ธนาคารที่คุ้มครองเงินฝากเกิน 1 ล้าน

ช่วงนี้ใครที่มีเงินฝากธนาคารเกิน 1 ล้านบาท อาจจะรู้สึกเป็นกังวลกันอยู่บ้าง เนื่องจากสมาคมคุ้มครองเงินฝากได้ประกาศลด วงเงินคุ้มครองเงินฝาก เหลือ 1 ล้านบาท จากปกติวงเงินคุ้มครองเงินฝากอยู่ที่ 5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ผู้ฝากเงินควรรู้เพื่อเตรียมวางแผนไว้ให้พร้อมสำหรับการฝากเงินในอนาคต หรือผู้ที่มีเงินฝากในธนาคารมากกว่า 1 ล้านบาท อยู่แล้ว อาจจะต้องปรับแผนการฝากเงินใหม่อีกด้วย

ใครบ้างที่ได้รับความคุ้มครอง

สิ่งที่ผู้ฝากเงินควรรู้ก็คือ ผู้ฝากเงินทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จะได้รับความคุ้มครองนี้ทันทีที่เปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินตามกฎหมาย โดยที่ไม่ต้องดำเนินการใดๆ และไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองโดยการคุ้มครองเงินฝากนี้จะเป็นในลักษณะ 1 ผู้ฝาก ต่อ 1 ธนาคาร

ส่วนชาวต่างชาติ จะได้รับการคุ้มครองต่อเมื่อเป็นบัญชีเงินฝากภายในประเทศที่เป็นเงินบาท เว้นแต่เป็นเงินฝากใน “บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ” ซึ่งรูปแบบการฝากเงินที่ได้รับความคุ้มครองได้แก่

  • เงินฝากกระแสรายวัน
  • เงินฝากออมทรัพย์
  • เงินฝากประจำ
  • บัตรเงินฝาก
  • ใบรับฝากเงิน

แต่ถ้าหากเงินฝากอยู่ในประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เงินลงทุนในตราสารต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หน่วยลงทุน (SSF, RMF) เงินฝากในสหกรณ์ แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน เงินอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ประกันประเภทออมทรัพย์ ที่ออกโดยบริษัทประกัน จะไม่ได้รับความคุ้มครองนี้

ธนาคารไหนที่ผู้ฝากเงินได้รับความคุ้มครองบ้าง

สถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครองมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 35 สถาบัน ซึ่งสามารถแยกประเภทได้ดังนี้

  • ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)
  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  9. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  10. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  11. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
  12. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
  13. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  14. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
  15. ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  16. ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  17. ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  18. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  19. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
  1. ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
  2. ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  3. ธนาคารซิตี้แบงก์
  4. ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
  5. ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
  6. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  7. ธนาคารดอยซ์แบงก์
  8. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
  9. ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
  10. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
  11. ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์
  • บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)  
  1. บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)  
  1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
  2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
  3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด

(ข้อมูลจาก สถาบันคุ้มครองเงินฝาก)

คุ้มครองอย่างไร

วงเงินคุ้มครองเงินฝาก นี้มีลักษณะ 1 รายชื่อผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบัน ก็เท่ากับว่าหากผู้ฝากมีเงินอยู่หลายบัญชีในธนาคารเดียวกัน ทางธนาคารจะนับรวมยอดฝากทั้งหมดทุกบัญชีเป็นยอดเดียว แล้วคุ้มครองวงเงินฝากที่ 1 ล้านบาทต่อ 1 รายชื่อผู้ฝากเท่านั้น

ซึ่งอาจทำให้ผู้ฝากที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท เกิดความกังวลถึงความปลอดภัยหากสถาบันการเงินปิดกิจการ อาจใช้วิธีฝากไว้หลายๆ ธนาคารเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างทั่วถึง

