การ นอน ที่ ดี ที่สุด

  • Home
  • Blog
  • ความรู้ทั่วไป
  • การนอนสำคัญไฉน และนอนอย่างไรให้สุขภาพดี

การนอนสำคัญไฉน และนอนอย่างไรให้สุขภาพดี

ความรู้ทั่วไป, โรคทางหู คอ จมูก   ลงวันที่ 13 January 2565

การ นอน ที่ ดี ที่สุด

การนอนสำคัญไฉน และนอนอย่างไรให้สุขภาพดี

น.พ. นพดล ตรีประทีบศิลป์

                การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญของสิ่งที่มีชีวิตไม่น้อยไปกว่าการได้รับประทานอาหารที่ดี และการได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์ สังเกตได้ว่ามนุษย์เราใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอนหลับ การนอนหลับนั้นเป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือดได้พักผ่อน เพราะร่างกายเรานอนนิ่ง ไม่ได้ออกแรงใด ๆ จึงไม่ต้องการการสูบฉีดโลหิตมากเท่าไรนัก นอกจากนี้ ในขณะที่มนุษย์นอนหลับนั้นจะมีการซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย และการปรับสมดุลของสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย และที่สำคัญในระหว่างที่มนุษย์นอนหลับนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่สมองทำการเรียบเรียงข้อมูลต่าง ๆ ที่สมองได้รับทราบในวันนั้น ๆ เข้าสู่การเรียบเรียงและจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สามารถดึงมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงนับได้ว่าการนอนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ทำให้สมองเกิดการจดจำและมีพัฒนาการตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการนอนหลับที่เหมาะสมโดยทั่วไปในผู้ใหญ่วัยทำงานจะเฉลี่อยู่ที่ 7 -9 ชั่วโมง นอกจากนี้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนอนหลับยังแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

 

Q : ถ้าคนเรานอนไม่พอติดต่อกันเป็นเวลานานจะเป็นอะไรหรือไม่ และถ้าคนเรานอนมากเกินไปจะส่งผลต่อสุขภาพหรือไม่

A : จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่นอนไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นเวลานานนั้นจะส่งผลต่อการเกิดสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ โดยส่งผลต่อการมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การเกิดภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองในสมอง โรคซึมเศร้า รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

นอกจากนี้ การนอนหลับไม่เพียงพอนั้น ยังส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่มากขึ้นกว่าปกติ และยังส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ในทางตรงกันข้าม การนอนหลับที่มากเกินไป อาจเป็นปกติสำหรับบุคคลบางกลุ่ม เช่น วัยรุ่น บุคคลที่นอนไม่พอมาก่อนหน้านี้ หรือบุคคลที่มีการเจ็บป่วย และจากข้อมูลในปัจจุบันยังไม่แน่ใจว่าการนอนหลับมากเกินไปนั้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่

Q : ทำไมบางครั้งเรารู้สึกว่านอนไม่พอ

A : ความรู้สึกนอนไม่พอหรือนอนไม่อิ่มอาจเกิดจากหลายสาเหตุเบื้องต้น ควรสำรวจว่าจำนวนชั่วโมงที่นอนน้อยเกินไปหรือไม่ ถ้าน้อยเกินไปให้เพิ่มชั่วโมงการนอนหลับให้พอทั้งวันทำงานและวันหยุด แต่หากเพิ่มชั่วโมงการนอนหลับแล้วรู้สึกนอนไม่พออีกอาจเกิดจากคุณภาพการนอนหลับไม่ดี เช่น การนอนหลับถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีทำให้หลับไม่สนิท หรือมีโรคจากการนอนหลับ เช่น นอนหลับและหยุดหายใจขณะหลับ โรคขากระตุก เป็นต้น จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการแก้ไข

Q : การออกกำลังกายมีผลต่อการนอนหลับอย่างไรบ้าง

A : การศึกษาพบว่า การออกกำลังายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ในลักษณะของแอโรบิค เช่น การเดิน การวิ่ง เป็นต้น จะช่วยทำให้การนอนหลับเกิดขึ้นได้ดี และต่อเนื่องตลอดคืนมากขึ้น เทียบกับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย แต่ควรเป็นช่วงเช้าหรือเย็น ไม่ควรออกกำลังกายใกล้เวลาที่จะนอน เพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัว ไม่พร้อมที่จะเข้าสู่การนอนหลับ

Q : เมื่อไหร่ควรจะปรึกษาแพทย์ด้านการนอน

A : โดยทั่วไปแล้ว ควรจะปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหาในการนอนต่อเนื่องกันเป็นเดือน ทั้ง ๆ ที่ได้ปฏิบัติตามที่แพทย์ได้แนะนำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหาที่เร่งด่วน เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึกด้วยอาการเจ็บหน้าอก หรือหายใจไม่ออก หรือมีอาการง่วงผิดปกติในระหว่างวัน เช่น งีบหลับหรือหลับในขณะขับรถ หรือมีภาวะนอนไม่หลับจนทำให้การทำงานหรือชีวิตประจำวันมีปัญหาก็ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

โดยสรุป การนอนนั้นเป็นสิ่งสำคัญของชีวิต โดยคิดเป็นระยะเวลา 1/3 ของวัน และระยะเวลาการนอนหลับที่เพมาสมนั้นเฉลี่ยอยู่ที่มากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน

ข้อดีของการนอนหลับที่ดี คือเป็นขบวนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่าง ๆ  ของร่างกายจากการปรับสมดุลของสารเคมีต่าง ๆ หัวใจและหลอดเลือดได้พักผ่อน และเป็นขบวนการเรียบเรียงและจัดเก็บในสมอง พร้อมดึงกลับมาใช้และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

ข้อเสีย หรือผลจากการอดนอนเป็นเวลานาน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง โรคซึมเศร้า มีภาวะอ้วน และเสี่ยงต่อเบาหวาน รวมไปถึงความจำและสมาธิที่แย่ลง ภูมิคุ้มกันลดลง อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียส่งผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานที่ลดลง และอุบัติเหตุที่อาจเกิดเพิ่มขึ้น

เหตุที่เรารู้สึกว่านอนไม่พอ หรือนอนไม่อิ่ม อาจเกิดจากการนอนน้อยเกินไป แต่หากนอนเพียงพอแล้ว อาจเกิดจากคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น สิ่งแวดล้อม หรือการนอนกรน หรือโรคจากการนอนหลับต่าง ๆ

หากมีปัญหาเรื่องงการนอนต่อเนื่องเป็นเดือน ๆ หรือตื่นมากลางดึกด้วยอาการเจ็บหน้าอก ง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวัน  มีการขับรถหลับใน หรือนอนไม่พอจนชีวิตประจำวันมีปัญหาก็ควรรีบปรึกษาแพทย์

การ นอน ที่ ดี ที่สุด

———————————————————————————————————–

คลินิกโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ (ENT) ให้บริการวินิจฉัยและรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับหู คอ จมูก ได้แก่ โรคในช่องปาก ลำคอ ทอมซิลอักเสบ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก ไทรอยด์ โรคภูมิแพ้ทางจมูก หวัดเรื้อรัง จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ โรคทางหู หูอื้อ หูน้ำหนวก หูอักเสบ รูหน้าใบหู โรคเวียนศีรษะจากน้ำในหูไม่เท่ากัน รวมถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดทอมซิล ไทรอยด์ ก้อนบริเวณหูและคอ และการตรวจรักษาในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินด้วยเครื่องมือพิเศษ OAE, Audiogram, Tympanometry, ABR

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

-ในเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. โทร 02-849-6600 ต่อ 2571-2574

 

ศูนย์ตรวจการนอนหลับกาญจนาภิเษก ให้บริการตรวจวิเคราะห์ และวินิจฉัยโรคต่าง ๆ แก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการนอนหลับ และบริการให้คำปรึกษา และคำแนะนำการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) เพื่อใช้รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA)
เปิดให้บริการทุกวัน 8.00 – 20.00 น. โทร 0613849154 หรือไลน์แอด @sleeplabgj

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2571-2572

บทความที่เกี่ยวข้อง

การ นอน ที่ ดี ที่สุด

ฝังเข็มเจ็บมากไหม ? อันตรายหรือไม่ ?

ฝังเข็มเจ็บมากไหม ? อันตรายหรือไม่ ? โดย พจ.ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ การฝังเข็ม(ภาษาจีน: 針灸; ภาษาอังกฤษ: Acupuncture) เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยการฝังเข็มเป็นการใช้เข็มปักลงไปตามจุดต่างๆบนร่างกาย ตามจุดสำคัญๆที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า มีความสำคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย จุดฝังเข็มบนร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายร้อยจุด แต่จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิงขององค์การอนามัยโลก(WHO)มีอยู่จำนวน 349 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) หลักๆ 12 เส้นหลัก และอีก 2 เส้นรอง ซึ่งแต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่อย่างชัดเจน การฝังเข็มให้เกิดผลในการรักษาโรค ไม่ใช่เพียงแพทย์จีนปักเข็มไปตามร่างกายเท่านั้น แต่แพทย์จีนยังต้องมีเทคนิคหลายอย่างในขั้นตอนการฝังเข็ม การเลือกรักษากับแพทย์จีนที่มีความรู้เกี่ยวกับเข็มและอุปกรณ์การฝังเข็มเป็นอย่างดี ทั้งการเลือกใช้ประเภทของเข็ม ข้อระวัง วิธีการใช้ เทคนิคต่างๆในการกระทำต่อเข็มเพื่อให้ผลการรักษาได้ผลดี ตั้งแต่เริ่มการจับเข็ม การลงเข็ม การถอนเข็ม รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพปลอดภัยและปลอดเชื้อ แพทย์จีนใช้เข็มอะไรฝังเข็มคนไข้ ปัจจุบันการฝังเข็มได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคควบคู่ไปกับการแพทย์แผนตะวันตก หลายครั้งมีคำถามว่า เข็มที่แพทย์จีนใช้ปักบนร่างกายของคนไข้ใช้เข็มอะไร? เหมือนเข็มฉีดยาไหม? ใหญ่ไหม? ปลอดภัยหรือเปล่า?  แล้วเจ็บหรือเปล่า? รูปที่1 ลักษณะเข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม เข็มที่แพทย์จีนนิยมใช้แพร่หลายที่สุดคือ เข็มที่มีลักษณะกลม-บาง ปลายเข็มแหลมคม ความยาวอยู่ระหว่าง […]

การ นอน ที่ ดี ที่สุด

รังสีร่วมรักษากับการรักษามะเร็ง

รังสีร่วมรักษากับการรักษามะเร็ง โดย นพ. พิพิธ ปิตุวงศ์ (แพทย์รังสีร่วมรักษาของลำตัว) รู้หรือไม่!!! รังสีแพทย์ก็ทำการรักษาผู้ป่วยเหมือนกัน รังสีร่วมรักษา ไม่ใช่รังสีรักษานะ มะเร็งบางชนิดสามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และ ไม่ต้องได้ยาเคมีบำบัด ———————————————————————————————————————– มารู้จักกับแพทย์รังสีร่วมรักษากันเถอะ แพทย์รังสีร่วมรักษาเป็นแพทย์ที่เรียนต่อเฉพาะทาง ทางด้านรังสีวินิจฉัย ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยได้พบรังสีแพทย์ด้านนี้เท่าไหร่ เนื่องจากเราทำงานอยู่เบื้องหลัง ช่วยแปลผลภาพให้แพทย์เฉพาะทางด้านอื่นๆ ได้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง แม่นยำขึ้น เราจะมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องเอกซ์เรย์ เครื่องฟลูโอโรสโคปี้ระบบดิจิตอล เครื่องอัลตราซาวด์ และ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแพทย์เฉพาะทาง ทางรังสีลงไปอีก คือ แพทย์รังสีร่วมรักษา ที่จะใช้อุปกรณ์ทางรังสีดังกล่าว เพื่อนำทางในการรักษาผู้ป่วย โดยไม่ต้องผ่าตัด อีกทั้งมีความแม่นยำสูง และแผลเล็กนิดเดียว  เช่น การเจาะระบายหนองทางหน้าท้อง, การให้ยาเคมีบำบัดกับเส้นเลือดที่จำเพาะไปยังก้อนมะเร็ง, การรักษาภาวะหลอดเลือดผิดปกติผ่านทางสายระบายหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด และ การจี้ก้อนมะเร็งผ่านทางผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็กโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นต้น รังสีร่วมรักษานะ ไม่ใช่รังสีรักษา หลายคนมีความสับสนระหว่างแพทย์รังสีร่วมรักษา กับ แพทย์รังสีรักษา ด้วยความที่ชื่อภาษาไทยมีความคล้ายกันอย่างมาก แต่อันที่จริงการทำงานของเราต่างกันโดยสิ้นเชิง เปรียบเทียบได้ตามตารางข้างล่างนี้ รังสีร่วมรักษา รังสีรักษา ภาษาอังกฤษ คือ […]

การ นอน ที่ ดี ที่สุด

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด นายธนวัฒน์ ชาชิโย (นักวิชาการโภชนาการ)   วัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดย พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทย เป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก และคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 รายต่อปี วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและสามารถวัณแพร่เชื้อโดยการไอ จาม ฝอยละอองเสมหะที่ออกมาจากปอดของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคและผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคก็คือผู้ที่หายใจรับเชื้อวัณโรคที่ล่องลองในอากาศเข้าสู่ปอด   อาการของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดที่มีมักพบ คือ เบื่ออาหาร ไอ มีเสมหะ เหนื่อย หอบ ต่อมรับรสผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวคือผลจากโรคและผลข้างเคียงจากยา  ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดมีน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ในภายหลัง และเมื่อร่างกายขาดสารอาหารจึงส่งต่ออาการของโรคและการแพ้ยารุนแรง ภาวะทุพโภชนาการกับวัณโรค โดยปกติแล้วผู้ป่วยวัณโรค จะได้รับการรักษาและยา ตามที่แนวทางการรักษาของแพทย์ แต่อาหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ป่วยวัณโรค หรือผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง จากอาการที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ส่งผลให้น้ำหนักจะลดลงเร็วมากถึง 3 –5 กิโลกรัมใน 2 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลต่อค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทำให้มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ และมวลกล้ามเนื้อลดลง จากการได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งผลต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ภูมิคุ้มกันลดลง […]

การ นอน ที่ ดี ที่สุด

5 คุณประโยชน์ของการนอนที่ดี (Surprising Reasons to Get More Sleep) โดย นพ. นพดล ตรีประทีปศิลป์ และ พญ. ศิริลักษณ์ ผลศิริปฐม (หน่วยโรคจากการนอนหลับ แผนกโสตนาสิกลาริงซ์) เคยไหม? บางวันรู้สึกเป็นวันที่ไม่สดใส หงุดหงิดกับคนรอบตัว สมองไม่ปลอดโปร่ง หรือไม่มีสมาธิเอาเสียเลย ทุกอย่างดูไม่เป็นใจไปเสียหมด หรือเพราะมันเป็นเพียงวันแย่ๆ วันหนึ่ง (It’s just a bad day) ทว่าเราเคยคิดทบทวนกันบ้างไหมว่า การนอนหลับของเราในคืนที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เป็นการนอนที่มีคุณภาพหรือไม่ ร่างกายของเราได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และมีพลังกายพลังใจ พร้อมที่จะทำกิจกรรมในวันต่อไปแล้วหรือยัง ฉะนั้นเราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญในชีวิตของเราก็คือเรื่องการนอน การอดนอนหรือการนอนที่ไม่มีคุณภาพ อาจส่งผลให้คุณรู้สึกฉุนเฉียว อ่อนล้าได้ในเช้าวันรุ่งขึ้น แต่หากปัญหาการนอนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจจะส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากสภาวะอารมณ์ ยังสามารถแผ่ขยายไปกระทบถึงสุขภาพทางกาย ทางจิตใจ หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตผลให้เรามีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงทั้งสิ้น มีงานวิจัยทางการแพทย์หลายบทความพบว่า การมีคุณภาพการนอนที่ดีอย่างสม่ำเสมอนั้น เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลายแง่มุมตั้งแต่เรื่องการคุมน้ำหนัก ไปถึงการลดอัตราการเกิดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ และนี่คือเหตผลว่าทำไมเราควรมี “สุขภาพการนอนที่ดี” โดยบทความนี้ก็จะพาไปให้เห็นถึงเรื่องนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น และนี่คือ 5 เหตผลว่าทำไมเราควรถึงต้องนอนให้ดี 1. […]

การนอนหลับที่ดีควรเป็นอย่างไร

เข้านอนให้เป็นเวลา ไม่ควรนอนดึกมาก ระยะเวลาที่ควรเข้านอนคือ 21.00-23.00 น. รวมถึงตื่นนอนให้เป็นเวลาด้วย เข้านอนเมื่อร่างกายพร้อมที่จะนอน เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วง ไม่อยู่ในภาวะตึงเครียด หรือไม่ฝืนนอน จัดระเบียบห้องนอน และกำจัดสิ่งรบกวน ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจก่อนนอน อาบน้ำอุ่น เดินเบา ๆ ไปมา หรือนั่งสมาธิ

นอนหลับท่าไหนดีที่สุด

ท่านอนที่ดีที่สุดคือการนอนที่กระดูกสันหลังตั้งแต่บริเวณสะโพกไปจนถึงศีรษะอยู่ในท่าที่เหมาะสม ซึ่งความเหมาะสมที่ว่านี้ก็อาจแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละคน ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพและท่าทางที่เรานอนแล้วรู้สึกว่าสบายที่สุดด้วย

ตื่นนอนเวลาไหนดีที่สุด

แน่นอนว่าการตื่นนอนในเวลาเช้าตรู่คือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพราะ 03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของปอด การได้ออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์อย่างเต็มที่นั้นก็ช่วยให้สดชื่นขึ้นได้แล้วแ แต่แค่ตื่นเช้ายังไม่พอ ยามเช้าหลังตื่นนอนคือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการสร้างสุขภาพให้ดีทั้งกายและใจ

นอนวันละ5ชั่วโมงได้ไหม

จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณนอนเพียง 5 ชั่วโมงต่อวัน ? 1. น้ำหนักตัวเพิ่ม หรือในบางคนอาจถึงขั้นเป็นโรคอ้วนได้เลยนะคะ เนื่องจากการนอนหลับไม่เพียงพอจะมีผลให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ แถมยิ่งนอนดึกก็ยิ่งหิวง่าย แล้วแบบนี้จะไม่เสี่ยงกับโรคอ้วนได้ยังไงนะ 2. อารมณ์แปรปรวน