พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดใน

พระพุทธศาสนาที่เข้ามาสู่เวียดนามในยุคแรกแบบ 100%นั้น เป็นพุทธศาสนาแบบมหายาน โดยสันนิษฐานว่าท่านเมียวโป ได้เดินทางมาจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ เวียดนามจึงได้รับเอาศาสนาจากจีน รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนา ก็เป็นภาษาจีนเหมือนกัน สันนิษฐานกันว่า ได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย คือ พระมหาชีวก พระกัลยาณรุจิ และ พระถังเซงโฮย ได้เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนา ในยุคเดียวกับท่านเมียวโป แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ไม่เจริญนัก เพราะกษัตริย์จีนในขณะนั้นนับถือศาสนาขงจื้อ ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และยังไม่พอพระทัยที่มีคนนับถือพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อชาวเวียดนามกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจัง ในครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย ชื่อ วินีตรุจิ ท่านได้ศึกษาพุทธศาสนาในอินเดียแล้วยัง ได้เดินทางมาศึกษาพุทธศาสนานิกายเซน หรือ เธียน ในประเทศจีน แล้วเดินทางมาเผยแผ่ พุทธศาสนานิกายเธียร หรือ เซน ในเวียดนามจนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ คราวที่เวียดนามกู้อิสรภาพ ได้ตั้งอาณาจักรไคโคเวียด ใน พ.ศ. 1482 หลังจากได้อิสรภาพแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันเอง ประมาณ 30 ปีแบบ 200% ระยะนี้พุทธศาสนาซบเซาขาดการทำนุบำรุง ต่อมาเมื่อราชวงศ์ดินห์ ขึ้นครองอำนาจในปี พ.ศ. 1212 แล้ว พระพุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง พระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก

ย้อนเวลากลับไปไม่น้อยกว่า 2,500 ปีก่อน ผืนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งขนาบด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกกับมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก เปรียบเสมือนจุดบรรจบของโลกตะวันตก (อินโด-เปอร์เซีย และอาหรับ) กับโลกตะวันออก (จีน ฮั่น และอื่นๆ)

พ่อค้า นักเดินเรือ ตลอดจนนักแสวงโชคจากสองซีกโลกมักเดินทางมายังผืนแผ่นดินใหญ่นี้เพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับชาวพื้นเมือง และกระทั่งตั้งรกรากอยู่ที่นี่ก็มี ว่ากันว่าเหตุที่คนสองซีกโลกเดินทางมาที่นี่เพราะพืชพันธุ์ธัญญาหารและทรัพยากรธรรมชาติในดินแดนแถบนี้มีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

คุณสมบัติเหล่านี้นี่เองที่สันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นที่มาของชื่อ “สุวรรณภูมิ” อันหมายถึง ดินแดนแห่งทองคำ (Golden Land or Land of Gold) ซึ่งปรากฏการเรียกขานในเอกสารโบราณมาช้านาน เช่น หนังสือมหาวงศ์ (พงศาวดารของลังกา) นิทานชาดกของอินเดียและนิทานเปอร์เซียในอิหร่าน แม้กระทั่งชาวฮั่นและชาวจีนในยุคนั้นก็นิยมเรียกดินแดนนี้ว่า “จินหลิน” หรือ ”กิมหลิน” ซึ่งมีความหมายเดียวกับชื่อสุวรรณภูมิแม้หลายชาติ (อย่างน้อยก็มีไทยและพม่ารวมอยู่ด้วย) ยังคงกล่าวอ้างว่า ดินแดนสุวรรณภูมิในตำนานนั้นหมายถึงชาติตน

ทว่านักวิชาการส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ดินแดนสุวรรณภูมิในอดีตที่ประกอบไปด้วยแว่นแคว้นน้อยใหญ่ ปัจจุบันน่าจะครอบคลุมประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา บ้างยังนับรวมศรีลังกาและมาเลเซียเข้าไว้ด้วย

พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดใน
นักท่องเที่ยวเดินทางมาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีตำนานผูกโยงกับการมาถึงของพระโสณเถระและพระอุตตรเถระ สองสมณทูตหนึ่งในเก้าสายที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งไปเผยแผ่พุทธศาสนาหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สาม

