หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่

 คู่มือ

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   คู่มือเจ้าหน้าที่รัฐในการพิจารณาอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 

——————————————————————————————————-

แบบฟอร์ม

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   ป.84-1 คำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่า ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   ป.84-2 รายงานผลการตรวจสภาพป่า

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   ป.84-3 ใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
(ป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ)

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   ป.84-4 ใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   ป.84-5 คำขอต่ออายุใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   ป.84-6 คำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   ป.84-7 คำขอโอน/รับโอนใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   ใบรับคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่า ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบใบ ป.ส. 17

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบใบ ป.ส. 18 และป.ส. 18 – 1

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบใบ ป.ส. 20

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบใบ ป.ส. 22 และป.ส. 22 – 1

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบใบคำขอมาตรา 17

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบใบ ป.ส. 27

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบใบ ป.ส. 29

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบใบ ป.ส. 30

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบใบ ป.ส.21

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่
   แบบส่งข้อมูล

ชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน 4 ชุมชน กว่า 100 คน รวมตัวเข้ายื่นหนังสือเรียกร้องกระทรวงทรัพยากรฯ และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ขอให้รับรองการทำไร่หมุนเวียนในรูปแบบแปลงรวมของชุมชน และเพิกถอนประกาศและระเบียบที่ตัดสิทธิราษฎรที่ตกหล่นจากการไม่ได้แจ้งสิทธิครอบครองที่ดินภายใน 240 วัน ตามที่ พรบ.อุทยานฯ ฉบับใหม่กำหนด

 

1 ธ.ค. 2565 เฟซบุ๊กเพจ “Rising Sun Law” รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2565 กะเหรี่ยงแก่งกระจานดั้งเดิม จาก 4 ชุมชน คือ ชุมชนห้วยกระซู่ ชุมชนห้วยหินเพิง ชุมชนสาริกา ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี และชุมชนป่าหมาก ต.ศาลาลัย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ยื่นข้อเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อให้ รับรองการทำไร่หมุนเวียนในรูปแบบแปลงรวมของชุมชน

เมื่อเวลาประมาณ 09.30 น. ชาวบ้านจากทั้ง 4 ชุมชนราว 100 คน เดินทางมาถึงบริเวณหน้ากระทรวงทรัพยากรฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่าชาวบ้านที่มาไม่สามารถเข้าไปในเขตรั้วของกระทรวงได้ เนื่องจากห้องรับรองของกระทรวงถูกใช้จัดเก็บสิ่งของรับบริจาคน้ำท่วม จึงขอให้ชาวบ้านยื่นหนังสือบริเวณหน้ากระทรวงทรัพยากรฯ แทน

ทั้งนี้ บริเวณหน้าประตูทางเข้ากระทรวงทรัพยากรฯ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.บางซื่อ ประมาณ 10 นาย ยืนปิดประตูทางเข้าออกไว้

โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรฯ พยายามเจรจาให้ชาวบ้านยื่นหนังสือที่กระทรวงทรัพยากรฯ เพียงที่เดียวโดยไม่ต้องยืนต่อกรมอุทยานแห่งชาติฯ แต่ชาวบ้านที่มายืนยันยื่นหนังสือต่อหน่วยงานทั้งสองแห่ง

เวลาประมาณ 10.00 น. กุศล โชติรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ ออกมาเป็นตัวแทนรับมอบหนังสือจากชาวบ้านที่หน้ากระทรวง จากนั้นชาวบ้านได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อกรมอุทยานฯ โดยมีไกวัล ไทยปาล ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานฯ เป็นตัวแทนรับหนังสือ

หนังสือ การเข้า ทํา ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ไม่

ข้อเรียกร้องของชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานทั้ง 4 ชุมชน 

1 รับรองวิถีการใช้ประโยชน์ด้วยการทำไร่หมุนเวียนของชุมชน ถือเป็นการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระ ปัจจุบันร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์การอยู่อาศัยหรือทำกินในโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานยังมิได้มีการประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย เราเห็นว่า แม้เนื้อหาสาระในร่างพระราชกฤษฎีกาจะมีการยอมรับและบัญญัติรับรองให้มีการจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวมของชุมชน แต่จะเป็นการสมควรที่จะเพิ่มนิยามความหมายของการจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวม ให้ถือเอาวิถีการใช้ประโยชน์ด้วยการทำไร่หมุนเวียนของชุมชน ถือเป็นการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระ ตามความในมาตรา 64 และ 65 ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562

2 จัดให้มีระบบการจัดการที่แน่นอนของการทำไร่หมุนเวียนลักษณแปลงรวม และการหารือระหว่างอุทยานและชุมชนแต่ละพื้นที่ให้บัญญัติรับรองการทำไร่หมุนเวียนในลักษณะแปลงรวมของชุมชนของชนเผ่ากะเหรี่ยงที่มีระบบการบริหารจัดการที่แน่นอน และให้มีกระบวนการหารือร่วมกันระหว่างอุทยานแห่งชาติ กับชุมชนกะเหรี่ยงดั้งเดิมแต่ละพื้นที่ และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ และร่างระเบียบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอยู่อาศัย และทำกินภายในอุทยานแห่งชาติเพื่อการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระ

3 ขอให้สั่งการให้อุทยานแห่งชาตกุยบุรีและแก่งกระจานพิจารณาคำขอ และจัดให้มีคณะกรรมการร่วมกันระหว่างชุมชนและเจ้าหน้าที่อุทยาน เรื่องการจัดแปลงรวมทำไร่หมุนเวียน

ขอให้พิจารณาคำขอของพวกเราที่ประสงค์จะทำแปลงรวมของชุมชนเพื่อไร่หมุนเวียน โดยจัดให้มีคณะทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนของชุมชนกะเหรี่ยงดั้งเดิมที่ประสงค์จะทำประโยชน์ในลักษณะแปลงรวมของชุมชนเพื่อการทำไร่หมุนเวียนกับตัวแทนของอุทยานแห่งชาติ จากนั้นให้ร่วมกันกำหนดแนวขอบเขตของพื้นที่ที่จะทำไร่หมุนเวียน ป่าใช้สอย และป่าพิธีกรรม และนำเสนอต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็ว แล้วนำไปบัญญัติไว้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติในร่างพระราชกฤษฎีกา ตามความในมาตรา 64 และในร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามความในมาตรา 65

4 เพิกถอนประกาศ/ระเบียบที่ตัดสิทธิราษฎรที่ตกหล่นจากการไม่ได้แจ้งสิทธิครอบครองที่ดินภายใน 240 วัน พิจารณายกเลิกเพิกถอนบทบัญญัติที่เป็นประกาศ หรือระเบียบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในส่วนที่เป็นการจำกัดตัดสิทธิของราษฎร หรือของชุมชนชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมในพื้นที่ที่ตกหล่นจากการสำรวจหรือแจ้งการครอบครองภายในกำหนด 240 วัน ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติในร่างระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หลักเกณฑ์ว่าด้วยการอยู่อาศัย หรือทำกินในโครงการอนุรักษ์ และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ เพื่อการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระในข้อที่ 4 ที่มีลักษณะเพิ่มเติมจากเงื่อนไขในการยกเว้นความรับผิดทางอาญาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 64 และมาตรา 65 ในข้อที่ว่า

“หากการกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระและบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินนั้นได้แจ้งต่อหัวหน้าอุทยานแห่งชาติและร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพเดิมหรือดำเนินการเพื่อฟื้นฟู สภาพธรรมชาติ ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป็นผลมาจากการกระทำของบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินดังกล่าวบุคคลนั้นไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 64”

ซึ่งบทบัญญัติที่เพิ่มเติมในร่างระเบียบดังกล่าวนี้เป็นการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดโดยกฎหมายอนุบัญญัติที่ไปเพิ่มเติมเกินกว่าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 64 และมาตรา 65 ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน 4 ชุมชน ระบุว่า ที่เดินทางมายืนหนังสือเพื่อหวังให้หน่วยงานรัฐรับรองวิถีการใช้ประโยชน์ด้วยการทำไร่หมุนเวียนของชุมชนกะเหรี่ยงที่ถือเป็นการดำรงชีพอย่างเป็นปกติ และจัดให้มีระบบการจัดการที่แน่นอนของการทำไร่หมุนเวียนลักษณแปลงรวมซึ่งเป็นไปตามวิถีวัฒนธรรมกะเหรี่ยงดั้งเดิม โดยให้ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและอุทยานแห่งชาติกุยบุรีจัดให้มีคณะกรรมการร่วมกันระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่อุทยาน เพื่อจัดทำแปลงรวมไร่หมุนเวียนในเขตอุทยานขึ้นมาโดยเฉพาะ เป็นการแก้ไขปัญหาระหว่างชุมชนในพื้นที่ผืนป่าแก่งกระจานกับอุทยานแห่งชาติทั้งสองพื้นที่

พร้อมทั้งขอให้ทางกระทรวงทรัพยากรฯ และกรมอุทยานแห่งชาติฯ เพิกถอนประกาศและระเบียบที่ตัดสิทธิราษฎรที่ตกหล่นจากการไม่ได้แจ้งสิทธิครอบครองที่ดินภายใน 240 วัน ตามที่ พรบ.อุทยานฯ ฉบับใหม่กำหนด  

ที่ผ่านมาชุมชุนกะเหรี่ยงดั้งเดิมทั้ง 4 ชุมชน ได้ยื่นหนังสือขอให้อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและอุทยานแห่งชาติกุยบุรีจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าอนุรักษ์ในรูปแบบแปลงรวมไร่หมุนเวียนมาหลายฉบับ