Best Practice วิทยาศาสตร์ STEM

ชื่อผลงาน การจัดการเรียนรู้แบบ STEM เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
             รายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคาร
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสุภิญญา สุโข ตำแหน่ง ครู อันดับ ค.ศ.1
โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคาร ตำบลหนองแวง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัด                    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
โทรศัพท์ :043-612013 โทรสาร:043-612013
โทรศัพท์มือถือ: 080 - 1567879 e – mail:
ผู้บริหารโรงเรียน   นายจักรวาล เจริญทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคาร

ปีที่เผยแพร่  2558

1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
        โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารมีการผลักดันนโยบาย เกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เยาวชนสามารถดำรงชีวิตในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ สามารถและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสภาพสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีในอนาคต การตื่นตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีความจำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ทำให้เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักพึ่งตนเองและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขและจากแบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มรายวิชาเคมีอยู่ในระดับปานกลาง ขาดความสามารถด้านการเชื่อมโยงความรู้ และขาดทักษะกระบวนการแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบ อาจสืบเนื่องมาจากนักเรียนไม่มีทักษะการบูรณาการของความรู้กับสภาพสถานการณ์จริง ข้าพเจ้านางสุภิญญา สุโข ตำแหน่ง ครู อันดับ ค.ศ. 1 ในฐานะครูผู้สอนกลุ่มรายวิชาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด จึงมองเห็นความสำคัญดังกล่าว โดยได้วิเคราะห์หลักการ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ของ STEM Education เพื่อนำมาออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการที่เน้นให้ความสำคัญกับวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ทักษะการเชื่อมโยงและกระบวนการแก้ปัญหา จึงได้พัฒนาพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารและเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21นอกจากนี้ยังเป็นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นต่อไป
2.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
        1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์75/75
        2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
        3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคาร หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเคมีพื้นฐานที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
3.กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน 

        3.1 ขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM
             1.ศึกษาเอกสาร หลักการ ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education บทความ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องSTEMEducation
             2.ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะบูรณาการรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ดังนี้ คือ ในชั่วโมงที่ 1 จัดการเรียนรู้ขั้นตอนปกติคือ ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุปและในชั่วโมงที่ 2 นำสถานการณ์จำลอง ตัวอย่าง กรณีศึกษา ให้นักเรียนฝึกการเชื่อมโยงความรู้กับประเด็นปัญหาในชีวิตประจำวัน โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความท้าทาย ขั้นที่ 2 สำรวจแนวคิดเพื่อการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 วางแผนการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ทดสอบและประเมินขั้นที่ 5 นำเสนอผล/แนวทางแก้ปัญหา
             3. นำกิจกรรมที่ได้ไปทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 3 คน มีความสามารถ เก่ง ปานกลาง และอ่อน
             4.นำเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบที่ได้เพื่อขอคำแนะนำ แล้วนำมาปรับปรุงตามคำ แนะนำ
             5. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ STEMที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
        3.2ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ปฏิกิริยาเคมี
             1. ศึกษาหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรสถานศึกษา การวัดและประเมินผล แนวคิดในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี และโจทย์ O – netที่มีเนื้อหาใกล้เคียงและเกี่ยวข้องกันในรายวิชาเคมีพื้นฐาน
             2. สร้างแบบทดสอบ จำนวน 40ข้อ นำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์กับจุดประสงค์การเรียนรู้แล้ววิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง
             3. คัดเลือกและจัดพิมพ์ข้อสอบที่ผ่านการตรวจคุณภาพแล้วจำนวน 30 ข้อ ใช้เป็นแบบทดสอบฉบับจริงเพื่อใช้ในการทดลองต่อไป
        3.3 ขั้นตอนการสร้างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน หลังจากได้รับการเรียนรู้แบบ STEM
             1.สร้างแบบประเมินที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท(Likert)
             2. นำแบบประเมินเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำตามความเหมาะสม
             3. ปรับแก้แบบประเมินตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และจัดพิมพ์แบบประเมินเพื่อนำไปใช้ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้เรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM
        3.4 รูปแบบของการศึกษา
        ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 :248-249) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling)ซึ่งเป็นห้องที่ผู้ศึกษาทำการสอน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
             1. ก่อนการจัดการเรียนรู้ ผู้ศึกษาได้ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre – test) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4จำนวน 65คนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี จำนวน 30ข้อ
             2. ผู้ศึกษาได้ทำการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนกลุ่มเดิม โดยจัดตามแผนการจัดการเรียนรู้ใน 1 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีจำนวนทั้งสิ้น 4แผนแผนการจัดการเรียนรู้ละ 2 ชั่วโมงรวมทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง
             3. การจัดการเรียนรู้ในชั่วโมงที่ 1 จัดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่จำเป็น หลักการ ตามขั้นตอนคือ ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุปการจัดการเรียนรู้ในชั่วโมงที่ 2 ได้นำสถานการณ์จำลอง ตัวอย่าง กรณีศึกษาการวิเคราะห์ปัญหาตามรูปแบบกระบวนการของ STEM เพื่อให้นักเรียนฝึกการเชื่อมโยงความรู้กับประเด็นปัญหาในชีวิตประจำวัน โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความท้าทาย ขั้นที่ 2 สำรวจแนวคิดเพื่อการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 วางแผนการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ทดสอบและประเมินขั้นที่ 5 นำเสนอผล/แนวทางแก้ปัญหา
             4. หลังจากจัดการเรียนรู้จนครบหน่วยการเรียนรู้เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีจำนวนทั้งสิ้น 4แผนการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันตั้งประเด็นปัญหาในชีวิตประจำวัน ร่วมกันวางแผนการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน
             5.นักเรียนกลุ่มทดลองสร้างสรรค์ชิ้นงานตามรูปแบบบูรณาการที่เน้นให้ความสำคัญกับวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ และทำการนำเสนอต่อเพื่อนในชั้นเรียนและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในห้องเรียน
             6. หลังจากสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ทุกแผนการจัดการเรียนรู้แล้วผู้ศึกษาได้ทำการทดสอบหลังเรียน (Post – test) กับนักเรียนกลุ่มเดิมอีกครั้ง ด้วยแบบทดสอบฉบับเดียวกันกับข้อ 1
             7.หาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการของขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ แบบ STEMที่ผู้ศึกษาออกแบบขึ้นตามเกณฑ์ 75/75
             8. หาค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ แบบ STEM
             9. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEMใช้ t – test แบบ Dependent Sample (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ.2536 :104)
             10. ผู้ศึกษาได้ให้นักเรียนทุกคนทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ STEMเพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและหาค่าเฉลี่ยแล้วแปรผล
4.ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
          การจัดการเรียนรู้แบบ STEM เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารสำหรับครูผู้สอนที่ต้องการเน้นทักษะการจัดการศึกษาแบบบูรณาการที่เน้นให้ความสำคัญกับวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ทักษะการเชื่อมโยงและกระบวนการแก้ปัญหา และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ยังเป็นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น โดยมีรูปแบบขั้นตอน ดังนี้

Best Practice วิทยาศาสตร์ STEM

        จากการที่ผู้ศึกษาได้นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารที่ออกแบบขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคาร จำนวน 65คน ปรากฏผล ดังนี้
        1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารมีประสิทธิภาพ 77.98/76.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์75/75 ที่ตั้งไว้
        2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ STEMมีค่าเท่ากับ0.6276แสดงว่า การจัดการเรียนรู้แบบ STEMที่ออกแบบขึ้น มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สูงขึ้น หรือมีความก้าวหน้าและมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.76
        3.จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้ t – test แบบ Dependent Sample (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2536 : 104)ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEMพบว่า ค่าt คำนวณมีค่าเท่ากับ 28.31และค่า t ในตารางในชั้นแห่งความเป็นอิสระ ที่ 64 มีค่าเท่ากับ2.6549แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEMที่สร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ STEMที่ออกแบบขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 หมายความว่าการจัดการเรียนรู้แบบ STEMมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด
5.ปัจจัยความสำเร็จ
        1.การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEMมีการออกแบบตามขั้นตอนและเป็นระบบมีการศึกษาปัญหาที่นำมาสู่หัวข้อการศึกษา มีการศึกษาทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องการขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
        2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STEMอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01เพราะขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ศึกษา หลักสูตร หลักการวัดผลประเมินผล แนวทางการออกข้อสอบ รวมถึงข้อสอบได้ผ่านการหาคุณภาพอย่างเป็นระบบ
        3.ความพึ่งพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEMอาจเป็นเพราะครูจัดการเรียนรู้โดยเน้นให้นักเรียนวิเคราะห์และแยกประเด็นสำคัญของเรื่อง เพื่อนำมาสู่การหาคำตอบและเชื่อมโยงหลักการ รูปแบบบูรณาการที่เน้นให้ความสำคัญกับวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างเท่าเทียมกัน
        4.ผู้บริหารมีแนวนโยบายให้ความสำคัญ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบ และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
        5. ผู้ปกครองให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
6.บทเรียนที่ได้รับ
        6.1 สรุปผล
             1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEMที่ออกแบบขึ้น มีประสิทธิภาพ 77.98/76.94ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ แสดงว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STEMมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงมีความเป็นไปได้ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
             2. การจัดการเรียนรู้แบบ STEMที่ออกแบบขึ้นมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารเปลี่ยนแปลงไปในทาง
ที่สูงขึ้น
             3.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEMรายวิชาเคมีพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคารสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
            4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ STEMอยู่ในระดับมากที่สุด หมายความว่า การจัดการเรียนรู้แบบ STEMสามารถทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบบูรณาการที่เน้นให้ความสำคัญกับวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ STEM มากขึ้น
        6.2 ข้อเสนอแนะ
             1. การสร้างสรรค์ชิ้นงานควรอยู่ในความดูแลของครูผู้สอน และทำในเวลาราชการเท่านั้น
             2. ครูผู้สอนควรนำเอารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEMไปประยุกต์ให้เข้ากับสภาพของนักเรียนในโรงเรียนก่อน
             3. ครูผู้สอนควรเตรียมความพร้อมของการจัดกิจกรรมมีแบบวิเคราะห์ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้แบบ STEM ที่เน้นให้ความสำคัญกับวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์
            4.ควรมีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEMให้คลอบคลุมทุกระดับชั้นและทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ
        7.1 ประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน
        7.2 http://worrawitsukho.blogspot.com/

ประวัติผู้ศึกษา 


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสุภิญญา สุโข เกิดวันที่ 21กันยายน 2528 อายุ 30ปี
สถานภาพ สมรส
บิดาชื่อ นายสง่า แก้วคำ อาชีพ เกษตรกร
มารดาชื่อ นางอัมพร แก้วคำ อาชีพ เกษตรกร
อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 50 หมู่ 17 บ้านหนองกก ต.บัวหุ่ง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
หมายเลขโทรศัพท์ 080-1567879
ประวัติการศึกษา
ปี 2547จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ต.ท่าม่วง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
ปี 2551 จบปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จ.สุรินทร์
ปี 2555 จบการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ทุนสควค.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
ปัจจุบัน กำลังศึกษาต่อปริญญาโทคณะศึกษาศาสตร์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง โครงการพิเศษจังหวัดร้อยเอ็ด รุ่นที่ 5
ประวัติการทำงาน
ปี 2555 บรรจุเป็นข้าราชการครู ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย วันที่ 17 กันยายน 2555 วิชาเอกเคมี
โครงการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (สควค.)โรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคาร ต.หนองแวง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
ปี 2557 เลื่อนอับดับจากครูผู้ช่วย เป็นครู อันดับ ค.ศ.1 วันที่ 17 กันยายน 2557 โรงเรียนหนองผึ้ง-วิทยาคาร ต.หนองแวง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
ปี 2558 ปัจจุบันเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (สอนวิชาเคมี) สอนในระดับชั้น ม.4-ม. 6
ผลงานเด่นด้านวิทยาศาสตร์
ปี 2555 - เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง ม.ปลาย
เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ปี 2556- เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง ม.ต้น
เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ปี 2556 นำนักเรียนเข้าแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 63 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้รางวัล ดังนี้
- รางวัลระดับเหรียญทองการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลองม.ปลาย
เรื่อง การสกัดสารจากต้นกำแพงเจ็ดชั้น
ปี 2557 - เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ม.ปลาย
เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ปี 2558นำนักเรียนเข้าแข่งขันงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้รางวัล ดังนี้
- รางวัลระดับเหรียญเหรียญเงิน การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง ม.ปลาย
เรื่อง สบู่ข้าวไรซ์เบอร์รี่ของดีข้าวสายพันธ์ใหม่