โดนหลอกขายของออนไลน์ เก็บเงิน ปลายทาง



กิตตินันท์ นาคทอง Facebook.com/kittinanlive

COD ย่อมาจาก Cash On Delivery คือการจัดส่งพัสดุแบบเก็บเงินปลายทาง นักช้อปออนไลน์หลายคนชอบใช้วิธีนี้ ด้วยเหตุผลหลักๆ ก็คือ “ได้เห็นของก่อนจ่ายเงิน” แต่วิธีนี้อาจจะกลายเป็นช่องทางทำมาหากินของกลุ่มมิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว

สมัยก่อนคนเรานิยมชอปปิ้งตามห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้า เพราะนอกจากจะได้เห็นสินค้าก่อนซื้อ ได้เลือก ได้ลอง ได้สัมผัสจนพอใจแล้ว ยังมีโปรโมชันลดราคาเพื่อให้เราตัดสินใจควักกระเป๋าสตางค์ง่ายขึ้น

แต่ในปัจจุบัน อิทธิพลของชอปปิ้งออนไลน์กำลังมาแรง เพราะมีบริการส่งถึงบ้าน ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่หลายคนไม่กล้าออกไปเดินห้างฯ หรือตลาดนัด ทำให้ผู้คนนิยมซื้อของออนไลน์มากขึ้น

รูปแบบการซื้อของและชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์มีหลากหลาย ถ้าไม่ใช่ร้านค้าในแพลตฟอร์มเจ้าดัง ขายผ่านเฟซบุ๊กก็มักจะใช้วิธีโอนเงิน แต่บางคนที่อยากเห็นของชัวร์ๆ ก็ใช้วิธีเก็บเงินปลายทาง พอพัสดุมาถึงก็จ่ายเงินให้พนักงานได้เลย

แต่ขณะนี้มีแก๊งมิจฉาชีพออกอาละวาด อาศัยที่ผู้รับเป็นคนที่ชอบสั่งของออนไลน์เป็นประจำ ส่งพัสดุแบบเก็บเงินปลายทาง โดยตั้งมูลค่าหลักร้อยบาท เมื่อผู้รับจ่ายเงินพนักงานแล้วแกะออกมา ปรากฎว่าเป็นของที่ผู้รับไม่รู้เรื่องมาก่อน

หนำซ้ำ เป็นของที่ไม่อยากได้ และไม่คิดจะได้ ส่วนมากจะเป็นเสื้อผ้ามือสอง นาฬิการาคาถูก ของเล่น สินค้าราคาถูก ต้นทุนต่ำ สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ จุดสำคัญของสินค้าที่กลุ่มมิจฉาชีพนำส่งก็คือ น้ำหนักน้อยกว่า 1 กิโลกรัม เพราะค่าส่งถูกที่สุด

แต่ที่กวนประสาทผู้รับมากที่สุดก็คือ บางคนส่งก้อนอิฐมอญ ส่งเกลือหนึ่งถุง ที่เป็นข่าวหนักสุดคือ เซ็กซ์ทอย!

เมื่อติดต่อไปยังผู้ส่งก็ติดต่อไม่ได้ เพราะผู้ส่งตั้งชื่อร้านและเบอร์โทร. ที่ระบุบนกล่องก็อุปโลกน์ขึ้นมาอีก

โดยปกติแล้วเวลาสั่งของแบบเก็บเงินปลายทาง ต้องจ่ายเงินและเซ็นรับพัสดุกับพนักงานขนส่งพัสดุก่อน ถึงจะแกะพัสดุได้ ซึ่งเราสามารถปฏิเสธที่จะรับพัสดุได้ตั้งแต่ต้น

แต่ปัญหาก็คือ ผู้รับไม่รู้ว่าสั่งอะไรไป จึงยอมจ่ายเงินไปก่อน พอแกะพัสดุออกมาจึงรู้ว่าโดนหลอกเสียแล้ว พอติดต่อขอคืนเงินกับบริษัทขนส่งพัสดุก็ยุ่งยาก

บางคนเห็นว่าเงินที่จ่ายไปเพียงไม่กี่ร้อยบาท ก็ไม่อยากจะไปโรงพักเพื่อเอาเรื่องให้เสียเวลา เลยปล่อยเลยตามเลย

เรียกได้ว่าหากินกับความเกรงใจ และไม่เป็นไร ไม่เอาเรื่องของผู้คน

อาจจะมีคนสงสัยว่า แล้วคนร้ายล่วงรู้ที่อยู่ของเราได้ยังไง?

