ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ pdf

ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ pdf

ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์

โดย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เกี่ยวกับรายวิชา

                    รายวิชา 925-102 ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ (Introduction to Political Science) เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมในประเด็นที่สำคัญทั้งในเรื่องความหมาย ความสำคัญ ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎี ระเบียบวิธีทางรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์และความคิดทางการเมืองโดยสังเขป รัฐและระบบราชการ ความชอบธรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง พรรคการเมือง การเลือกตั้ง อุดมการณ์ทางการเมือง เผด็จการและเสรีประชาธิปไตย

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

LO1 : ผู้เรียนสามารถประมวลองค์ความรู้และวิเคราะห์ความคิดพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ได้
LO2 : ผู้เรียนสามารถสะท้อนคิดเชิงวิพากษ์ในประเด็นสาระสำคัญในทางรัฐศาสตร์ได้
LO3 :ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์อธิบายถึงประเด็นที่สำคัญในทางรัฐศาสตร์ และระบุแนวทางในการแก้ปัญหาสถานการณ์การเมืองทั้งของไทยและต่างประเทศได้
LO4 : ผู้เรียนสามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อการประยุกต์ใช้วิเคราะห์ถกอภิปรายกับปรากฏการณ์ในกทางการเมืองและประเด็นในทางรัฐศาสตร์ได้

ว่าด้วยความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ ประกอบด้วยสาระสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ความเข้าใจโดยทั่วไปทางรัฐศาสตร์ 2) ปรัชญาการเมือง 3) ทฤษฎีการเมือง 4) กฎหมายมหาชน 5) การเมืองการปกครอง 6) รัฐประศาสนศาสตร์ 7) การเมืองเปรียบเทียบ 8) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 9) การปกครองส่วนท้องถิ่น และ 10) รัฐศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 เหมาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาและบุคคลผู้สนใจทั่วไปในการทำความเข้าใจศาสตร์ว่าด้วยรัฐและการเมืองการปกครองในระดับพื้นฐาน

บทที่ 1 ความเข้าใจโดยทั่วไปทางรัฐศาสตร์
บทที่ 2 ปรัชญาการเมือง
บทที่ 3 ทฤษฎีการเมือง
บทที่ 4 กฎหมายมหาชน
บทที่ 5 การเมืองการปกครอง
บทที่ 6 รัฐประศาสนศาสตร์
บทที่ 7 การเมืองเปรียบเทียบ
บทที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
บทที่ 9 การปกครองส่วนท้องถิ่น
บทที่ 10 รัฐศาสตร์ในศตวรรษที่ 21

ภาคผนวก
ก. คำและแนวคิดทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญและควรรู้
ข. สถิติการทำรัฐประหาร 13 ครั้งในการเมืองไทย
ค. สถิติกบฎ 11 ครั้งในการเมืองไทย
ง. รัฐธรรมนูญ 20 ฉบับของไทย
จ. ภาพทำเนียบนายกรัฐมนตรีของไทย
ฉ. ตารางแสดงทำเนียบนายกรัฐมนตรีของไทย

ตำรา รัฐศาสตร์เบื้องต้น เล่มนี้ ข้าพเจ้าเรียบเรียงขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อใช้เป็นตำราหลักในการจัดการเรียนและการสอนสำหรับรายวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Political Science) โดยยึดกรอบตามคำอธิบายรายวิชาที่ว่า “ความหมาย ความเป็นมา และขอบข่ายของการศึกษารัฐศาสตร์ แนวคิดหลักในการศึกษาทางรัฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ลัทธิและอุดมการณ์ทางการเมือง ระบบการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ รัฐและระบบราชการ อำนาจหน้าที่ของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น” รายวิชาดังกล่าวนี้ข้าพเจ้ารับผิดชอบสอนในทุกภาคการศึกษาที่ 1 ของทุกปีการศึกษา โดยเริ่มรับผิดชอบสอนเมื่อปีการศึกษา 2558 เป็นต้นมาจวบจนกระทั่งปีการศึกษาปัจจุบัน

นอกจากตำราเล่มนี้จะเรียบเรียงขึ้นโดยวัตถุประสงค์หลักสำหรับจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ผู้เขียนมีเจตนาอีกประการหนึ่งคือมุ่งเผยแพร่และให้ความรู้ทางรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจอีกด้วย แม้ผู้เขียนจะตระหนักว่าตำราพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ในภาษาไทยจะมีอยู่ค่อนข้างมาก แต่การจัดทำตำรารัฐศาสตร์เบื้องต้นเล่มนี้ ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกในการศึกษาหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง ความหลากหลายของตำราและความแตกต่างในประเด็นและรายละเอียด กอปรกับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันย่อมช่วยเพิ่มพูนองค์ความรู้และมุมมองใหม่ๆ ให้ผู้อ่านได้ประเทืองปัญญาไม่มากก็น้อย

ข้าพเจ้าขอขอบคุณบรรดานักคิด นักเขียน นักวิชาการ นักปรัชญา และผู้รู้จำนวนมากทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่ผลิตผลงานให้คนแคระเช่นข้าพเจ้าได้มีโอกาสเหยียบบนไหล่ของยักษ์ ใช้เป็นแหล่งความรู้ในการค้นคว้า/ศึกษา/อ้างอิงและผลิตผลงานวิชาการชิ้นนี้ให้สำเร็จเสร็จสิ้นลงได้ ดังปรากฏในส่วนของการอ้างอิงของแต่ละบทและบรรณานุกรมท้ายเล่ม ท้ายสุดนี้ หากตำราเล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าในฐานะผู้เขียนขอน้อมรับทั้งคำติชมและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนา/ปรับปรุง/แก้ไขให้มีความถูกต้อง/ครบถ้วน/สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป