ฝากครรภ์สามารถเบิกประกันสังคมได้ไหม

ผู้ประกันตนตาม ม.33 และ 39 ที่เป็น “คุณพ่อป้ายแดง” สามารถใช้สิทธิเบิกประโยชน์ทดแทน “กรณีคลอดบุตร” ได้ โดยเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ค่าฝากครรภ์ จ่ายตามจริงครั้งละไม่เกิน 1,500 บาท สำหรับการพบแพทย์ 5 ครั้ง ต่อการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง รวมถึงเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้เดือนละ 800 บาท ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปีบริบูรณ์ ต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 3 คน
.
เงื่อนไข คือ ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนคลอด และกรณีพ่อแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้สามารถเบิกได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต่อบุตร 1 คน
.
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 หรือเพจ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตลอด 24 ชม.

#ไทยคู่ฟ้า #ร่วมต้านโควิด19

-------------------

ฝากครรภ์สามารถเบิกประกันสังคมได้ไหม

สิทธิประกันสังคม ขณะตั้งครรภ์

ประกันสังคมได้ให้สิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งแต่มีเบบี้อยู่ในท้อง ซึ่งคุณแม่สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ วงเงินรวมทั้งหมด 1,500 บาท (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564) ตามเงื่อนไขกำหนด ดังนี้

• สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ ได้ทั้งสามี และภรรยา ที่เป็นผู้ประกันตน โดยเลือกใช้สิทธิประกันสังคมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

• เข้ารับการฝากครรภ์ในสถานพยาบาล หรือคลินิกตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กกระทรวงสาธารณสุข

วงเงิน 1,500 บาท เบิกได้ตามอายุครรภ์ ดังนี้

  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 500 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13 - น้อยกว่า 20 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20 - น้อยกว่า 26 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 26 - น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท

เอกสารประกอบการเบิกเงินทดแทน กรณีฝากครรภ์ มีอะไรบ้าง ?

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

2.บัตรประจำตัวประชาชน ( ฉบับจริง )

3. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

4. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด

6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มี 9 ธนาคาร ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)//ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) // ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

สิทธิประกันสังคม เมื่อคลอดบุตร  

ค่าคลอดบุตรประกันสังคม เหมาจ่าย จำนวนวงเงิน 15,000 บาท/ครั้ง

นอกจากคุณแม่จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการเบิกค่าฝากครรภ์แล้ว เมื่อถึงกำหนดคลอดบุตร ยังได้ค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่าย ซึ่งใช้สิทธิประกันสังคมได้ทั้งฝ่ายสามี และภรรยา ที่เป็นผู้ประกันตน โดยเลือกใช้สิทธิประกันสังคม ค่าคลอดบุตรได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

เงื่อนไขการใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร ดังนี้

• จะต้องเป็นผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 5 เดือน หรือภายใน 15 เดือน ก่อนครบกำหนดเดือนคลอดบุตร จึงจะสามารถเบิกค่าคลอดประกันสังคมได้

•เบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

2.สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

3.สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

4.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) // ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)             // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  // ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  // ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)  // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนดไว้ สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

หมายเหตุ : มีผลบังคับใช้ตามสิทธิประกันสังคมคลอดบุตร 2564 นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2564

สิทธิประกันสังคม หลังคลอดบุตร และสิทธิในการดูแลบุตร

ในกรณีหลังจากคลอดบุตรแล้ว คุณแม่จะได้รับสิทธิประโยชน์อีก 2 ต่อ นั่นคือ เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ 50 % ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน หรือ 3 เดือน และจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท/บุตรหนึ่งคน

•เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จะสามารถใช้สิทธิ์ได้เฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้น

•สามารถใช้สิทธิประกันสังคมรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ดังนั้น บุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร

•จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์เพื่อการคลอดบุตร (คุ้มครองต่ออีก 6 เดือน เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง)

•กรณีกลับมาทำงานก่อนถึงครบกำหนด 90 วัน คุณแม่จะยังได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรตามปกติ

หมายเหตุ : เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน เช่นเดียวกับกรณีคลอดบุตร

นอกจากสิทธิประโยชน์จากทางประกันสังคมที่คุณแม่จะได้รับ ยังมีค่าชดเชย ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ที่นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างกรณีลาคลอดบุตร 45 วัน หรือสวัสดิการอื่นๆ ในการล่าคลอดจากองค์กร หรือบริษัทที่คุณแม่ทำงาน ทั้งนี้นโยบายต่างๆ ขึ้นอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ขององค์กร แนะนำให้คุณแม่ติดต่อ สอบถามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กรจะเป็นการดีที่สุด และเพื่อรักษาผลประโยชน์ในการลาคลอด

เงื่อนไขการมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์บุตร ดังนี้

• ต้องเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39

• จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

• สงเคราะห์บุตรจำนวนเงิน 800 บาท/บุตรหนึ่งคน ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนไม่เกิน 3 คน โดยจะต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

• กรณีบุตรเสียชีวิต หรือบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

เอกสารประกอบการเบิกเงินทดแทน กรณีคลอดบุตร มีอะไรบ้าง? 

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)

2.กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ

3.กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ ใช้สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด

4.กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ ใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด และสำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)

5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด

6.กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด

7.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) // ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน) 8.เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

หากคุณแม่ หรือคุณพ่อ ต้องการข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือสอบถามเรื่องสิทธิประกันสังคมด้านอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือ  www.sso.go.th  หรือโทรสายด่วน 1506 ได้เลยค่ะ

หรือหากมีคำถามใดๆเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ช่อง comment ด้านล่าง ได้เลยนะคะ ทาง admin จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ หรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถติดต่อไปที่สายด่วนประกันสังคมได้โดยตรงเช่นกันค่ะ

✅✅✅✅✅

หากต้องการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมครบ 23 คู่ รู้เพศ และโรคอื่นๆได้มากถึง 84 โรคกับ Brand NIFTY หรือ การตรวจ nifty และ NGD NIPS

เบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม 2565 เบิกได้ตอนไหน

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้แล้ว ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 นี้เป็นต้นไป ผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงดูรายละเอียดได้ที่ www.sso.go.th. เอกสารประกอบการเบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม 2565.

เบิกประกันสังคมค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท

เบิกค่าฝากครรภ์ : วงเงินรวม 1,500 บาท เบิกค่าคลอดบุตร : เหมาจ่ายวงเงิน 15,000 บาท ต่อครั้ง เบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร : เบิกได้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน) เบิกค่าชดเชย กรณีแท้งบุตร : ต้องอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์

เบิกเงินค่าคลอดบุตรประกันสังคมกี่วันได้

เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อ การคลอดบุตร ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (ใช้ได้กับการคลอดบุตรครั้งที่1 และ2 เท่านั้น) เบิกค่าคลอดบุตร สาหรับภรรยา เหมาจ่าย 15,000 บาท (ไม่จากัดจานวนครั้ง) หากพ่อแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่สามารถ เบิกใช้สิทธิได้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เท่านั้น

ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์พ่อเบิกได้ไหม

รู้ยัง? “คุณพ่อป้ายแดง” ม.33 - ม.39 ใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตร - ค่าฝากครรภ์ได้ ไม่จำกัดจำนวนครรภ์ “สงเคราะห์บุตร” ไม่เกิน 6 ขวบ คราวละไม่เกิน 3 คน .....