ต้นเค้าพุทธศาสนาในดินแดนไทย

คำถามที่ว่า พุทธศาสนามาถึงดินแดนไทยเมื่อไรกันแน่หลายคนมักนึกถึงหนังสือ มหาวงศ์ หรือพงศาวดารลังกาที่กล่าวถึงเหตุการณ์หลังการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สาม (ราวพุทธศตวรรษที่ 3) ว่า เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีปทรงส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนต่าง ๆ มากถึง 9 สาย และ 1 ใน 9 สายนั้นมีชื่อของดินแดนสุวรรณภูมิรวมอยู่ด้วย พระสมณทูตที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ในครั้งนั้นคือ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ

หลักฐานนี้สอดรับกับพระบรมราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่พระราชทานไว้เกี่ยวกับพระปฐมเจดีย์ (หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์) ว่า พระเจดีย์องค์เดิมอาจสร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตทั้งสองเดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิก็เป็นได้ เนื่องจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์มีลักษณะทรงโอควํ่า หรือทรงมะนาวผ่าซีก เช่นเดียวกับพระสถูปสาญจีในประเทศอินเดีย (พระเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิมไว้ และโปรดเกล้าฯให้จำลองพระเจดีย์องค์เดิมขึ้นโดยประดิษฐานไว้ ณ ระเบียงด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์)

นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน คนไทยมักได้รับการปลูกฝังเช่นนี้ผ่านตำราเรียนวิชาพระพุทธศาสนา แต่ในแวดวงวิชาการด้านโบราณคดีกลับเชื่อว่า พุทธศาสนาน่าจะ มาถึง ดินแดนสุวรรณภูมิและดินแดนไทยในอดีต “เร็วกว่านั้น”

ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร นักวิชาการจากภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ทรรศนะว่า ”ถ้าพิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดีจะเห็นได้ชัดเจนว่า การที่คนในดินแดนไทยรับเอาพุทธศาสนาเข้ามานั้น ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ ก็รับเข้ามาแต่เป็นเพราะคนในดินแดนแถบนี้มีการติดต่อกับคนอินเดียมาก่อนแล้ว อย่างน้อยก็ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จึงน่าจะมีความคุ้นเคยอยู่บ้างในระดับหนึ่ง ”

ดังหลักฐานที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งหลายชิ้นที่พบต่างแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับอินเดียอย่างชัดเจน เช่น ตุ้มหูที่มียอดแหลมประดับสามยอดที่เหมือนเครื่องประดับทั่วไปในบริเวณเอเชียตะวันออก จี้ห้อยคอ รูปสิงโตซึ่งพบบ่อย ๆ ในอินเดีย ลูกปัดหินสีรูปแบบต่าง ๆหลักฐานเหล่านี้สามารถกำหนดอายุอยู่ในราว 2,000-2,500 ปีมาแล้ว นั่นหมายความว่า 2,000-2,500 ปีก่อน คนอินเดียเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิแล้ว หลายคนคงพกพาวัตถุเหล่านี้ติดตัวมาด้วย ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่าพวกเขาน่าจะนำสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเข้ามาด้วยเช่นกัน”

แนวคิดนี้สอดคล้องกับการค้นพบของนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช นักวิชาการอิสระ ซึ่งสันนิษฐานว่าสัญลักษณ์บนลูกปัดและเครื่องประดับบางส่วนที่พบในดินแดนไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา เขาเสนอข้อคิดเห็นว่า ”ชาวพุทธเริ่มมีการเดินทางกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว เพราะแม้แต่คำสอนของพระพุทธเจ้าก็พบว่า ทรงสนับสนุนให้เดินทางเพื่อเผยแผ่พระศาสนา นิทานชาดกจำนวนมากก็นิยมกล่าวถึงการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ แตกต่างจากคติความเชื่อในศาสนาเชนและฮินดูที่มีข้อปฏิบัติในการเดินทางไกลอย่างเคร่งครัด แต่ชาวพุทธเริ่มเดินทางกันตั้งแต่เมื่อไรนั้น ยังไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจน”

พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดใน
การค้นพบลูกปัดโบราณจำนวนมากในหลายพื้นที่ทางภาคใต้ เช่น อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้นักวิชาการจำนวนหนึ่งสันนิษฐานว่า พื้นที่แถบนี้มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับอินเดียมาช้านาน

ความลับในตราประทับและลูกปัดโบราณ

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช เล่าว่า ”วันหนึ่งผมไปเจอตราประทับที่มีจารึกอักษรบางอย่างจากแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่งในภาคใต้เข้าโดยบังเอิญ ด้วยความสงสัยจึงนำไปให้ผู้รู้ตรวจสอบ ต่อมาภายหลังจึงรู้ว่า ตราประทับเป็นของจริง และเป็นการจารึกด้วยอักษรพราหมี (Brahmi) ซึ่งเป็นอักษรที่พบครั้งแรกในจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช ราวปี พ.ศ. 273–311 ผมจึงมั่นใจว่า ข้อสันนิษฐานแรกของผมที่ว่า การเดินทางไกลของชาวพุทธไปยังต่างแดนนั้นมีความเป็นไปได้

”ยิ่งเมื่อได้มาเจอ ‘รูปสิงโต’ [หมายถึง พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสิงห์แห่งศากยวงศ์] ‘สัญลักษณ์ตรีรัตนะ’ [หมายถึงพระรัตนตรัย] ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ‘ลูกปัดตุ๊กตา’ ผมก็ยิ่งรู้สึกว่า หลักฐานนี้เริ่มเข้าใกล้พุทธศาสนามากยิ่งขึ้นทุกที”

อย่างไรก็ดี ความที่สัญลักษณ์ตรีรัตนะนี้เป็นสัญลักษณ์มงคลที่เป็น “สากล” ในระดับหนึ่ง เพราะพบปรากฏใช้ทั้งในศาสนาเชนและฮินดู การตีความหลักฐานไปในทางใดทางหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่ควรใช้ความระมัดระวัง แต่จากการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียด นายแพทย์บัญชาพบว่า นักวิชาการชั้นแนวหน้าอย่างเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม และเจมส์ พรินเซฟ ซึ่งเดินทางเข้ามาสำรวจแหล่งโบราณคดีในอินเดีย ระหว่าง ค.ศ. 1833–1885 และนักวิชาการรุ่นใหม่อย่าง ดร.สาวิตา ชาร์มา ผู้ศึกษาสัญลักษณ์โบราณในอินเดียต่างตีความไปในทางเดียวกันว่า “ตรีรัตนะเป็นสัญลักษณ์ในพุทธศาสนา” เพราะพบว่ามีการใช้สัญลักษณ์นี้ประดับตกแต่งมากมายที่มหาสถูปสาญจี สถูปสมัยอมราวดีมถุรา รวมถึงในเครื่องประดับต่าง ๆ ตราประทับทั้งหมดนี้กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 3-5 ด้วยเหตุนี้นายแพทย์บัญชาจึงมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ”สัญลักษณ์ตรีรัตนะที่พบมากในภาคใต้ของไทยนั้นอาจสร้างขึ้นเพื่อเป็

สัญลักษณ์ในทางพุทธศาสนาก็เป็นได้ โดยอาจเป็นไปได้ว่า ในระยะแรกนั้นพ่อค้าหรือนักเดินทางชาวอินเดียอาจนำสัญลักษณ์ตรีรัตนะติดตัวมาเพื่อใช้เป็นเครื่องรางสำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจระหว่างเดินทาง ครั้นต่อมาหลังจากพบว่ามีการทำตรีรัตนะด้วยวัสดุต่างๆ และการพบตรีรัตนะแพร่กระจายในหลายพื้นที่ทั้งในสภาพสมบูรณ์และสภาพที่แตกหัก จึงมีความเป็นไปได้ว่าชนพื้นเมืองบางส่วนอาจจะ “รู้จัก” สัญลักษณ์ตรีรัตนะนี้บ้างแล้ว และในไม่ช้าก็อาจให้ ‘ความเคารพ’ ถึงขั้นลงมือผลิตขึ้นภายในท้องถิ่นเสียเอง”

นายแพทย์บัญชาจึงเสนอคำจำกัดความของตรีรัตนะที่พบในภาคใต้ของดินแดนไทยว่าเป็น ”most likely Buddhist evidence” หรือ ”หลักฐานที่มีความเป็นไปได้มากว่าจะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา” ซึ่งมีอายุอย่างน้อยอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา

พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดใน
ตัวอย่างลูกปัดรูปตรีรัตนะและสิงห์ ที่พบมีผู้เชื่อมโยงว่าอาจเกี่ยวข้องกับการมาถึงของพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ

ปฐมบทแห่งการ “สถาปนา” พุทธศาสนาในดินแดนไทย

สำหรับหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งบอกถึงการปรากฏของพุทธศาสนาในดินแดนไทยได้อย่างชัดเจนที่สุดนั้น ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร เห็นว่า ”เราเริ่มพบพระพุทธรูปในดินแดนไทยเป็นครั้งแรกราวหลัง พ.ศ. 800 เป็นต้นมา

แม้จะเป็นพระพุทธรูปสำริดศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ฝีมือแบบอินเดียแท้ ๆ แต่ก็เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการปรากฏของพุทธศาสนาในดินแดนไทยที่เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ

”ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเราพบ ‘แผ่นภาพสลักนูนตํ่าพระสงฆ์ 3 รูปยืนอุ้มบาตร’ ที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จากลักษณะการครองจีวรของพระสงฆ์ทั้งสามรูปนั้น แม้จะบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี แต่ก็เป็นงานที่สร้างขึ้นในไทยแล้ว เพราะนอกจากจะใช้เทคนิคการทำที่ต่างจากอินเดีย เรายังพบ ‘รอยปูนฉาบ’ หลงเหลืออยู่ด้านหลังแผ่นภาพสลักด้วย นั่นทำให้สันนิษฐานได้ทันทีว่า เดิมทีสถาปัตยกรรม แต่คงแตกหักไปเสียก่อน

”หากแผ่นภาพสลักนี้ทำขึ้นในดินแดนไทยจริง นั่นหมายความว่า คนในดินแดนไทยสมัยนั้นน่าจะรู้จักและยอมรับนับถือพุทธศาสนากันบ้างแล้ว”

จากนั้นมา เราเริ่มพบหลักฐานเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อย่างเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี (ตั้งแต่ พ.ศ. 1100 ถึงปลาย พ.ศ. 1600) กลุ่มวัฒนธรรมขนาดใหญ่ที่พบกระจายตัวตั้งแต่ภาคกลาง ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เรื่อยไปจนถึงภาคตะวันออกอย่างปราจีนบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ขอนแก่นและกาฬสินธุ์หลักฐานสำคัญเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่พบในวัฒนธรรมทวารวดี ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา รูปธรรมจักรและกวางหมอบ ใบเสมา ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องชาดก จารึกพระคาถาบทสำคัญ รวมถึงซากโบราณสถาน กลุ่มอาคารและพระเจดีย์ จากหลักฐานเหล่านี้เองทำให้นักวิชาการสันนิษฐานว่า การนับถือพุทธศาสนาในวัฒนธรรมทวารวดีนั้นมีแนวโน้มว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับแนวคิดของพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นหลัก โดยมีการนับถือพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาฮินดูอยู่บ้างประปราย

แต่ไม่ได้หมายความว่า พุทธศาสนาในดินแดนไทยจะมีเพียงแค่นิกายเถรวาทหรือนิกายมหายานเท่านั้นเพราะในคาบสมุทรภาคใต้ซึ่งมีอาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-15 นอกจากจะปรากฏหลักฐานการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พุทธศาสนานิกายมหายาน อย่างแพร่หลาย ดังการพบรูปพระโพธิสัตว์ในรูปของพระพิมพ์ดินดิบและประติมากรรมลอยตัวหลายชิ้นด้วยกัน ยังปรากฏหลักฐานที่บ่งบอกถึงพุทธศาสนานิกายอื่น ๆ เช่น นิกายสรวาสติวาทและมูลสรวาสติวาท เป็นต้น

พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดใน
พุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศร่วมประเพณี “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” ในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช รูปแบบสถาปัตยกรรมและความยิ่งใหญ่ของพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้สะท้อนการเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาอันเก่าแก่ในภาคใต้ของไทย

พุทธศาสนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 19

ขณะที่อาณาจักรทวารวดีเริ่มเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรขอมหรือเขมรก็เริ่มแผ่อำนาจเข้ามาในดินแดนไทยทีละน้อย โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามด้วยลุ่มนํ้าเจ้าพระยาในภาคกลาง ส่วนดินแดนภาคกลางตอนเหนือขึ้นไปก็เริ่มมีชุมชนเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้น และในไม่ช้าชุมชนเหล่านั้นก็สถาปนาขึ้นเป็นราชธานีสุโขทัยในพุทธศตวรรษที่ 19 วัดวาอาราม พระสถูปเจดีย์ พระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท และจิตรกรรมฝาผนัง ล้วนแสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในราชธานีสุโขทัยได้เป็นอย่างดี

ไม่เพียงเท่านั้น ข้อความจากจารึกจำนวนมากยังเป็นประจักษ์พยานได้อย่างชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์สุโขทัยทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ให้การอุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนาอย่างสูง ขณะเดียวกัน ชาวเมืองสุโขทัยก็มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นมีการส่งพระสมณทูตไปยังลังกาเพื่อสืบพระศาสนา (ลัทธิลังกาวงศ์) มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากลังกากลับมาสุโขทัยเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีหลายครั้ง

ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนี้เอง พุทธศาสนาในคาบสมุทรภาคใต้ก็เจริญรุ่งเรืองไม่แพ้กัน (ราวพุทธศตวรรษที่ 18) โดยสันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และเมื่อพิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์ ตำแหน่งการสร้างที่เกี่ยวข้องกับขนบนิยม “การสร้างพระมหาเจดีย์กลางเมือง” ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนากับลังกา (ลัทธิลังกาวงศ์) เช่นเดียวกับราชธานีสุโขทัยส่วนในภาคเหนือ หรืออาณาจักรล้านนานั้น ก็ยอมรับนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างแนบแน่น และได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากทั้งพม่า ลังกาและสุโขทัย ดังปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในกลุ่มพระสถูปเจดีย์ พระพุทธรูป และจิตรกรรมฝาผนังราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ราชธานีสุโขทัยก็ถึงคราล่มสลาย

บ้านเมืองในลุ่มนํ้าเจ้าพระยาเจริญเติบโตจนถึงขีดสุดและสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีกรุงศรีอยุธยา แม้เดิมทีพื้นที่แถบนี้จะได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรขอมอยู่บ้าง เพราะมีการนับถือทั้งศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายานปะปนกัน แต่เมื่ออาณาจักรขอมถึงคราล่มสลาย ศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายานก็พลอยเสื่อมความนิยมลงไปด้วย คงเหลือไว้แต่การนับถือเทพเจ้าฮินดูในราชสำนักเท่านั้น ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์เข้ามาได้รับความนิยมแทนที่ และในไม่ช้าก็เจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุด นอกจากความนิยมในการสร้างวัดวาอารามอย่างมากมาย มีงานพุทธศิลป์หลากหลายประเภทแล้ว พระสงฆ์ไทยยังนิยมเดินทางออกไปศึกษาและสืบสานพุทธศาสนาที่ลังกาหลายครั้ง

ราว พ.ศ. 2296 เมื่อพุทธศาสนาในลังกาเสื่อมลงมากจนเกือบสิ้นสมณวงศ์ กษัตริย์ลังกาจึงส่งคณะสมณทูตมายังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อขอให้พระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทให้แก่กุลบุตรชาวสิงหล ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงส่ง ”พระอุบาลีกับพระอริยมุนี” พร้อมด้วยคณะสงฆ์อีก 15 รูปเดินทางไปวางรากฐานพุทธศาสนาอีกครั้ง ครั้งนั้นเองที่เกิดนิกายใหม่ ชื่อว่า ”นิกายอุบาลีวงศ์” หรือ “สยามวงศ์” เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเถระจากกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

ปัจจุบันนิกายอุบาลีวงศ์ หรือสยามวงศ์ ถือเป็นคณะสงฆ์ที่มีความยิ่งใหญ่มากที่สุดในลังกาส่วนพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยานั้นก็ยังคงความรุ่งเรืองต่อมาภายใต้พระอุปถัมภ์พระมหากษัตริย์ดังเดิม จนกระทั่งสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน

เรื่อง วรลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์
ภาพถ่าย เอกรัตน์ ปัญญะธารา

เผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย เดือนกรกฎาคม 2556


อ่านเพิ่มเติม บามียัน พระพุทธรูปโบราณองค์ใหญ่ในอัฟกานิสถาน-ที่ถูกทำลายไปจนสิ้น

พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดใน