สนธิสัญญาเบาว์ริง เศรษฐกิจ

     5. การปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลัง  รัชกาลที่ 4 ทรงแก้ปัญหาการที่รายได้ของรัฐลดลงหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง  ด้วยการเพิ่มชนิดของภาษีอากรอีกหลายชนิด  โดยผ่านระบบเจ้าภาษีนายอากร แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็มีข้อบกพร่องอย่างมาก  เช่น  รายได้ของหลวงรั่วไหล  เงินที่ทางราชการเก็บได้ก็ลดน้อยลงทุกที  รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าการเก็บภาษีแบบเดิม  ที่แต่ละหน่วยงานแยกกันเก็บแล้วส่งมาให้ส่วนกลาง  ทำให้เงินภาษีรั่วไหลมาก  จึงทรงปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลังใหม่  โดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2416  เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมพระราชทรัพย์ในท้องพระคลังให้รู้จำนวนเงินที่มีอยู่  ทำหน้าที่รวบรวมเงินภาษีอากรจากทั่วประเทศให้มาอยู่ที่เดียวกัน  เพื่อนำเงินภาษีมาพัฒนาประเทศ

“สนธิสัญญาเบาว์ริง” มีผลสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเปลี่ยนจาก “ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ” ให้เข้าสู่ “ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด” ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่เป็นกิจจะลักษณะและมีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ในขณะที่นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของสยามประเทศก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก “การค้าแบบผูกขาด” โดยพระคลังสินค้าโดยเปลี่ยนไปเป็น “การค้าแบบเสรี”

โดย “สนธิสัญญาเบาว์ริง” นั้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจสยามเข้ากับโลกเศรษฐกิจของยุโรป สภาพภูมิศาสตร์ของสยามมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในการเพาะปลูกข้าวเพื่อตอบสนองอุปสงค์ข้าวจากตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งของราษฎรนั้น ผลของสนธิสัญญาเบาว์ริงมีนัยยะสำคัญต่อการกระตุ้นให้ราษฎรไทยทำการผลิตสินค้าโดยเฉพาะข้าวเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของตลาดโลกและทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ อันดับต้นๆ ของโลก

อย่างไรก็ตาม ลักษณะการผลิตสินค้าของสยามนั้นเน้นไปที่สินค้าปฐมภูมิโดยเฉพาะ “ข้าว” ซึ่งจะกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของสยามไปจนกระทั่งทศวรรษที่ 1960 (นับแบบคริสตศักราช) ส่วนการผลิตน้ำตาลของสยามในเวลานั้น ยังอาศัยกระบวนการผลิตแบบกึ่งอุตสาหกรรม ทำให้ไม่อาจแข่งขันกับการผลิตน้ำตาลในฟิลิปปินส์หรือชวาได้ ทำให้ธุรกิจการขายน้ำตาลของสยามซบเซาลง

ด้วยลักษณะของสินค้าปฐมภูมิที่ไม่ได้ผ่านกระบวนผลิตแบบอุตสาหกรรมทำให้สินค้าไม่ได้มีราคาสูงมากนักเมื่อเทียบกับแรงงาน และทรัพยากรที่ใช้ไปกับการผลิตข้าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดินที่มีการบุกร้างถางพงในพื้นที่ ซึ่งเป็นคลองรังสิตในปัจจุบัน และพื้นที่ภาคกลางของประเทศจึงถูกใช้เพื่อการเพาะปลูกข้าว พื้นที่ที่ราบภาคกลางจึงถูกดึงเข้าสู่โลกเศรษฐกิจของยุโรปอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่เศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเจริญเติบโตจากการค้าของป่ากับโลกเศรษฐกิจของจีนก็เสื่อมถอยลงเพราะไม่อาจตอบสนองความต้องการของโลกเศรษฐกิจของยุโรป

ภาพดังกล่าวจะกลายเป็นรากฐานของโครงสร้างเศรษฐกิจของสยาม ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในช่วงปี พ.ศ. 2473 และนำมาสู่การอภิวัฒน์สยามเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตยเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของสยาม

ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาว์ริงต่อตลาดแรงงานของรัฐสยาม

การเข้าสู่เศรษฐกิจทุนนิยมได้ทวีความสำคัญของเงินตรา การเก็บภาษีอากร และการค้า ในขณะที่เกษตรกรรมและการควบคุมกำลังคนในฐานะแหล่งที่มาของทรัพย์สินและอำนาจกลับลดความสำคัญลง

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตในสังคมสยามทำให้แรงงานมีความจำเป็นและสำคัญ ทว่า ในเวลานั้นแรงงานถูกยึดโยงอยู่กับระบบไพร่-ทาส ซึ่งสังกัดอยู่กับมูลนายตามระบบศักดินา

ดังนั้น “การยกเลิกระบบไพร่-ทาส” จะทำให้เกิดตลาดแรงงานที่มีประสิทธิภาพและมีศักยภาพในการผลิตขึ้น ทำให้ในเวลาต่อมาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีนโยบายในการเลิกระบบไพร่-ทาส ซึ่งเป็นการปลดปล่อยแรงงานให้เป็นอิสระสามารถเข้าทำงานในระบบการผลิตใหม่ได้ ในขณะที่รัฐบาลมุ่งแสวงหาประโยชน์จากภาษีมากกว่า ซึ่งนำมาสู่แผนการปฏิรูปการคลังในการจัดเก็บภาษีในเวลาต่อมา ซึ่งจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาทางการคลังของประเทศที่มีมาจากระบบศักดินาดังจะได้อธิบายต่อในหัวข้อถัดไป

ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาว์ริงต่อการคลังของรัฐสยาม

ผลของ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ที่มีการกำหนดให้รัฐบาลสยามจะต้องไม่เก็บภาษีเกินร้อยละ 3 ทำให้รัฐบาลสยามไม่สามารถใช้นโยบายภาษีในการแสวงหารายได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม หรือ การพัฒนาเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ เพราะภาษีค่อนข้างจำกัด ประกอบกับลักษณะโครงสร้างการจัดเก็บภาษีในช่วงปี พ.ศ. 2398 จนถึง พ.ศ. 2468 นั้น มีลักษณะยึดโยงอยู่กับระบบศักดินาเดิมที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

พระมหากษัตริย์ทรงแบ่งอำนาจในการจัดเก็บภาษีกระจายไปอยู่กับขุนนางและเชื้อพระวงศ์ระดับสูงบางตระกูล/องค์ ทำให้การจัดเก็บภาษีเข้าท้องพระคลังทำได้น้อย เพราะขุนนางและเชื้อพระวงศ์ระดับสูงเหล่านั้นก็จะกันเงินบางส่วนที่เก็บได้จากการปฏิบัติหน้าที่มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานของตนและนำส่งเข้าพระคลังเพียงแต่น้อย ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้พระคลังไม่ได้มีทรัพย์สินมากมาย ในขณะที่บทบาทของพระคลังสินค้าลดลงจากสนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้การจัดเก็บภาษีถูกกระจายไปอยู่กับขุนนางหลายกลุ่ม ดังแสดงตามตารางข้างท้ายนี้

กลุ่มขุนนางและเชื้อพระวงศ์ระดับสูงภาษีอากรเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เสนาบดีกรมท่าภาษีฝิ่น อากรสุรา และอากรขาเข้าและขาออกกรมหลวงวงศาธิราชสนิทภาษีอากรจากพระคลังสินค้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนาอากรค่านา

โครงสร้างการจัดเก็บภาษีภายใต้ระบบศักดินาจึงเสมือนการแบ่งเค้กระหว่างชนชั้นนำของสยามมากกว่า ในขณะที่ราชสำนักและพระมหากษัตริย์จะได้รับเพียงเงินส่วนน้อยเท่านั้น ขุนนางผู้ใหญ่ถือว่าภาษีอากรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของตนเป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัว และใช้ทุกโอกาสที่จะไม่ต้องจ่ายเงินเข้าท้องพระคลัง โดยมองว่าการนำรายได้เข้าพระคลังเป็นจำนวนแน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ

ดังนั้น แม้เศรษฐกิจของสยามกำลังขยายตัวแต่พระคลังซึ่งเป็นแหล่งเก็บเงินแผ่นดินกลับได้ประโยชน์ในเรื่องนี้น้อยมาก ทำให้ในเวลาต่อจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทางการคลังใหม่โดยการรวมอำนาจการจัดเก็บภาษีไว้ที่หอรัษฎากรพิพัฒน์และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติแทน โดยเป็นเหตุผลในเชิงงบประมาณที่มารองรับการขยายตัวของระบบราชการใหม่ และสร้างประเภทภาษีรูปแบบใหม่เพื่อแสวงหารายได้เข้าสู่รัฐบาล

ผลกระทบในแง่ของการผลิตข้าวสินค้าสำคัญของรัฐสยาม

ดังได้กล่าวมาแล้วว่าข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของสยามภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง แรงงานและที่ดินทั้งหมดของสยามถูกจัดสรรไปเพื่อใช้ในการผลิตข้าวเพื่อการค้ามากขึ้นตามลำดับ กระบวนการผลิตแบบนี้ได้เข้ามาทดแทนวิถีชีวิตในการผลิตแบบเดิมที่เน้นให้ครัวเรือนเป็นหน่วยการผลิตเพื่อยังชีพและบริโภคภายในครัวเรือน เช่น การทำสินค้าหัตถกรรมแบบสิ่งทอ เป็นต้น

เมื่อสยามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกผ่านการค้าขายกับอังกฤษ การผลิตภายในครัวเรือนโดยเฉพาะสิ่งทอก็ถูกทำลายลงจากการตีตลาดโดยสินค้าต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่าเนื่องจากวิธีการผลิตแบบอุตสาหกรรม แรงงานส่วนใหญ่ที่เคยทำการผลิตสินค้าอื่นก็ถูกนำมาใช้กับการผลิตข้าว และด้วยความนิยมในการผลิตข้าวนั้นมีนัยสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพราะเมื่อสยามได้ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงและเปิดการค้าเสรีกับอังกฤษและยุโรป ผลที่ตามมาก็คือ การผลิตข้าวต้องใช้แรงงานจำนวนมากจึงเกิดการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานจากภูมิภาค อื่นๆ ของสยาม โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งแต่เดิมได้ประโยชน์จากการค้าของป่ากับจีน

การผลิตข้าวเพื่อการส่งออกนั้นนำมาซึ่งนโยบายของรัฐสยาม 4 ประการที่มีผลต่อการขยายตัวและการเจริญเติบโตของการส่งออกข้าว

ประการแรก การพัฒนาระบบการขนส่งระหว่างประเทศ กล่าวคือ ภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เรี่ยกับการขุดคลองสุเอช (14 ปี หลังทำสนธิสัญญา) ทำให้เกิดการย่นระยะทางและค่าขนส่งสินค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียตะวันออก ทำให้เกิดความต้องการข้าวจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้นทุนที่ลดลงจากการส่งสินค้าทำให้มีการนำมาใช้ลงทุนกับการนำเรือกลไฟมาใช้ในการขนส่งข้าวซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จในการส่งออกข้าวเป็นจำนวนมาก สิ่งนี้สร้างแรงจูงใจให้กับแรงงานชาวนาให้หันมาปลูกข้าวแบบรับจ้างแทนที่จะปลูกข้าวเพื่อบริโภคยังชีพ

ประการที่สอง การพัฒนาระบบขนส่งภายในประเทศ รัฐบาลได้ขุดคลองเพื่อสนับสนุนการผลิตข้าวเพื่อส่งออก โดยมีการขุดคลองมากกว่า 15 สาย เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ และที่ราบภาคกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี พ.ศ. 2403 – 2453 การขุดคลองเป็นจำนวนมากเพื่อให้ชาวนาผลิตข้าวเพื่อส่งออก โดยรัฐบาลได้ให้สัมปทานในการขุดคลองเป็นจำนวนมาก  นอกเหนือจากคลองแล้วรัฐบาลยังได้ลงทุนในการสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร และภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อการเพาะปลูกแม้จะไม่เท่ากับเส้นทางคลอง

