบริษัท สง่าพาณิชย์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้ารายใหญ่รายหนึ่งในบ่อพลอย ทำให้สามารถติดต่อขอเป็นตัวแทนศูนย์ซ่อมได้ไม่ยาก

Ø  พฤติกรรมผู้บริโภค

1)            ต้องการร้านซ่อมที่ไว้ใจได้ และเป็นร้านซ่อมที่มีมาตรฐาน

2)            คุณภาพบริการ ผู้บริโภคพึงพอใจร้านที่ส่งงานตรงเวลา ซึ่งโดยทั่วไปการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ควรนานเกิน 3 วัน นับจากวันส่งซ่อม

3)            ราคาซ่อมไม่แพง ผู้บริโภคมักเปรียบเทียบคุณภาพกับราคา การกำหนดราคามาตรฐานให้ชัดเจน ราคาเดียวจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค

4)            คุณภาพการซ่อม ผู้บริโภคต้องการช่างซ่อมที่ซ่อมได้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง ใช้อะไหล่ของใหม่ ของดี ไม่ใช่ของเก่า และต้องกลับมาซ่อมอีกหลายครั้ง

Ø สภาพตลาดและการแข่งขัน

                ส่วนใหญ่เป็นร้านซ่อมขนาดเล็กที่มีผู้จัดการร้านเป็นช่างซ่อมเอง และเคยเป็นช่างซ่อมให้กับร้านขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่มาก่อน เช่นเดียวกับคุณศศินทร์  เที่ยงตรง หุ้นส่วนและผู้จัดการของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้

                ร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ่อพลอยที่เป็นศูนย์บริการซ่อมของ PANASONIC  มี 2 ร้านใหญ่ คือ

1)            สง่าพาณิชย์ เป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายยี่ห้อ อาทิ PANASONIC SUMSUNG  PANASONIC และเป็นศูนย์บริการซ่อมของยี่ห้อที่จำหน่ายด้วย

2)            สินทอง มีลักษณะการดำเนินงานเช่นเดียวกับสง่าพาณิชย์ และมีรับติดตั้งระบบไฟฟ้า ออกแบบตกแต่งภายในร่วมด้วย 

4. การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)

ผลการดำเนินงานในปัจจุบันพบว่า พนักงานสามารถซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เฉลี่ยคนละ 2 ชิ้น คิดเป็นรายได้เฉลี่ย 450 บาท/ชิ้น เปิดทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 3% สำหรับการดำเนินงานในฐานะศูนย์ซ่อม Panasonic พบว่าปัจจุบันกิจการได้บริการซ่อม Panasonic ในเวลารับประกันจำนวน 20 ชิ้น/เดือน ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจาก ร้านค้าทั่วไป

จุดแข็ง (Strength)

-ผู้บริหารมีประสบการณ์ทำงานเป็นระบบจากบริษัท สง่าพาณิชย์ จำกัด

-ค่าซ่อมไม่แพง งานซ่อมมีคุณภาพ

-กำหนดเวลารับของภายใน 1 วัน

-ใช้เงินส่วนตัวเป็นเงินลงทุน ทำให้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย

จุดอ่อน (Weakness)

-งานออกมาน้อย (2 ชิ้น/วัน)

-พื้นที่ทำการคับแคบ

โอกาส (Opportunity)

-ผู้บริโภคใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

-คู่แข่งสำคัญ เน้นขายอุปกรณ์มากกว่าบริการซ่อม

                อุปสรรค (Threats)

-ผู้บริโภคยังไม่รู้จักร้านมากนัก เนื่องจากหน้าร้านไม่กว้างขวางมากนัก

-คู่แข่งสำคัญมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ

                จากข้อมูลสถานการณ์จะเห็นได้ว่า หาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้ มีการทำตลาดเชิงรุก และสามารถสร้างความจดจำในชื่อร้านได้กว้างขวางขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มจำนวนชิ้นงานให้กับช่างของร้านได้มากขึ้น ซึ่งการขยายสาขาจะเป็นช่องทางสำคัญในการหาลูกค้ารายใหม่ให้แก่ร้านได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากพื้นที่เดิมคับแคบ

