ท่อ น้ำ แตก ใน ผนัง

ปัญหาท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน น้ำรั่ว น้ำซึม ตามพื้น ตามผนังบ้าน เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้ง ซึ่งนอกจากจะสร้างความรำคาญให้แก่ผู้อยู่อาศัยแล้ว หลายครั้งที่มักจะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ไปจนถึงโครงสร้างบ้านได้รับความเสียหาย จากการที่เหล็กเสริมในคอนกรีตเป็นสนิม โดยมีสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขต่างกันไป บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน ที่เราสามารถแก้ได้ ก่อนปัญหาจะบานปลาย ไปดูกัน

สาเหตุ ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน

  • รอยแตกร้าว รอยแตกร้าวของผนัง หรือระหว่างผนัง และพื้น อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ไปกระทบกับท่อน้ำ ที่ถูกฝังอยู่ในผนังบ้าน หรือใต้พื้นบ้าน
  • ข้อต่อท่อ เป็นจุดที่เกิดปัญหาค่อนข้างบ่อย เพราะตอนวางระบบน้ำ ช่างอาจจะใช้แรงมากเกินไปจนท่อร้าวได้ หรือบางกรณีอัดกาวไม่แน่นพอ จะเกิดท่อหลวม ซึ่งเมื่อเป็นการร้าวของท่อที่ฝังอยู่ใน พื้นใต้บ้าน หรือกำแพง อาจจะต้องสกัดปูน เพื่อเปลี่ยนข้อต่อท่อในส่วนนั้น 
  • แรงดันภายในท่อน้ำ ช่วงที่ไฟฟ้าดับ ทำให้เครื่องสูบน้ำหยุดทำงานฉับพลัน แต่เมื่อไฟฟ้ากลับมาปกติ อาจเกิดการกระแทกกลับของน้ำในท่อ เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ท่อประปาแตกได้ หรือการที่ปล่อยให้ ถังเก็บน้ำแห้งเป็นประจำ อากาศจะเข้าไปแทนที่ภายในท่อ และเมื่อเปิดใช้น้ำ จะเกิดแรงอัดจนท่อแตกได้
  • ดินทรุด เป็นสาเหตุที่สังเกตได้ค่อนข้างยาก เพราะบ้านที่ปลูกสร้างไว้หลายปี อาจเกิดปัญหาดินทรุดแบบไม่รู้ตัว หรืออาจทรุด เฉพาะส่วนที่ต่อเติมบ้านออกไป จนกระทบท่อน้ำขยับ จนหลุดตามไปด้วย 
  • งานติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ความชำนาญของช่าง เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ถ้าได้ช่างที่ไม่ได้มาตรฐาน มักทำให้งานมีปัญหาหลังจากที่ใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ที่พบมาก คือ น้ำรั่วบริเวณข้อต่อต่าง ๆ เนื่องจากการต่อท่อไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อก่อน ส่งผลให้เกิดปัญหาในภายหลัง อีกทั้งขั้นตอนในการต่อท่อ ก็ต้องทำให้เรียบร้อย เลือกช่างที่ไว้ใจได้ เพื่อที่จะได้งานระบบประปาที่มีคุณภาพ ใช้ไปได้นาน

ท่อ น้ำ แตก ใน ผนัง

วิธีแก้ไขท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน

สำหรับท่อประปาใต้ดิน หรือใต้บ้านนั้น ค่อนข้างยากที่จะตรวจสอบ หรือพบเห็น แต่ก็สามารถสังเกตได้จากการใช้น้ำในชีวิตประจำวันว่า น้ำประปา ไหลอ่อนกว่าปกติ ซึ่งถ้าไม่พบความผิดปกติที่จุดอื่น ให้ลองตรวจสอบดูทั้งบริเวณภายใน และภายนอกบ้าน ว่ามีน้ำรั่วซึมจนขังที่พื้นบ้าน หรือสนามหญ้าตลอดเวลาหรือไม่ และกรณีที่ท่อน้ำรั่วซึมจากการทรุดตัวของบ้าน หรือส่วนต่อเติมบ้านทรุด สังเกตได้ว่า บริเวณที่ อาจเป็นปัญหาจะมีการทรุดตัวมากกว่าส่วนอื่น ๆ เนื่องจากดิน หรือทรายใต้ดิน มีการเคลื่อนตัว