ประการที่สาม การเพิ่มขึ้นของประชากร โดยนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 นั้นความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์มีผลทำให้อัตราการตายลดลงอย่างรวดเร็ว จำนวนประชากรของประเทศในเอเชียและยุโรปได้เพิ่มสูงขึ้น แต่สิ่งนี้ก็ทำให้ตลาดการบริโภคข้าวภายในประเทศเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ประการที่สี่ นโยบายการเลิกไพร่-ทาส และนโยบายภาษีดังได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น

ดังจะเห็นได้ว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” นั้น มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมากในหลายมิติ และยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและบริบททางการเมืองของสยาม

นโยบายหลายประการที่ดำเนินในช่วงเวลานั้น เชื่อมโยงกันทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง และสิ่งนี้ได้กลายมาเป็นรากฐานของโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทย จนกระทั่งในปัจจุบันภายหลังการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม

 


กุลลดา เกษบุญชู มี้ด, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย (อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล, ฟ้าเดียวกัน 2562) 63.

พอพันธุ์ อุยยานนท์, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแห่งประเทศไทย (สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2564) 15.

กุลลาดา เกษบุญชู มี้ด, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 1, 63.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง, 79.

เพิ่งอ้าง, 90.

พอพันธุ์ อุยยานนท์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 2, 14.

กุลลาดา เกษบุญชู มี้ด, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 1, 66.

พอพันธุ์ อุยยานนท์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 2, 16 - 21.

  • บทความ

  • แนวคิด-ปรัชญา

  • เขมภัทร ทฤษฎิคุณ
  • สนธิสัญญาเบาว์ริง
  • ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแห่งประเทศไทย
  • ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ
  • ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
  • การค้าแบบผูกขาด
  • การค้าแบบเสรี

พื้นที่โฆษณา/ประชาสัมพันธ์

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ประกาศรับสมัครงานสถาบันปรีดี พนมยงค์ ประกาศรับสมัครงาน

แนะนำหนังสือ : ปรัชญาสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย อุดมการณ์เพื่อชาติและราษฎรไทยแนะนำหนังสือ : ปรัชญาสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย อุดมการณ์เพื่อชาติและราษฎรไทย

สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร

ความเปลี่ยนแปลงระบบเงินตราที่มีต่อเศรษฐกิจไทยหลังสนธิสัญญา เบาว์ริง ในพ.ศ. 2398 ส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มมีการพัฒนาระบบ เงินตราที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น การค้าขายขยายตัวออกไป อย่างกว้างขวาง โดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน การขยายตัว ทางการค้าทำให้เงินตราที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศไม่เพียงพอกับ การค้าขาย ...

สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลต่อเศรษฐกิจด้านใดมากที่สุด

“สนธิสัญญาเบาว์ริง” มีผลสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเปลี่ยนจาก “ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ” ให้เข้าสู่ “ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด” ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่เป็นกิจจะลักษณะและมีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ในขณะที่นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของสยามประเทศก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก “การค้าแบบ ...

สนธิสัญญาเบาว์ริง มีอะไรบ้าง

A : การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงมีสาระสำคัญอะไรบ้าง.
ยกเลิกการค้าผูกขาดเป็นการค้าเสรี.
ยกเลิกภาษีปากเรือ ให้เก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3..
อนุญาตให้ข้าวเป็นสินค้าออก และอนุญาตให้นำฝิ นเข้ามาจำหน่ายแก่เจ้าภาษีฝิน.
ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต.
ไม่มีการกำหนดอายุสิน สุดของสัญญา.

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงมีข้อดีอย่างไร

สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่าง ชาติเข้ามาทำการค้า เสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตก ได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษ ในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้