ข้อสอบระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร 2554


ข้อสอบ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 พร้อมเฉย 32 ข้อ

บทนำ

หลายท่านที่มีความไฝ่ฝันสอบติดราชการ หรือต้องการทำงานข้าราชการ รวมทั้งผู้เขียนเอง จึงเริ่มศึกษาและติดตามข่าวสารของหน่วยงานราชการหลายแห่งที่เปิดรับสมัคร และเริ่มอ่านหนังสือ รวมทั้งติดตามบุคคลที่เคยสอบติดราชการ  ทางผู้เขียนจึงนำแนวข้อสอบมาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจสอบราชการ ตำแหน่ง นักวิชาการเงินบัญชี เกี่ยวกับ  "พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 พร้อมเฉย 32 ข้อ"

1.ให้ผู้ใดเป็นผู้รักษาตามระเบียบนี้

ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ค.รัฐมนตรีกลาโหม

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

2.ข้อใดไม่ คือ การบริหารกรุงเทพมหานคร

ก.ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร

4.อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละกี่ปี  นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

ก.กำหนดคราวละหนึ่งปี

ข. กำหนดคราวละสองปี

ค.กำหนดคราวละสามปี

ง.กำหนดคราวละสี่ปี

ตอบ ง.กำหนดคราวละสี่ปี

5.เมื่ออายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในกี่วันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง

ก.ภายในสี่สิบห้าวัน

ข. ภายในหกสิบวัน

ค.ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ง.ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ ข. ภายในหกสิบวัน

ข้อสอบระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร 2554

6.เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามอายุ ของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ภายในกำหนดเวลากี่วัน

ก.ภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน

ข. ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ค.ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยหกสิบวัน

ง.ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ตอบ ก.ภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน

7.ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภา กรุงเทพมหานครหนึ่งคนและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินกี่คน โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับ เลือก

ก.ไม่เกินหนึ่งคน

ข. ไม่เกินสองคน

ค.ไม่เกินสามคน

ง.ไม่เกินสี่คน

ตอบ ข. ไม่เกินสองคน

มาตรา 25 ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภา กรุงเทพมหานครคนหนึ่งและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินสองคน โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภา กรุงเทพมหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา

8.ประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละกี่ปี

ก.คราวละหนึ่งปี

ข. คราวละสองปี

ค.คราวละสามปี

ง.คราวละสี่ปี

ตอบ ข. คราวละสองปี

9.ประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ ด้วยเหตุใดเหตุ

ก.ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

ข. ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และให้ มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก

ค.เมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อ เสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานคร

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.ถูกทุกข้อ

10 ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครกี่คน

ก. หนึ่งคน

ข. สองคน

ค.สามคน

ง.สี่คน

ตอบ ก. หนึ่งคน

มาตรา 28 ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน และเลขานุการรอง ประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภากรุงเทพมหานคร โดยประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง

11.สมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนดเวลากี่วัน

ก.กำหนดเวลาสามสิบวัน

ข. กำหนดเวลาสี่สิบห้าวัน

ค.กำหนดเวลาหกสิบวัน

ง.กำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ตอบ ก.กำหนดเวลาสามสิบวัน

12.การประชุมสภากรุงเทพมหานครทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าเท่าใด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ก.ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

ข. ต้องมีสมาชิกมาประชุมมากกว่ากึ่งหนึ่ง

ค.ต้องมีสมาชิกมาประชุมเท่ากับกึ่งหนึ่ง

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ ก.ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

13.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ  “ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร”

ก.สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป

ข. การประชุมของสภากรุงเทพมหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนด ในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร

ค.สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.ถูกทุกข้อ

14.คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร ให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละกี่ปี

ก.มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี

ข. มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสามปี

ค.มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสี่ปี

ง.มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละห้าปี

ตอบ ก.มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี

มาตรา 42 คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร ให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี

คณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ ให้สิ้นสภาพไปหลังจากที่ได้ ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและเสนอรายงานต่อสภากรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว

15.ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในกี่วันนับแต่วันเลือกตั้ง

ก.ภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง

ข. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้ง

ค.ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง

ง.ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้ง

ตอบ ก.ภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง

มาตรา 48 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด ารงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง

16.ข้อใดคือ อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ก.กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย

ข. สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร

ค.วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.ถูกทุกข้อ

17.ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินกี่คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้

ก.ไม่เกินหนึ่งคน

ข. ไม่เกินสองคน

ค.ไม่เกินสามคน

ง.ไม่เกินสี่คน

ตอบ ง.ไม่เกินสี่คน

มาตรา 55 ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินสี่คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครจัดไว้ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครตามที่ผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย

18.ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เลขานุการประธานสภา กรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา เป็นข้าราชการ การเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบใด

ก.ระเบียบข้าราชการเมือง

ข. ระเบียบข้าราชการการการเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น

ค.ระเบียบข้าราชการการกรุงเทพมหานคร

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ก.ระเบียบข้าราชการการเมือง

19.ข้อใดไม่ใช่ “การจัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร”

ก.สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร

ข. สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นส านัก

ค.สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ง.สำนักงานท้องถิ่น

ตอบ   ง.สำนักงานท้องถิ่น

มาตรา 60 ให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้

(1) ส านักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร

(2) ส านักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

(3) ส านักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

(4) ส านักปลัดกรุงเทพมหานคร

(5) ส านักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นส านัก

(6) ส านักงานเขต

20.อายุของสภาเขตมีกำหนดคราวละกี่ปี นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต

ก.คราวละหนึ่งปี

ข. คราวละสองปี

ค.คราวละสามปี

ง.คราวละสี่ปี

ตอบ ง.คราวละสี่ปี

21.ประธานสภาเขต และรองประธานสภาเขตดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละกี่ปี

ก.คราวละหนึ่งปี

ข. คราวละสองปี

ค.คราวละสามปี

ง.คราวละสี่ปี

ตอบ ก.คราวละหนึ่งปี

22.ให้สภาเขตกำหนดให้มีการประชุมสภาเขตอย่างน้อยเดือนละกี่ครั้ง

ก.อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง

ข. อย่างน้อยเดือนละสองครั้ง

ค.อย่างน้อยเดือนละสามครั้ง

ง.อย่างน้อยเดือนละสี่ครั้ง

ตอบ ก.อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง

23.ข้อใดไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของสภาเขต

ก.ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ

ข. ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขการ บริการประชาชนภายในเขต

ค.การสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครมอบหมาย

ง.จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย

ตอบ ค.การสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครมอบหมาย

มาตรา 79 ให้สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อ านวยการเขตและสภา กรุงเทพมหานคร

(2) จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย

(3) สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ ราษฎร

(4) ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขการ บริการประชาชนภายในเขต หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ ให้สภาเขต แจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป

(5) ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ

(6) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อัน เกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น

(7) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขตตามความเหมาะสม ซึ่งการใช้จ่าย งบประมาณดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจัดสรรจากสภาเขตตาม (2)

24.ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการ ในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องใด

ก. การทะเบียนตามที่กฎหมายก าหนด

ข. การผังเมือง

ค.การขนส่ง

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

มาตรา 89 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น ให้กรุงเทพมหานครมีอ านาจหน้าที่ดำเนินกิจการ ในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และ ตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอ านาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

(2) การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด

(3) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(4) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(5) การผังเมือง

(6) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

(7) การวิศวกรรมจราจร

(8) การขนส่ง

(9) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ

(10) การดูแลรักษาที่สาธารณะ

(11) การควบคุมอาคาร

(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(14) การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  (14 ทวิ) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(15) การสาธารณูปโภค

(16) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

(17) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

(18) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

(19) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

(20) การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ

(21) การจัดการศึกษา

(22) การสาธารณูปการ

(23) การสังคมสงเคราะห์

(24) การส่งเสริมการกีฬา

(25) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ

(26) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (27) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เทศบาลนคร หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบหมาย หรือที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

25.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้” เมื่อ

ก.การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร

ข. ได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร

ค.ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ ง.ถูกทุกข้อ

มาตรา 93 กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้เมื่อ

(1) การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร

(2) ได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร

(3) ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี

26.ในกรณีจำเป็น กรุงเทพมหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการ ซึ่งอยู่ใน อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทน กรุงเทพมหานครได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร

ก.สภากรุงเทพมหานคร

ข. รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย

ค.ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ง. ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ข.

ตอบ  ง. ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ข.

27.ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็ ต่อเมื่อมีคำรับรองจากใคร

ก.รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย

ข. สภากรุงเทพมหานคร

ค.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ง.คณะกรรมการกรุงเทพมหานคร

ตอบ   ค.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

28.ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษาป้าย อากรการฆ่าสัตว์ และ ผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นรายได้ของใคร

ก.เป็นรายได้แผ่นดิน

ข. เป็นรายได้ของประชาชน

ค.เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร

ง.เป็นรายได้ของผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ตอบ ค.เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร

มาตรา 109 ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษาป้าย อากรการฆ่าสัตว์ และ ผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บเป็นรายได้ของ กรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

29.ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจ ออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งสถาน การค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่ายได้ไม่เกินกี่บาท

ก.ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์

ข. ไม่เกินลิตรละสิบสตางค์

ค.ไม่เกินลิตรละสิบห้าสตางค์

ง.ไม่เกินลิตรละยี่สิบห้าสตางค์

ตอบ ก.ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์

มาตรา 111 ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งสถาน การค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่ายได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์ ราคาขายปลีกที่สูงเพิ่มขึ้นไม่เกิน จำนวนภาษีที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและ ป้องกันการผูกขาด

30.ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อใด

ก.ตามประมวลรัษฎากร

ข.ตามระเบียบที่ผู้ว่ากรุงเทพมหานครกำหนด

ค.ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด

ง.ถูกทุกข้อ

ตอบ  ก.ตามประมวลรัษฎากร

31. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ “ รายได้ของกรุงเทพมหานคร “

ก.รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร

ข. รายได้จากประชาชนที่อาศัยอยู่กรุงเทพมหานคร

ค.รายได้จากการสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร

ง.รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร

ตอบ ข. รายได้จากประชาชนที่อาศัยอยู่กรุงเทพมหานคร

32.ใครเป็นผู้ตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในกรุงเทพมหานคร

ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตั้งให้โดยตรง

ข. ผู้ว่ากรุงเทพมหานครตั้งให้โดยตรง

ค.รัฐบาลตั้งให้ กรุงเทพมหานครโดยตรง

ง.ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ ค.รัฐบาลตั้งให้ กรุงเทพมหานครโดยตรง

มาตรา 122 การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในกรุงเทพมหานคร ให้รัฐบาลตั้งให้ กรุงเทพมหานครโดยตรง

บทสรุป

แนวข้อสอบนี้จะช่วยให้ผู้ที่สนใจสอบราชการในตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี ได้อ่านเป็นแนวทาง ในการสอบราชการ

รวบรวมสาระสำคัญ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

อัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !