เรียน ป ว ช ดี ไหม

ปัจจุบันโลกของการเรียนรู้เปลี่ยนไปเยอะมาก แม้ว่าใบปริญญาจะยังสำคัญอยู่ แต่ก็ไม่ได้มากเท่าเมื่อ 10 ปีก่อนแล้ว หลายคนจบมาอย่างหนึ่ง อาจจะประสบความสำเร็จอีกอย่างหนึ่งก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังเป็นเครื่องหมายขั้นพื้นฐานที่ยังต้องมีอยู่ หลายคนอาจจะเรียนมาตามระบบ แต่หลายคนด้วยชีวิตไม่เหมือนกัน พื้นฐานครอบครัว ความพร้อม เศรษฐกิจ ฯลฯ จึงทำให้ต้องหันไปเรียน กศน. แทน ถามว่า จบ กศน. ไปต่อที่ไหนดี

กศน. ต่อ มหาวิทยาลัย

กรณีแรก หากเราเรียน กศน. จนจบระดับขั้นการศึกษามัธยมปลาย ต้องบอกก่อนว่าเราจะมีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนกับคนที่จบวุฒิ ม.6 ที่เรียนกันในระบบโรงเรียนทุกประการ เราสามารถเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้หมด ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน ตามสาขาวิชา คณะที่เราต้องการจะศึกษาได้เลย อย่างหนึ่งต้องเตือนกันไว้ก่อน หากใครจะมาสายนี้เราต้องลงทะเบียนสอบ O-net ประจำปีเหมือนกับเด็ก ม.6 ทั่วไปด้วย รวมถึงการลงทะเบียนสอบ Gat/Pat ด้วย หากไม่ได้สอบสนามใดสนามหนึ่งมันก็ไม่สามารถยื่นคะแนนได้ แต่หากเราจะไปมหาวิทยาลัยเปิดแบบ ม.ราม , มสธ. อันนี้ก็ตรงดิ่งไปได้เลย

กศน. ต่อ ปวส.

กรณีที่สอง ถ้าเราไม่ได้สนใจการเรียนสายสามัญ แต่อยากไปสายอาชีพมากกว่า ถามว่าเราจะสามารถนำวุฒิ กศน. ไปยื่นได้หรือไม่ คำตอบก็ได้เหมือนเดิม ต้องบอกก่อนว่า วุฒิ ม.6 จาก กศน. หากให้เทียบก็จะประมาณวุฒิ ปวช. ของฝั่งสายอาชีพ หากเราจบก็เทียบเท่ากับ จบ ปวช.(ในด้านวุฒิ) เราสามารถไปต่อวุฒิ ปวส. ได้เลยอีก 2 ปีก็จะสามารถเข้าสู่โลกของการทำงานได้ หรือ จบตรงนั้นไปแล้วจะขอต่อ ป.ตรี อีก 2 ปีเพื่อให้ความรู้แน่น และ ได้ใบปริญญามาด้วย ก็ทำได้เหมือนกัน แต่จะมาสายนี้ต้องบอกไว้อย่างหนึ่งว่า หากเราเลือก ปวส. ที่มีความเฉพาะทางมากอย่างพวกช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เวลาไปเรียนช่วงแรกเราอาจจะตามคนที่เรียนมาทางนี้โดยตรงตั้งแต่ ปวช. ยากหน่อย ต้องอาศัยความขยันเข้าสู้

กศน. ต่อ งานราชการ

กรณีที่สาม หากเราอยากจะเปลี่ยนตัวเอง เข้าสู่โลกของทหาร วุฒิ ม.6 ก็สามารถสมัครได้เหมือนกัน อาจจะเบนเข็มไปยังทหารยศนายสิบ โรงเรียนนายสิบ ก็ทำได้ แต่บอกก่อนว่าใครจะเดินเส้นทางนี้ต้องอาศัยความอดทน ตั้งใจ เป็นที่ตั้งนะ เพราะกว่าเราจะสำเร็จได้ กว่าจะกรุยทางไปถึงในระดับที่สูงขึ้นได้ ไม่ง่ายเหมือนกัน แต่หากเราตั้งใจไว้แล้ว ก็เดินหน้าได้เลย อีกทางหนึ่งที่ไปได้เหมือนกันก็คือ งานราชการ ในตำแหน่งลูกจ้าง ของหน่วยงานภาครัฐเราก็สามารถใช้วุฒิ ม.6 จาก กศน. ไปได้เหมือนกัน

ช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามสนับสนุนและส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจกับการเรียนสายอาชีพมากขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากเพราะการเปิด AEC ที่ทำให้มีสาขาอาชีพสามารถทำงานอย่างเสรีในประชาคมอาเซียน ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก การสำรวจ บัญชี พยาบาล ทันตแพทย์ แพทย์ และกลุ่มอาชีพด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ซึ่งถ้ามาเจาะลึกดูแล้วจะเห็นว่า ในบรรดาอาชีพเหล่านี้เพียง 3 อาชีพ คือ พยาบาล ทันตแพทย์ และแพทย์ ที่ต้องจบทางสายสามัญเท่านั้น

แต่ด้วยข้อมูลที่กล่าวมาก็ยังไม่อาจฟันธงได้ว่า การเรียนจบสายอาชีพกับสายสามัญ แบบไหนจะหางานได้ง่ายกว่ากัน? ลองมาดูความแตกต่างระหว่างคนที่เรียนจบสายอาชีพและสายสามัญกันเลยครับ ว่ามีความแตกต่างกันตรงไหน อย่างไร

                                           

สายอาชีพ

- มีหลักสูตรหลักคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้นๆ เมื่อเรียนจบก็นำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. เน้นความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น ผู้เรียนก็จะมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับสูงสุดเท่ากับการศึกษาสายสามัญคือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เช่น สาขาบัญชี สาขาการโรงแรม เป็นต้น

- ข้อดีของสายอาชีพคือ มีความรู้เฉพาะด้านแน่น ไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยก็สามารถทำงานได้เลย สอบราชการก็ได้

- ข้อเสียของสายอาชีพคือ มีข้อจำกัดในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยในบางสาขาวิชาหรือบางคณะ เช่น คณะสัตวแพทย์ฯ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ทั้งหมดนี้สายอาชีพไม่สามารถสมัครเรียนต่อได้

 

สายสามัญ

- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถครบทุกด้าน

- ข้อดีของสายสามัญคือ ความรู้พื้นฐานทั่วไปค่อนข้างแน่นกว่าสายอาชีพ เพราะเน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ สามารถเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือรัฐบาล มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ หรือกิจกรรมอื่นๆ มากกว่าสายอาชีพ

- ข้อเสียของสายสามัญคือ ความรู้เฉพาะด้านอาจไม่แน่นเท่าสายอาชีพ เรียนจบแค่ ม. 6 แล้วไม่ต่อปริญญาตรีจะหางานค่อนข้างยาก และไม่ค่อยมีประสบการณ์ในวิชาชีวิตการทำงานเท่าสายอาชีพ

 

จะเห็นว่าทั้งสายอาชีพและสายสามัญล้วนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่การจะได้งานดีๆ หรืออาชีพที่ตรงใจ ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมีความชำนาญหรือทักษะเฉพาะด้าน การพัฒนาตัวเองและใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ การมีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ที่สำคัญคือต้อง "รัก" ในอาชีพที่ทำ ก็จะยิ่งทำในสิ่งนั้นได้ดี

ไม่ว่าจะจบสายอาชีพหรือสายสามัญ ความมุ่งมั่นและตั้งใจจะสามารถสร้างความโดดเด่น และเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดสำหรับทุกบริษัทที่ต้องการคนทำงานคุณภาพมาร่วมงานด้วย

วุฒิ ปวช เทียบเท่าอะไร

ปวช. ย่อมาจาก หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ผู้ที่จบจากสถาบันอาชีวศึกษาต่าง ๆ หรือการเรียนสายอาชีพ จบ ปวช. 3 ได้วุฒิการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ จะเทียบเท่ากับ ม. 6 ในโรงเรียนสามัญ น้อง ๆ ใช้วุฒิ ปวช. ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยได้

จบปวช.ต่อมหาลัยไหนได้บ้าง

ตัวอย่างมหาวิทยาลัย โครงการที่เปิดรับวุฒิ ปวช. หรือเทียบเท่า.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยพะเยา.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

จบปวชทำงานได้ไหม

ใครที่ไม่อยากเรียนต่อตรงสายในวุฒิ ปวส. หรือลุยต่อในระดับมหาวิทยาลัย อยากลงสนามทำงานก็สามารถทำได้ เพราะวุฒิ ปวช. สามารถสมัครเข้าทำงานได้หลายประเภท เช่น พนักงานขาย งานด้านบัญชี ดูแลงานด้านโรงแรม พนักงานในธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นต้น หลายอาชีพเปิดโอกาสรองรับอยู่มากมาย ใครสนใจก็เลือกได้ตามความถนัด

ปวช. กับม.4 ต่างกันยังไง

อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าทั้ง 2 สายไม่ว่าจะเป็น .ปลาย หรือ ปวช. ก็มีเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ แต่ก็มีการเน้นรูปแบบการเรียนที่ต่างกัน อย่าง ปวช. จะเน้นที่การปฏิบัติจริง ทำจริง เพราะเป็นสายอาชีพ ฝึกทำในสิ่งที่เราเรียนเพื่อเอาไปประกอบอาชีพในอนาคตเลย ส่วน .ปลาย เน้นเรียนทฤษฎีมากกว่าเพราะต้องใช้ความรู้ที่เรียนมาเพื่อสอบ ...