คดีทําร้ายร่างกาย

หน้าแรก > บทความกฎหมาย > ข้อแตกต่างระหว่างทำร้ายร่างกายผู้อื่น กรณีที่เป็นอันตราย และ กรณีไม่เป็นอันตราย

ข้อแตกต่างระหว่างทำร้ายร่างกายผู้อื่น กรณีที่เป็นอันตราย และ กรณีไม่เป็นอันตราย

  • คดีทําร้ายร่างกาย

          ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป   แม้ว่าการศึกษา ความรู้ สติปัญญา ยังไม่นำมาช่วยตัดสินปัญหา แต่ใช้กำลังตัดสินปัญหาแทนด้วยอารมณ์โมโหในขณะนั้น สุดท้ายก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมา มีแต่ทำให้แย่ลง สำหรับบางคนนั้นมีการสำนึกผิด ขอโทษ ก็เป็นสิ่งดีแต่อาจจะดูเหมือนวัวหายแล้วล้อมคอกไปบ้าง แต่ยังส่อเจตนาที่สำนึกผิด แต่กลับบางคนนั้นทำผิดแล้วยังไม่ขอโทษ ไม่สำนึกผิด และไม่แก้ไขปัญหา เย่อหยิ่งในตัวเอง สุดท้ายมีการดำเนินคดีนั้น เรื่องสำนึกผิดนั้นก็เป็นเรื่องที่ศาลนำมาประกอบการพิจารณารอการลงโทษนะครับ คิดให้ดีว่าสิ่งที่ได้มาคือสะใจ กับสิ่งที่เสียไปคืออิสรภาพหากมีโทษจำคุก เงินทอง เวลา อนาคตในการรับราชการ อื่นๆมากมาย

          เพราะฉะนั้นแล้ว ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหาไม่ดีครับ อย่าห้าวเลย!

          การทำร้ายร่างกายนั้นมีหลายมาตราที่กำหนดโทษเอาไว้ และมีอัตราโทษแตกต่างกันไป สำหรับบทความนี้ขอยกตัวอย่าง 2 กรณี คือ

          1. กรณีที่เป็นอันตราย ตามมาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

          - แผลแตก มีโลหิตไหล หรือฟันหักด้วย ถือว่ามาตรา 295 (เป็นอันตราย) ดู ฎ.3089/2541

          2. กรณีไม่เป็นอันตราย ตามมาตรา มาตรา 391  ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          - เป็นเพียงแผลรอยถลอก ขีดข่วน รอยช้ำบวม รอยช้ำแดง รักษาไม่กี่วันหาย ถือว่ามาตรา 391 (ไม่เป็นอันตราย)  ฎ.440/2530 , 692/2535 , 370/2536 , 2192/2539

           ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2530 

          จำเลยเพียงแต่ใช้มือตบตี และใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกขว้างผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏว่าไม้ไผ่ดังกล่าวมีขนาดใหญ่เล็กเพียงใด บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับก็เป็นเพียงรอยถลอกไม่มีโลหิตไหล อีกแห่งหนึ่งเพียงแต่บวมเมื่อกดตรงที่บวมจึงเจ็บและจะรักษาหายได้ในเวลาประมาณ 5 วัน ซึ่งเป็นเพียงการคาดคะเนของแพทย์ความจริงอาจจะหายเป็นปกติภายในเวลาไม่ถึงกำหนดที่กะประมาณไว้ก็ได้ จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391เท่านั้น

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

Visitors: 549,054

  • 28 ต.ค. 2563
  • 69.3k

จากกรณีข่าวป้าตบรักเรียน เหตุที่ไม่ยืนเคารพธงชาติ กลายเป็นขกระแสในโซเชียลที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าไม่สมควร และ ไม่มีสิทธ์ไปทำร้ายคนอื่น .

ต่อมาผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้พาป้า มาพบกับผู้ปกครองของนักเรียนที่ถูกร้ายและปรับความเข้าใจพร้อมขอโทษแล้ว ด้านผู้ปกครองก็กล่าวว่าไม่ได้ติดใจอะไรเรื่องคดีขอให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าจะดำเนินคดีอย่างไรต่อไป
อ่านข่าว : ป้าตบนักเรียนเข้ามอบตัวตำรวจ ขอโทษทำไปเพราะอารมณ์ชั่ววูบ

คดีทําร้ายร่างกาย

ล่าสุดเพจทนายคู่ใจ "ทนายรณรงค์" ได้ออกมาโพสต์เตือน!! และแนะถึงข้อกฎหมาย การทำร้ายร่างกาย ที่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่จ่ายค่าปรับเรื่องก็จบ แต่อาจจะได้ไปจบที่ศาลหรือคุก!! โดยทางเพจได้ระบุข้อความไว้ดังนี้...
ตบตี ทำร้ายร่างกาย ลงไม้ลงมือ เดี๋ยวนี้ไม่ได้ปรับ 500 แล้วนะจ๊ะ #ใครที่ยังมีความเชื่อที่ว่า ตบแล้วจบที่ปรับ 500 บาทคิดใหม่ได้นะ
ณ เวลานี้โทษตามกฎหมายจำคุกสูงถึง 1 เดือน ปรับสูงสุด 1 หมื่นบาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คดีทําร้ายร่างกาย


แต่ถ้าถึงขั้นเลือดตกยางออก บาดเจ็บสาหัส แต่ไม่ตาย มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ กรณีที่ทะเลาะวิวาทตบตีกัน และมีการถอดเสื้อผ้า ก็ผิดกฎหมายอาญามาตรา 278 ผู้ใดกระทำอนาจาร โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ไม่สามารถขัดขืนได้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับประมวลกฎหมายอาญา

คดีทําร้ายร่างกาย

มาตรา 278 ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 295ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 372 ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 391ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ #ตบ #ทำร้ายร่างกาย #ทนายคู่ใจ