โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ เจ้าของ

7 ต.ค. 2020

อนาคตของ บำรุงราษฎร์ จะเป็นอย่างไร? /โดย ลงทุนแมน

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลเอกชน ที่มีรายได้จากผู้ป่วยชาวต่างชาติเกือบ 70%
รู้ไหมว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
ราคาหุ้นของบำรุงราษฎร์ ลดลงไปแล้วถึง 35%
ซึ่งมากกว่าการลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทย ที่ลดลงไปประมาณ 22%

ตอนนี้ หลายคนคงกำลังตั้งคำถาม
ว่าอนาคตของ บำรุงราษฎร์ จะเป็นอย่างไร?

ถ้าถามว่าบำรุงราษฎร์ใหญ่แค่ไหน
ลองมาดูมูลค่าบริษัทของโรงพยาบาลในตลาดหุ้นไทย
กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) มูลค่าบริษัทประมาณ 308,000 ล้านบาท
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) มูลค่าบริษัทประมาณ 77,000 ล้านบาท
สมิติเวช (SVH) มูลค่าบริษัทประมาณ 40,000 ล้านบาท

ที่ผ่านมา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
เน้นให้บริการทางการแพทย์ ที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับสูงและชาวต่างชาติ

เมื่อบวกกับภาพลักษณ์ของการให้บริการทางการแพทย์ของไทยที่เป็นที่ยอมรับ และมีจุดเด่นเรื่องราคาที่ไม่สูง เมื่อเทียบกับคุณภาพระดับเดียวกันในประเทศอื่นๆ

จึงทำให้ ในปี พ.ศ. 2562 บำรุงราษฎร์ มีผู้ป่วยชาวต่างชาติมาใช้บริการกว่า 180 ประเทศ และทำให้ บำรุงราษฎร์ มีรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติในสัดส่วนสูง

ปี พ.ศ. 2562 บำรุงราษฎร์ มีรายได้ 18,718 ล้านบาท กำไร 3,748 ล้านบาท
โดยรายได้ทุก 100 บาท มาจาก
ผู้ป่วยชาวต่างชาติ 66 บาท
ผู้ป่วยชาวไทย 34 บาท

โดยผู้ป่วย 3 ประเทศที่จ่ายเงินให้บำรุงราษฎร์สูงสุด
คือ เมียนมา, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต

เมื่อเทียบสัดส่วนรายได้ผู้ป่วยชาวต่างชาติ ของบำรุงราษฎร์ กับ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2562
บำรุงราษฎร์ (BH) มีสัดส่วนรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติ 66%
กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) มีสัดส่วนรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติ 30%

พอเห็นแบบนี้ ก็บอกได้ว่า
รายได้จากผู้ป่วยชาวต่างชาติ มีความสำคัญกับบำรุงราษฎร์อย่างมาก

และก็เดาได้ไม่ยาก ว่าการปิดประเทศไม่ให้ต่างชาติเข้ามา จะต้องส่งผลกระทบกับรายได้ของบำรุงราษฎร์อย่างแน่นอน

ซึ่งนั่นก็คือความท้าทายของบำรุงราษฎร์ในตอนนี้..

จากรายงานผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 หรือช่วงเดือนเมษายน ถึง มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ บำรุงราษฎร์ ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ จากการปิดประเทศ

รายได้ของบำรุงราษฎร์ในไตรมาสที่ 2
ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 43.4%
จาก 4,279 ล้านบาท เหลือ 2,422 ล้านบาท
โดยรายได้จากผู้ป่วยชาวไทยลดลง 13.0%
และรายได้จากผู้ป่วยชาวต่างชาติลดลง 58.9%

อย่างไรก็ตาม แม้รายได้จะลดลงมาก
แต่บำรุงราษฎร์ ก็ลดต้นทุนลงได้มากเช่นกัน

ต้นทุนกิจการโรงพยาบาลลดลง 34.5%
จากการที่ค่าธรรมเนียมแพทย์, ต้นทุนสินค้า และค่าใช้จ่ายพนักงานลดลง

ค่าใช้จ่ายในการขายลดลง 39.3%
จากการที่ค่าใช้จ่ายทางการตลาดลดลง

ค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง 11.6%
จากการลดการจ่ายค่าล่วงเวลาของพนักงานลง

นอกจากนั้น ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ก็ลดลงอีกเล็กน้อย

ทำให้ กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) อยู่ที่ 317 ล้านบาท ซึ่งลดลงจาก 1,167 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว แต่ที่น่าสนใจคือบำรุงราษฎร์ยังรักษา EBITDA ให้เป็นบวกได้อยู่

ส่วนกำไรสุทธิ ก็ยังคงเป็นบวก
แต่ลดลงจาก 725 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว เหลือ 44 ล้านบาท

