คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 4 ฝ่าย

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

จัดตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2517 ที่ตำบลขรัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต” และมีการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทั่วประเทศ

หลักการและวิธีการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

ความหมาย

“กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมายถึง การรวมตัวกันของชาวบ้าน เพื่อช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยการประหยัดทรัพย์ แล้วนำมาสะสมรวมกันทีละเล็กละน้อยเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้เป็นทุนให้สมาชิกที่มีความจำเป็นเดือดร้อนกู้ยืมไปใช้ในการ ลงทุนประกอบอาชีพ หรือเพื่อสวัสดิการของตนเองและครอบครัว (พงษ์นรินทร์ อัสวเศรณี และคณะ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกิจกรรมเครือข่าย กรมการพัฒนาชุมชน 2541 หน้า 8)

หลักการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จะดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพจะต้องบริหารจัดการอยู่ภายใต้คุณธรรม 5 ประการ ดังนี้

1.ความซื่อสัตย์

2.ความเสียสละ

3.ความรับผิดชอบ

3.ความเห็นอกเห็นใจกัน

4.ความไว้วางใจกัน

วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

  1. ส่งเสริมให้มีการประหยัดและออมเงินในรูปเงินสัจจะ
  2. ให้บริหารเงินทุนสนับสนุนการประกอบอาชีพและสวัสดิการของสมาชิก
  3. ให้มีประสบการณ์ในการบริหาร และจัดทำเงินทุนด้วยตนเอง
  4. ส่งเสริมให้มีความสามัคคี การทำงานร่วมกัน และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  5. ให้มีประสบการณ์ในการบริหาร และจัดการเงินทุนของตนเอง

เงินทุนของกลุ่ม

  1. เงินสัจจะสะสม เป็นเงินที่ได้จากการออมของสมาชิก จำนวนเท่า ๆ กัน ทุกเดือนตามกำลังความสามารถ เพื่อใช้เป็นทุนในการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งจะจ่ายคืนเงินสัจจะสะสมเมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพแล้วเท่านั้น ซึ่งกลุ่มจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล
  2. เงินสัจจะสะสมพิเศษ เป็นเงินรับฝากจากสมาชิก ที่มีเงินเหลือและประสงค์จะฝากเงินได้กับกลุ่ม ซึ่งสามารถถอนเงินออกไปใช้จ่ายเมื่อจำเป็น และกลุ่มจะจ่ายผลตอบแทนใน รูปแบบดอกเบี้ยตามระเบียบของกลุ่ม
  3. เงินรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าสมัคร/ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ดอกเบี้ย
  4. เงินอุดหนุน จากส่วนราชการ องค์กรปกครองท้องถิ่น และองค์กรอื่น ๆ

สมาชิก

สมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมี 3 ประเภท คือ

1.สมาชิกสามัญ ได้แก่บุคคลทุกเพศ ทุกวัยภายในหมู่บ้าน/ตำบล ที่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิก

กลุ่ม ตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม

2.สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ กลุ่ม/บุคคล ภายในหมู่บ้าน/ตำบล ที่สนใจและสมัครเข้าเป็น

สมาชิกกลุ่ม โดยไม่ประสงค์จะกู้เงินจากลุ่ม

3.สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ข้าราชการ หรือคหบดี ที่สนใจและให้การสนับสนุนกลุ่มโดย

ไม่หวังผลตอบแทน

หน้าที่ของสมาชิก

  1. ส่งเงินสัจจะสะสมเป็นประจำทุกเดือน
  2. ส่งคืนเงินกู้ตามกำหนด
  3. เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่ม
  4. เข้าร่วมประชุมสามัญประจำปี
  5. มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม
  6. ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ดีแก่กลุ่ม
  7. กำกับ ตรวจสอบการดำเนินงานของกลุ่ม

คณะกรรมการ

คณะกรรมการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ มี 4 คณะ ดังนี้

  1. คณะกรรมการอำนวยการ จำนวน 5-9 คน มีหน้าที่ในการบริหาร จัดการกลุ่มออมทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่พึงพอใจของสมาชิก ตลอดเป็นตัวแทนของกลุ่มในการประสานงาน และติดต่อกับองค์กรภายนอก
  2. คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ จำนวน 3-5 คน มีหน้าที่ในการพิจารณาให้กู้ – ยืมเงินติดตามโครงการ และเร่งรัดหนี้สิน
  1. คณะกรรมการตรวจสอบ จำนวน 3-5 คน มีหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีและผลการดำเนินงานของกลุ่ม
  2. คณะกรรมการส่งเสริม จำนวนขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิก และระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม มีหน้าที่ชักชวนผู้สมัครใจ สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ ตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มออมทรัพย์แก่สมาชิก ประสานงานระหว่างสมาชิกกับกลุ่ม และกลุ่มกับสมาชิกให้มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

กิจกรรมของกลุ่ม

  1. กิจกรรมด้านการให้บริการรับฝากเงิน และการกู้ยืมเงิน
  2. กิจกรรมด้านการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก
  3. ขยายเครือข่ายและทำธุรกิจ เช่น ศูนย์สาธิตการตลาด, โรงสี เป็นต้น
  4. กิจกรรมในการพัฒนาสมาชิก เช่น การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์

  1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเงิน และนำเงินไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ โดยลดภาระการกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่น ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
  2. พัฒนาคนให้มีคุณธรรม 5 ประการ คือ ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจ และไว้วางใจซึ่งกันและกัน
  3. ฝึกประสบการณ์การบริหารเงินทุน ให้กับบุคคลในชุมชน
  4. พัฒนาศักยภาพของคนในด้านต่าง ๆ เช่น การเป็นผู้นำ การปกครอง ตามระบบประชาธิปไตย
  5. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา คิดและแก้ปัญหาของตนเองด้วยวิธีการทำงานร่วมกัน

การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

1.ก่อนการจัดตั้ง

  1. ศึกษาข้อมูล/สถานการณ์
  2. ให้ข้อมูลกับผู้นำกลุ่มและประชาชนทั่วไป
  3. ให้ผู้นำกลุ่มที่ประผลสำเร็จเล่าประสบการณ์
  4. ศึกษาดูงานนอกสถานที่

2.การจัดตั้งกลุ่ม

1 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย

  1. ขอมติจากที่ประชุม
  2. รับสมัครสมาชิก

4.เลือกตั้งคณะกรรมการ

5.จัดทำระเบียบข้อบังคับ/กำหนดวันส่งเงินสัจจะ

6.จัดทำเอกสาร/ทะเบียน/บัญชี/สมุดสัจจะสะสม

7.ข้อตกลงการฝากเงินกับธนาคาร

  1. รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบทราบ
  2. กำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกัน

3.ภายหลังการจัดตั้งกลุ่ม

3.1 เข้าร่วมประชุมทุกครั้งในวันส่งเงินสัจจะ

3.2 ให้คำแนะนำ/ปรึกษาแก่คณะกรรมการและสมาชิก

  1. ประชุม/ฝึกอบรม/ให้ข้อชี้แนะ
  2. รายงานผลความก้าวหน้า
  3. เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี
  4. ร่วมกับคณะกรรมการ/สมาชิกพัฒนากลุ่มให้ก้าวหน้า

ข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อำเภอกระทุ่มแบน สามารถโหลดข้อมูลได้ที่ ดาวน์โหลด

(Visited 9,692 times, 1 visits today)