เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

Show

วิธีแจ้งเข้าประกันสังคมแบบง่ายๆ สำหรับ HR มือใหม่

การดูแลพนักงานให้ได้รับสิทธิพื้นฐานตามกฏหมายเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญของ HR ซึ่งจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้น อาจกลายเป็นความผิดเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฏหมายแรงงานได้

โดยเฉพาะการแจ้งรายชื่อพนักงานเข้าประกันสังคม ซึ่งนับเป็นเรื่องพื้นฐานที่ HR ทุกคนควรทราบ!

บทความนี้ Cigna จะมาแนะนำวิธีแจ้งเข้าประกันสังคมแบบง่ายๆ สำหรับ HR มือใหม่ เพื่อสิทธิที่พึงมีสำหรับพนักงานภายในองค์กร!

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

วิธีแจ้งเข้าประกันสังคมต้องทำอย่างไรบ้าง?

วิธีแจ้งเข้าประกันสังคมในปัจจุบันนั้นไม่ยุ่งยากเหมือนกับสมัยก่อนอีกต่อไป เนื่องจากทาง HR สามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว

โดยมีวิธีการดำเนินการด้วยกัน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนขอทำธุรกรรมกับสำนักงานประกันสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต

    อันดับแรกต้องลงทะเบียนเพื่อขอทำธุรกรรมกับสำนักงานประกันสังคมผ่านอินเทอร์เน็ตเสียก่อน โดยมีวิธีการลงทะเบียน ดังนี้

    • เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม เลือกหัวข้อ “สถานประกอบการ”
    • เลือก “ขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต” กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อลงทะเบียน สปส. 1-05
    • ระบบจะส่งแบบลงทะเบียน (สปส. 1-05) กลับทาง Email เพื่อพิมพ์แบบลงทะเบียนส่งสำนักงานประกันสังคม
    • ผู้มีอำนาจลงนาม ประทับตรา พร้อมด้วยพยาน 2 ท่าน
    • สำนักงานประกันสังคมอนุมัติส่ง User-ID ให้ทาง Email

    เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับสำนักงานประกันสังคมผ่านช่องทางออนไลน์ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  2. วิธีแจ้งรายชื่อพนักงานเข้าระบบประกันสังคม

    เมื่อลงทะเบียนขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทาง HR สามารถแจ้งรายชื่อพนักงานเข้าระบบประกันสังคมได้ ดังนี้

    • เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม เลือกหัวข้อ “สถานประกอบการ”
    • เลือกเมนู “ทะเบียนผู้ประกันตน” จากนั้นกรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
    • เลือกเมนู “ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน/แจ้งรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน” เพื่อรับแบบฟอร์ม สปส.1-03

    โดยจำเป็นจะต้องใช้หลักฐานด้วยกัน ดังนี้

    • แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) พร้อมกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย
    • บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตัวตนได้
    • ใบอนุญาตทำงาน สำเนาหนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้ประกันตนไม่ใช่ชาวไทย
    • ลูกจ้างที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้วให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน

    จากนั้น ระบบจะส่งข้อมูลไปยังสำนักงานประกันสังคม เพียงเท่านี้ก็สามารถแจ้งรายชื่อพนักงานเข้าระบบได้เป็นที่เรียบร้อย

  3. วิธีการชำระและส่งข้อมูลเงินสมทบ ประกันสังคม

    โดยปกติเมื่อแจ้งเข้าประกันสังคมแล้ว ทางบริษัทจะต้องหักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างแล้วนำส่งเอกสารผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม

    จากนั้น ให้เลือกวิธีการนำส่งข้อมูลการส่งเงินสมทบและรายละเอียดการชำระ โดยสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

    • นำส่งข้อมูลผ่านสำนักงานประกันสังคมประจำพื้นที่ด้วยตนเองหรือนำส่งทางไปรษณีย์โดยชำระเป็นเงินสดหรือเช็ค
    • ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือธนาคารธนชาต ภายในจังหวัดที่บริษัทจัดตั้งอยู่ จากนั้น ให้ส่งข้อมูลการชำระผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม

    โดยทั้งหมดนี้ต้องดำเนินการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

ยกเลิกประกันสังคม ทำอย่างไรเมื่อ “พนักงานแจ้งลาออกจากงาน” 

สำหรับกรณีที่พนักงานแจ้งลาออกจากงานนั้น ทาง HR สามารถดำเนินการผ่านช่องทางเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม ได้เช่นเดียวกัน

โดย HR จะต้องใช้ “หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน” (สปส.6-09) เพื่อแจ้งสาเหตุการลาออกจากพนักงาน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ทำอย่างไรเมื่อ “ต้องการแก้ไขข้อมูลพนักงานหรือข้อมูลบริษัท”

สำหรับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูลพนักงานในประกันสังคม เช่น การเปลี่ยนชื่อนามสกุล การแต่งงาน หรือการมีบุตร ให้ HR แจ้งโดยใช้ “หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน” (สปส. 6-10) จากนั้น กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อยแล้วนำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

หากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของบริษัท เช่น การเปลี่ยนชื่อกิจการ การขยายสาขา หรือการโยกย้ายที่ตั้งสำนักงาน ทาง HR หรือนายจ้างจะต้องแจ้งโดยใช้ “หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง” (สปส. 6-15) พร้อมกรอกรายละเอียดข้อมูลให้เรียบร้อย จากนั้นนำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเช่นเดียวกัน

สรุป การแจ้งเข้าประกันสังคม

ปัจจุบัน การแจ้งเข้าประกันสังคมนั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป แต่ก็นับว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่ HR ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด

เพราะถ้าเกิดข้อผิดพลาดอย่างการลืมแจ้งข้อมูลหรือลืมดำเนินการต่างๆ นั้น อาจทำให้บริษัทมีความผิดตามกฏหมายแรงงานและพระราชบัญญัติประกันสังคม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อบริษัทในระยะยาวอย่างแน่นอน

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

อ่านสั้นๆ

  • ประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจจะได้รับจากประกันสังคม หนึ่งในนั้นคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ เมื่อพนักงานกำลังตัดสินใจเลือกเข้าทำงาน
  • หากธุรกิจเรามีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียน 2 ชุดคือ 1. ขึ้นทะเบียนนายจ้าง ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยอัตโนมัติพร้อมการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อกรมธุรกิจการค้า 2. ขึ้นทะเบียนลูกจ้างสำหรับจ่ายกองทุนประกันสังคมในครั้งแรก 
  • เมื่อมีพนักงานใหม่เข้าทำงานในบริษัท ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมภายใน 30 วัน
  • ในแต่ละเดือนต้องนำส่งเงินประกันสังคมที่หักจากเงินเดือนพนักงาน พร้อมทั้งจ่ายสมทบเพิ่มให้กับพนักงาน และยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

  • ให้เราอ่านให้ฟัง
  • ประกันสังคม ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องทำให้พนักงาน
  • เจ้าของธุรกิจ ต้องทำอย่างไรเมื่อเริ่มมีพนักงานคนแรก
    • 3 ขั้นตอนจัดทำไฟล์ “ข้อมูลเงินสมทบ” ผ่านโปรแกรมจัดการเงินเดือน FlowPayroll
  • ขั้นตอนการยื่นข้อมูลเงินสมทบประกันสังคมออนไลน์ 10 นาทีเสร็จ! 
    • ขั้นตอนยื่นข้อมูลเงินสมทบ
    • ขั้นตอนยื่นเอกสารพนักงานเข้าใหม่
  • เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายค่าประกันสังคมเท่าไหร่/เมื่อไหร่
    • วิธีการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม

ให้เราอ่านให้ฟัง

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

ประกันสังคม ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องทำให้พนักงาน

สิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิประโยชน์ร่วมกันระหว่างเจ้าของธุรกิจและพนักงาน โดยเงินที่เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบให้กับพนักงานในแต่ละเดือนถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่พนักงานจะได้รับเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันในการใช้ชีวิตตลอดช่วงทำงาน จนไปถึงเกษียณอายุ 

ซึ่งประโยชน์ที่พนักงานได้รับมีถึง 8 เรื่องด้วยกัน คือ

  1. ค่าหมอ ค่ายา ค่าทำฟัน ยามเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ
  2. ค่าเงินชดเชย กรณีทุพพลภาพ
  3. ค่าคลอดบุตร
  4. ค่านมลูก (เงินสงเคราะห์บุตร)
  5. ค่าใช้จ่ายยามตกงาน
  6. ค่าจัดงานกรณีเสียชีวิต
  7. ค่าใช้จ่ายยามเกษียณ

และยังส่งผลดีต่อเจ้าของธุรกิจและภาพลักษณ์ของธุรกิจด้วยคือ 

  1. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านความรับผิดชอบต่อชีวิตพนักงานของธุรกิจ ซึ่งพนักงานมองว่าเป็นหลักประกันชีวิตขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับ
  2. เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ สำหรับการตัดสินใจเลือกเข้าทำงานของพนักงาน
  3. รักษาพนักงานให้อยู่ทำงานด้วยกันต่อไปในระยะยาว เพราะมั่นใจได้ว่าธุรกิจตั้งใจจะดูแลคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

นั่นก็หมายความว่า เมื่อพนักงานของธุรกิจมีความสุข และมีความมั่นคง ก็ทำให้ธุรกิจดำเนินอย่างมั่นคง ส่งผลต่อลูกค้า และคู่ค้าในเชิงบวกด้วยเช่นกัน

หากยังคิดภาพไม่ออก ลองนึกภาพว่า เรากำลังสร้างครอบครัวที่แข็งแรงและมีความสุข เราก็จะหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับครอบครัว

องค์กรในรูปแบบบริษัทก็เช่นกัน หากอยากสร้างองค์กรให้แข็งแรง การมีสวัสดิการที่ดีย่อมช่วยสร้างความมั่นคงให้กับพนักงาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานตัดสินใจมาทำงานร่วมกับบริษัทเรา

และหากให้พูดตามหลักของกฎหมาย เมื่อกิจการเริ่มมีการจ้างพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป นายจ้างจะต้องเป็นผู้จัดทำประกันสังคมให้กับพนักงานทุกคน เพื่อให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่ช่วยเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

เจ้าของธุรกิจ ต้องทำอย่างไรเมื่อเริ่มมีพนักงานคนแรก

1. ขั้นตอนแรก เจ้าของธุรกิจต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างภายใน 30 วัน นับจากวันที่เริ่มรับพนักงาน

อัพเดต! จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เมื่อเจ้าของธุรกิจจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development) แล้ว จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างต่อสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานโดยอัตโนมัติ (ซึ่งจะช่วยลดขั้นการเตรียมเอกสารเพื่อความสะดวกมากขึ้น) เริ่มใช้จริงวันที่ 16 ต.ค. 2019 เป็นต้นไป 

2. เจ้าของธุรกิจสามารถใช้เลขนิติบุคคล 13 หลัก ดำเนินการขึ้นทะเบียนลูกจ้าง/ผู้ประกันตน เมื่อมีการจ้างลูกจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงาน ได้ที่สำนักงานประกันสังคมต่อไป

เอกสารที่ต้องใช้ หนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-02) พร้อมใบแนบแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) ของพนักงาน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน

3. ยื่นข้อมูลเงินสมทบ (ตารางสรุปเงินพนักงานประจำเดือน โดยใส่ข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน, คำนำหน้า, ชื่อ-นามสกุล, ตำแหน่ง, เงินเดือน และเงินสมทบ)