ปัจจุบัน บำรุงราษฎร์ มีสินทรัพย์หมุนเวียน 11,355 ล้านบาท หนี้สินหมุนเวียน 2,100 ล้านบาท
และมีเงินสด 1,800 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดที่ได้มาจากการดำเนินงานในครึ่งปีแรก 676 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากที่เกิดขึ้นกับบำรุงราษฎร์ ได้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนไม่น้อย

ซึ่งสะท้อนออกมาจากมูลค่าบริษัทที่ลดลงถึง 35%
จากประมาณ 116,000 ล้านบาทในช่วงต้นปี มาอยู่ที่ประมาณ 77,000 ล้านบาท

ถึงตรงนี้ คำถามที่ว่า อนาคตของบำรุงราษฎร์จะเป็นอย่างไร
คงยังไม่มีใครสามารถฟันธงได้อย่างชัดเจน

แต่อย่างน้อย สิ่งที่เราต้องถามตัวเองคือ
เรามองวิกฤติโรคระบาดที่เกิดขึ้น และชาวต่างชาติที่หายไปในตอนนี้ เป็นแค่เรื่องชั่วคราวหรือถาวร

References
-รายงานประจำปี 2562 บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
-คําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัท ประจําไตรมาส 2 ปี 2563 และครึ่งปี แรกของปี 2563 บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
-เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ เจ้าของ

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) มีมติแต่งตั้ง นางอาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านบริหาร CEO โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แทน รศ. นพ. สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี ที่เกษียณอายุการทำงาน

โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ เจ้าของ

ทั้งนี้ นางอาทิรัตน์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผนกลยุทธ์ กำหนดนโยบาย และบริหารการให้บริบาลและการรักษาโดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยที่ผ่านมามีส่วนเข้าร่วมงานกับทางโรงพยาบาลใน ปี 2555 และได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มาแล้วหลายตำแหน่ง

โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ เจ้าของ

สำหรับนางอาทิรัตน์สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านเภสัชศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2533 ปริญญาโทสาขาการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Marketing Management) จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อปี 2550 และปริญญาโทสาขาการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Management) จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ เมื่อปี 2552 มีประสบการณ์การทำงานที่หลากหลายเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงพยาบาลทั่วไทยกว่า 25 ปี ล่าสุด นพ.วีระพันธ์ ควรทรงธรรม ผู้อำนวยการสถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ นพ.วิญญู รัตนไชย ผู้อำนวยการด้านการแพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ศ.นพ. เซบาสเตียน รุทเทน ผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลังและบำบัดความปวด โรงพยาบาลเซนต์ แอนนา ประเทศเยอรมนี และ ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหารและผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการ โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ พร้อมด้วยผู้บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการศัลยแพทย์กระดูกสันหลังนานาชาติ ครั้งที่ 11 โดยสถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ ภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลังและการบำบัดความปวด โรงพยาบาลเซนต์แอนนา ประเทศเยอรมนี รับหน้าที่เป็นศูนย์กลางจัดการอบรม โดยมีศัลยแพทย์กระดูกสันหลังนานาชาติมากกว่า 10 ประเทศ เข้าร่วมต่อยอดองค์ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลอะไร

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523 เป็นโรงพยาบาลที่บุกเบิกการให้บริการดูแลสุขภาพที่ได้มาตรฐานระดับโลกและให้บริการดูแลสุขภาพแก่ชาวต่างชาติมาเป็นเวลานานเกือบสี่ทศวรรษ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมหานครขนาดใหญ่ที่มีความเป็นสากลซึ่งมีสมัญญาว่า “กรุงเทพ ...

โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ มีกี่ชั้น

เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาคารสูง 12 ชั้นพร้อมที่จอดรถใต้ดิน มีพื้นที่ 70,262 ตารางเมตร ลานจอดเฮลิคอปเตอร์มาตรฐานสากล

โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ มีกี่เตียง

เรามุ่งมั่นให้บริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุด ที่ตั้งมั่นอยู่บนคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดบริการเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ.2523 เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากล ในการให้บริการโรงพยาบาลเอกชนขนาด 580 เตียง โดยทีมงานบริหารจากนานาประเทศ พร้อมแพทย์ ...

ใครคือคุณสาธิตวิทยากร

ดร.สาธิต เป็นบุตรชายคนเล็กของ “พงษ์ศักดิ์ วิทยากร” ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารโรงพยาบาลกรุงเทพ จบการศึกษาระดับปริญญาเอก บริหารธุรกิจ (การจัดการเชิงกลยุทธ์), ปริญญาโทบริหารธุรกิจ, ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (เครื่องกล) หลักสูตรร่วมมหาวิทยาลัยกรุงเทพและ University of Nebraska – Lincoln, สหรัฐอเมริกา, Golden Gate University ที่ ...