5.              วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย (Vision ,Mission &Goal)

วิสัยทัศน์ (Vision)

        เป็นผู้นำศูนย์บริการแต่งตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกยี่ห้อทีได้มาตรฐานในจังหวัดตราด

พันธกิจ (Mission)

        1) ให้คำแนะนำปรึกษาแก่ร้านซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปในจังหวัดตราด

        2) มีมาตรฐานการซ่อมและบริการมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

        3) เป็นศูนย์บริการแต่งตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้ายี่ห้อต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็น 3 ยี่ห้อ คือ PANASONIC HITTACHI MITSUBISHI ภายใน 3 ปี

      เป้าหมาย (Goal)

1)            เป็นศูนย์บริการแต่งตั้งที่มีมาตรฐานเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในจังหวัดตราดมากขึ้น

2)            บริการซ่อมเพิ่มเป็น 5 ชิ้น/วัน ภายในเวลา 1 ปี

6.              กลยุทธ์ของกิจการ

n กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้  ใช้กลยุทธ์ระดับองค์กร คือกลยุทธ์การเติบโต ในลักษณะที่เรียกว่า การมุ่งความเชี่ยวชาญ (Concentratoin) เป็นการเจริญเติบโตตามแนวนอน เพราะต้องการขยายธุรกิจของตนเองซึ่งเป็นลูกค้าเป้าหมายกลุ่มเดิม แต่จะขยายไปสู่พื้นที่อื่นให้กว้างมากขึ้น

n กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)

        ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้  มุ่งเน้นกลยุทธ์ระดับธุรกิจ คือ การสร้างความแตกต่าง

(Differentiation) ของธุรกิจในการสร้างเอกลักษณ์ และภาพพจน์ที่น่าเชื่อถือด้านการบริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้มาตรฐาน และความสามารถในการเป็นตัวแทนของศูนย์ซ่อมของ PANASONIC และอนาคตการซ่อมของยี่ห้ออื่นๆที่จะตามมา

n กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Strategy)

ด้านการจัดการ   

                                -มีการจัดอบรมฝีมือช่างสม่ำเสมอ

                                -จัดตกแต่งร้านสถานที่ประกอบการให้ทันสมัยได้มาตรฐาน

ด้านการตลาด     

                                -ทำสื่อโฆษณา ใช้แผ่นโบรชัวร์ ให้ลูกค้ารู้จักเพิ่มขึ้น

                                -ให้บริการซ่อมรับ-ส่งถึงบ้าน (ในบริเวณพื้นที่ 1 กม.โดยรอบร้าน)

                                -อบรมพนักงานด้านบริการ ดูแลลูกค้า และพูดคุยตอบข้อซักถามของลูกค้า

ด้านการบริการ   

                                -มีการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานก่อนส่งมอบงานทุกครั้ง

                                -ฝีมือช่างมีคุณภาพ ผ่านประสบการณ์และความชำนาญ

                                -การให้บริการได้ระดับมาตรฐาน ในด้านคุณภาพ การตรงเวลา ไม่แพง

ด้านการเงิน         

                                -จัดหาแหล่งเงินทุนที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย

7.              ปัจจัยที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ

 ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

-                   คุณภาพของการให้บริการซ่อมน่าเชื่อถือ และรับประกันการซ่อม

-                   ราคาในการคิดบริการต่ำกว่าคู่แข่งขัน

-                   เป็นตัวแทนของศูนย์บริการซ่อมของ Panasonic

ปัจจัยที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ

-                   ด้านชื่อเสียงและการรู้จักกิจการ ยังมีน้อยเนื่องจากกิจการเพิ่งเปิดมาไม่กี่ปี

8. การบริหารโครงการ

n การก่อตั้งกิจการ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้  ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยมีคุณศศินทร์  เที่ยงตรง เป็นผู้บริหารและจัดการ เพื่อรับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และรับเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้า โดยมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 84อ.บ่อพลอย จ.ตราด

                เนื่องจากทำเลดังกล่าวค่อนข้างจะห่างไกลจากชุมชน ทำให้บริการไม่สามารถคลอบคลุมลูกค้าได้ไกลมากนัก   แต่ลูกค้าที่เคยใช้บริการแล้วมั่นใจในฝีมือคุณภาพการซ่อมก็ยังกลับมาซ่อมใหม่  ทำให้กิจการมีความมั่นใจในฝีมือการให้บริการประกอบกับการเป็นตัวแทนของศูนย์ซ่อมของ PANASONIC จึงมีความคิดที่จะขยายสาขาให้มากขึ้น เพื่อสามารถบริการลูกค้าได้ทั่วถึง และมียอดขายเพิ่มมากขึ้น

n รายชื่อผู้ถือหุ้น/ร่วมหุ้น

                ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้  ได้ดำเนินการเป็นรูปห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยมีหุ้นส่วนดังนี้

ผู้ถือหุ้น

มูลค่าหุ้น (บาท)

สัดส่วน(%)

1.นายศศินทร์  เที่ยงตรง

250,000

50

2.นางสุดสวย  เที่ยงตรง

250,000

50

รวม

500,000

100

    n โครงสร้างองค์กรและผังบริหาร

 

n ประวัติและความสามารถของผู้บริหาร

                หุ้นส่วนผู้จัดการ : คุณศศินทร์  เที่ยงตรง อายุ 32 ปี จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์  โดยมีประสบการณ์การทำงานดังนี้

                                พ.ศ. 2525-2541       ทำงานที่ศูนย์ซ่อมเครื่องไฟฟ้าบริษัท สง่าพาณิชย์

                                พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน   เจ้าของกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้

                ผู้จัดการสาขา : คุณสุดสวย  เที่ยงตรง  อายุ 30 ปี จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาบัญชีและการเงิน ประสบการณ์

                                พ.ศ. 2537-2541      พนักงานบัญชีของบริษัทเอกชน

                                พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน  ผู้จัดการสาขาของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ่อมได้ 

n กลยุทธ์การสรรหาและจัดเตรียมบุคลากร

                จะมีการเตรียมฝึกด้านฝีมือ และประสบการณ์ ดังนี้

                -เตรียมประกาศรับสมัคร ตำแหน่งช่าง เพิ่มเติม 2 อัตรา เพื่อรองรับการขยายกิจการ

                -คัดเลือกโดยสัมภาษณ์ และทดสอบงานสำหรับตำแหน่งช่าง

                -ฝึกฝีมือและชำนาญ ประมาณ 1.5 เดือน

n ผู้สอบบัญชีและที่ปรึกษากฎหมาย

                -ไม่มี-

n เครือข่ายทางธุรกิจ

                -จากประสบการณ์ที่เคยอยู่ศูนย์ซ่อมของบริษัทอื่นมาก่อน ทำให้ได้มีเครือข่ายกับตัวแทนศูนย์ซ่อมของบริษัทต่างๆเช่น ของ PANA ของ PANASONIC และของ MITSUBISHI

                -มีกลุ่มลูกค้าที่เคยเป็นผู้ให้บริการครั้งเคยอยู่ศูนย์ซ่อมอื่น ได้ติดตามมาใช้บริการของเจ้าของ กิจการ

9.              การวิเคราะห์ด้านการตลาด

n การแบ่งส่วนการตลาด

        ตลาดซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้ามี 2 ส่วน คือ สินค้าใหม่/สินค้าเก่า

n กลุ่มลูกค้าตลาดเป้าหมาย

ลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่

                                1) ผู้บริโภคอุปกรณ์ไฟฟ้ายี่ห้อ PANASONIC/Hitachi/Misubishi ในอำเภอบ่อพลอย

2) ลูกค้าที่ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป ในละแวกที่ทำการที่ต้องการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า

Ø การวิเคราะห์การแข่งขันของสินค้า/บริการ (Five-Forces Models)

1.             การคุกคามจากผู้เข้ามาใหม่

ข้อได้เปรียบ -เป็นตัวแทนของศูนย์ซ่อม ทำให้ผู้เข้ามาใหม่ต้องมีความสามารถด้านฝีมือการซ่อมที่ได้มาตรฐาน เช่นเดียวกัน ถึงจะเข้ามาแบ่งลูกค้าไปได้

ข้อเสียเปรียบ-ผู้เข้ามาใหม่อาจหาทำเลที่ตั้งที่ดีกว่า มีความสะดวกในการเข้าออก มีบริการที่จอดรถสะดวกกว่า

2.             การแข่งขันระหว่างธุรกิจที่มีอยู่แล้วในขณะนี้

ข้อได้เปรียบ   -ราคาการให้บริการของกิจการต่ำกว่าศูนย์บริการซ่อมอื่น แต่ได้มาตรฐานระดับเดียวกัน

ข้อเสียเปรียบ -ภาพลักษณ์ของกิจการยังเสมือนเป็นเพียงร้านซ่อมเครื่องไฟฟ้าทั่วไป

3.             การแข่งขันระหว่างผลิตภัณฑ์ (บริการ) ทดแทน

การทดแทนการซ่อมโดยอาศัยร้านซ่อมหรือศูนย์บริการซ่อม ก็คือ การซ่อมด้วยตนเองแต่ก็ซ่อมได้เพียงอุปกรณ์เล็กๆน้อยที่เกิดชำรุดเสียหาย การทดแทนการซ่อมอีกประการหนึ่งคือ การซื้อสินค้าใหม่แทนการซ่อมของเดิม

4.             ผลกระทบของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (ตัวแทนศูนย์บริการ)

ข้อได้เปรียบ -กิจการได้รับภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นจากการเป็นตัวแทนและมีโอกาสได้ลูกค้าของ  PANASONIC มาซ่อมที่กิจการมากขึ้น

ข้อเสียเปรียบ –ผู้บริโภคอาจเข้าใจว่าการเป็นตัวแทนของศูนย์บริการซ่อมของยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งแสดงว่ามีความชำนาญในยี่ห้อนั้น ดังนั้นในผลิตภัณฑ์ของยี่ห้ออื่น อาจจะไม่ถนัด ทำให้เสียโอกาสได้เช่นเดียวกัน

5.             การต่อรองของลูกค้า

ข้อได้เปรียบ    - ราคาการซ่อม ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่เสีย ซึ่งลูกค้ากำหนดเองไม่ได้

ข้อเสียเปรียบ  -  ถ้าราคาที่ให้บริการค่อนข้างสูง ลูกค้าอาจตัดสินใจไม่ซ่อม แต่จะซื้อใหม่ 

                        เนื่องจากราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง

n การกำหนดตำแหน่งทางการตลาด

        ภาพลักษณ์ของกิจการ คือ ผู้บริโภคมองว่าเป็นร้านซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ยังไม่เป็นศูนย์บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า อันสืบเนื่องจากจัดแต่งร้านไม่ได้มาตรฐานประกอบกับราคาค่าบริการก็ต่ำกว่าศูนย์บริการซ่อม โดยกิจการกำหนดตำแหน่งไว้คือ “คุณภาพศูนย์ซ่อม  ราคาร้านซ่อม”

                                                                                                                คุณภาพสูง

 

