การ เป็น ไกด์ ที่ ดี

       ความก้าวหน้าในอาชีพมัคคุเทศก์ไม่ได้วัดกันที่ตำแหน่ง แต่สามารถวัดได้จากความสามารถทางด้านภาษา ความอดทน ความเป็นมืออาชีพ ดังนั้นผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์สามารถติดต่อได้ที่บริษัท จัดท่องเที่ยว เมื่อมีประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวได้มาก และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็สามารถเปิดบริษัทเองได้ ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดสามารถเปิดสำนักงานของตนเองได้แต่จะต้องสำรวจพื้นที่ที่ตนอยู่ และจังหวัดใกล้เคียงว่ามีแหล่งทรัพยากร การท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และจัดเป็นรูปแบบการเดินทางได้หรือไม่ จากนั้นก็จัดทำโฮมเพจ เสนอบริการ ขึ้นเว็บไซต์ตรงสู่ผู้สนใจ โดยปรึกษากับบริษัทที่ปรึกษาการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ โดยใช้บ้านเป็นสำนักงาน

          เป็นผู้มีพื้นฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไปต้องเข้ารับการ อบรม  และมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากสถาบันที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การ รับรอง หรือ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะ หรือสาขาวิชาธุรกิจ การท่องเที่ยว

คุณลักษณะที่ดีของมัคคุเทศก์

                บุคคลที่ต้องการเป็นมัคคุเทศก์ จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เช่น ความมีใจรักในอาชีพ มีความอดกลั้น มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ซื่อสัตย์ สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์จะช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม มัคคุเทศก์เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลนักท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิดเกือบตลอดเวลาของการนำเที่ยวในแต่ละครั้ง ดังนั้นในการปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์จะเป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่มีการฝืนปฏิบัติ หรือทำหน้าที่หวังเพียงเฉพาะค่าตอบแทน มัคคุเทศก์ที่ดีต้องมีคุณสมบัติ ๕ ประการ คือ

                ๑. มนุษยสัมพันธ์ดี

                ๒. บุคลิกภาพดี

                ๓. ความรู้ดี

                ๔. มีความรักงาน

                ๕. มีศิลปะในการพูด

๑. มนุษยสัมพันธ์ดี    มีลักษณะ ดังนี้

๑. รู้เขารู้เรา ต้องรู้ว่านักท่องเที่ยวของเราเป็นใคร เป็นชาติใด มีลักษณะนิสัยโดยทั่วไปเป็นอย่างไร มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่ออะไร เพื่อที่จะได้ปรับตัวให้เข้ากับนักท่องเที่ยวกลุ่มนั้นได้ และให้การบริการที่เหมาะสมเป็นที่ถูกใจแก่นักท่องเที่ยว เช่น นักท่องเที่ยวชาวไทยชอบซื้อของมากกว่าชาติอื่น ๆ จะต้องจัดเวลาในการซื้อของมากขึ้นกว่ากลุ่มอื่น ๆ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษชอบให้ตรงเวลาและเป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่ตั้งไว้

๒. มีน้ำใจ พร้อมที่จะบริการเสมอ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเห็นอกเห็นใจ ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องอดทดอดกลั้น ไม่แสดงอารมณ์และกริยามารยาทที่ไม่ดีออกมาให้นักท่องเที่ยวเห็น ต้องควบคุมอารมณ์ของตนเองได้

๓. มีความรับผิดชอบ มัคคุเทศก์ต้องคอยดูแลเอาใจใส่สุขภาพและทรัพย์สินแก่นักท่องเที่ยว เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวในด้านอื่น ๆ เช่น ติดต่อส่งข่าวสารกลับประเทศ การติดต่อสื่อสารกับคนในท้องถิ่น มัคคุเทศก์จะต้องช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ๔. สร้างความเข้าใจระหว่างคนในชาติและระหว่างชาติ อธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างของความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม พื้นฐานการศึกษา และลักษณะร่วมของคนแต่ละชาติ และไม่ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจหรือความเข้าใจผิดระหว่างชาติ โดยไม่แสดงความ    ดูถูกหรือยกย่องวัฒนธรรม หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทำให้เกิดความเป็นกันเองระหว่างกลุ่มนักท่องเที่ยว ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวมีความสุข

หลักมนุษยสัมพันธ์ของมัคคุเทศก์

หลักมนุษยสัมพันธ์ประกอบด้วย NURSE&CARE     

NURSE  ประกอบด้วย

๑. Need  คือ การรู้เขารู้เรา มัคคุเทศก์จะต้องรู้ว่านักท่องเที่ยวเป็นใคร ชาติใด      มีลักษณะนิสัยโดยทั่วไปเป็นอย่างไร เพื่อปฏิบัติให้เป็นที่ถูกใจนักท่องเที่ยว เช่น นักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยชอบซื้อของมากกว่าสิ่งอื่น นักท่องเที่ยวที่เป็นชาวเกาหลีชอบรับประทานอาหารประเภทผัก เป็นต้น

๒. Unity คือ สมานฉันท์ มัคคุเทศก์จะต้องรู้จักอดทน อดกลั้น ยิ้มแย้ม ไม่นำสิ่งที่ไม่ดีของนักท่องเที่ยวมากล่าว เช่นไม่พูดถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 กับนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวญี่ปุ่น

๓. Responsibility  คือ ความรับผิดชอบ มัคคุเทศก์จะต้องมีความรับผิดชอบ มัคคุเทศก์จะต้องมีความรู้อย่างดีในเรื่องที่เล่า ตอบคำถามได้ แก้ปัญหาได้ เช่น กรณีนักท่องเที่ยวทำของหายหรือเกิดอุบัติเหตุ

๔. Security  คือ ความปลอดภัย มัคคุเทศก์ต้องทำให้นักท่องเที่ยวมีความรู้สึกปลอดภัยมั่นคง ในการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์

๕. Environment  คือ ภาวะแวดล้อม มัคคุเทศก์ต้องเข้าใจว่า นักท่องเที่ยวนั้นต่างก็มีความเชื่อ ศาสนา  ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดจนพื้นฐานทางการศึกษาแตกต่างกัน ฉะนั้นจะต้องไม่แสดงอาการดูถูกหรือตำหนิ ใช้คำพูดที่สุภาพ เช่น “กรุณา” หรือ “Please” แทนคำว่า “อย่า” หรือ “Don’t”

CARE ประกอบด้วย

๑. Collection  มัคคุเทศก์จะต้องเป็นนักสะสม รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทั้งความรู้เชิงวิชาการและเทคนิคการปฏิบัติงาน

๒. Content  มัคคุเทศก์จะต้องรู้จักเก็บรวมรวมเนื้อหาสาระต่าง ๆ ให้ได้มากและถูกต้อง

๓. Context  มัคคุเทศก์จะต้องมีลีลาที่งดงาม สุภาพและเหมาะสม เช่นรู้จักใช้ถ้อยคำและการแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

๔. Channel  มัคคุเทศก์จะต้องรู้จักใช้วิธีการสื่อสารที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่นักท่องเที่ยว เช่น การนำเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ มัคคุเทศก์อาจให้นักท่องเที่ยวชมภาพยนตร์ สไลด์ หรืออ่านเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ เสียก่อน

๕. Communication มัคคุเทศก์จะต้องรู้จักการใช้สื่อภาษาที่ดี ซึ่งอาจใช้ได้หลายวิธี เช่น การเขียน การพูด การใช้สัญญาณ เสียง แสง สี การเคลื่อนไหว กิริยาท่าทาง รวมตลอดถึงเครื่องหมายภาพ ที่แสดงออกอย่างมีระเบียบและหลักเกณฑ์ ที่มนุษย์ในแต่ละหมู่รับรู้และเข้าใจ นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

๖. Approach  มัคคุเทศก์จะต้องรู้จักวิธีนำเข้าสู่เรื่อง เริ่มตั้งแต่การแนะนำตัวอย่างสุภาพและเป็นกันเองกับนักท่องเที่ยว

๗. Atmosphere มัคคุเทศก์จะต้องรู้จักสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองกับนักท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความอบอุ่นใจ ท่องเที่ยวด้วยความสุข และสนุกสนาน รู้จักใช้อารมณ์ขันให้เหมาะสม การพูดหรือเล่าเรื่องตลกควรระมัดระวัง เพราะเรื่องตลกของคนกลุ่มหนึ่งหรือชาติหนึ่งคนอีกกลุ่มหนึ่งหรือชาติหนึ่งอาจไม่ตลกก็ได้ ฉะนั้น มัคคุเทศก์จะต้องแน่ใจว่าเรื่องที่จะเล่านั้นเป็นเรื่องตลกของคนกลุ่มนั้น เนื่องจากคุ้นเคยหรือเคยอยู่กับคนกลุ่มนั้นหรือชาตินั้น จึงควรจะเล่า แต่ถ้าไม่แน่ใจ ก็ไม่ควรเล่า

๘. Attension มัคคุเทศก์จะต้องสนใจ ใส่ใจ และให้เกียรติแก่นักท่องเที่ยวโดยใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง กิริยาท่าทาง การให้เกียรติแก่ผู้อื่นย่อมจะมีผลตอบรับในทางให้เกียรติเช่นเดียวกัน

๙. Attitude มัคคุเทศก์จะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อนักท่องเที่ยว โดยอาจถามถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นำชมให้ต่อเนื่องกับเรื่องราวของนักท่องเที่ยวบ้าง

๑๐. Action  มัคคุเทศก์จะต้องรู้จักแสดงท่าทางให้เหมาะสม เช่น กระฉับกระเฉง แจ่มใส ไม่แสดงอาการกิริยาฮึดฮัด เกรี้ยวกราด มัคคุเทศก์จะต้องรู้จักแสดงท่าทางที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อเป็นตัวอย่างแก่นักท่องเที่ยว เช่น เมื่อพานักท่องเที่ยวเข้าชมในบริเวณวัด เดินผ่านหรือพบพระสงฆ์ มัคคุเทศก์ควรแสดงความเคารพโดยการไหว้หรือก้มตัวให้ถูกต้องตามประเพณีไทย

๑๑. Appreciation มัคคุเทศก์ต้องรู้จักปฏิบัติต่อนักท่องเที่ยวด้วยความชื่นชม และถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

๑๒. Research มัคคุเทศก์จะต้องมีความจำแม่นยำ ทั้งที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยวและเรื่องราวต่าง ๆ โดยไม่ต้องอ่านจากเอกสาร

๑๓. Evaluation มัคคุเทศก์จะต้องรู้จักประเมินผลการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบว่ามีข้อดี ข้อเสีย ประการใด เพื่อที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อ ๆ ไป

๑๔. Effectiveness มัคคุเทศก์จะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพและปฏิบัติให้ดีที่สุด เพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพต่อไป

การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของมัคคุเทศก์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

                มัคคุเทศก์จะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการได้นั้น ผู้ร่วมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง และบุคคลที่มัคคุเทศก์ควรสร้างมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่

(๑) เพื่อนร่วมงานในบริษัทนำเที่ยว 

                ๑. กล่าวคำทักทายยิ้มแย้มแจ่มใส ตั้งแต่ผู้จัดการจนถึงพนักงานทำความสะอาด

                ๒. สร้างความเป็นกันเองกับเพื่อนร่วมงาน

                ๓. หลีกเลี่ยงการกล่าวคำนินทาเพื่อนร่วมงาน

                ๔. หากมีปัญหาที่เกี่ยวกับงานควรตกลงด้วยเหตุผล

                ๕. ควรมีของฝากเล็ก ๆน้อย ๆ เช่น พวกของที่ระลึก ขนมต่าง ๆ มาฝากเพื่อนร่วมงาน เพื่อแสดง

     ความมีน้ำใจ ให้เหมาะกับกาลเทศะ มิฉะนั้นคนอื่นจะมองว่าทำเพื่อผลประโยชน์

                (๒) เพื่อนมัคคุเทศก์

                ๑. ทักทาย ปราศรัย กรณีที่เป็นมัคคุเทศก์ใหม่ ควรแนะนำตนเองให้เพื่อนมัคคุเทศก์ และคนที่

    เกี่ยวข้องในอาชีพคนอื่น ๆ รู้จัก

                ๒. หากเป็นเพื่อนมัคคุเทศก์ที่เคยรู้จักกันมาก่อนควรที่เข้าไปทักทาย ถามไถ่เรื่องการงาน    ที่ผ่านมา

                ๓. ให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับเพื่อนมัคคุเทศก์ที่ทำงานในบริษัทนำเที่ยวที่เดียวกัน โดยเฉพาะอย่าง

       ยิ่งเรื่องงาน หากเพื่อนมัคคุเทศก์ติดภารกิจงานอื่น ควรให้ความช่วยเหลือเท่าที่สามารถทำได้

                ๔. ไม่ควรกล่าวคำนินทาเพื่อนมัคคุเทศก์ให้คนอื่นฟัง ทั้งคนในบริษัทเดียวกันและต่างบริษัท

                ๕. แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับมัคคุเทศก์คนอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

      การใช้บริการในสถานประกอบการ ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ เพื่อจะได้

      ปฏิบัติได้ถูกต้องเหมือน ๆ กันและเลือกใช้บริการในราคาที่เท่ากัน

(๓) นักท่องเที่ยว

                ๑. กล่าวคำทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส แนะนำตนเองให้กับนักท่องเที่ยวรู้จัก

                ๒. เอาใจใส่นักท่องเที่ยวทุกคนเท่าเทียมกัน ทุกคนมีความสำคัญเท่ากันหมด

                ๓. หลีกเลี่ยงการพูด เกี่ยวกับภาวะแวดล้อมอื่น ที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เช่น พื้นฐานความเป็นอยู่

      ศาสนา วัฒนธรรม ที่รู้สึกเป็นปมด้อย และเกิดความแตกแยก

                ๔. มัคคุเทศก์ควรแสดงตัวเป็นเจ้าบ้านที่ดี โดยการให้บริการที่เกิดความพึงพอใจกับนักท่องเที่ยวให้

     เกิดความประทับใจมากที่สุด

                ๕. ควรคำนึงถึงประโยชน์ของนักท่องเที่ยวมากว่าผลประโยชน์ของตนเองที่จะได้รับ

                ๖. เมื่อนักท่องเที่ยวบ่น หรือไม่พอใจในขณะที่มัคคุเทศก์กำลังนำเที่ยว หรือไม่ทับใจในแหล่ง

ท่องเที่ยว มัคคุเทศก์อย่าแสดงอาการโกรธ รำคาญ ควรที่จะเข้าไปทักทาย พูดคุยทำความเข้าใจ แสดงท่าทีให้รู้ว่ามัคคุเทศก์ยินดีที่จะช่วยเหลือ แก้ไขอย่างจริงใจ สนใจและใส่ใจในสิ่งที่เขาต้องการ จะช่วยให้นักท่องเที่ยวใช้เหตุผลพูดคุยและเข้าใจมัคคุเทศก์มากกว่าใช้อารมณ์

                (๔) สถานประกอบการ

                ๑. สร้างความคุ้นเคยกับบุคลากรในสถานประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร ร้าน

    ขายของที่ระลึก ฯลฯ

                ๒. เข้าไปทักทาย แนะนำตัวเองกับผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบการ นอกจากจะพูดทางโทรศัพท์

      หรือการส่งแฟกซ์อย่างเดียว หากรู้จักกันแล้วช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วเจอกันก็ควรที่จะมีการ

     ทักทาย ถามถึงการทำงาน หรือธุรกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไรบ้างในช่วงขณะนี้ พร้อมทั้ง

     แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ  เกี่ยวกับการมาใช้บริการในสถานประกอบการ โดยเฉพาะเรื่อง

     ข้อดี ข้อเสีย ของการให้บริการ เช่น ความสะดวกสบายและความสะอาดของห้องพัก รสชาติของ

     อาหาร คุณภาพของสินค้า และบริการอื่น ๆ  เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาที่ดีขึ้น แต่หาก

     ความคิดเห็นไม่ตรงกัน ควรยุติการสนทนา

(๕) พนักงานขับรถ

                ๑. ให้ความสำคัญกับคนขับรถในกรณีที่ออกปฏิบัตินำเที่ยว นอกจากจะแนะนำตัวเอง แล้วควร

      แนะนำคนขับรถให้นักท่องเที่ยวรู้จักด้วย

                ๒. หากมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นทาง ควรปรึกษากับคนขับรถ เพราะจะทำให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของ

      การนำเที่ยว

                ๓. ควรให้คนขับรถมีโอกาสรับประทานอาหารร่วมด้วย และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอื่น ๆ

                ๔. ควรแบ่งค่าคอมมิสชั่นบางส่วนให้กับคนขับรถ ในกรณีที่มัคคุเทศก์ได้ค่าคอมมิสชั่นจากร้านค้า

      ต่าง ๆ  เช่นร้านค้าขายของฝาก ร้านขายของที่ระลึกต่าง ๆ ฯลฯ

                อาชีพมัคคุเทศก์ เป็นอาชีพที่ต้องเป็นผู้นำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ การปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในการจัดนำเที่ยว มัคคุเทศก์ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจะเสนอแนะในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ดังนี้

                ๑. ควรระวังในเรื่องสุขภาพ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต้องเริ่มต้นที่สุขภาพดี ถ้าบุคคลมีสุขภาพดี หน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้คนอื่นอยากเข้าใกล้

  ๒. ควรระงับอารมณ์ไว้ให้ได้ ไม่ว่าจะเกิดอารมณ์โกรธ ควรทิ้งอารมณ์ต่าง ๆ พยายามทำอารมณ์ให้แจ่มใสก่อนจะพูดคุยกับผู้อื่น

                ๓. การปรับปรุง บุคลิกภาพภายนอกให้เหมาะสม เช่น ปรับปรุงการแต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ

                 ๔. ควรรักษาสัญญา มีความรับผิดชอบต่อคำพูด และการกระทำของตนเอง

                 ๕. ควรรู้จักให้และรับอย่างเหมาะสม

                 ๖. ควรมีความเกรงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนใกล้ชิด เพราะคนเรามักจะลืมรักษาน้ำใจ คนที่ใกล้ชิดเสมอ

                 ๕.     ไม่ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง จนลืมนึกถึงจิตใจของผู้อื่น ซึ่งทำให้พูดจาและแสดงท่าทีที่เห็นแก่ตัวออกมา

ข้อควรระวังในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

                 เนื่องจากการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เป็นการแสดงพฤติกรรมเพื่อให้ได้รับความรักใคร่ น่าเชื่อถือ ไว้ใจ และร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการทำพฤติกรรมดังต่อไปนี้

             ๑.     การแสดงสีหน้า กิริยาท่าทาง และบุคลิกภาพที่ไม่สุภาพในกรณีที่ไม่พอใจ

๒.    การนินทาว่าร้ายผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๓.    การพูดประชดประชัน และแสดงความไม่พอใจ เมื่อผู้อื่นถามคำถาม

๔.    การไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คิดว่าตนเองเป็นผู้รู้แต่ฝ่ายเดียว

๕.    การโต้แย้ง ถกเถียง ก่อการทะเลาะวิวาท

๖.     การแสดงความอิจฉาตาร้อน และไม่มีความจริงใจต่อผู้อื่น

๗.    การพูดโอ้อวด พูดแต่เรื่องของตนเอง พูดข่มผู้อื่น

๘.    การแสดงความอิจฉาตาร้อน และไม่มีความจริงใจต่อผู้อื่น

๙.     การเลือกที่รักมักที่ชัง ลำเอียงและการตัดสินใจอย่างไม่เป็นธรรม

๑๐. การไม่รักษาคำพูด จิตใจรวนเร เชื่อถือไม่ได้

๑๑. การแสดงความโมโห ฉุนเฉียว ใจร้อน ไม่มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน

๑๒.     การแสดงความจู้จี้จุกจิก เจ้าระเบียบ จนทำให้ผู้อื่นรำคาญ

๑๓.      การมีอคติที่ไม่ดีต่อผู้อื่น

๒. บุคลิกภาพดี

                บุคลิกภาพของมัคคุเทศก์ที่ดี บุคลิกภาพทั่วไปประกอบด้วย บุคลิกภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน บุคลิกภาพภายนอกสำหรับมัคคุเทศก์ หมายถึง สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ในตัวมัคคุเทศก์ ได้แก่

 ๑. ร่างกาย มัคคุเทศก์ควรให้ความสนใจและเอาใจใส่ต่อร่างกายเป็นอันดับแรก โดยพิจารณาที่จะทำ

ให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความสบายตา จมูก และอารมณ์ มีจุดสำคัญ ๆ ในร่างกายที่ต้องคำนึงถึง คือ

๑.๑ ผม ไม่ปล่อยให้ยุ่งเหยิง แต่ควรดูแลให้สะอาด และมองดูเรียบร้อย ทั้งนี้ มิได้หมายถึงการ

