ประโยชน์ ของการทบทวนวรรณกรรม

เป็นประโยคที่อาจจะมาจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรือรุ่นพี่ร่วมสาขาวิชา เพราะถ้าหากคุณกำลังเริ่มจะลงมือทำงานวิจัย แล้วไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อน การอ่านทบทวนวรรณกรรมจะช่วยทำให้การทำงานวิจัยของคุณนั้นง่ายขึ้น และเสร็จไวขึ้น เพราะ….

ช่วยกำหนดขอบเขตงานวิจัยเรื่องที่ทำการศึกษา

หากคุณเริ่มทำการศึกษาวรรณกรรม คุณควรจะเริ่มจากเรื่องที่ตนเองสนใจที่จะทำการศึกษา เพราะจะทำให้เข้าใจถึงหลักการทั่ว ๆ ไปของการวิจัยว่ามีความน่าสนใจ หรือมีความสำคัญอย่างไร ในการศึกษาครั้งนี้

ประโยชน์ ของการทบทวนวรรณกรรม

จะทำให้ทราบถึงภูมิหลังของหัวข้อเรื่องที่จะทำการศึกษา ทำให้มีแนวทางในการกำหนดขอบเขตงานวิจัยเรื่องที่ต้องทำการศึกษาของประเด็นในหัวข้อของงานวิจัยที่เคยมีผู้ที่ศึกษาไว้แล้ว รวมถึงการกำหนดนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

นำข้อเสนอแนะ มาพัฒนาต่อยอดงานวิจัย

จากการทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเล่มต่างๆ จะทำให้ผู้วิจัยมองเห็นช่องว่างที่สามารถพัฒนาต่องานวิจัย จากข้อเสนอแนะของงานวิจัยที่เจ้าของเล่มวิจัยเรื่องน้นๆ ได้เขียนไว้

ซึ่งผู้วิจัยอาจจะหยิบยกประเด็นของข้อเสนอแนะดังกล่าวมาตั้งเป็นคำถาม เพื่อเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์ในการศึกษางานวิจัยของตนเอง

สามารถกำหนดประเด็น และคาดการณ์คำตอบของงานวิจัยได้

เมื่อทราบถึงแนวทางที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดงานวิจัยที่ตนเองสนใจแล้ว การทบทวนวรรณกรรมยังทำให้ทราบถึงแนวทางในการกำหนดประเด็น วัตถุประสงค์ของการศึกษา ประเด็นคำถามวิจัย การวางโครงเรื่อง และการคาดการณ์ของคำตอบในคำถามวิจัยเรื่องนั้นๆ อีกด้วย

ประโยชน์ ของการทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) จะช่วยกำหนดทิศทางในการทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เราทราบถึงขอบเขตเนื้อหาที่ต้องทำได้อย่างชัดเจน และสามารถการดำเนินงานไปได้อย่างสม่ำเสมอ 

และการทบทวนวรรณกรรมที่ดี ไม่ใช่แค่เพียงทำการสรุปเนื้อหาจากในหนังสือ บทความ หรืองานเขียนต่างๆ เท่านั้น แต่ยังต้องทำการวิเคราะห์ ประเมิน เปรียบเทียบ ของระเบียบวิธีวิจัย ขอบเขตเนื้อหา ความน่าเชื่อถือ ข้อเสนอแนะในงานวิจัยนั้นๆ ด้วย

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: [email protected]
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ประโยชน์ ของการทบทวนวรรณกรรม

แอดเพิ่มเพื่อน

วิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย ทำอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ!

ฝึก 5 ทักษะ พัฒนาการทำงานวิจัยของคุณ

สิ่งที่ควรทำ 5 ข้อ ถ้าคุณไม่อยากเจอปัญหาจากการว่าจ้างทำงานวิจัย

ทริคง่ายๆ ตั้งหัวข้อวิจัยให้เหมาะกับตัวคุณ

“ประชากร” กับ “กลุ่มตัวอย่าง” ต่างกันอย่างไร

รู้ก่อน สําเร็จก่อน งานวิจัยไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด

งานวิจัย ปริญญาตรี และ ปริญญาโท แตกต่างกันอย่างไร

ความเห็นไม่ตรงกับอาจารย์ที่ปรึกษา แก้ปัญหาอย่างไร?

Post Views: 197

  • Facebook iconfacebook
  • Twitter icontwitter
  • LINE iconline

Literature Reviewการทำงานวิจัยการทำงานวิจัยบทที่ 2การเขียน Literature Reviewข้อมูลงานวิจัยงานวิจัยงานวิจัย คุณภาพจ้างทำวิจัย 5 บททบทวนวรรณกรรมทำงานวิจัยบริการงานวิจัยบริการงานวิทยานิพนธ์บริการรับทำวิจัยบริการรับทำวิจัย.comบริการรับทำวิทยานิพนธ์รับทำวิจัยรับทำวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์รับทำวิทยานิพนธ์ ราคาเขียนทบทวนวรรณกรรมเคล็ดลับการทำงานวิจัย

การทบทวนวรรณกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการค้นหาปัญหาการวิจัยใหม่ๆ และทำให้เข้าใจขั้นตอนการวิจัย รวมถึงมีประโยชน์ในการสรุปและตีความผลการวิจัยด้วย

              การทบทวนวรรณกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังที่ Leedy กล่าวไว้แล้วในบทที่ 3 ในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ในการค้นหาปัญหาการวิจัย และทำให้เข้าใจขั้นตอนการวิจัย รวมถึงมีประโยชน์ในการสรุปและตีความผลการวิจัยด้วย ซึ่งนักวิจัยควรจะมีความรู้ในเรื่องที่ตนเองกำลังศึกษในระดับที่ดีมากๆ ต้องอ่านและค้นคว้าเอกสารทางวิชาการต่างๆให้พร้อมกับการทำงานวิจัยนั้นๆ ทั้งนี้ Leedy ได้สรุปประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม ไว้ดังต่อไปนี้

                1.  ทำให้ได้มุมมองและไอเดียใหม่ๆในการวิจัย

                2.  ทำให้ทราบว่าในแวดวงการวิจัย มีนักวิจัยคนไหนทำการวิจัยในเรื่องคล้ายๆเราบ้าง

                3.  ทำให้เห็นระเบียบวิธีวิจัยนักวิจัยคนอื่นใช้กัน ซึ่งเราอาจนำไปประยุกต์ตามได้

                4.  อาจทำให้เราเจอแหล่งข้อมูลค้นคว้าใหม่ๆที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

                5.  ช่วยให้เห็นหรือได้รู้จักเครื่องมือการวิจัยที่มีประสิทธิภาพใหม่ๆที่มีนักวิจัยคนอื่นๆเคยพัฒนาไว้

                6.  ได้มีโอกาสขบคิดกระบวนการวิจัยของผู้อื่นว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากงานวิจัยของตนเองอย่างไร

                 7.  ช่วยในการแปลผลหรือสรุปผล วิจารณ์ข้อมูลเทียบกับการศึกษาอื่นๆที่ผ่านมา

                 8.  ช่วยให้มั่นใจว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษามีประโยชน์ มีความคุ้มค่าที่จะทำ เพราะมีคนอื่นๆสนใจที่จะศึกษาเหมือนกัน

              ทั้งนี้ Leedy ได้แนะนำให้ทบทวนวรรณกรรมโดยใช้ คำสำคัญ (Keyword) ในการสืบค้นข้อมูล จากหลายๆแหล่งได้แก่ 1) จากบัตรคำในห้องสมุด 2) จากรายชื่อวารสารในห้องสมุด และ 3) จากฐานข้อมูลออนไลนืต่างๆ เช่น MEDLINE Scopus SCINDIRECT เป็นต้น

  โดย Leedy เสนอ 3 กลยุทธในการทบทวนวรรณกรรมไว้ดังนี้

           1.  เริ่มต้นจากการไปหาเอกสารที่ตีพิมพ์ตามหน่วยงานราชการก่อน เพราะว่าอาจจะฟรี หรือติดต่อได้ง่ายกว่า

           2.  ใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ผ่านระบบสืบค้นข้อมุลต่างๆ เช่น กูเกิล ยาฮู

           3.  มองดูรายชื่อเอกสารอ้างอิงต่างๆจากวารสารเล่มล่าสุด ย้อนไปดูเล่มอื่นๆที่ถูกใช้อ้างอิงกันมา

ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม Leedy เสนอไว้ 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย

          1.  ระบุปัญหาการวิจัยหลัก

          2.  จำแนกปัญหาการวิจัยรอง

          3.  ระบุคำที่เกี่ยวข้อง หรือประโยค ที่สัมพันธ์กับปัญหางานวิจัยรอง

          4.  แปลงคำหรือประโยคเหล่านั้นเป้นข้อความที่จะไปทำการสืบค้น

          5.  ไปสืบค้นในห้องสมุด หรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมถึงระบบ ฐานข้อมุลต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น

          6.  อ่านเอกสารเหล่านั้น!!!!!

เคล็ดลับการใช้เวลาสืบค้นข้อมูลให้มีประสิทธิภาพในห้องสมุด

           Leedy เสนอแนะวิธีที่ช่วยให้การสืบค้นเสียเวลาน้อยที่สุดแต่ได้ประสิทธิภาพไว้บางประการดังต่อไปนี้

          1. ควรพกอุปกรณ์ในการช่วยเก็บข้อมูลไปด้วย เช่น การใช้กระดาษและปากกา จดข้อมุลที่สำคัญ

ลงในส่วนที่เรียกว่า “บัตรคำ (bibliography)” หรืออาจใช้คอมพิวเตอรืช่วยในการบันทึกข้อความที่สำคัญบางอย่างไว้ จะช่วยให้การเรียกข้อมูลภายหลังทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

          2.  ควรตรวจสอบก่อนว่าหนังสือหรือเอกสารที่เราหาในแต่ละครั้งประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่ชั้นไหน เพื่อที่จะไม่ต้องเสียเวลามานึกว่าขาดอะไรบ้างตอนอยู่ในห้องสมุด

          3. วางแผนการจัดระบบข้อมูลว่าจะเรียงเอกสารตามอะไร

          4.ตรวจสอบว่าในแต่ละครั้ง มีหนังสืออะไรที่หาได้แล้ว อะไรยังไม่เจอ

          5. จดบันทึกข้อมูลสำคัญของเอกสารที่ได้มาแต่ละครั้งให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ในการติดตาม

           6. วางแผนการหาเอกสารที่ไม่สามารถหาได้ในแต่ละครั้ง

ทั้งนี้ Leedy เสนอว่าภายหลังได้เอกสารงานวิจัยต่างๆมาอย่างเพียงพอ สิ่งที่สำคัญและควรกระทำ คือ กิจกรรม

การประเมิน จัดระบบ และสังเคราะห์ ทั้งสามขั้นตอนนี้ จะทำให้การทบทวนวรรณกรรมเรามีคุณค่าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการทบทวนวรรณกรรมในการดำเนินโครงงาน

ความส าคัญของการทบทวนวรรณกรรม 1. เป็นหลักฐานว่างานวิจัยที่ท ามีคุณค่าและเชื่อถือได้ในด้านวิชาการ 2. ท าให้ผู้ที่น างานวิจัยไปใช้มีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความถูกต้อง ของแนวคิดและทฤษฎีที่น ามาใช้ 3. สามารถน าเสนอผลการวิจัยที่ชี้ให้เห็นความสอดคล้องและความ ขัดแย้งกับผลงานวิจัยอื่น ๆ

จุดประสงค์สำคัญของการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตรงกับข้อใด

กล่าวโดยสรุป การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมีความมุ่งหมาย คือเพื่อให้ได้ข้อสารสนเทศเกี่ยวกับ เนื้อหาสาระ ความรู้ แนวคิดประเด็นปัญหาวิจัยและตัวแปรต่างๆ ทฤษฎี รูปแบบระเบียบวิธีวิจัย สมมติฐาน นิยามศัพท์เฉพาะ เครื่องมือการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล การนำเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการ ...

Literature Review มีอะไรบ้าง

การเขียน Literature Review ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ.
การค้นหาบทความ.
การประเมินความเกี่ยวข้องของบทความที่ได้จากการค้นหา.
การเชื่อมโยงสาระสำคัญในบทความต่าง ๆ และ การระบุช่องโหว่ (Gaps).
การจัดองค์ประกอบ Literature Review..
การลงมือเขียน Literature Review..

ทบทวนวรรณกรรม อยู่ตรงไหน

การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจัย