ค่าลิขสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่าย ไหม

วันที่เอกสาร

10 พฤศจิกายน 2548

เลขที่หนังสือ

กค 0706/9341

ข้อกฎหมาย

มาตรา 39 และมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

บริษัท ท. จำกัด ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ของการถ่ายทอดรายการแสดงทางโทรทัศน์
ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นนิติบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ (ประเทศเยอรมัน) กรณีการหักภาษี
ณ ที่จ่าย จะต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ที่จ่าย
ให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้อยู่ในประเทศไทยโดยให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของ
เงินได้ แต่ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และจากทุน
กำหนดให้กรณีการจ่ายลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ ระบุว่า
ให้หักในอัตราร้อยละ 5 ในข้อ 12 ค่าสิทธิ (2)(ก) ของความตกลงฯ จึงหารือว่า
1. การจ่ายค่าลิขสิทธิ์ การถ่ายทอดรายการแสดงทางโทรทัศน์ (LICENSE
FEE) ไปประเทศเยอรมัน ถือเป็นการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ศิลปะหรือ
วิทยาศาสตร์ ใช่หรือไม่
2. หากเป็นกรณีตาม 1. การจ่ายค่า LICENSE FEE ดังกล่าว ถือเป็น
มาตรฐานสำหรับการจ่ายค่า LICENSE FEE ให้กับผู้รับในต่างประเทศอื่นๆ ด้วยใช่
หรือไม่ เช่น จ่ายไปประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ หรืออิตาลี ฯลฯ
3. กรณีบริษัทฯ จ่ายค่า LICENSE FEE ไปประเทศเยอรมันต้องหักภาษี ณ ที่
จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ใช่หรือไม่ และกรณีการจ่ายไปประเทศอื่นจะหักภาษี ณ ที่
จ่าย ในอัตราเดียวกันหรือไม่

แนววินิจฉัย

กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดรายการแสดงทางโทรทัศน์
(LICENSE FEE) ไม่ถือว่าเป็นค่าตอบแทนเพื่อการใช้หรือสิทธิในการใช้ลิขสิทธิ์ใน
งานวรรณกรรม ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ใด ๆ ตามข้อ 12(2)(ก) แห่งความตกลง
ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อการเว้นการเก็บภาษี
ซ้อนฯ แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าว ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศเยอรมัน ซึ่งเข้า
ลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
หากผู้รับดังกล่าวไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย บริษัทฯ จึงมีหน้าที่
ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 70 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 12(2)(ข) แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทย
กับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ สำหรับกรณีการ
จ่ายค่าลิขสิทธิ์ข้างต้นไปยังนิติบุคคลในประเทศอื่น ก็ให้ปฏิบัติตามอนุสัญญาเพื่อ
การเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศนั้น ๆ หรือตามมาตรา 70
แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่ไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างกัน

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

29 มีนาคม 2560

ธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบัน ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความง่ายในการเริ่มต้นมากกว่า

อ่านต่อ »

ค่าลิขสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่าย ไหม

จดบริษัทแล้ว ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ?

เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแล้ว บริษัทย่อมมีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งนอกจากจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทอาจมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่า VAT เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่ผู้ประกอบการทำการเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ เพื่อนำส่งให้แก่กรมสรรพากร

เงินได้ประเภทที่ 3 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญาหรือค่า Goodwill และเงินรายปีอื่นๆ ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(3)1

อย่างไรก็ดี ถ้าคุณมีคู่สมรสที่จะแยกยื่นภาษีเองอยู่แล้ว คุณสามารถเลือกให้คู่สมรสนำเงินได้ประเภทนี้ของคุณไปยื่นเป็นรายได้ของเขาแทนก็ได้2

การหักค่าใช้จ่าย

เงินได้ประเภทที่ 3 นี้ มีเพียงค่าลิขสิทธิ์ ค่ากู๊ดวิลล์ และค่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Royalty) เท่านั้นที่หักค่าใช้จ่ายได้

เงินได้เหล่านี้จะหัก ค่าใช้จ่าย ได้วิธีเดียว คือ หักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน ฿100,000 หรือหักตามจริง3

รายได้ค่าใช้จ่ายที่หักได้
  • ค่าลิขสิทธิ์
  • ค่าสิทธิ์ในทรัพย์สินในปัญญา (Royalty)
  • ค่า Goodwill
หักแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน ฿100,000 หรือหักตามจริงเงินปีและเงินรายปีจากนิติกรรมหรือคำพิพากษาของศาล–

ดังนั้น วิธีคิดง่ายๆ คือ ทันทีที่เราได้รับค่าลิขสิทธิ์เกิน ฿200,000 คุณจะหักค่าใช้จ่าย ได้สูงสุดแค่ ฿100,000 เท่านั้น

ตัวอย่าง

ถ้าคุณมีเงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ตลอดท้ังปี ฿360,000 เมื่อกฎหมายอนุญาตให้คุณหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ได้เพียงทางเดียวเท่าน้ัน คุณจึงน่าจะหักค่าใช้จ่ายสำหรับค่าค่าลิขสิทธิ์ของคุณได้

฿360,000 x 50% = ฿180,000

แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดเพดานให้หักค่าใช้จ่ายสำหรับค่าลิขสิทธิ์ได้สูงสุดเพียง ฿100,000 ดังน้ัน เราจึงหักค่าใช้จ่ายสำหรับค่าค่าลิขสิทธิ์ได้

-฿180,000- ฿100,000 เท่าน้ัน

อะไรเป็นเงินได้ประเภทที่ 3 ได้บ้าง?