                                                หจก.ซ่อมได้

                                                                *                              *ศูนย์ซ่อมของคู่แข่ง

                                ราคา ต่ำ                              

n กลยุทธ์ด้านการตลาด 4P’s

                ด้านบริการ                          

-ส่งงานภายใน 12 ชั่วโมง

-บรรจุถุงพลาสติก บรรจุกล่องส่งคืนลูกค้า

-ในบริเวณพื้นที่ร้านโดยรอบ 1 กม.ในอำเภอบ่อพลอย มีการรับ-ส่งฟรี

                ด้านราคาการบริการ            

-เป็นศูนย์ซ่อมที่ราคาไม่แพง

-ด้านคุณภาพเป็นศูนย์ซ่อมส่วนด้านราคาคิดถูกเป็นลักษณะร้านซ่อม

ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย

-ลูกค้าเข้ามาติดต่อเอง

 -ใช้วิธีการรับ-ส่งถึงบ้าน

                ด้านการส่งเสริมการตลาดและขาย

                                -ทำการโฆษณา แจกใบปลิวตามสถานที่ต่างๆในอำเภอบ่อพลอย

                                -ประชาสัมพันธ์ ป้ายหน้าร้าน

                                -สติ๊กเกอร์ชื่อร้านติดไปกับอุปกรณ์ซ่อมแล้ว

n เป้าหมายตามแผนกลยุทธ์

1)            ลูกค้าเพิ่มจาก 2 ชิ้น/วัน เป็นอย่างน้อย  5 ชิ้น/วัน

2)            ร้านเป็นที่รู้จักของคนบ่อพลอย

3)            เป็นศูนย์บริการแต่งตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้ายี่ห้ออื่นๆภายใน 3 ปี

10.       การวิเคราะห์ด้านเทคนิค/การผลิต

 

(Flow Chart การให้บริการ)

    n เครื่องจักรอุปกรณ์กำลังการผลิต

                สามารถบริการซ่อมอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าได้อย่างน้อย 5 ชิ้น/วัน

    n ต้นทุนต่อหน่วย                                                                                    

รายการ

ปี 2546

ปี 2547

ปี 2548

 วัตถุดิบทางตรง  

100,000

120,000

144,000

 ค่าแรงทางตรง  

408,000

428,400

449,820

 ค่าใช้จ่ายในการผลิต

7,000

14,000

21,000

รวมต้นทุนในการให้บริการ

515,000

562,400

614,820

จำนวนหน่วยที่ให้บริการ

1,500

2,000

4,000

ต้นทุนต่อหน่วย (บาท/หน่วย)

343.33

281.20

153.71

    n อาคารและสิ่งปลูกสร้าง

                เช่าอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น 1 คูหาในย่านชุมชนอำเภอบ่อพลอย

    n ทำเลที่ตั้ง

                เลขที่ 8 อำเภอบ่อพลอย จังหวัดตราด

n  สาธารณูปโภค

                กิจการมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคทุกด้าน ไม่ว่า ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และถนนเข้าออก

    n การว่าจ้างแรงงาน (ทักษะคนงาน/สาขา)

ตำแหน่ง

จำนวน

ความชำนาญ

เงินเดือน

-ด้านธุรการ

1

ด้านเอกสาร ต้อนรับ จบระดับมัธยม

6,300

-ด้านช่าง

4

อิเล็กทรอนิกส์ จบ ปวส.

8,500

-ผู้จัดการทั่วไป

1

ปวส.

10,000

    n  การบริการสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ

                มีการบริหารสินค้าคงคลังที่เดิมประมาณ 20-30 วัน

    n  ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

                -ไม่มี-

 11.การวิเคราะห์ด้านการเงิน

§ สรุปเงินลงทุนในโครงการ

          หน่วย : บาท

 รายการ

เงินส่วนของเจ้าของ

เงินกู้ยืม

รวมเงินลงทุน

 ที่ดินและค่าปรับปรุงที่ดิน

-

-

-

 อาคารและสิ่งปลูกสร้าง

-

-

-

 อุปกรณ์ในการซ่อม

200,000

-

200,000

 เครื่องใช้สำนักงาน

150,000

-

150,000

 ยานพาหนะ

20,000

-

20,000

 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

130,000

-

130,000

 รวม

500,000

-

500,000

§ แหล่งที่มาของเงินทุน

                                เงินลงทุนในสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการเป็นเงินจากส่วนของเจ้าของทั้งหมด