การแก้ไขเบื้องต้น หากพบว่า มีท่อน้ำรั่วใต้ดิน หรือท่อน้ำประปารั่วใต้พื้นบ้าน ต้องใช้วิธีขุดเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหา เพื่อทำการซ่อมแซม แต่จะขุดมากน้อยแค่ไหน อาจต้องประเมินดูตามโครงสร้างของบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้ว ตัวโครงสร้างบ้าน จะมีฐานรากรองรับอยู่ ซึ่งจะมีช่องว่างพอ ที่จะสามารถมุดเข้าไปซ่อมแซม แก้ไขท่อบริเวณใต้บ้านได้ ดังนี้

  1. ทำการสกัดผิวพื้น ด้วยสว่านไฟฟ้า แบบเจาะกระแทก หรือค้อน โดยค่อย ๆ เจาะ ตามแนวท่อ ควรระวัง ไม่ให้กระทบกระเทือนโครงสร้าง หากเกรงว่าโครงสร้างข้างเคียง จะได้รับความเสียหาย สามารถเลือกใช้เครื่องตัดไฟเบอร์ ช่วยในการเปิดพื้นผิวแทน แต่การใช้เครื่องตัดไฟเบอร์ จะทำให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจายเป็นจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการควบคุมความสะอาด
  2. เมื่อเปิดพื้นผิวคอนกรีต จนพบจุดที่รั่วซึม ให้ตัดต่อท่อ PVC ส่วนที่เสียหายทิ้ง แล้วต่อใหม่ ในจุดที่ประเมินว่า โครงสร้างบ้าน ยังเกิดการทรุดตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง การเดินท่อ PVC ใหม่ ก็อาจเกิดปัญหาเช่นเดิมขึ้นได้อีกในอนาคต ให้เปลี่ยนไปใช้ท่อ PE ซึ่งเป็นท่อที่มีความแข็งแรงทนทาน ยืดหยุ่น สามารถโค้งงอได้ แม้ว่าโครงสร้างจะเกิดการทรุดตัว ท่อ PE จะมีการยืดหยุ่นตัว ไม่แตกหัก หรือเกิดการคลายตัวบริเวณข้อต่อเหมือนท่อ PVC
  3. ทดสอบปล่อยน้ำเข้าท่อประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่า จุดที่ทำการซ่อมแซมนั้น ไม่มีการรั่วซึมออกมา จากนั้น ให้ใช้ปูนประเภทที่ใช้สำหรับงานซ่อมแซมอุดฉาบ ทำการฉาบ พร้อมตกแต่งผิวให้เรียบร้อย

ท่อ น้ำ แตก ใน ผนัง

การแก้ปัญหา ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน น้ำรั่ว น้ำซึม ที่เราเคยมองข้ามจริง ๆ เพราะหากเกิดปัญหาแล้ว ไม่เร่งแก้ไขให้เรียบร้อย จะเกิดปัญหาอื่น ๆ ที่คาดไม่ถึงตามมาอีกแน่นอน รู้อย่างนี้ แล้วอย่าลืม เช็คความเรียบร้อยของ ระบบน้ำในบ้านกันด้วยนะจ๊ะ 😊

ท่อ น้ำ แตก ใน ผนัง

       ท่อน้ำที่ใช้ในบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่เป็นท่อพีวีซีสีฟ้าซึ่งถือว่าเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐานสากล ใช้งานและหาซื้อได้ง่ายๆ ทั้งไป แต่ขั้นตอนที่สร้างปัญหาในอาคารก็คือ “ความชำนาญของช่าง” ช่างที่ผีมือต่ำกว่ามาตรฐานมักทำงานโดยอาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้มาอย่างครึ่งๆกลางๆ ประเภทว่าเจอปัญหาก็แก้ไขไปเรื่อยๆ ถ้าโชคดีไม่มีปัญหาก็รอดตัวไป งานที่ผ่านมือช่างประเภทนี้มักมีปัญหาหลังจากที่ใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ที่พบมากคือ น้ำรั่วบริเวณข้อต่อต่างๆ เนื่องจากากรต่อท่อไม่ได้มาตรฐาน เลินเล่อ ประเภทไม่ทากาวเลยก็พบได้บ่อยๆ หรือไม่ทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อก่อน เพราะระยะเวลาการทำงานมีน้อง ส่งผลให้เกิดปัญหาในภายหลัง คือ