และถ้าหากในอนาคตสถาบันการเงินที่ฝากเงินไว้เกิดปิดกิจการลง เราจะได้รับความคุ้มครองดังกล่าว โดยได้รับเงินฝากคืนภายใน 30 วัน ตามจำนานเงินฝากที่ฝากจริงสำหรับยอดเงินฝากที่ไม่ถึง 1 ล้านบาท และได้รับเงินฝากคืน 1 ล้านบาท สำหรับเงินฝากที่ยอดตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป  

PrevPreviousจดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ ไม่มีเงินสักบาทจดบริษัทได้หรือไม่

Nextรู้ก่อนวางแผน… ภาษีแม่ค้าออนไลน์ ยังไงให้เป๊ะ!Next

ธนาคารที่คุ้มครองเงินฝากเกิน 1 ล้าน

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน

สถาบันคุ้มครองเงินฝากปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท หมายความว่าอย่างไร? แล้วเราจะเอาเงินไปไว้ที่ไหนได้บ้างนอกจากการฝากเงินในธนาคาร? ใครที่กำลังมีข้อสงสัยนี้อยู่ บทความนี้จะตอบคำถามคาใจเหล่านั้นให้เอง

แต่ก่อนที่จะไปหาคำตอบเรามาทำความรู้จัก “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” กันก่อนว่าเขาเป็นใครและมีหน้าที่อะไร

สถาบันคุ้มครองเงินฝากคือใคร?

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี 2551 เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากเงินรายย่อยที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ในกรณีที่สถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองถูกปิดกิจการ ผู้ฝากเงินจะได้รับเงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างรวดเร็วภายใต้วงเงินและภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ส่วนเงินฝากที่มีจำนวนเกินวงเงินจ่ายคืนดังกล่าว จะได้รับคืนเพิ่มเติมจากการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ปิดกิจการ

หน้าที่หลักของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 

  1. คุ้มครองเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงิน โดยจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ฝากโดยเร็วเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการ
  2. เก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครอง เพื่อสะสมไว้เป็นกองทุนคุ้มครองเงินฝาก สำหรับใช้ในการจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ฝากเงินตามวงเงินและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หากสถาบันการเงินใดถูกปิด
  3. ชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกปิด และนำเงินที่ได้รับจากการชำระบัญชี จ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากในกรณีที่มีเงินฝากเกินวงเงินที่กำหนด

ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ บัตรเงินฝาก และใบรับฝากเงิน

ตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ที่ รายชื่อสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง

ธนาคารที่คุ้มครองเงินฝากเกิน 1 ล้าน

ที่มา: สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

ซึ่งล่าสุดสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากจาก 5 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน (ไม่ใช่ต่อ 1 บัญชี) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 2564 เป็นต้นไป

ขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เช่น 

คุณฝากเงินในธนาคาร A จำนวน 3,000,000 บาท และธนาคาร B อีกจำนวน 3,000,000 บาท (รวมกันทุกบัญชี) หากธนาคาร A และ B ปิดกิจการด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ทางสถาบันคุ้มครองเงินฝากเขาจะคืนเงินที่คุณฝากให้ธนาคารละ 1,000,000 บาท สรุปก็คือ 2 ธนาคารรวมกันได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากทั้งหมด 2,000,000 บาท ส่วนเงินฝากที่เกินวงเงินคุ้มครองอีก 4,000,000 บาท ก็ไปรอกันอีกทีหลังจากธนาคารขายสินทรัพย์ในการชำระบัญชีแล้ว (ตรงนี้สคฝ.ใช้คำว่า ‘มีโอกาส’ นั่นหมายความว่าไม่ได้คอนเฟิร์มว่าจะได้คืนนะ..)