จากสมมติฐาน การที่คนร้ายจะส่งพัสดุไปหาใครก็ต้องมี ชื่อผู้รับ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์มือถือ วิธีการหาข้อมูลมีทั้งผ่านโซเชียลมีเดีย ที่ผู้ใช้งานบางคนมองข้ามความเป็นส่วนตัว ก็อาจจะพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ตั้งใจ

บางคนใช้วิธีการแจ้งชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทร. สำหรับจัดส่งสินค้าลงในคอมเมนต์ เวลาเปิดให้พรีออเดอร์ของ หรือแจกสิ่งของต่างๆ เช่น แจกเสื้อ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะคนร้ายรู้หมดเลยว่าแต่ละชื่อที่คอมเมนต์เป็นใครมาจากไหน

หรือกรณีที่ผู้ค้าออนไลน์บางคน ละเลยความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ถ่ายรูปกล่องพัสดุแล้วโพสต์ภาพลงในหน้าเพจ เพื่อแจ้งว่าส่งสินค้าไปแล้ว โดยที่ละเลยว่าข้อมูลการจ่าหน้าในภาพ ผู้ใดพบเห็นก็เก็บข้อมูลเหล่านี้ไปใช้กระทำความผิดได้

อีกวิธีหนึ่ง กลุ่มมิจฉาชีพอาจจะใช้วิธีรู้กันกับตัวแทนบริษัทขนส่งพัสดุ ซึ่งอาจจะเป็นสาขา หรือตัวพนักงานส่งพัสดุเอง นำข้อมูลของลูกค้าไปใช้กระทำความผิด โดยที่ลูกค้าไม่รู้ตัว ซึ่งทางสำนักงานใหญ่อาจจะละเลยหรือตรวจสอบได้ยาก

ผู้เสียหายรายหนึ่ง ถูกพนักงานบริษัทขนส่งพัสดุแจ้งว่ามีพัสดุเก็บเงิน 344 บาท ด้วยความที่สั่งของไว้เยอะ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเลยจ่ายเงินไปก่อน พอแกะออกมาพบว่าเป็นนาฬิการาคาถูกมาก พอติดต่อต้นทางที่จ่าหน้าไว้ก็ติดต่อไม่ได้

เมื่อตรวจสอบเลขที่พัสดุ พบว่าถูกส่งมาจากบริษัทขนส่งพัสดุเจ้าดัง สาขาแห่งหนึ่งใน ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ที่ผ่านมาสาขานี้ เป็นต้นทางที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้เป็นสถานที่ส่งพัสดุแบบ COD แก่เหยื่อหลายราย

ที่สลับซับซ้อนไปอีกก็คือ กลุ่มมิจฉาชีพอาศัยแพลตฟอร์มชอปปิ้งออนไลน์ เปิดจำหน่ายสินค้าเหมือนร้านค้าทั่วไป เมื่อลูกค้าสั่งของ ร้านค้าก็จะได้ข้อมูลชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์สำหรับการจัดส่ง ก็อาศัยข้อมูลเหล่านี้ส่งพัสดุแบบ COD อีกทีหนึ่ง

เคยอ่านเจอกระทู้ในพันทิป มีอยู่เคสหนึ่ง กดสั่งหูฟังมียี่ห้อผ่านชอปปิ้งออนไลน์เจ้าหนึ่ง ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ปรากฎว่าส่งของแบบ COD ลูกค้าก็งงเล็กน้อย คิดว่าผิดพลาดตอนสั่ง พอจ่ายเงินไปแล้วแกะกล่องออกมาพบเป็นหูฟังราคาถูก