§ ประมาณการทางการเงิน

สมมติฐานทางการเงิน

-                   ราคาเฉลี่ยต่อหน่วยคงที่ตลอดระยะเวลา 3 ปีเท่ากับ 600 บาท

-                   กิจการมีวันทำงานในหนึ่งเดือน เท่ากับ 25 วัน เงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 5%

-                   จำนวนหน่วยในการให้บริการ เท่ากับ 5 ชิ้นต่อวัน

-                   ต้นทุนของวัสดุและอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อม เท่ากับ 20 %

-                   กิจการซื้อวัสดุและอะไหล่ เป็นเงินเชื่อทั้งหมด โดยมีกำหนดระยะเวลาในการชำระเงิน 30 วัน

-                   กิจการมีการกำหนดมูลค่าในการสต็อคอะไหล่เป็นจำนวน 10,000 บาททุกขณะ

-                   อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ใช้อัตราตามที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร สำหรับกิจการที่มีเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ดังนี้

                                 ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท

                ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท


§ ประมาณการยอดขาย ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

ปี 2546

ปี 2547

ปี 2548

จำนวนชิ้น

ราคาต่อหน่วย

รายได้รวม

จำนวนชิ้น

ราคาต่อหน่วย

รายได้รวม

จำนวนชิ้น

ราคาต่อหน่วย

รายได้รวม

1,500

600

900,000

2,000

600

1,200,000

4,000

600

2,400,000

รายการ

ปี 2546

ปี 2547

ปี 2548

 วัตถุดิบทางตรง

100,000

120,000

144,000

 ค่าแรงทางตรง

408,000

428,400

449,820

 ค่าใช้จ่ายในการผลิต

7,000

14,000

21,000

รวมต้นทุนในการให้บริการ

515,000

562,400

614,820

รายการ

ปี 2546

ปี 2547

ปี 2548

  ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน :

 เงินเดือนพนักงานสำนักงาน

195,600

205,380

215,649

 ค่าเสื่อมราคา

74,000

74,000

74,000

 ค่าน้ำมันรถยนต์

9,000

9,000

9,000

 ค่าน้ำค่าไฟและค่าโทรศัพท์

7,000

7,000

7,000

 ค่าเช่าอาคาร

144,000

144,000

144,000

 รวม

429,600

439,380

449,649

                                                                                                           หน่วย : บาท


อัตราส่วนทางการเงิน

ปี 2546

ปี 2547

ปี 2548

 1. อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง

  - อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)

4 เท่า

4.8 เท่า

6.3 เท่า

  - อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)

3.3 เท่า

4.1 เท่า

5.6 เท่า

 2. อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์

  - อัตราการหมุนเวียนของวัสดุคงคลัง (Inventory Turnover)

9 รอบ

10 รอบ

15 รอบ

  - ระยะเวลาวัสดุคงคลัง (Inventory Turnover Period)

32 วัน

31 วัน

26 วัน

 3. อัตราส่วนวัดความสามารถในการบริหารงาน

  - อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)

80 %

81.5 %

84 %

  - อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) 

5 %

6 %

9 %

  - อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Assets  :  ROA )

25%

20 %

29 %

  - อัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (Return On Equity :  ROE)      

28 %

27 %

31 %

 4. อัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้

  - อัตราส่วนแห่งหนี้ (Debt Ratio)

0.01 เท่า

0.05 เท่า

0.10 เท่า

  - อัตราส่วนแหล่งเงินทุน (Debt to Equity Ratio)

0.01 เท่า

0.05 เท่า

0.08 เท่า

  - อัตราส่วนความสามารถจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage  Ratio)

-

-

-

§  ผลการวิเคราะห์ทางการเงิน


รายการ (พันบาท)