1. ท่อน้ำบนฝ้าเพดานรั้วซึมจนฝ้าบวมน้ำ เมื่อฝ้าแบกรับน้ำหนักของน้ำไม่ไหวจึงพังลงมา ท่อน้ำเหนือเพดานที่รั่วนั้น นอกจากจะพบว่าส่วนใหญ่รั่วที่ข้อต่อท่อแล้ว ยังพบว่าขาแขวนท่อหรือที่เรียกว่าแฮงเกอร์ ก็เป็นตัวทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน โดยเฉพาะการติดตั้งขาแขวนห่างเกินไปและไม่รัดท่อกับขาแขวนให้มั่นคง เมื่อเกิดแรงดันในท่อน้ำ ท่อน้ำก็จะขยับหรือส่ายตัว ทำให้ข้อต่อคลายตัวหรือคลอนออกจากกันที่ละนิด จนเกิดการรั่วซึม

       ในกรณีนี้การแก้ไขไม่ยาก เริ่มจากตัดหรือกรีดแผ่นฝ้าในบริเวณที่เปียกชื้นออกให้หมด แล้วปีนขึ้นไปซ่อมท่อน้ำโดยใช้บันไดพับเก็บได้ให้เรียบร้อย เช่น ติดตั้งข้อต่อให้แน่นหนา หากมีความเสียหาย ให้ตัดส่วนที่เสียหายทิ้งแล้วต่อใหม่ ยึดขาแขวนให้เรียบร้อย แล้วจึงทดสอบปล่อยน้ำเข้าเส้นท่อสัก 2-3 วัน ดูจนแน่ใจว่าไม่มีน้ำหยดออกมา จึงซ่อมแซมฝ้าเพดานที่เปิดออกและทาสีให้เรียบร้อยดังเดิม

2. ท่อน้ำในผนัง ได้แก่ ท่อที่จ่ายน้ำไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อ่างล้างหน้า ฝักบัว ชักโครก ก๊อกน้ำทั่วไป ฯลฯ ท่อที่ฝังมาตามผนังนี้หากเกิดรั่วซึมในบริเวณข้อต่อท่อ สิ่งที่สังเกตเห็นได้คือ สีที่ทาบนผนังจะปูดบวม ชื้น หรือขึ้นราดำเป็นทางหรือเป็นเส้นตรงไปตามแนวท่อ การสังเกตที่ผนังด้านในห้องน้ำอาจดูยาก เพราะผิวหน้าได้ปูกระเบื้องทับหน้าไว้ น้ำที่ไหลซึมก็มักซ่อนตัวอยู่หลังแผ่นกระเบื้องแล้วไหลรวมตัวกันสู่กระเบื้องแถวล่างๆ หรือพื้น ทำให้ประเมินได้ยากว่ารอยรั่วนั้นเริ่มจากตรงไหน เว้นแต่ต้องเลาะกระเบื้องออกเป็นพื้นที่กว้างจึงจะพบต้นเหตุของปัญหา

       หลังจากที่ได้พบรอยซึมน้ำบนผนังแล้วก็ต้องสกัดผิวผนังด้วยค้อนหรือใช้สว่านไฟฟ้าแบบเจอะกระแทก ค่อยๆเจาะ ค่อยๆทำ อย่าให้รุนแรงจนกระทบกระเทือนไปถึงโครงสร้างอาคารเดียวปัญหาจะลุกลามใหญ่โต ถ้าต้องใช้เครื่องตัดไฟเบอร์ช่วยกรีดผนังก็ต้องทำในว่า ฝุ่นผงปูนจะฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งห้อง แต่การทำงานก็จะรวดเร็วกว่าการสกัดและไม่สร้างความสะเทือนแก่ตัวอาคาร

       เมื่อเปิดผิวปูนออกจนพบจุดรั่วซึมแล้ว ให้ตัวต่อท่อพีวีซีนั้นเสียใหม่ เมื่อซ่อมเสร็จเรียบร้อยให้ทดลองปล่อยน้ำเข้าเส้นท่อสัก 2-3 วันเพื่อให้แน่ใจว่าจุดที่ซ่อมแซมนั้นไม่มีน้ำรั่วซึมออกมาอีก จากนั้นจึงใช้ปูนฉายประเภทที่ใช้สำหรับงานซ่อมแซมอุดฉาบปิดให้เรียบร้อย ทิ้งให้ผิวปูนแห้งสนิทแล้วจึงซ่อมสีต่อไป

3. การรั่วซึมแบบหาไม่เจอว่ารั่วตรงไหน มักจะรู้ตัวก็เมื่อบิลค่าน้ำออกมาและพวว่าค่าน้ำแพวกว่าปกติ 2-3 เท่าตัว แบบนี้ให้เริ่มหาจากในตัวบ้านก่อน ด้วยการสังเกตดูตามผนังหรือฝ้าว่ามีคราบน้ำรั่วตรงไหน ถ้าไม่เจอแสดงว่าต้องเป็นท่อนอกบ้าน ซึ่งมี 2 ส่วนคือ จากมิเตอร์มายังแท็งก์น้ำและจากปั๊มน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มักฝังลงใต้ดิน ทดสอบง่ายๆด้วยการปิดก๊อกน้ำและจุดใช้น้ำทุกจุดในบ้าน และไปดูที่มิเตอร์ว่ายังเดินหรือเปล่า ถ้ายังเดินก็แสดงว่ารั่วในท่อสองส่วนที่กล่าวถึงอย่างแน่นอน ถึงคราวต้องใช้วิธีหาด้วยอุปกรณ์พิเศษ ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่แล้วเรื่อง “ปั๊มน้ำ-แท็งก์น้ำ” คือต้องใช้อุปกรณ์การฟังเสียงน้ำรั่ว ท่านสามารถติดต่อไปยังการประปาใกล้บ้านท่านซึ่งจะมีหน่วยงานไว้บริการประชาชนในกรณีเช่นนี้ โดยมีมาตรฐานการทำงานดีและสามารถแก้ปัญหาประเภทนี้ให้ท่านได้อย่างแน่นอน

ท่อน้ำแตกควรทำไง

ใช้เลื่อยผ่าตัวท่อ PVC ใหม่ออกเพียงเล็กน้อย ให้ผ่าตามยาว และตัดให้ตัวท่อมีรอยกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร จะได้ตัวท่อ PVC ที่มีรูปเหมือนกับตัว U. ปิดน้ำ และเช็ดให้ท่อแห้งสนิทก่อน ใช้กาวทาบริเวณรอบๆ ที่รั่ว และเสียบหรือวางท่อ PVC ที่ตัดเรียบร้อยแล้วตรงรอยรั่ว หมุนปิดทับให้แน่น ทิ้งให้กาวแห้งอย่างน้อยประมาณ 30 นาที

ท่อน้ำแตกเกิดจากอะไร

3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ “ท่อน้ำแตก” 1.แรงดันภายในท่อประปา 2.แรงกระแทกจากภายนอกท่อน้ำ 3.งานติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน

จะรู้ได้ไงว่าน้ำรั่วตรงไหน

เช็กท่อประปารั่วในเพดาน ตรวจสอบจุดท่อประปารั่วตามข้อต่อและสายท่อได้ไม่ยาก เพียงนำทิชชู่ไปพันบริเวณที่คาดว่าจะเป็นจุดรั่ว ซึ่งมักเป็นบริเวณข้อต่อ และลองใช้น้ำ เช่น เปิดฝักบัว เปิดก๊อกน้ำ หรือกดชักโครก แล้วปล่อยไว้ 15-30 นาที ถ้ามีน้ำรั่วซึม ทิชชู่ก็จะเปียก

ท่อ น้ำประปา แตก แจ้ง ที่ไหน

ท่อประปาแตก ทำไงดี ต้องแจ้งที่ไหน ต้องแจ้งใครให้มาช่วยเหลือ ท่อประปาแตกในเขต กทม. และปริมณฑล ติดต่อกรมการประปานครหลวง โทร.1125 ตลอด 24 ชม. ท่อประปาแตกในเขตต่างจังหวัด ติดต่อการประปาส่วนภูมิภาค โทร. 1162 ตลอด 24 ชม.