ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

Show

|

08 ก.พ. 2565 เวลา 22:05 น. 29.6k

รู้มั้ย! ยื่นเสียภาษีประจำปี ผู้มีเงินได้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปี หรือเป็นผู้ที่พิการ ได้ยกเว้นภาษีเงินได้ จำนวน 190,000 บาทแรก สิทธิประโยชน์ - เงื่อนไขมีอะไรบ้าง อ่านเลย

มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ไม่น้อยกว่า 120,000 บาทต่อปี หรือไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีประจำปี และไม่ใช่วัยทำงานเท่านั้น ผู้สูงอายุที่มีรายได้ก็ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี อย่างไรก็ตามกฏหมายได้ยกเว้นภาษีเงินได้  สำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ที่พิการ  ในส่วนของเงินได้ที่ไม่เกิน 190,000 บาทแรก ดังนี้ 

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

- ได้รับการยกเว้นเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท โดยสามารถใช้สิทธิหักจากเงินได้ประเภทใดก็ได้ที่ได้รับระหว่างปีภาษี แต่สิทธิทั้งหมดรวมกันแล้วต้องไม่เกินคนละ 190,000 บาท

  • เช่น ถ้ามีเงินได้จากเงินเดือนตลอดทั้งปี 200,000 บาท และเงินได้จากดอกเบี้ย 200,000 บาท สามารถเลือกใช้สิทธิยกเว้นเงินได้นี้ออกจากเงินเดือนทั้งหมด 190,000 บาทไปเลย ทำให้เหลือเงินได้จากเงินเดือนสำหรับเสียภาษีเพียง 10,000 บาท  หรือใช้สิทธิยกเว้นเงินได้จากเงินเดือนเพียง 100,000 บาท แล้วใช้สิทธิที่เหลืออีก 90,000 บาท สำหรับยกเว้นเงินได้จากดอกเบี้ยอีกก็ได้ 

-  กรณีคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้อายุ 65 ปีขึ้นไป ให้ต่างฝ่ายต่างหักเงินได้ได้คนละ 190,000 บาท

เงื่อนไขการรับสิทธิ

กรณีสูงอายุ

  •  มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษีนั้น
  •  อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น
  • การใช้สิทธิยกเว้นต้องแสดงรายการเงินได้และจำนวนเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินนั้น ตอนยื่นภาษี

กรณีผู้ที่พิการ

  • มีบัตรประจำตัวคนพิการ
  • อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น
  • การใช้สิทธิยกเว้นต้องแสดงรายการเงินได้และจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินนั้นตอนยื่นภาษี

 
แบบฟอร์มที่ต้องใช้

  • ใบแสดงสิทธิการได้รับยกเว้นเงินได้ กรณีอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือกรณีคนพิการอายุไม่เกิน 65 ปี

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

สำหรับการยื่นภาษีแบบกระดาษยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2565 ส่วนการยื่นภาษีทางออนไลน์ ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -  8 เมษายน 2565 

ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง

  • 1.สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง
  • 2.ทางอินเตอร์เน็ต ผ่านระบบ New e-Filing 
  • 3.ไปรษณีย์ลงทะเบียน เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยส่งพร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือใบธนาณัติตามจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวนไปที่ สำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพ ฯ 10400

กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบฯ และชำระภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นแบบ ฯ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน 

ขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้ผ่านระบบ New e-Filing

  • 1.เข้าสู่เว็บไซต์สรรพากร www.rd.go.th เลือก ยื่นออนไลน์ ระบบจะพาไปที่ efiling.rd.go.th
  • 2.กดสมัครสมาชิกตามวิธีด้านล่าง ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • 3.กรอกเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลือก Captcha (ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ)
  • 4.เลือก ประสงค์ลงทะเบียนเพื่อ ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ระบุ ข้อมูลผู้เสียภาษี
  • 5.ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ทางหมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล์
  • 6.กำหนดรหัสผ่าน/ยืนยันรหัสผ่าน เลือกคำถาม/คำตอบ 3 ข้อ เพื่อใช้ในกรณีที่ลืมรหัสผ่าน
  • 7.อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข/ยืนยันการลงทะเบียน
  • 8.เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ตั้งไว้

อ้างอิงข้อมูล  :  กรมสรรพากร ,  iTAX

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

การจ่ายภาษี เป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ที่มีเกณฑ์ต้องยื่นภาษีจะต้องรวบรวมเอกสารจำเป็นให้ถูกต้องและครบถ้วน และนำไปยื่นที่กรมสรรพากร หรือจะใช้ช่องทางออนไลน์โดยการยื่นเอกสารผ่านทางเว็บไซต์หรือในแอปพลิเคชันก็แล้วแต่จะสะดวก และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิลดหย่อนภาษี ปี 2565 มีอะไรบ้าง บทความนี้ FINNOMENA ได้รวบรวมเอาสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีในปี พ.ศ. 2565 มาไว้แล้ว หาคำตอบได้ที่นี่ ครบในที่เดียว!

อ่านเพิ่มเติม สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

ความสำคัญของการวางแผนลดหย่อนภาษี

การวางแผนลดหย่อนภาษี เป็นวิธีที่จะทำให้เราได้เงินภาษีคืน และประหยัดเงินในกระเป๋าของตัวเองได้มากขึ้น วิธีลดหย่อนภาษีที่เราเลือกก็ถือเป็นผลประโยชน์กับตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวม การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งการจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

ค่าลดหย่อนภาษีที่กฎหมายได้ระบุไว้ เป็นสิ่งที่รัฐเห็นว่าเป็นภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในชีวิต หรือเป็นสิทธิพิเศษที่รัฐต้องการจะสนับสนุน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมบางอย่าง โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใน ทุก ๆ ปี ดังนั้น ประชาชนผู้เสียภาษีจึงควรหมั่นติดตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขในทุกปี เพื่อที่จะได้วางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเซฟงบในกระเป๋าไปได้อีกมาก

ประเภทค่าลดหย่อนภาษี

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

ประกอบด้วย

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องถามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ เอกสารหลักฐานที่ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีคือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม และบุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
    • กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรจริง
    • กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน
    • กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม: ให้ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน และหากบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 4 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมอยู่ในคนที่ 1-3 สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้
  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน กล่าวคือ สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท (และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม) โดยบิดามารดาจะต้องมาอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้ ต้องมีการระบุลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการเลี้ยงดู (ลย.03) ว่าบุตรคนใดจะเป็นฝ่ายเลี้ยงดูบิดา/มารดา
  • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพลภาพเป็นบิดามารดา – บุตร – คู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน ตัวอย่างเช่น คู่สมรสไม่มีรายได้และเป็นผู้พิการ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท (ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท และค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000 บาท)

2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

ประกอบด้วย

  • เงินประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 7,200 บาท (จากปกติ 9,000 บาท) เนื่องจากปี พ.ศ. 2565 มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคม (จำนวนเงินประกันสังคมที่ลดหย่อนได้สูงสุดเป็นข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากมีประกาศปรับลดส่งเงินสมทบอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง)
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนค่าเบี้ยประกันของคู่สมรสได้สูงสุด 10,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และถ้าหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชนิดต่าง ๆ และสิทธิประโยชน์ทางการลดหย่อนภาษีได้ที่ สรุป ซื้อประกันแบบไหน ได้ลดหย่อนภาษี? สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขที่ต้องรู้

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน RMF ได้ที่ “RMF” คืออะไร? ทบทวนเงื่อนไขพร้อมกองทุนแนะนำ!
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยให้สิทธิประโยชน์สำหรับลดหย่อนภาษี 5 ปี – สามารถอ่านเรื่องกองทุนรวม SSF เพิ่มเติมได้ที่ คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2565
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สำหรับผู้ที่ลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

*** สำหรับกลุ่มค่าลดหย่อนประกันชีวิตและการลงทุนในการวางแผนเกษียณ ได้แก่ กองทุน RMF กองทุน SSF กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ***

3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

ประกอบด้วย

  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งมาจากมาตรา 70 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้บริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองสามารถนำจำนวนเงินบริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีหรือรายจ่ายเพื่อการบริจาคตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ที่ บริจาคอะไร ลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า !

4. ค่าลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

ประกอบด้วย

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

5. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

ประกอบด้วย

  • โครงการช้อปดีมีคืน 2565 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565 ตามที่จ่ายจริง โดยสินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP สินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

รูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน) และ ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) และจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี

สถานที่สำหรับการยื่นภาษี

  • ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  • ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th
  • ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรเป็นอันดับแรก จึงจะสามารถยื่นผ่านแอปพลิเคชันได้

กรณียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้พิการ และมีบัตรประจำตัวคนพิการว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น
  • กรณีเป็นผู้สูงอายุ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น
  • กรณีมีเครดิตภาษีเงินปันผล สำหรับคนที่ลงทุนในหุ้น สามารถใช้ยกเว้นภาษีได้ตามสัดส่วนที่ได้รับจากเงินปันผล

และทั้งหมดนี้ก็คือ รายการลดหย่อนภาษีสำหรับปี พ.ศ. 2565 ที่ทาง FINNOMENA ได้รวบรวมเอาไว้ให้ การวางแผนเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีก็เป็นการวางแผนทางการเงินอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในหมวดหมู่ของภาษี และเพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ หรือการลงทุนเพื่อผลตอบแทนในอนาคต การวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรัดกุมและเป็นระบบมากขึ้น และไม่ได้ส่งผลในเรื่องของการเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังส่งผลต่อการวางแผนชีวิตของตัวเราเองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การลงทุนเพื่อวัยเกษียณ การออมเพื่ออนาคต การซื้อที่อยู่อาศัย เป็นต้น ดังนั้น หากยิ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีมากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองมากขึ้นเท่านั้น

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

FINNOMENA Admin

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

ผู้เขียน

ใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ภงด94 ปี 2564

FINNOMENA

FINNOMENA Team เราอยากให้นักลงทุนที่ได้เข้ามาหาความรู้ ได้ปลดล็อค “ศักยภาพ” ในฐานะนักลงทุนให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวคุณเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราเชื่อว่านักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ลงทุนตามคำบอกของคนอื่น แต่คือนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถในการลงทุนด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

กำหนดการยื่นแบบภงด 94 เมื่อใด

ใกล้ถึงฤดูกาลยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาครึ่งปี (.ง.ด. 94) กันแล้ว สำหรับในปีภาษี 2565 มีกำหนดการยื่นแบบชำระภาษีได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 หรือยื่นออนไลน์ได้ที่ www.rd.go.th ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2565.

ภงด.94 ยื่นรายได้อะไรบ้าง

ผู้ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (.ง.ด. 94) คือ ผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน ของทุกปี (ไม่รวมรายได้จากงานประจำ) เกิน 60,000 บาทสำหรับกรณีโสด หรือในกรณีมีคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท และจะต้องเป็นเงินได้ที่เข้าข่ายเงินได้ประเภทต่างๆ ต่อไปนี้

ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ งด 94 คือ อะไร

...94 คือแบบแสดงรายการที่ใช้ในการยื่นภาษีครึ่งปีบุคคลธรรมดาหรือก็คือการชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไว้ ซึ่งมาจากการคำนวณรายได้ครึ่งปีหลัง ผู้ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าวคือบุคคลธรรมดาหรือบุคคลทั่วไปซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ หากเช็กแล้วว่าเข้าข่ายตรงกับผู้มีรายได้ตามกำหนดคุณจะยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าว

เงินหักยกเว้น 65 คืออะไร

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ผู้มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ หรือผู้พิการสามารถนำสิทธิยกเว้นเงินได้ ฿190,000 แรกของตนไปหักออกจากเงินได้ประเภทใดก็ได้ที่ตนได้รับระหว่างปีภาษี เช่น ถ้ามีเงินได้จากเงินเดือนตลอดทั้งปี ฿200,000 และเงินได้จากดอกเบี้ย ฿200,000.