ปี 2546

ปี 2547

ปี 2548

 ยอดขายต่อปี

900

1,200

2,400

 ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อปี

107

134

165

 ค่าใช้จ่ายคงที่ต่อปี

763

793

824

 จุดคุ้มทุนต่อปี (พันบาท)

866

893

885

 จุดคุ้มทุนต่อปี (ราย/ชิ้น)

578

447

222

รายการ(พันบาท)

ปี 2545

ปี 2546

ปี 2547

ปี 2548

เงินลงทุน

500

-

-

-

กำไรสุทธิ

-

200

250

300

ค่าเสื่อมราคา

-

74

74

74

กระแสเงินสดสุทธิ

(500)

274

324

374

NPV (7%)

=  321.84

IRR

= 40 %

Payback Period =

1 ปี 9เดือน


§  การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

1. อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง

                ในปี 2547-2548 กิจการมีสภาพคล่องสูงในขึ้นจากปี 2546 โดยมีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2546 – 2548 จำนวน 4 เท่า, 4.8 เท่า และ 6.3 เท่าตามลำดับ และมีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วเท่ากับ 3.3 เท่า, 4.1 เท่า และ 5.6 เท่า ในปี 2546 – 2548 ตามลำดับ

2. อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์

                กิจการมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์เพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการหมุนของวัสดุคงคลังเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2546-2548 โดยมีอัตราการหมุนเท่ากับ 9 รอบ, 10 รอบ และ 15 รอบในปี 2546-2548 ตามลำดับ และมีระยะเวลาในการหมุนของวัสดุคงคลังลดน้อยลงเท่ากับ 32 วัน 31 วัน และ 26 วัน ในปี 2546 – 2548 ตามลำดับ

3. อัตราส่วนวัดความสามารถในการบริหารงาน

                กิจการมีความสามารถในการบริหารงานเพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากอัตราส่วนกำไรขั้นต้น และอัตราส่วนกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2546-2548 (ตัวเลขตังตารางข้างต้น)

                แต่อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด และอัตราส่วนผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของในปี 2547 ลดลงจากปี 2546 โดยอัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมดลดลงจาก 25% ในปี 2546 เป็น 20% ในปี 2547 และเพิ่มขึ้นเท่ากับ 29% ในปี 2548 และอัตราส่วนผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของลดลงจาก 28% ในปี 2546 เล็กน้อยเป็น 27% ในปี 2547 และเพิ่มขึ้นเป็น 31% ในปี 2548

4. อัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้

                กิจการมีจำนวนหนี้สินเป็นจำนวนน้อย โดยหนี้สินที่มีจะเป็นเพียงหนี้สินระยะสั้น (หนี้สินหมุนเวียน) ส่งผลให้กิจการมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในระดับสูง โดยในช่วงปี 2546-2548 โดยมีอัตราส่วนแห่งหนี้ (หนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม) เท่ากับ 0.01 เท่า, 0.05 เท่า และ 0.10 เท่า ในช่วงปี 2546-2548 ตามลำดับ และอัตราส่วนแหล่งเงินทุน (หนี้สินทั้งหมดต่อส่วนของเจ้าของ) เท่ากับ 0.01 เท่า, 0.05 เท่า และ 0.08 เท่า ในช่วงปี 2546-2548 ตามลำดับ

§ ผลตอบแทนของโครงการ

มูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดมีมูลค่าเท่ากับ 321,840 บาท (ณ ระดับอัตราผลตอบแทน 7%) ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return : IRR) เท่ากับ  40%  โดยมีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) เท่ากับ 1 ปี 9 เดือน


12.       การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ

n ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับกิจการ

         การเข้ามาของรายใหม่ในธุรกิจ และมีความสามารถในการหาทำเลที่ดีกว่า จะมีผลกระทบที่ค่อนข้างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าจะหาแหล่งซ่อมที่ใกล้ที่พักอาศัย และสะดวกในการเดินทาง

n Sensitive Analysis

แสดงผลกระทบต่อมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (ระดับผลตอบแทน 7%) อัตราผลตอบแทนของโครงการ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคา ปริมาณ และต้นทุนรวมของกิจการ

- ผลกระทบอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาค่าบริการ

ผลตอบแทนโครงการ

-15%

-10%

-5%

0%

5%

10%

15%

NPV. (พันบาท)

87

112

296

321

612

824

925

IRR.