เมื่อเช็กกับทางชอปปิ้งออนไลน์ กลับพบว่าทางร้านค้าเป็นคนยกเลิกเอง เมื่อขอรายละเอียดร้านค้ากลับได้รับคำตอบว่า “เป็นความลับของบริษัท ไม่สามารถให้ได้”แนะนำให้แจ้งความกับตำรวจเอาเอง

ความน่าสงสัยอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทขนส่งสาขานี้เป็นต้นทางกระทำความผิดของกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งการส่งพัสดุจำนวนมาก นับร้อยนับพันกล่อง อาจจะไม่ได้นำมาส่งที่สาขาเอง แต่บริษัทขนส่งพัสดุอาจจะมีบริการรับพัสดุถึงโกดัง

บริษัทขนส่งพัสดุอาจจะไม่รู้ไม่เห็นก็ได้ เพราะให้บริการไปตามหน้าที่ มีลูกค้าลงทะเบียน COD ที่ไหนก็ไป แต่ที่ผ่านมาเวลามีผู้เสียหายเกิดขึ้น ดูเหมือนว่าบริษัทขนส่งไม่กระตือรือร้นแก้ไขปัญหาเท่าที่ควร

แม้ว่าที่ผ่านมาตำรวจเคยบุกโกดังแห่งหนึ่งย่านคลองหลวง จ.ปทุมธานี ที่เป็นต้นทางส่งสินค้าแบบ COD ของกลุ่มมิจฉาชีพ ได้ของกลางเป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ และกล่องพัสดุตีกลับนับพันชิ้น แต่มิจฉาชีพที่ทำในลักษณะนี้ยังคงไม่หมดไป

กลุ่มคนร้ายไม่ได้ส่งพัสดุเพียงแค่ชิ้น-สองชิ้น แต่ส่งครั้งหนึ่งนับร้อยนับพันชิ้น เป็นการหากินแบบเสี่ยงดวง ใครตกเป็นเหยื่อก็โชคดี สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ใครที่รู้เท่าทัน พัสดุถูกตีกลับก็เพียงแค่หาเหยื่อใหม่ แปะชื่อทับแล้วส่งใหม่

สินค้าที่กลุ่มมิจฉาชีพเก็บเงินปลายทางแก่เหยื่อ ต้นทุน 10-20 บาท ตั้งราคา 300-400 บาท ยอมจ่ายค่าขนส่งสัก 20-30 บาท บริษัทขนส่งพัสดุหักค่าบริการ 2-3% ของมูลค่าเรียกเก็บ รวมกันแล้วไม่กี่สิบบาท ได้กำไรอย่างน้อยๆ 200-300 บาท

ส่งไปหาเหยื่อแล้วมีคนเผลอจ่ายเงินมา 100 คน กลุ่มมิจฉาชีพได้กำไร 20,000-30,000 บาท ถ้ามีคนเผลอจ่ายเงินมา 1,000 คน กำไรก็ 20,000-300,000 บาท ยิ่งทำทุกวัน กลุ่มมิจฉาชีพก็ยิ่งมีรายได้ มีกำไรมหาศาลยิ่งกว่าคนหาเช้ากินค่ำอีก

สำหรับการป้องกันมิจฉาชีพเหล่านี้ มีหลายวิธี พอจะยกตัวอย่างได้ เช่น ให้แจ้งทุกคนในบ้านว่า เวลาที่เราไม่อยู่บ้าน ถ้ามีพัสดุแบบเก็บเงินเข้ามา ให้โทร. ถามก่อน อย่าเพิ่งออกเงินไปก่อน หรือเซ็นรับของเด็ดขาด

ส่วนเวลาที่เราซื้อของออนไลน์อะไรไป ควรจดใส่กระดาษแปะข้างฝา หรือใช้กระดาษโพสต์-อิทเขียน แล้วแปะไว้บนผนังว่า เราสั่งของอะไรไปบ้าง ราคาเท่าไหร่ จ่ายเงินแล้วหรือยังไม่ได้จ่าย เพื่อเตือนความจำไปในตัว