  • ค่าลิขสิทธิ์

ค่าลิขสิทธิ์ จะมาจากค่าตอบแทนหรือค่าจ้างจากงานเขียนคอลัมน์ บทประพันธ์ งานเพลง website โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือผลงานลิขสิทธิ์อื่นๆ ที่ผู้ว่าจ้างตกลงให้คุณเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อนุญาตให้ผู้ว่าจ้างใช้ประโยชน์

ค่าลิขสิทธิ์รวมถึงเงินได้จากการขายสินค้าดิจิตอลโดยให้โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป, เกมส์, วีดีโอ, รูปภาพ, ภาพยนต์, เพลง, มิวสิควีดีโอ ผ่านระบบ online เป็นต้น

แต่การโอนลิขสิทธิ์ให้แบบขายขาด หรือการขายสินค้าลิขสิทธิ์เหล่านี้เป็นของมีรูปร่าง เช่น ขายเป็นแผ่น หรือขายหนังสือหรือพิมพ์หนังสือขายเอง ไม่นับเป็นค่าลิขสิทธิ์แต่เป็น เงินได้ประเภทที่ 84

  • ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญา (Royalty)

นอกจากค่าลิขสิทธิ์แล้ว เงินได้ประเภทที่ 3 ยังครอบคลุมถึงค่าแฟรนไชส์ (Franchise) หรือค่า Royalty ตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า know-how หรือสูตรลับต่างๆ (Licensing agreement)

แต่ค่า Royalty ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายทรัพย์สินทางปัญญาแบบขายขาด เช่น โอนกรรมสิทธิ์ในสิทธิบัตร

  • ค่า Goodwill

เงินได้ประเภทที่ 3 ยังครอบคลุมค่า Goodwill หรือชื่อเสียงทางการค้า (ค่าความนิยม)

  • เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์และเงินรายปีจากนิติกรรมหรือคำพิพากษาของศาล

เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์หรือเงินที่กำหนดกันเป็นเงินรายปีที่มาจากนิติกรรม หรือคำพิพากษาของศาล เช่น เงินปี (Annuity) ที่ไม่ได้มาจากพินัยกรรมหรือมรดก ค่าเลี้ยงดูรายปีเนื่องจากการหย่า ค่าตอบแทนจากการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของคุณ ค่าตอบแทนจากการให้คนอื่นเซ้งสิทธิการเช่าต่อจากคุณ ซึ่งรายได้กลุ่มนี้กฎหมายไม่อนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายได้

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

ในกรณีที่คุณอยู่ในประเทศไทยแล้วได้รับเงินจากการขาย LINE Creator Sticker จากประเทศญี่ปุ่น หลายคนมักเข้าใจผิดว่าต้องนำเงินก้อนนั้นมาเสียภาษีในไทยด้วย แต่ที่จริงแล้วโดยทั่วไปคุณไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินจากการขาย LINE Creator Sticker จากญี่ปุ่นมาเสียภาษีหรือแม้แต่ ยื่นภาษี ในไทยอีกแล้ว

เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นคู่สนธิสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ดังนั้นเมื่อคุณถูกหักภาษีที่ญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว สนธิสัญญาจึงช่วยยกเว้นให้คุณไม่ต้องเสียภาษีหรือยื่นภาษีในไทยอีก5


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 40(3) ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    ข้อ 2.2 หน้า 2-3 คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา (ฉบับที่ 2), www.rd.go.th

  3. ^

    มาตรา 42 ตรี ประมวลรัษฎากร, มาตรา 4 ทวิ พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502, พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 634) พ.ศ. 2560

  4. ^

    ภาษีค่าสิทธิ (2), สรรพากรสาส์น: http://sanpakornsarn.com

  5. ^

    ข้อ 3 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505, ข้อ 12.2 และ 12.3 อนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

    หักค่าลิขสิทธิ์กี่%

    เงินได้ประเภทที่ 3 นี้ มีเพียงค่าลิขสิทธิ์ ค่ากู๊ดวิลล์ และค่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Royalty) เท่านั้นที่หักค่าใช้จ่ายได้ เงินได้เหล่านี้จะหัก ค่าใช้จ่าย ได้วิธีเดียว คือ หักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน ฿100,000 หรือหักตามจริง

    ค่าลิขสิทธิ์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไหม

    ค่าสิทธิ (Royalty) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย

    ค่าลิขสิทธิ์ ยื่นภงด.อะไร

    1.2 .ง.ด.2 แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคล ที่จ่ายเงินได้ประเภท ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิต่างๆ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน เงินปันผล เป็นต้น โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ .ง.ด.2 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้น ...

    ค่าอะไรบ้างที่ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย

    สำหรับยอดเล็กๆ ที่ไม่ถึง 1,000 บาท เช่น จ้างทำรูป หรือนามบัตรเพียงครั้งเดียว ทางกรมสรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่! ยอดที่มีมูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ที่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพราะยอดทั้งปีเกิน 1,000 บาท