8%

11%

23%

40%

63%

68%

74%

Payback Period

4 ปี 5 เดือน

3 ปี 4 เดือน

2 ปี 6 เดือน

1 ปี 9 เดือน

1 ปี 4 เดือน

11 เดือน

7 เดือน

- ผลกระทบอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณในการให้บริการ

ผลตอบแทนโครงการ

-15%

-10%

-5%

0%

5%

10%

15%

NPV. (พันบาท)

69

98

251

321

877

1,200

1,456

IRR.

6%

9%

18%

40%

72%

83%

89%

Payback Period

 4 ปี 8เดือน

3 ปี 7 เดือน

2 ปี 9 เดือน

1ปี 9เดือน

1 ปี 2 เดือน

9 เดือน

5 เดือน

 - ผลกระทบอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนรวมของกิจการ

ผลตอบแทนโครงการ

-15%

-10%

-5%

0%

5%

10%

15%

NPV. (พันบาท)

1,112

926

744

321

272

107

71

IRR.

81%

79%

68%

40%

21%

10%

7%

Payback Period

6 เดือน

10 เดือน

1ปี 3เดือน

1ปี 9 เดือน

3 ปี

4 ปี 3 เดือน

5 ปี 2 เดือน

13.       แผนการปรับปรุงขีดความสามารถในการประกอบการ

n การปรับปรุงระบบบัญชี/ระบบบัญชีสินคาคงคลัง

                -กิจการวางแผนในด้านการจัดทำบัญชีว่าจะนำโปรแกรมทางบัญชีมาช่วยในการจัดทำบัญชีของกิจการ ในปี 2546 นี้                     

14.  ภาคผนวก

จัดทำและแนบ...ประวัติผู้บริหาร /งบการเงิน และประมาณการงบการเงิน ได้แก่ งบดุล      งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด ตลอดจนเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง... (ในกรณีขอกู้เงินกับธนาคาร

ค่าเสื่อมราคา สิ่ง ปลูก สร้างคิดอย่างไร

➢ มูลค่าสิ่งปลูกสร้างก่อนหักค่าเสื่อมราคา = ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง = 6,500 x 100 = 650,000. ➢ ค่าเสื่อมราคาสิ่งปลูกสร้าง (กรณีนี้เป็นบ้านตึก ครึ่งไม้อายุ10 ปีค่าเสื่อมราคาร้อยละ 4 ต่อปี ค่าเสื่อมราคา = 650,000 x 4% = 26,000 บาท

ประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างยังไง

การคิดราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง.
ตรวจสอบจากบัญชีราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง ว่าสิ่งปลูกสร้างของท่านเป็นชนิดใด ราคาประเมินตารางเมตรละเท่าใด.
คำนวณพื้นที่สิ่งปลูกสร้างทั้งหมด(หากมีหลายชั้นต้องคิดทุกชั้น) ... .
นำพื้นที่ทั้งหมด คูณด้วย ราคาประเมิน ... .
นำราคาประเมินที่ได้ไปหักค่าเสื่อมราคา.

สิ่งปลูกสร้างคิดค่าเสื่อมกี่ปี

จำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้องไม่น้อยกว่า 20 ปี ตาม

ภาษีสิ่งปลูกสร้าง คิดยังไง

การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะใช้คำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีแต่ละขั้น โดยใช้สูตรเบื้องต้น คือ มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง – มูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น = มูลค่าของฐานภาษี มูลค่าของฐานภาษี × อัตราภาษี = ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง