การบันทึกบัญชี Leasing รถยนต์

บัญชี สัญญาซื้อรถยนต์ แบบ Leasing ?

                กิจการได้เช่าซื้อรถยนต์จำนวน 1 คัน โดยบันทึกบัญชีตามราคาทุนของทรัพย์สิน โดยแยกดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเข้าบัญชีดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดจ่าย แต่ทางสรรพากรให้กิจการทำการปรับปรุงราคาของทรัพย์สินใหม่ เป็นราคาทุนบวกดอกเบี้ยเช่าซื้อ แล้วจึงค่อยนำมาคิดค่าเสื่อมราคา ดังนั้นทางบัญชีควรต้องปรับปรุงบัญชีตามสรรพากรหรือไม่ ในการทำสัญญาซื้อรถยนต์ แบบ Leasing จะบันทึกบัญชีอย่างไรถือเป็นค่าเช่าได้ทั้งหมดได้หรือไม่ หากไม่ได้ต้องบันทึก เป็นทรัพย์สินทั้งจำนวน แล้วจึงค่อยมาตัดค่าเสื่อมราคาใช่หรือไม่ อยากทราบว่าวิธีไหนถูกต้องที่สุดจะ ได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง สัญญาซื้อรถยนต์แบบ Leasing ส่วนใหญ่จะเป็น สัญญาเช่าทางการเงิน เนื่องจากมี การโอนกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ไปให้ผู้เช่า ณ วันสิ้นสุดสัญญา ดังนั้น กิจการต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ทั้งจำนวนก่อน แล้วจึงทยอยปันส่วนเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าเสื่อมราคา) ตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้นๆตัวอย่างการบันทึกบัญชีกรณีที่เป็นสัญญาเช่าทางการเงินทางด้านผู้เช่า

1.วันทำสัญญาและรับมอบสันทรัพย์ ให้บันทึกบัญชีสินทรัพย์ตามสัญญาเช่าระยะยาวและบันทึกหนี้สินในบัญชีข้อผูกพันตามสัญญาเช่าระยะยาวด้วยมูลค่าปัจจุบันของค่าเช่าขั้นต่ำหรือด้วยราคายุติธรรมแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า 1.วันทำสัญญาและรับมอบสันทรัพย์ เดบิต สินทรัพย์ตามสัญญาเช่าทางการเงิน XXX เครดิต เจ้าหนี้สัญญาเช่าระยะยาว XXX
2.ชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่าการเงิน เดบิต เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าระยะยาว XXX ดอกเบี้ยจ่าย XXX เครดิต เงินสด/ธนาคาร XXX
3.บันทึกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ณ วันสิ้นรอบปีบัญชี เดบิต ค่าเสื่อมราคา-สินทรัพย์ XXX เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม-สินทรัพย์ XXX

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร ?

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341

แก้ไขครั้งสุดท้าย สิงหาคม 21, 2022

 

การบันทึกบัญชี Leasing รถยนต์

เข้าสู่ระบบ


การบันทึกบัญชี ค่ารถยนต์ (สัญญาเข่าแบบลีสซิ่ง)

ความคิดเห็นที่ 1

ทางบริษัทฯ ได้ทำสัญญา[b]เช่าแบบลีสซิ่ง กับลีสซิ่งกสิกรไทย (HONDA CRV) เงื่อนไขดังนี้ 1) ระยะเวลาเช่า 48 งวด ๆละ 29,210-. ก่อนภาษี 27,299.07 ภาษี 1,910.93 2) ตกลงซื้อราคาซาก คือ 10% ของราคารถ คำถาม ทางบริษัทฯ จะลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเช่า หรือต้องบันทึกเป็นทรัพย์ของบรษัทฯ ไหมค่ะ และต้องเป็นทึกภาษียังไงเหรอค่ะ

auttarisa 29 กรกฎาคม 2551 15:53:16 IP: 124.121.187.113

ความคิดเห็นที่ 2

ความเห็น ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จะถือว่าเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ หมายถึงว่า ถ้าเนื้อหาคือ การซื้อสินทรัพย์ โดยวิธีทางการเงิน ตัวอย่างเช่น การเช่าซื้อ คือเจตนาต้องการซื้อสินทรัพย์ แต่ใช้วิธีการผ่อนชำระ (อาจใช้สินทรัพย์ที่ซื้อค้ำประกัน) โดยค่าผ่อนชำระมีดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย ก็ย่อมต้องบันทึกรับรู้เป็นการซื้อสินทรัพย์ แต่พอดีกรณีเช่าซื้อมีกฎหมายรองรับ คือรองรับเหมือนเป็นการซื้อสินทรัพย์เช่นเดียวกับหลักบัญชี คำว่า leasing หรือการเช่า กฎหมายไทยจะรู้จักแต่ operating lease (เช่าดำเนินงาน, rent) ตามหลักการบัญชี แต่ไม่รู้จัก finance lease (เช่าการเงิน) ดังนั้นถ้าเนื้อหาคือการซื้อสินทรัพย์ (โดยวิธีทางการเงิน) พรบ.การบัญชีกำหนดให้บริษัทต้องบันทึกตามหลักบัญชี คือตามเนื้อหา คือต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ (รายจ่ายฝ่ายทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายประจำงวด) เหมือนวิธีเช่าซื้อ แม้รูปแบบทางกฎหมายจะรู้จักแต่การเช่า (ดำเนินงาน) ทำให้ตอนคำนวณภาษีเงินได้ต้องมาปรับปรุงกำไรตามงบการเงินที่ทำตามหลักบัญชี ด้วยการบวกกลับ ค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยจ่าย (ที่เกิดจากวิธีตามหลักบัญชี) และหักเพิ่มด้วยค่าเช่า (เช่าดำเนินงาน ตามที่กฎหมายไทยรู้จัก) ตัวเลขจากโจทย์ที่ให้มาไม่พอที่จะบันทึกบัญชี (ตามหลักบัญชี) ได้ เพราะค่างวดดังกล่าวได้รวมดอกเบี้ยจ่ายของแต่ละงวดเข้าไปด้วย (ต้องขอจากทางบริษัท leasing ว่าแต่ละงวดมีดอกเบี้ยแฝงอยู่ด้วยำจนวนเท่าไร) รถยนต์ซื้อมาก็พร้อมใช้ จึงไม่สามารถเลือกวิธีรวมดอกเบี้ยเป็นต้นทุนสินทรัพย์ได้ จะต้องบันทึกดอกเบี้ยจ่ายจาก finance lease ออกมาเป็นรายจ่ายประจำงวด ส่วนรถยนต์ก็คำนวณค่าเสื่อมตามปกติ เมื่อจัดทำงบการเงินได้กำไรสุทธิ (ตามหลักบัญชี) พอจะมาคำนวณภาษีเงินได้ ต้องนำค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยจ่ายมาบวกกลับ และหักเพิ่มด้วยค่าเช่า (ค่างวด) แต่ละงวด การเช่ารถยนต์นั่ง ภาษีซื้อไม่สามารถนำไปเครดิตภาษีขายได้ ต้องรวมเป็นค่าเช่า แต่ค่าเช่าสำหรับรถยนต์นั่งที่กรมสรรพากรอนุญาตให้นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ต้องไม่เกินวันละ 1200 หรือเดือนละ 36000 ส่วนที่เกินก็นำมาหักไม่ได้

555 29 กรกฎาคม 2551 22:26:17 IP: 58.8.22.65

ความคิดเห็นที่ 3

เข้าใจว่า ตอนซื้อซาก (หลักการบัญชีไม่สนใจ เพราะถือว่าซื้อหรือรับรู้เป็นสินทรัพย์มาตั้งแต่ต้น แล้วคำนวณค่าเสื่อมตามปกติมาเรื่อย ๆ) ในการคำนวณภาษีเงินได้ จะรับรู้เป็นสินทรัพย์ตามราคาซาก และตัดเป็นรายจ่าย (ค่าเสื่อมราคา) ได้เร็วสุดคือ 5 ปี สมมติว่า ตามบัญชีคำนวณค่าเสื่อมรถคันนี้ 5 ปี ดังนั้น ในต้นปีที่ 5 (จะมีการซื้อซาก) ที่คำนวณค่าเสื่อมราคาตามปกติ แต่ไม่มีดอกเบี้ยต้องรับรู้แล้ว (สัญญา 48 เดือน) ในการคำนวณภาษีเงินได้ ก็บวกกลับเพียงค่าเสื่อมราคา แล้วหักเพิ่มด้วยค่าเสื่อมราคาที่คำนวณจากราคาซาก พอปีที่ 6 (ถ้ายังใช้อยู่) ก็ไม่มีค่าเสื่อมแล้ว แต่สามารถหักเพิ่มด้วยค่าเสื่อมที่คำนวณจากราคาซากต่อไปอีก ผมคงไม่ตกประเด็นไหนไปนะ จะเห็นว่าวิธี finance lease จะสามารถหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ ได้มากกว่าการซื้อสดหรือเช่าซื้อ ที่สามารถหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท เพียงแต่คนทำบัญชีจะยุ่งยากหน่อย

555 29 กรกฎาคม 2551 22:39:34 IP: 58.8.22.65

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น (ถ้อยคำที่สุภาพ สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)

กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความคิดเห็น