เห็นแบบนี้แล้วหลาย ๆ คนคงตกใจไม่น้อย เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ธนาคารซึ่งเราฝากเงินปิดกิจการไป คนที่ฝากเงินเกิน 1,000,000 บาท ก็คงกลุ้มกันแน่ ๆ แล้วถ้ายิ่งฝากเงินไว้เกิน 1,000,000 บาทเยอะ ๆ ยิ่งแล้วใหญ่ คำถามคือ แล้วเราจะเอาเงินไปไว้ที่ไหนได้บ้างนอกจากการฝากเงินในธนาคาร? (แถมบางที่ก็อาจจะคาดหวังผลตอบแทนได้สูงกว่าดอกเบี้ยธนาคารเสียด้วย) อ่านต่อในหัวข้อถัดไปได้เลย

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อยแต่ต้องการรับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร ลักษณะการลงทุนในตราสารหนี้นั้นจะแสดงถึง “การกู้ยืม”  โดยผู้ถือตราสารหนี้จะมีสถานะเป็น ‘เจ้าหนี้’ หรือ ‘ผู้ให้กู้’ ส่วนผู้ออกตราสารหนี้จะมีสถานะเป็น ‘ลูกหนี้’ หรือ ‘ผู้กู้’ เราในฐานะที่เป็นผู้ให้กู้ก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของ “ดอกเบี้ย” จนกว่าจะครบกำหนดไถ่ถอนก็จะได้ “เงินต้น” คืนด้วย

ตราสารหนี้หากแบ่งตามประเภทผู้ออกจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 

  1. ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือ พันธบัตร (Government Bond) เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
  2. ตราสารหนี้ภาคเอกชน หรือ หุ้นกู้ (Corporate Bond) ซึ่งออกโดยบริษัทเอกชนต่าง ๆ เพื่อเป็นการระดุมทุน

อย่างไรก็ตาม ที่บอกไปว่าความเสี่ยงน้อยก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเลย ต้องระวังความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ด้วยหากซื้อหุ้นกู้เอกชน แนะนำว่าให้ตรวจสอบดี ๆ ว่าบริษัทที่เราจะซื้อหุ้นกู้นั้นมีความมั่นคงและสามารถชำระดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นคืนเราได้ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่

ส่วนผลตอบแทนเฉลี่ยของตราสารหนี้อยู่ที่ 2-5% ก็สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นมาหน่อย แต่ต้องดูให้ดีเพราะผลตอบแทนของตราสารหนี้บางทีก็แพ้อัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นควรนำอัตราเงินเฟ้อมาคำนวณด้วยว่าได้คุ้มเสียไหม

อ่านเพิ่มเติม ตราสารหนี้ คืออะไร? พร้อมเคล็ดลับการลงทุนตราสารหนี้ที่พลาดไม่ได้!

ทองคำ

“ทองคำ” เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวยมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน  การลงทุนในทองคำสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น ลงทุนทางตรงโดยการซื้อทองคำจากหน้าร้านเลยทั้งทองคำแท่งหรือรูปพรรณ ลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในทองคำ ลงทุนผ่านสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (Gold Futures) หรือจะเป็นการออมทองคำผ่านโบรกเกอร์ที่ให้บริการก็ได้เช่นกัน ทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องค่อนข้างสูงเนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย มีค่าความผันผวนต่ำกว่าสินทรัพย์เสี่ยงชนิดอื่นและมีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่นต่ำมาก จึงนิยมนำมากระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน

อ่านเพิ่มเติม 3 เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุนทองคำแท่ง

หุ้น

“ตราสารทุน” หรือ “หุ้น” คงเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่หลาย ๆ คนคุ้นหน้าคุ้นตากันแล้ว ลักษณะการลงทุนในหุ้นนั้นจะแสดงถึงการเป็น “เจ้าของกิจการ” หมายความว่าหากเราซื้อหุ้นตัวนั้น ๆ เราก็จะมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการนั่นเอง โดยจะมีสิทธิ์เท่าไรก็ตามสัดส่วนการถือครองเลย ซึ่งตรงนี้จะทำให้เรามีสิทธิ์ในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นด้วย

สำหรับผลตอบแทนที่ได้จากหุ้นจะเรียกว่า ‘ส่วนต่างราคา (Capital Gain)’ รวมไปถึง ‘เงินปันผล (Dividend Yield)’ ในกรณีที่บริษัทนั้น ๆ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลด้วย

ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นอยู่ที่ประมาณ 7.77% (ข้อมูลผลตอบแทนรวมตลาดหุ้นไทย (SET TRI) ย้อนหลัง 10 ปี l ที่มา:ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ณ วันที่ 31 มี.ค. 64) เยอะหน่อย แต่อย่าลืมว่าผลตอบแทนจากการลงทุนยอมแปรผันตรงกับความเสี่ยง หมายความว่ายิ่งผลตอบแทนสูงความเสี่ยงก็จะยิ่งมากขึ้นตามกันไป ควรศึกษาเบื้องลึกเบื้องหลังของหุ้นตัวนั้น ๆ ที่เราสนใจว่าธุรกิจเขาเป็นอย่างไร งบการเงินต่าง ๆ ก่อนลงทุน (เพราะดอยมันหนาวมาก)

กองทุนรวม

กองทุนรวมเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความน่าสนใจมาก เพราะเสน่ห์ของกองทุนรวมคือการที่นักลงทุนสามารถลงทุนในสินทรัพย์แบบที่เรียกได้ว่าเกือบครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งรวมถึงสินทรัพย์ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ ทองคำ หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ เรียกได้ว่ามัดรวมเกือบทุกสินทรัพย์ไว้ใน “กองทุนรวม” ที่เดียวจริง ๆ

อีกหนึ่งจุดเด่นของกองทุนรวมคือ แต่ละกองทุนจะมี “ผู้จัดการกองทุน” คอยบริหารดูแลเงินที่นักลงทุนระดมทุนมาลงทุน ซึ่งจะต่างกับการลงทุนในหุ้นรายตัวที่เราต้องมาศึกษาดูตัวเลขทางการเงินของบริษัทนั้น ๆ เอง  แต่การมีผู้จัดการกองทุนก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องศึกษาก่อนลงทุนในกองทุนรวมนะ ความเสี่ยงของกองทุนรวมนั้นจะขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน ดังนั้นควรศึกษานโยบายการลงทุนและความเสี่ยงต่าง ๆ รวมไปถึงค่าธรรมเนียมกองทุนก่อนลงทุน

ประเภทของกองทุนรวม

  • ความเสี่ยงระดับที่ 1: กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ ได้แก่ ตั๋วเงิน และตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี
  • ความเสี่ยงระดับที่ 2: กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ ได้แก่ ตั๋วเงิน และตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปีที่ลงทุนในต่างประเทศ
  • ความเสี่ยงระดับที่ 3: กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ที่มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • ความเสี่ยงระดับที่ 4: กองทุนรวมตราสารหนี้ ได้แก่ ตราสารหนี้ทั้งที่ออกโดยภาครัฐและเอกชน
  • ความเสี่ยงระดับที่ 5: กองทุนรวมผสม ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ รวมถึงสินทรัพย์อื่น ๆ
  • ความเสี่ยงระดับที่ 6: กองทุนรวมตราสารทุน เน้นลงทุนในหุ้นเป็นหลัก ทั้งหุ้นในประเทศและต่างประเทศ
  • ความเสี่ยงระดับที่ 7: กองทุนรวมตามหมวดอุตสาหกรรม ยังคงเป็นประเภทกองทุนที่ลงทุนในหุ้นแต่เจาะจงกลุ่มอุตสาหกรรมมากขึ้น เช่น กลุ่มพลังงาน กลุ่ม Healthcare 
  • ความเสี่ยงระดับที่ 8: กองทุนรวมทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมัน สินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ

สำหรับกองเด็ดของแต่ละประเภทกองทุน นักลงทุนสามารถเข้าไปดูได้ที่ FINNOMENA Pick ซึ่งเป็นกองทุนแนะนำจาก FINNOMENA ที่คัดสรรมาแล้วว่าเป็นกองทุนที่ทำผลงานได้ดีในกลุ่มสินทรัพย์นั้น ๆ (Best-In-Class) ที่มีมากกว่า 40 กลุ่มเลยทีเดียว

นอกจากนี้กองทุนยังสามารถ “ลดหย่อนภาษีได้” อีกด้วย โดยนักลงทุนสามารถลงทุนใน SSF หรือ RMF เพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษีสิ้นปีได้ ซึ่งความพิเศษนี้ทุกสินทรัพย์ที่กล่าวไปข้างต้นทำไม่ได้แต่ ‘กองทุนรวมทำได้’ ไม่ธรรมดาจริง ๆ

อ่านเพิ่มเติม ความรู้เกี่ยวกับ SSF และ RMF

สำหรับการซื้อขายกองทุนรวมก็สะดวกขึ้นเยอะ จากที่แต่ก่อนต้องวิ่งวุ่น ยื่นเอกสารปึกหนาตามธนาคารต่าง ๆ กว่าจะเสร็จเรื่องก็หมดวันแล้ว แต่ในปัจจุบันเราสามารถซื้อขายกองทุนรวมผ่านแอปพลิเคชันได้แล้ว ซึ่งแน่นอนว่า FINNOMENA ก็ตั้งใจตอบโจทย์นักลงทุนตรงนี้ โดยนักลงทุนสามารถทำธุรกรรมทุกอย่างได้ผ่านแอปพลิเคชันของ FINNOMENA ตั้งแต่การเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนที่ทำได้เองที่บ้าน ไม่ต้องส่งเอกสาร แถมอนุมัติรวดเร็วภายใน 1-2 วันทำการ ไปจนถึงการซื้อขายกองทุนรวมเลย ซึ่ง FINNOMENA ก็มีกองทุนกว่า 1,000 กองทุนจากทั้งหมด 19 บลจ.มาให้นักลงทุนได้เลือกกัน

อ่านเพิ่มเติม วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ FINNOMENA แบบ Step by Step

ใครที่เริ่มสนใจในกองทุนรวมบ้างแล้วและอยากรู้จักสินทรัพย์นี้ให้มากขึ้น เรามี E-Book ให้ดาวน์โหลดฟรี! เพียงแค่สมัครเป็นสมาชิกกับ FINNOMENA เท่านั้น

ดาวน์โหลดได้ที่ E-Book คัมภีร์มหากาพย์กองทุนรวม สำหรับมือใหม่ อ่านครบ จบที่เดียว

หากใครยังลังเลที่จะเปิดบัญชีลงทุนกองทุนรวมกับ FINNOMENA ลองสมัครสมาชิกและดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน FINNOMENA มาใช้งานดูก่อนก็ได้ ดาวน์โหลดฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้ง iOS และ Andriod หรือจะอ่านบทความที่แปะลิงก์ไว้ด้านล่างเพิ่มเติมก็ได้ว่าเราขนความพิเศษอะไรมาให้ลูกค้า FINNOMENA บ้าง ซึ่งรับประกันได้เลยว่าจัดหนักจัดเต็มมากจริง ๆ

อ่านเพิ่มเติม พาซื้อกองทุนรวมผ่าน FINNOMENA พร้อมความพิเศษต่าง ๆ ที่หาไม่ได้จากที่อื่น

ธนาคารที่คุ้มครองเงินฝากเกิน 1 ล้าน

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทั้งนักลงทุนมือใหม่และมือเก๋ากันทั่วหน้า อย่างไรก็ตาม ขอฝากทิ้งท้ายไว้ว่า การที่จะเริ่มลงทุนในสินทรัพย์ใด ๆ ควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจในสินทรัพย์นั้น ๆ ก่อนเสมอ หาเป้าหมายการลงทุนของคุณให้เจอ ลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะกับเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่คุณรับได้ ซึ่งนั่นจะทำให้การลงทุนของคุณมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น