อาหาร กระป๋อง วัน หมดอายุ สังเกต ได้ จาก อะไร

                นอกจากวันหมดอายุบนฉลากอาหารแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพได้ เช่น วิธีการขนส่งและจัดเก็บ โดยเฉพาะอาหารแช่เย็นหรือแช่แข็ง เมื่อซื้อมาแล้วควรรีบจัดเก็บในตู้เย็นทันที เพราะถ้าวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกตินานขึ้นเท่าใด แสดงว่า เรากำลังทำให้จุลินทรีย์ที่มีในอาหารนั้นเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้มากขึ้นเท่านั้น นั่นก็คือ อาหารของเราได้เสื่อมคุณภาพไปด้วยแล้ว

โลกรู้จักกับอาหารที่บรรจุในกระป๋อง (Canned Food) มาตั้งแต่ปี 1825 ซึ่งวัตถุประสงค์หลักก็คือ การเก็บถนอมอาหารไว้ได้นานๆ ด้วยวิธีการทำให้สุก เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Sterile) ก่อนบรรจุลงในกระป๋องปิดสนิท เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียหรือเชื้อราเข้าไปทำให้อาหารเน่าเสียได้ ดังนั้น จึงมักจะมีคำเตือนเขียนไว้ข้างกระป๋องว่า ‘ปิดแล้วต้องรับประทานให้หมดทันที’ ในยุคแรกๆ จะเริ่มต้นจากของที่เน่าเสียง่ายอย่างผักและผลไม้

วิธีการถนอมอาหารแบบนี้ได้วิวัฒนาการตัวเองไปเรื่อย ตั้งแต่เปลี่ยนภาชนะบรรจุเป็นขวด กล่องนมหุ้มฟอยล์เพื่อป้องกันการเปลี่ยนอุณหภูมิ จนถึงยุคอาหารแช่แข็งที่โยนเข้าไมโครเวฟพร้อมรับประทาน ต่างก็มาจากฐานคิดเดียวกันคือ ต้องการเก็บอาหารไว้นานๆ

แต่…ตามกฎของเวลาโลก ที่ว่านานนั้น มันนานแค่ไหนกัน

เรารู้กันว่า บนสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปจะต้องมี ‘วันที่’ บอกไว้ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการหมุนเวียนสินค้าบนชั้น (Shelf Life) ในร้านค้ามากกว่า

ในความเป็นจริงของการเก็บอาหารให้อยู่ในรูปของอาหารกระป๋อง ตัวอาหารที่อยู่ภายในนั้นไม่ได้ถูกเสกให้กลายเป็นสารพิษทำลายสุขภาพหลังวันที่ที่ถูกประทับไว้ เพราะตัวเลขนั้นเป็น ‘คำแนะนำ’ จากผู้ผลิตและผู้บรรจุ ความมหัศจรรย์ของนวัตกรรมการถนอมอาหารแบบปิดสนิทคือ ถ้าไม่มีปัจจัยในการทำให้บรรจุภัณฑ์รั่ว อาหารกระป๋องบางชนิดอาจมีสภาพที่ ‘ยังกินได้’ ถึง 100 ปีทีเดียว

ตัวอย่างคือ อาหารกระป๋องของนักขุดทองที่จมลงสู่ก้นแม่น้ำมิสซูรีในปี 1865 ทางตอนเหนือของโอมาฮา เนบราสกา จนกระทั่งมีการค้นพบลังใส่อาหารกระป๋องจากศตวรรษก่อนเมื่อปี 1968 ทั้งพีช หอยนางรม พลัม มะเขือเทศ น้ำผึ้ง และผักหลายชนิด ซึ่งในปี 1974 ทีมนักเคมีจาก National Food Processors Association (NFPA) ได้เปิดเผยว่า อาหารของพวกนักขุดทอง แม้จะสูญเสียความสดและกลิ่นรสไม่น่ารับประทานแล้ว แต่กลับไม่มีแบคทีเรียหรือเชื้อโรคเจือปนอยู่ในนั้นเลย นั่นคือการการันตี ‘ความปลอดภัยต่อสุขภาพ’ ของอาหารกระป๋องจากกว่า 100 ปีก่อน

 

+ ตัวเลขนั้นสำคัญไฉน

ตัวเลขเรียงแถวที่ถูกประทับไว้บนบรรจุภัณฑ์อาหารทั้งหลายนี่แหละ คือสิ่งที่สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคอย่างมาก เพราะมีทั้งแบบเข้าใจง่ายเข้าใจยาก และชวนให้เกิดความเข้าใจผิดเสมอๆ โดยเฉพาะกรณี ‘ควรบริโภคก่อน…’ ดังนั้น ถ้าฉันกินหลังจากนั้นไปวันหนึ่ง…ตายล่ะ ต้องท้องเสียจนตัวซีด…หรือเปล่า

อาหารกระป๋องปัจจุบันมีอายุอยู่บนชั้นอย่างน้อยประมาณ 2 ปีนับจากวันที่บรรจุ จึงมีคำว่า ‘ควรบริโภคก่อน’ (Best Before…) แทนที่จะใช้คำว่า ‘หมดอายุ’ (Expiry…) เพราะมันไม่ได้เสีย

 

+ ความหมายในตัวเลข

  • Sell by… หมายถึง ระยะเวลาในการวางสินค้าของร้าน ซึ่งตัวเลขนี้สำคัญสำหรับร้านค้าปลีก เพื่อการจัดระบบสินค้าบนชั้นและบริหารการจัดเก็บสินค้า และอาจหมายถึงวันสุดท้ายที่สินค้านั้นอยู่ในสภาพสดสุดๆ เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ อาหารทะเล และนม
  • Best Before… และ Use by… หมายถึง การกำหนดวันของคุณภาพและรสชาติว่า ระยะเวลาที่สินค้าชิ้นนั้นจะอยู่ในสภาพดีที่สุด ไม่ใช่ความปลอดภัยสำหรับการบริโภค ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการบรรจุและส่วนประกอบของสินค้านั้นๆ ด้วย เช่น อาหารกระป๋อง แยม มายองเนส และซอสต่างๆ
  • Guaranteed fresh… หมายถึง การรับประกันความสดใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้กับขนมปังและสินค้าเบเกอรี ซึ่งจริงๆ ก็สามารถกินได้หลังวันดังกล่าว แต่ต้องยอมรับว่า…มันไม่สดใหม่แล้ว
  • Pack… หมายถึง วันที่สินค้านั้นถูกบรรจุ เช่น อาหารกระป๋อง ซึ่งในกรณีนี้มักจะมีการโกงโดยใช้ระบบปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) ให้คนงงเล่นๆ คือ นับวันแรกของปีเป็น 001 และวันสุดท้ายเป็น 365 หรือ 366 เข้ามาแทน เดือน-วัน-ปี ตามระบบสากล
  • Expires on… หมายถึง วันที่ที่ระบุอยู่ในอาหารบางชนิด ซึ่งค่อนข้างเสียง่าย เช่น นม และอาหารสำหรับเด็ก โดยวันดังกล่าว จะค่อนข้างเป็น ‘เส้นตาย’ ของจริงว่า หลังจากวันที่ระบุไว้แล้ว หากยังเลือกที่จะบริโภคอยู่ นั่นหมายถึงคุณกำลังเอาของเสียลงท้อง ซึ่งกฎหมายหลายๆ ประเทศคำนึงถึง ‘วันหมดอายุ’ ในอาหารจำพวกนี้เป็นพิเศษ

“คนจำนวนมากทีเดียวที่มองข้ามของกินเหล่านี้ไปเพราะตัวเลขที่ว่า ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ เพราะมันยังอยู่ในสภาพดีและกินได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนมักมีปฏิกิรยากับตัวเลขมากกว่าความเป็นจริงข้อนี้อยู่ดี” ไบรอัน บัคลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร บอกว่า อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่า ตัวเลขวันที่พวกนั้นเป็นชี้ขาดว่ามัน ‘กินไม่ได้แล้ว’

บัคลีย์บอกว่า อาหารที่ ‘จำเป็น’ จะต้องระบุวันหมดอายุจริงๆ คือ นมเลี้ยงทารก และอาหารสำหรับเด็ก “สำหรับสินค้าเหล่านี้ ต้องถูกนำออกจากชั้นวางไปเลยหลังวันที่กำหนด และไม่ควรจะนำมันไปกินโดยเด็ดขาด”

แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์จากนม ที่ดูเหมือนจะถูกกำกับด้วยวันหมดอายุมาโดยตลอด แต่ นายแพทย์แอนดรูว์ กลิปทิส จากโรงพยาบาลในนิวยอร์ก กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “เวลาคุณจะกินอะไรสักอย่าง…เชื่อจมูกของคุณเองดีกว่า” เช่นเดียวกับที่ ศาตราจารย์พอล ฟานแลนดิงแฮม จากมหาวิทยาลัยจอห์นสันแอนด์เวลส์ (Johnson & Wales University) บอกว่า ถ้าอยากรู้ว่าอาหารสีย เน่าบูดหรือยัง เครื่องชี้วัดที่ดีที่สุดก็คือ จมูกและลิ้น

 

+ ความสับสนเรื่องตัวเลข

รายงานการศึกษาจากสภาป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources Defense Council: NRDC) เกี่ยวกับการระบุ ‘วันที่’ บนฉลากอาหาร เปิดเผยว่า มันยังมีความคลุมเครืออยู่มาก และตัวเลขเจ้าปัญหาในกรณีการใช้คำ ‘Use by…’ หรือ ‘Sell by…’ นี่แหละ เป็นปัจจัยสำคัญถึงร้อยละ 40 ที่ทำให้เกิด ‘ขยะอาหาร’ จำนวนมหาศาลในอเมริกา

ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ตัวเลขแสดงวันหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน คือตัวชี้วัดว่าอาหารสำเร็จรูปชิ้นนั้นมีความปลอดภัยพอที่จะซื้อกลับไปกินหรือไม่ ทั้งๆ ที่ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงต่อความเป็นพิษของอาหารแต่อย่างใด

การระบุวันหมดอายุของอาหารของอเมริกา เริ่มต้นขึ้นเมื่อทศวรรษที่ 1970 ซึ่งมาจากการเรียกร้องของผู้บริโภค วันที่นั้นจึงระบุเพื่อกำหนด ‘ความสด’ ในระยะสุดท้าย ดังนั้นไม่ได้หมายความตรงๆ ว่ามันกินไม่ได้แล้ว และที่สำคัญมันไม่ได้ทำให้คนป่วย

เอมิลี บรอด ลีบ ผู้อำนวยการ Harvard Food Law & Policy Clinic ซึ่งเป็นทีมที่ทำการศึกษาความเข้าใจผิดๆ เรื่องตัวเลขบนบรรจุภัณฑ์อาหารบอกว่า ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวเลขพวกนี้อีกมาก “เป็นวันที่ตามมาตรฐานและวันที่ควรใช้ มันมีความหมายในเชิง ‘คุณภาพ’ ไม่ใช่ ‘ความปลอดภัย’ แต่มันขึ้นอยู่กับตัวผู้บริโภคเองที่จะรับได้หรือเปล่าว่าอาหารที่เลยวันที่ดังกล่าวมาแล้วยังสามารถกินได้อยู่” ยกตัวอย่างเช่น เส้นมักกะโรนี สามารถกินได้แม้จะเลยวันหมดอายุไปแล้ว 1 ปี โดยที่รสชาติและคุณภาพยังไม่เปลี่ยน

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (Food and Drug Administration: FDA) ยังช่วยยืนยันว่าตัวเลขวันหมดอายุไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบูดเน่าของอาหารซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง เพราะจริงๆ แล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากกว่าคือ ส่วนผสมของอาหาร ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นภัยต่อสุขภาพจริงๆ

อาหาร กระป๋อง วัน หมดอายุ สังเกต ได้ จาก อะไร
อาหาร กระป๋อง วัน หมดอายุ สังเกต ได้ จาก อะไร

 

+ อายุจริงที่ยังแจ๋ว

ถ้าตัวเลขที่ถูกตีตราบนสินค้าไม่ได้เป็นตัวชี้เป็นชี้ตายอายุขัยของอาหาร รายการข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างง่ายๆ ในการเลือกซื้อของกิน เพื่อเป็นข้อพิจารณาว่า มันเก็บไว้ได้นานแค่ไหน

  • นม ควรบริโภคตาม ‘Sell by…’
  • ไข่ ควรบริโภคภายใน 3-5 สัปดาห์ นับจากวันที่ซื้อ ซึ่งไข่ที่ถูกคัดเป็นเกรดสูงอาจจะเก็บได้น้อยกว่านั้น
  • สัตว์ปีกและอาหารทะเล ควรนำมาประกอบอาหารทันที หรือเก็บเข้าตู้เย็นไว้ไม่เกิน 2 วัน
  • เนื้อหมูและเนื้อวัว ควรนำมาประกอบอาหารทันที หรือเก็บเข้าตู้เย็นไว้ไม่เกิน 5 วัน
  • อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์หมักดองที่มีกรดมาก เช่น ซอสมะเขือเทศ เก็บไว้ได้ราว 18 เดือน ส่วนอาหารกระป๋องที่ไม่มีกรด เช่น ถั่ว อาจเก็บได้ถึง 5 ปี

“อาหารกระป๋องไม่ควรถูกเก็บไว้ในที่ร้อนๆ” ศาสตราจารย์เพ็กกี ฟาน ลาเนน จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็ม (Texas A&M University) โดยเฉพาะระหว่างการขนส่ง เพราะอุณหภูมิและความชื้นจะมีผลต่อตัวบรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกระป๋องโลหะ และตัวอาหารเอง

ตามคำแนะนำของ FDA บอกว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับอาหารกระป๋องไว้ให้อยู่ได้นานจริงๆ คือ 10-21 องศาเซลเซียส และต้องเป็นสถานที่แห้งๆ ไม่มีแสงแดด ดังที่เราจะเห็นในภาพยนตร์ต่างประเทศว่าทุกบ้านมักจะมีห้องใต้ดินไว้เก็บอาหารประเภทนี้

สำหรับในประเทศที่ไม่ได้มีอุณหภูมิปกติแบบนั้นเช่นบ้านเรา อายุของการเก็บอาหารกระป๋องไว้อาจไม่ได้ยาวนานถึงศตวรรษ – แต่ย้ำอีกครั้งว่า ถ้าไม่มีการรั่วซึ่มจนเชื้อโรคเข้าไปได้ สิ่งที่เปลี่ยนคือกลิ่นและรส ไม่ได้แปลว่ามันเน่าเสีย

อย่างไรก็ตามวิธีการรับประทานอาหารสำเร็จรูปจำพวกอาหารกระป๋องที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ การอุ่นให้มันร้อนอีกรอบหนึ่ง

 

+ ของกินนะ ไม่ใช่ขยะ!

อาหาร กระป๋อง วัน หมดอายุ สังเกต ได้ จาก อะไร
อาหาร กระป๋อง วัน หมดอายุ สังเกต ได้ จาก อะไร
ดัก รอฟ อดีตประธานบริษัท Trader Joe’s ผู้ผลิตสินค้าส่งตามร้านสะดวกซื้อในอเมริกา ตอนนี้เขากำลังขยายกิจการรูปแบบใหม่คือ ร้านอาหารรูปแบบใหม่ The Daily Table ที่เสิร์ฟอาหารกึ่งสำเร็จรูป ด้วยราคาย่อมเยา เพราะอาหารที่พวกเขาเลือกใช้คือ อาหารสำเร็จรูปที่เพิ่งหมดอายุหมาดๆ

ในความเข้าใจทั่วไปข้อความบนอาหารสำเร็จรูป โดยเฉพาะอาหารกระป๋องที่ระบุ ‘Best Before’ หรือกระทั่งอาหารที่ ‘หมดอายุ’ ไปเมื่อวาน ก็ไม่ได้แปลว่าหมดประโยชน์เสมอไป

ข้อความดังกล่าวบนสินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูปจึงเป็นเพียง ‘คำแนะนำ’ เท่านั้น

ด้วยความที่อยากให้อาหารคงอยู่ได้นาน รอฟ แนะนำวิธีการ ‘แช่แข็ง’ แม้กระทั่งอาหารประเภทนมหรือขนมปัง ซึ่งจะสามารถช่วยยืด ‘เวลาตาย’ ของอาหารนั้นๆ ออกไปได้ – แม้ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการเลือกเฟ้นอาหารมาเลี้ยงท้อง แต่ The Daily Table พยายามที่จะแก้ปัญหาคนอดอยากด้วยวิธีนี้ แม้ว่าคุณค่าทางอาหารอาจลดลงไปบ้าง แต่ความหิวคือศัตรูตัวฉกาจของมนุษยชาติ นี่เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ไม่ควรมองข้าม จากอดีตคนทำงานด้านบรรจุภัณฑ์

ที่แน่ๆ ทำให้เกิดคำถามว่า วิธีการต่อชีวิตให้อาหารหมดอายุของ The Daily Table อาจจะดีต่อสุขภาพมากกว่าอาหารจานด่วนฟาสต์ฟูดสมัยใหม่ด้วยซ้ำ