เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

รถยนต์สมัยใหม่ในตลาด ส่วนใหญ่เป็นเกียร์อัตโนมัติ ไม่นับรวมพวกรถที่ใช้บรรทุกของทั่วไป อาจมีบ้างที่ใช้เกียร์ออโต้ก็เพื่อความสะดวกสบาย แต่สิ่งที่หลายๆ คนอาจยังหลงลืมและเข้าใจผิดในเรื่องการใช้งานรถยนต์เกียร์ "ออโต้" จนกลายเป็นความเคยชิน ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบเกียร์นั้น "พัง" หรือ "สมรรถนะด้อยลงไป" มาดูว่ามีอะไรบ้าง

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

1. เข้าเกียร์พร้อมออกตัวโดยไม่เหยียบเบรค
การเข้าเกียร์ตำแหน่งเดินหน้าหรือถอยหลังนั้น ตามหลักการใช้งานที่ถูกต้องควรจะเหยียบเบรคก่อนแล้วจึงดึงคันเกียร์ไปยังตำแหน่งต่างๆ เนื่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการ "กระตุก" เพราะจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบเกียร์สึกหรอเร็วขึ้น อายุการใช้งานสั้นลง และเป็นการป้องกันรถไหลไปโดยไม่ตั้งใจอาจเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

2. เข้าเกียร์ว่างก่อนที่รถจะหยุดสนิท
การเข้าตำแหน่งเกียร์ "N" หรือเกียร์ว่าง นั้นควรปล่อยให้รถหยุดสนิทเสียก่อน มีหลายๆ คนเข้าใจว่าการเข้าเกียร์ว่างทั้งๆ ที่รถยังไหลอยู่จะช่วยประหยัดน้ำมัน เพราะรอบเครื่องยนต์จะต่ำลง แต่ความจริงนั้นไม่มีผลใดๆ เลย แถมส่งผลต่อระบบเกียร์อีกด้วย เพราะการเข้าเกียร์ว่างในขณะที่รถยังวิ่งอยู่นั้น ชิ้นส่วนที่เป็นระบบตัดต่อกำลังของเกียร์อัตโนมัติหรือทอร์คคอนเวอร์เตอร์จะเกิดความเสียหายได้ และหากมีเหตุต้องเร่งเครื่องยนต์กระทันหันก็ต้องเปลี่ยนเกียร์มาที่ตำแหน่ง "D" ซึ่งก็จะทำให้ชุดเกียร์เกิดความเสียหายได้เร็วขึ้น

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

3. เดินหน้า-ถอยหลังไม่จอดสนิท
การเปลี่ยนเกียร์โดยที่รถยังหยุดไม่สนิท เช่น ใส่เกียร์ถอยหลัง "R" ขณะรถยังไหลไปด้านหน้า ส่งผลให้ชุดขับเคลื่อนภายในเกียร์ถูกกระชากกลับทิศทางการหมุนอย่างรวดเร็วเกินไป หากทำเป็นประจำอายุการใช้งานก็จะลดลง

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

4. คิกดาวน์-เร่งอย่างรวดเร็ว
ระบบเกียร์อัตโนมัติถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลายสภาวะแม้ขณะเร่งแซงอย่างฉับพลับ เช่น การ "คิกดาวน์" หรือการเหยียบคันเร่งสุดเพื่อต้องการแซงหรือขึ้นทางลาดชันเมื่อมีความจำเป็น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการ "สึกหรอ" ตามมา เพราะในแต่ละครั้งที่เร่งเครื่องยนต์อย่างแรงหรือลากรอบเครื่องยนต์สูงๆ ชุดฟันเฟืองต่างๆ ในเกียร์ก็จะหมุนด้วยความเร็วสูง จึงเกิดการเสียดสี ความร้อนสะสมสูงขึ้นกว่าปกติ ถ้าหากมีการคิกดาวน์บ่อยๆ ก็ยิ่งทำให้เกิดการสึกหรอเร็วขึ้นตามไปด้วย

