การปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน

  

วิธีดูแลตนเองหลังฉีดวัคซีน

เมื่อฉีดวัคซีนโควิด 19 เรียบร้อยแล้ว ควรปฏิบัติตามนี้

          1. สังเกตอาการประมาณ 30 นาที ในบริเวณที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่

          2. เมื่อกลับถึงบ้านให้สังเกตอาการของตัวเองและบันทึกความผิดปกติทุกอย่างที่พบหลังฉีดวัคซีนลงในแอปพลิเคชันหมอพร้อม โดยอาการที่อาจพบได้ คือ

          - อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไป เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเจ็บบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย แต่อาการเหล่านี้ไม่อันตราย จะดีขึ้นเองภายใน 1-2 วัน

          - ผลข้างเคียงรุนแรงจากการแพ้วัคซีน พบได้น้อย 1 ใน 100,000 โดส เช่น มีไข้สูง ใจสั่น หายใจไม่ออก มีผื่นขึ้นคล้ายลมพิษ มีอาการบวม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ซึ่งถ้ามีอาการเช่นนี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

เช็กอาการหลังฉีดวัคซีนโควิด แบบไหนหายเองได้ หรืออันตรายต้องรีบหาหมอ !

ฉีดวัคซีนโควิด
          3. ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากจนทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด หากไม่หายสามารถกินซ้ำได้อีกครั้ง แต่ควรห่างออกไป 6 ชั่วโมง หลังจากเม็ดแรก แต่ถ้ามีไข้สูงมาก ให้รีบกลับไปพบแพทย์ หรือโทร. 1669

          4. งดใช้แขนข้างที่ฉีด ไม่เกร็ง ไม่บีบนวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน ห้ามยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนัก ๆ อย่างน้อย 2 วัน หลังฉีดวัคซีน

          5. งดดื่มสุรา เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายใน 24 ชั่วโมง หลังฉีดวัคซีนโควิด เนื่องจากอาจส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย

          6. ควรงดสูบบุหรี่ หลังฉีดวัคซีน 24 ชั่วโมง หรือถ้าเป็นไปได้แนะนำให้เลิกบุหรี่ไปเลยจะดีที่สุด เพราะมีงานวิจัยพบว่า คนสูบบุหรี่ที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ขึ้นต่ำกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 40%

          7. ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ เพื่อให้หลอดเลือดขยาย ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น การขับถ่ายของเสียต่าง ๆ ในร่างกายก็จะดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากอาการไข้ หรือคลื่นไส้อาเจียน

          8. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึก เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

          9. หลังฉีดวัคซีนโควิด 3 วัน อาการข้างเคียงจะพบได้น้อยมาก ๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังควรสังเกตอาการให้ครบ 30 วัน นับจากวันที่ฉีดวัคซีน

ฉีดวัคซีนโควิด
          10. แม้จะฉีดวัคซีนแล้ว แต่ยังต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง และไม่ไปยังพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพราะยังมีโอกาสติดเชื้อได้อยู่นะคะ เพียงแต่วัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของอาการ และลดอัตราการเสียชีวิตลงไปได้เยอะ

          11. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงดี เพื่อเตรียมตัวรับวัคซีนโควิดเข็มที่ 2 โดยเว้นระยะห่างตามคำแนะนำของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ ดังนี้

                * วัคซีนซิโนแวค ฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มที่ 1 ประมาณ 21 วัน (2-4 สัปดาห์)

               * วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มที่ 1 ประมาณ 8-12 สัปดาห์

          12. หากจะฉีดวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ ให้เว้นระยะห่างจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 ประมาณ 2-4 สัปดาห์ เป็นต้นไป

          ฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้วก็ยังต้องดูแลตัวเองให้ดี ไม่ว่าจะด้านสุขภาพโดยรวม กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้มากกว่าเดิม รวมไปถึงการ Save ตัวเองจากโควิด 19 ก็ยังต้องทำกันต่อไป จนกว่าประเทศไทยจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งก็คือประชากรได้รับวัคซีน 70% ขึ้นไปนะคะ

ข่าว ณ. วันที่ 18 มิ.ย. 2564 เวลา 10.12 น. โดย คุณ นิตยา ศรีสุขสาม

การฉีดวัคซีน เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค ด้วยเชื้อโรคที่อ่อนแรง หรือ บางส่วนของเชื้อโรคที่มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้

เพราะฉะนั้น เมื่อได้รับวัคซีนแล้ว อาจมีอาการข้างเคียงบางอย่าง เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากร่างกาย มีปฏิกิริยาต่อวัคซีน ซึ่งโดยทั่วไป จะมีอาการไม่มาก และจะหายไปเอง

  • ถ้าท่านมีประวัติแพ้ยา หรือไข้ ให้แจ้งแพทย์ทุกครั้ง
  • การให้วัคซีน อาจมีอาการที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้ เช่น มีไข้ เจ็บ ปวด บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่ฉีด คล้ายกับการฉีดยาอื่น ๆ บางรายอาจมีอาการแพ้ เช่น เป็นลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกได้ (พบได้น้อย) ซึ่งต้องมาพบแพทย์ทันที
  • กรณีเกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด ถ้าอาการมาก อาจทานยาแก้ปวด และใช้ผ้าชุบน้าเย็นประคบ
  • กรณีเกิดตุ่มหนองหลังฉีดวัคซีน บี ซี จี การดูแลให้ใช้สำลีสะอาด ชุบน้ำต้มสุกเช็ด ห้ามบ่งหนอง
  • กรณีมีไข้ ไม่สบายตัว เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก อาจรับประทานยาแก้ปวด ลดไข้ได้ ทั้งหลังฉีด หรือรับประทานป้องกันไว้ ก่อนฉีดยาในครั้งต่อ ๆ มา
  • เกิดอาการมีไข้ ไอ มีน้ำมูก มีผื่น อาจพบหลังฉีดวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน ประมาณ 1 สัปดาห์
  • กรณีที่เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด หรือไอ สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ถ้ากำลังมีไข้สูง ควรเลื่อนการฉีด จนกว่าจะหายไข้ กรณีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรเลื่อนการฉีดไปจนกว่าจะหายดี
  • ในหญิงตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์
    (ยกเว้น วัคซีนป้องกันบาดทะยัก วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า)
  • ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ควรคุมกาเนิด อย่างน้อย 1 เดือน หลังฉีควัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน, วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส, วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ, วัคซีนวัณโรค (BCG), วัคซีน ไข้ไทฟอยด์ชนิดกิน
  • กรณีวัคซีนที่ต้องฉีดหลายเข็ม หากมีความจำเป็น อาจเลื่อนวันฉีดที่นัดไว้ได้ ยกเว้น วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าไม่ควรเลื่อน
  • โดยทั่วไป ภูมิคุ้มกันจะสร้างขึ้นถึงระดับป้องกันโรคได้ หลังจากฉีด 15 วัน


บทความที่เกี่ยวข้อง

  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับเรื่องที่ควรรู้
  • 4 คำถาม เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน

หลังฉีดวัคซีนโควิดควรปฏิบัติตัวอย่างไร

วิธีดูแลตนเองหลังฉีดวัคซีนโควิด 19. วิธีดูแลตนเองหลังฉีดวัคซีน.
สังเกตอาการประมาณ 30 นาที ในบริเวณที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่.
เมื่อกลับถึงบ้านให้สังเกตอาการของตัวเองและบันทึกความผิดปกติทุกอย่างที่พบหลังฉีดวัคซีนลงในแอปพลิเคชันหมอพร้อม โดยอาการที่อาจพบได้ คือ.

หลังจากฉีดวัคซีนห้ามอะไรบ้าง

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม รับประทานยารักษาโรคประจำตัวเดิมได้ตามปกติ งดกิจกรรมหรือออกกำลังกายหนักๆ อย่างน้อย 7 วัน

หลังฉีดวัคซีนโควิดออกกําลังกายได้ไหม

คำแนะนำในการออกกำลังกายหลังฉีดวัคซีน COVID-19 ไม่มีอาการข้างเคียง สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ โดยภายหลังจากการออกกำลังกายแนะนำประคบเย็นหรือเจลเย็น เพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงได้

อาการหลังฉีดวัคซีน กี่ชั่วโมง

หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรสังเกตอาการ 24 ชั่วโมงแรก หลังการฉีด แล้วควรสังเกตอาการหลังจากนั้น 7 วัน และอีกครั้งหลังจากนั้น 30 วัน หากสงสัยว่ามีอาการแพ้วัคซีนโควิด หรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที หรือติดต่อที่เบอร์โทร 1669.