ระหว่าง อาณาจักร อยุธยา กับ อาณาจักร ล้าน ช้าง ใน ลักษณะ ใด

ความสัมพันธ์ สยาม-ล้านช้าง

ที่ตั้งกระทู้นี้ ก็ด้วยเหตุได้อ่านบางคอมเมนท์ในโซเชี่ยลนะครับ เลยประมวลความรู้ความเข้าใจมาแลกเปลี่ยนกัน

เริ่มเรื่องก็ด้วยมูลเหตุการเป็นพันธมิตรของ อยุธยา-เวียงจันทน์ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช บางคอมเมนท์บอกว่าในที่สุดทางอยุธยาก็ตระบัดสัตย์ทรยศเวียงจันทน์

เท่าที่ผมสืบค้นได้คือ
ในช่วงเวลานั้น ฝ่ายอยุธยาคือราชวงศ์สุพรรณภูมิ ดึงล้านช้างมาเป็นพันธมิตรเพื่อต้านอำนาจของหงสาวดี
ต่อมาอยุธยามีเรื่องขัดแย้งกับพิษณุโลก  ( เวียงจันทน์ยกมาตีพิษณุโลกด้วย)

พอฝ่ายพิษณุโลกได้ครองอยุธยา จึงไม่ได้เป็นพันธมิตรกับเวียงจันทน์อีก
ผมคิดว่าจะบอกอยุธยาตระบัดสัตย์ก็ไม่ได้เพราะเปลี่ยนราชวงศ์ไปแล้ว ซ้ำพิษณุโลกกับเวียงจันทน์มีเรื่องกันมาก่อน เริ่มจะมาญาติดีกันบ้างก็ล่วงเข้าสมัยสมเด็จพระเพทราชา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

และตอนที่สยามยกไปตีล้านช้างเป็นประเทศราชได้ก็คือสมัยราชวงศ์ธนบุรี  แม้ล้านช้างทั้งสามอาณาจักรจะสืบมาจากวงศ์เดียวกัน แต่ฝั่งสยามเปลี่ยนไปถึงหกราชวงศ์แล้ว นโยบายต่างๆก็เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ

ในสมัยอยุธยา อยุธยาเคยทำสงคราม กับอาณาจักรล้านช้าง หรือไม่

กระทู้คำถาม

ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

หรือว่า เป็นประเทศที่มีไมตรีดีต่อกันมาตลอด เลยไม่มีเรื่องกระทบกระทั่งกัน

จนมาถึงสมัยเสียกรุง ครั้งที่ 2 เจ้าตากจึงยกพลไปยึดเป็นประเทศราช
เหตุผล ของพระยาตาก คืออะไร ถึงยกพลไปยึดอาณาจักรล้านช้าง

0

1

ระหว่าง อาณาจักร อยุธยา กับ อาณาจักร ล้าน ช้าง ใน ลักษณะ ใด

สมาชิกหมายเลข 2113241

สมาชิกหมายเลข 3152787 ถูกใจ

       ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับรัฐเพื่อนบ้าน  

                               ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเพื่อนบ้านมีทั้งลักษณะที่เป็นไมตรีต่อกัน และมีความขัดแย้งจนต้องทำสงครามกัน ทั้งนี้เพราะอยุธยามีนโยบายในการขยายอำนาจเข้าไปปกครองในดินแดนของรัฐเพื่อนบ้าน จึงทำให้ความสัมพันธ์ดำเนินไปในลักษณะการรุกรานซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกับพม่าที่มีการทำสงครามกันตลอดในสมัยอยุธยา 

         1.ล้านนาแคว้นล้านนามีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ อยุธยาไม่ได้มีอาณาเขตติดต่อกับล้านนาโดยตรงเนื่องจากมีอาณาจักรสุโขทัยคั่นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับล้านนามีลักษณะเป็นการทำสงครามกันมากกว่าการเป็นไมตรีต่อกัน สงครามกับอยุธยากับล้านนาได้เกิดขึ้นหลายครั้งในรัชสมัยพระยาติโลกราชแห่งล้านนากับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นอยุธยากับล้านนาจึงเป็นไมตรีต่อกัน ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อยุธยาติดทำสงครามกับพม่าจึงไม่ยกกองทัพไปช่วยเมืองเชียงใหม่ซึ่งถูกพม่ารุกรานเช่นเดียวกัน จะเห็นว่าตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ล้านนาตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของไทยเป็นบางช่วง และบางช่วงอยู่ใต้อิทธิพลของพม่า เมื่อสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว ล้านนาเป็นอิสระได้ระยะหนึ่งจนกระทั่งมาถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย เชียงใหม่ตกเป็นเทศราชของพม่าจนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 

         2. ลาว ในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทรงรวบรวมดินแดนลาวเข้าเป็นอันหนึ่งเดียวกันแล้วสถาปนาเป็นอานาจักรล้านช้างซึ่งขณะนั้นตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) แห่งอยุธยากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้แบ่งดินแดนกันโดยใช้แนวทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นเขตแดนระหว่างกัน หลักฐานสำคัญที่แสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยและลาวสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐา คือ การร่วมกันสร้างพระธาตุสีสองรัก มีศิลาจารึกเป็นตัวอักษรทางภาษาลาว อีกด้านหนึ่ง เป็นอักษรของภาษาไทย เมื่อฝรั่งเศสเข้ามายึดเมืองด่านซ้ายใน พ.ศ. 2449 ได้นำศิลาจารึกนี้ไปเวียงจันทร์ เนื้อความในศิลาจารึกกล่าวถึงกษัตริย์ทั้งสองนครว่า จะรักใคร่กลมเกลียวกันจนชั่วลูปชั่วหลาน หลังจากไทยเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่าครั้งที่ 1 แล้วไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมิตรไมตรีระหว่างไทยกับลาวตาอย่างใด 

          3. พม่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าส่วนใหญ่เป็นการแข่งอิทธิพลและการขยายอำนาจจึงทำให้เกิดสงครามตลอดมา สาเหตุสำคัญมาจากการที่พม่าได้เป็นใหญ่ในเหนือดินแดนมอญและไทยใหญ่แล้วก็พยายามขยายอำนาจเข้ามายังอาณาจักรอยุธยา การที่พม่ายกทัพมารบกับอยุธยาหลายครั้งแสกงให้เห็นถึงความต้องการเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้แล้วพม่าต้องการแสดงความเป็นเอกภาพในดินแดนพม่าโดยการรวบรวมชนกลุ่มน้อยให้เป็นหนึ่งเดียวกันแต่อุปสรรคสำคัญของพม่า ในสมัยอยุธยาไทยกับพม่าได้ทำสงครามกันถึง 24 ครั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าจึงเป็นลักษณะความสัมพันธ์ทางการเมืองและการทำสงครามเกือบตลอดเวลา 

          4.เขมรในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้โปรดเกล้าฯได้ยกทัพไปตีเขมรได้สำเร็จแต่ปกครองอยู่ได้ไม่นานเขมรประกาศตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงยกทัพไปตีเขมร เขมรจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา แต่ภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เขมรก็ตั้งตัวเป็นอิสระแม้ไทยจะส่งกองทัพไปปราบแต่ก็ไม่สำเร็จ ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเขมรมีทั้งลักษณะเป็นไมตรีต่อกัน มีความขัดแย้งหรือทำ