ตกแต่งที่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

๑.๒  หน้าตา แจ่มใส ไม่ยู่ยี่ หรือง่วงเหงาหาวนอน

๑.๓ หู จมูก ฟัน ควรดูแลทำความสะอาดให้เรียบร้อยตั้งแต่ก่อนจะออกจากบ้าน การแคะหูจมูก ฟัน

ในที่สาธารณะหรือต่อหน้าบุคคลอื่นเป็นมารยาทที่ไม่สุภาพ ไม่ควรปฏิบัติ

๑.๔  เล็บ ตัดให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมทั้งเล็บมือและเล็บเท้า ถ้าจะไว้ยาวก็ควรคำนึงถึงความ

สะอาด การแคะเล็บในที่สาธารณะก็เป็นมารยาทไม่ควรทำอีกเช่นเดียวกัน

๒. การแต่งกาย  ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ โดยคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อย และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ

๒.๑  เสื้อ กระโปรง หรือกางเกง ควรให้อยู่ในสภาพที่ควรจะเป็น ทั้งรูปร่าง ลักษณะ และสีสัน

นอกจากความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ควรคำนึงถึงกาลเทศะในการใช้เสื้อผ้าชุดนั้นๆ ด้วย สำหรับ

เสื้อผ้าที่มีกระดุม จะต้องตรวจดูให้ครบตามจำนวน ถ้าเสื้อผ้ามีสิ่งผิดปกติ เช่นมีคราบเหงื่อไคล รอย

ขาด รูโหว่ ซิปแตก ฯลฯ ควรปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ดีก่อนที่จะนำมาใช้

๒.๒ รองเท้า ถุงเท้าต้องสะอาด ไม่ขาด หรือชำรุด และเหมาะสมกับโอกาส หรือสถานที่ที่จะใช้

ด้วย การแต่งกายที่สะอาดเรียบร้อยและเหมาะสมกับกาลเทศะ นอกจากจะช่วยสร้างบุคลิกภาพที่ดี

แล้ว ยังช่วยให้ผู้แต่งกายนั้นมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น และช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีได้อีกด้วย

ตรงข้ามหากแต่งกายไม่สะอาดเรียบร้อย และไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดความผันแปรแห่งอารมณ์ทั้ง

แก่ผู้ที่แต่งกายและผู้ที่พบเห็น

๓. การพูดจา  ควรระมัดระวังเกี่ยวกับคำพูด น้ำเสียง ปฏิกิริยาของผู้ฟัง ดังนี้

๓.๑ คำพูด  ควรระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้คำหยาบหรือคำที่มีความหมาย

สองแง่สองมุม

๓.๒ น้ำเสียง ไม่พูดห้วน ๆ ตวาด กระโชกโฮกฮาก ให้เน้นน้ำหนักเสียงหนักเบาให้เหมาะสม พูด

ให้ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป

๓.๓ ปฏิกิริยาของผู้ฟัง ขณะพูดควรสังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟังว่าสนใจหรือต้องการฟังมากน้อย

เพียงใด มีผู้ใดต้องการซักถาม ไม่พูดสวนหรือแย่งพูด ควรมีจังหวะจะโคนในการพูดให้เหมาะสม

๔. กิริยามารยาท หมายถึง การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง และความประพฤติ จะต้องอยู่ในอาการสำรวม เช่น ไม่ล้วง แคะ แกะ เกา ควัก จิ้มร่างกายในที่ชุมชน และไม่กระทำการที่ควรกระทำในที่ลับไปกระทำในที่แจ้ง หากจำเป็นจริง ๆ ก็ควรกระทำให้แนบเนียน เช่น การจาม การไอ หรือเมื่อเกิดอาการคัน ก็ควรหันความสนใจของผู้ที่อยู่รอบข้างไปที่อื่นเสียก่อน แล้วจึงแอบ ๆ ทำ

บุคลิกภาพภายในสำหรับมัคคุเทศก์ หมายถึง สิ่งที่มัคคุเทศก์แสดงออกจากความรู้สึกภายในหรือที่เรียกกันว่า “จรรยาบรรณของมัคคุเทศก์” ที่สำคัญมีดังนี้

๑. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและหน้าที่ของมัคคุเทศก์ ต่อธุรกิจการท่องเที่ยว และต่อชื่อเสียงของประเทศชาติ

๒. มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อนักท่องเที่ยว และทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

๓. มีสติในการปฏิบัติหน้าที่การงาน

๔. มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว

๕. มองโลกในแง่ดี และมีมนุษยสัมพันธ์

๖. มีความรับผิดชอบในหน้าที่

จรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ที่สำคัญดังกล่าวข้างต้นนี้ จะช่วยให้การปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มัคคุเทศก์มักจะประสบคือ ปัญหาเฉพาะหน้าที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน ซึ่งมักจะเป็นปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน บ่อยครั้งปัญหาเกิดขึ้นก่อนที่มัคคุเทศก์จะพบกับนักท่องเที่ยว เช่น นักท่องเที่ยวปวดฟันขณะเดินทาง นักท่องเที่ยวทำฟันปลอมหาย นักท่องเที่ยวทำแว่นสายตาตกแตก ฯลฯ หากมัคคุเทศก์มีจรรยาบรรณก็ย่อมจะช่วยแก้ปัญหาให้สำเร็จได้โดยง่าย และเป็นผลดีแก่เจ้าของปัญหาอย่างแน่นอน

๓. มีความรู้ดี

มัคคุเทศก์ต้องมีความรู้เรื่องสำคัญ 6 ประการ ดังนี้

๑. ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปที่สำคัญของบริษัท เช่น การบริการ เส้นทางนำเที่ยว เบอร์โทรศัพท์ หรือแฟกซ์ สถานที่ติดต่อ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานและให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว

๒. ความรู้โดยรวมของประเทศไทย เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม  การเมือง การปกครอง ศาสนา เทศกาลงานประเพณีที่สำคัญ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละภาค

๓. สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณี วัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในท้องถิ่น สถานที่เที่ยว เบอร์โทรศัพท์ หรือ แฟกซ์ สถานที่ติดต่อ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานและให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวท่องเที่ยวในท้องถิ่นทั้งที่เป็นธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคารบ้านเรือน วัด โบราณสถาน และผลิตภัณฑ์พื้นเมือง เช่น เครื่องจักสาน ผ้าทอ งานแกะสลัก การแสดงของท้องถิ่น เช่น มโนราห์ ฟ้อนเล็บ ระบำชาวเขา เทศกาลและประเพณีต่าง ๆ เช่น  ลอยกระทง สงกรานต์ บุญบั้งไฟ งานแห่เทียนพรรษา ฯลฯ

๔. ขั้นตอนและวิธีการเข้าออกเมือง การเก็บภาษี การติดต่อกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง มัคคุเทศก์ต้องให้คำแนะนำนักท่องเที่ยว และดูแลให้การติดต่อกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างราบรื่น

 ๕. ต้องมีความรู้ในการใช้ภาษาต่างประเทศ มีทักษะในการพูด อ่าน และเขียน เป็นอย่างดี สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ สามารถพูดบรรยายให้นักท่องเที่ยวเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้

 ๖. ต้องมีการประสานงานและความสัมพันธ์ที่ดีกับธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่น และก่อให้เกิดความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวมากที่สุด เช่น การคมนาคมขนส่ง ที่พัก ร้านอาหาร ธุรกิจบันเทิง และร้านขายของที่ระลึก

๔. มีความรักงาน

 มัคคุเทศก์ต้องมีความภาคภูมิใจในอาชีพของตน มีใจรักในงานบริการ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ตั้งใจปฏิบัติงานให้มีคุณภาพมากที่สุด อดทนต่อปัญหา พยายามปรับปรุงแก้ไขในส่วนบกพร่องของตนเองและรักษามาตรฐานการทำงานที่ดีให้ได้ตลอดไป

๕. มีศิลปะในการพูด

 การพูดเป็นศาสตร์และศิลป์ หมายถึง การพูดมีกฎเกณฑ์สำหรับเรียนรู้และการปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็อาศัยความสามารถเฉพาะตัวของผู้พูดด้วย มัคคุเทศก์ต้องมีการเตรียมตัวที่ดีสำหรับการอธิบาย การลำดับเนื้อหา ถ่ายทอดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย รู้จักกาลเทศะ ควรพูดเรื่องใด เวลาใด   ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับเพศ วัย และสถานการณ์

มัคคุเทศก์เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณลักษณะอันจำเป็นที่จะทำให้ชื่อเสียงของประเทศชาติเป็นที่รู้จักทั่วโลกและช่วยเพิ่มพูนจำนวนนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยได้มากขึ้น