ถ้ามีชื่อเราเป็นผู้รับพัสดุ แม้พัสดุแบบเก็บเงินปลายทางจะไม่อนุญาตให้แกะกล่องจนกว่าจะจ่ายเงิน แต่ให้ลองพิจารณากล่องดูว่าใช่ของที่เราสั่งหรือเปล่า ดูที่จ่าหน้าส่งมาจากไหน ระบุเป็นสิ่งของอะไร ถ้าไม่แน่ใจให้ปฏิเสธรับของได้เลย

อีกอย่างหนึ่งที่แนะนำ คือ เลือกซื้อของกับร้านค้าที่เชื่อถือได้ หรือแพลตฟอร์มชอปปิ้งออนไลน์ แล้วชำระเงินก่อนได้รับสินค้า เพราะจะมีระบบติดตามร้านค้า และมีช่องทางคืนสินค้าเป็นหลักเป็นแหล่งมากกว่า

หากเป็นร้านค้าบนเพจหรือกลุ่มเฟซบุ๊ก ให้ติดต่อผู้ขายผ่านกล่องข้อความเท่านั้น อย่าโพสต์ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ไว้ที่ช่องคอมเมนต์เด็ดขาด ส่วนฝั่งร้านค้าเวลาแจ้งส่งพัสดุ ไม่ควรถ่ายรูปกล่องพัสดุที่ระบุใบจ่าหน้าถึงลูกค้าลงเพจโดยตรง

ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เอากล่องพัสดุไปทิ้งหรือชั่งกิโลขาย ต้องขีดฆ่าหรือลบชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทร. บนกล่องพัสดุ ใบจ่าหน้า หรือสติกเกอร์จ่าหน้าให้หมด ปัจจุบันมีลูกกลิ้งสำหรับปิดข้อความ แต่ถ้าไม่สะดวกใช้ปากกาเคมีสีดำขีดทับให้หมดก็ได้

เพราะอาจจะเปิดช่องให้กลุ่มมิจฉาชีพ นำข้อมูลที่จ่าหน้า ส่งพัสดุ COD แก่เหยื่ออย่างเราๆ ในภายภาคหน้า

เมื่อโดนหลอกให้ซื้อของออนไลน์ ควรทําอะไรเป็นอย่างแรก

โดนโกงออนไลน์ ทำยังไงให้ได้เงินคืน!.
แคปหน้าจอทั้งหมดแล้วพรินท์ออกมา เจอแบบนี้อันดับแรกต้องแคปหลักฐานเก็บไว้รัวๆ โดยหน้าที่ต้องแคปไว้ประกอบด้วย ... .
แจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีและออกคำสั่ง “อายัดบัญชี” ... .
ติดต่อธนาคารเพื่อทำการอายัดบัญชี ... .
ถ้ายังติดต่อไม่ได้ หรือไม่ยอมรับ ต้องทำอย่างไร.

ซื้อของยังไงไม่ให้โดนหลอก

1. เลือกร้านค้าที่มีระยะเวลาในการเปิดกิจการมานานพอสมควร 2. เลือกร้านค้าที่มีการจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์หรือซื้อกับหน่วยงานราชการ 3. ไม่ซื้อสินค้าที่มีการลดราคามาก ๆ จากช่องทางออนไลน์ 4. ไม่ซื้อสินค้าผิดกฎหมาย

โดนหลอกขายของปลอมแจ้งความได้ไหม

1. เข้าแจ้งความที่โรงพักในเขตของผู้แจ้งความ เราสามารถนำหลักฐานทั้งหมดที่มีไปแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น เราโอนเงินที่บ้าน ก็ไปแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจใกล้บ้านได้เลย นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความ พร้อมระบุว่า “ขอให้ดำเนินคดีจนถึงที่สุด” ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน

ทำอย่างไรเมื่อถูกหลอกโอนเงิน

สายด่วนที่ช่วยเหลือภัยหลอกโอนเงิน.
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน 1213 สายด่วนขอรับคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงิน.
กองบังคับการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สายด่วนตำรวจไซเบอร์ 1441 หรือ 08-1866-3000 (24 ชั่วโมง).