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

5. เร่งเครื่องแล้วออกตัว
การออกตัวแรงด้วยการเร่งเครื่องยนต์ให้รอบสูงๆ ค้างเอาไว้แล้วใส่เกียร์ "D" เพื่อต้องการให้รถออกตัวได้อย่างรวดเร็ว นับว่าอันตรายสุดๆ เพราะว่าเป็นการทำให้ชุดเกียร์ถูกกระชากอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังส่งผลไปที่ชุดเพลาขับเคลื่อน ยางรองแท่นเครื่องยนต์และเกียร์ให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้นตามไปด้วย

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

ใครใช้รถเกียร์ออโต้อยู่ควรหลีกเลี่ยง 5 ข้อนี้ให้ดีนะครับ เพราะจะทำให้รถของคุณมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และที่สำคัญหมั่นตรวจเช็คระบบน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เสมอๆ จะได้ไม่ต้องควักกระเป๋าจ่าย "ค่ายกเกียร์ออโต้" ที่แพงจนหน้าซีดก่อนวัยอันควรครับ

หากสนใจอยากจะเป็นเจ้าของรถซักคัน สามารถขอสินเชื่อออนไลน์ได้ที่

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้
เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้
 

อย่าลืม!..คิดจะออกรถใหม่นึกถึงเรา ยื่นเรื่องง่าย อนุมัติไว วางใจ กรุงศรี ออโต้

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
กรุงศรี ออโต้ คอล เซ็นเตอร์ โทร. 0-2740-7400

รถยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันต่างหันมาใช้เป็นเกียร์อัตโนมัติกันหมด แทบทุกรุ่น ทุกยี่ห้อเลยก็ว่าได้ ซึ่งมือใหม่อย่างเรา หรือมือเก่าบางท่านอาจยังมีข้อสงสัยว่า ตำแหน่งต่างๆ คืออะไรของเกียร์อัตโนมัติ ใช้งานอย่างไรให้เหมาะสม? วันนี้ Mongkol Auto Services จึงทำบทความนี้เพื่อให้ความรู้กับเพื่อนๆ ไปอ่านกันเลยค่ะ

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

เกียร์อัตโนมัติในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ เกียร์อัตโนมัติแบบมีลำดับ และเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT ซึ่งในมุมการใช้งานของคนขับรถทั่วไปถือว่าไม่แตกต่างกันนัก เพราะยังคงใช้ตำแหน่งเกียร์ที่เหมือนกันอยู่ค่ะ

เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

ตำแหน่ง P – Parking

ตำแหน่งเกียร์ P นั้นจะอยู่ด้านบนสุดของแป้นเกียร์ ใช้สำหรับจอดรถเพื่อดับเครื่องยนต์ค่ะ ซึ่งความพิเศษของตำแหน่งเกียร์ P คือ..รถยนต์จะถูกเข้าสลักล็อคเกียร์ ทำให้รถไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ค่ะ ดังนั้น หากจำเป็นต้องจอดรถขวางทางคันอื่น ก็ไม่ควรใช้ตำแหน่งเกียร์ P เด็ดขาดนะคะ เพราะจะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเข็นรถขยับไปมาได้ค่ะ และหากจะเปลี่ยนไปเป็นเกียร์ R, N, D, L, และอื่นๆ ก็จะต้องเหยียบเบรก และกดปุ่มปลดล็อกที่หัวเกียร์ก่อนจึงจะสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ แต่หากเป็นรถที่ใช้แป้นเกียร์แบบขั้นบันได ก็จะใช้วิธีเหยียบเบรก แล้วผลักคันเกียร์ไปด้านข้างแทนนะคะ

R – Reverse

ตำแหน่งเกียร์ R ก็คือเกียร์ถอย เป็นเกียร์ลำดับที่ 2 ซึ่งใช้ในการถอยหลังนั้นเองค่ะ มีวิธีใช้ง่ายๆ ตามลำดับดังนี้ค่ะ 

  • เหยียบเบรค 
  • เข้าเกียร์ R 
  • เช็คความปลอดภัย มองกระจกข้าง ซ้าย-ขวา และกระจกหลังค่ะ
  • ค่อยๆ ปล่อยเบรคช้าๆ ค่ะ
  • ไม่จำเป็นต้องเหยียบคันเร่งนะคะ
  • ตัวรถจะถอยเองช้าๆ
  • เมื่อแน่ใจว่าปลอดภัยก็ถอยได้เลย ขอให้สนุกกับการถอยหลังนะคะ

N – Neutral

N ก็คือ เกียร์ว่าง ตัวรถจะไม่มีการส่งกำลังใดๆ จากเครื่องยนต์ แต่ไม่ควรใช้หยุดรถในพื้นที่ลาดชันนะคะ เพราะจะทำให้รถไหล และก่อให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งเป็นจุดแตกต่างระหว่างเกียร์ N และ P นั่นเองค่ะ

D – Drive

D เป็นตำแหน่งสำหรับเคลื่อนที่ไปด้านหน้า ซึ่งโดยปกติแล้ว เกียร์ D ถือว่าครอบคลุมการขับขี่ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะขับเร็วขับช้า รถจะเปลี่ยนเกียร์ให้เราโดยอัตโนมัติ และหากคุณเป็นมือใหม่หัดขับ หรือถึงขับขี่ปกติทั่วไป การใช้ตำแหน่งเกียร์ D อย่างเดียวก็เพียงพอต่อการเดินทางทั่วไปแล้วค่ะ 

แต่สำหรับรถบางรุ่นที่มีตำแหน่งเป็นตัวเลข เช่น 2, 3 และ 4 หรือ มีอักษร D ควบคู่ เช่น D2, D3 และ D ซึ่งตำแหน่งเกียร์แบบนี้หมายถึงอัตราทดสูงสุดที่ยอมให้เกียร์ทด เช่น ตำแหน่ง 2 หมายถึง รถจะใช้เพียงเกียร์ 1-2 เท่านั้นค่ะ เช่นเดียวกับตำแหน่งเกียร์ 4 รถจะใช้เกียร์ 1-4 เป็นต้นค่ะ

L – LOW

ตำแหน่งเกียร์ L หรือ เกียร์ 1 ซึ่งรถจะไม่มีการปรับอัตราทดใดๆ เหมาะที่จะใช้ขับช้าๆ ในกรณีขับขึ้น-ลงทางลาดชัน เช่น ลานจอดรถ ขึ้น-ลงเขา หรือเวลาที่ต้องการแรงเบรกจากเครื่องยนต์ (แต่ไม่ใช้กรณีที่รถขับมาเร็วๆ แล้วเปลี่ยนมาเป็น L ทันทีนะคะ

S – Sport

รถยนต์หลากหลายรุ่นจะมีปุ่ม Sport มาให้ บางคันอาจใช้เป็นหนึ่งในตำแหน่งเกียร์ แทนที่ด้วยสัญลักษณ์ S ซึ่งโหมดสปอร์ตเหมาะกับการใช้สำหรับเร่งแซง หรือขับขึ้นเขา มีตอบสนองอัตราเร่งได้ดี เกียร์จะเปลี่ยนช้าลง ได้รอบที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่ควรใช้โหมด Sport ขณะขับขี่ทางไกลด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำเกียร์ทำงานหนัก และสิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุค่ะ

M – Manual

ตำแหน่ง M หมายถึงโหมดการขับขี่แบบเกียร์ธรรมดา โดยจะใช้การผลักคันเกียร์ตำแหน่ง + หรือ – ในการเปลี่ยนอัตราทดด้วยตัวเองค่ะ แต่หากลดความเร็วลงมาจนต่ำกว่าระดับความเร็วของเกียร์นั้นๆ เกียร์จะปรับลดเกียร์ให้อัตโนมัติค่ะ

ซึ่งความรู้ที่เรานำมาฝากนั้นเป็นพื้นฐานในการขับขี่เกียร์อัตโนมัติ เพื่อนๆ มือใหม่ที่มีรถอยู่แล้ว หรือกำลังจะมีรถเป็นของตัวเอง ก็ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หากเพื่อนๆ รู้จักการทำงานของตำแหน่งเกียร์แต่ละตำแหน่งต่างๆ ก็จะช่วยให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกมากขึ้น และเพิ่มความมั่นใจก่อนการใช้งานจริง ส่วนใครที่เซียนอยู่แล้ว อย่าลืมใช้งานให้ถูกวิธีด้วยนะคะ จะได้ยืดอายุเกียร์ให้สามารถขับเคลื่อนไปกับเราได้อีกยาวๆ ค่ะ