3 ขั้นตอนจัดทำไฟล์ “ข้อมูลเงินสมทบ” ผ่านโปรแกรมจัดการเงินเดือน FlowPayroll

FlowPayroll  ช่วยนายจ้างจัดทำไฟล์ข้อมูลอัตราเงินเดือนตามรายชื่อพนักงานได้อย่างรวดเร็ว โดยให้โปรแกรมคำนวณเงินยื่นส่งประกันสังคมได้อัตโนมัติ (หากเป็นกรณีรูปแบบบริษัท เราสามารถนำรายชื่อกรรมการบริษัทออก เนื่องจากกรรมการถือว่าเป็นนายจ้างตามเงื่อนไขของประกันสังคม)

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

  1. เข้าใช้งาน FlowPayroll และเลือกเมนู รายการเงินเดือน/ค่าจ้าง 
  2. คลิกปุ่มจุดสามจุด ด้านหลังรายการเงินเดือน
  3. เลือกเมนู “ดาวน์โหลดไฟล์ยื่นประกันสังคม”

ซึ่งคุณสามารถทดลองใช้งาน FlowPayroll ได้ฟรี 30 วัน ได้ที่เว็บไซต์ FlowAccount แล้วคลิกปุ่มสมัครใช้งานฟรีได้เลย

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม


ขั้นตอนการยื่นข้อมูลเงินสมทบประกันสังคมออนไลน์ 10 นาทีเสร็จ! 

ในเดือนถัดๆ ไป เจ้าของธุรกิจก็สามารถเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคมในหัวข้อ “บริการอิเล็กทรอนิกส์”  ลดเวลาการเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ และจัดเตรียมเอกสารหลายขั้นตอน เพื่อยื่นข้อมูล ดังนี้

1. ข้อมูลเงินสมทบ

2. แจ้งพนักงานเข้าใหม่ (ส.ป.ส. 1-03)

3. แจ้งพนักงานลาออก (ส.ป.ส. 6-09)

ขั้นตอนยื่นข้อมูลเงินสมทบ


  1. เข้าสู่ระบบและเลือกเมนู “ส่งข้อมูลเงินสมทบ”
  2. เลือก วิธียื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ
  3. เลือกสถานประกอบการ
  4. เลือกวิธีการนำส่ง กรอกเดือน, ปี, อัตราเงินสมทบ
  5. เลือกอัพโหลดไฟล์ “ข้อมูลเงินสมทบ”
  6. สรุปข้อมูลเงินสมทบ
  7. ส่งข้อมูลเงินสมทบสำเร็จ
  8. จากนั้นประกันสังคมจะส่งข้อมูลยืนยันตามแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2) ผ่านทางอีเมลเพื่อดำเนินการชำระเงินต่อไป

ขั้นตอนยื่นเอกสารพนักงานเข้าใหม่


  1. เข้าสู่ระบบและเลือกเมนู “ทะเบียนผู้ประกันตน”
  2. คลิกเลือกข้อ 1 กรณีที่พนักงานเข้าใหม่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกับทางประกันสังคม คลิกเลือกข้อ 2 กรณีที่ พนักงานเคยขึ้นทะเบียนแล้ว และเลือกสถานพยาบาลเดิม
  3. เพิ่มข้อมูลพนักงานใหม่ทั้งหมด กรณีพนักงานใหม่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน
    ใส่เลขที่บัตรประชาชน กรณีพนักงานใหม่เลือกสถานพยาบาลเดิม
  4. ตรวจสอบข้อมูล
  5. ยืนยันบันทึกข้อมูล

เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายค่าประกันสังคมเท่าไหร่/เมื่อไหร่

เจ้าของธุรกิจจะต้องจ่ายสมทบประกันสังคมในส่วนที่หักจากพนักงาน และส่วนที่สมทบให้กับพนักงาน ตามแบบ สปส.1-10 (ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2) จะต้องส่งในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หลังจากที่ยื่นเอกสารเพื่อนำส่งประกันสังคมในครั้งแรก


วิธีการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม

ฐานของเงินค่าจ้างพนักงานขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

พนักงานจะถูกหักจากเงินเดือน 5% + เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบ 5% + รัฐบาลร่วมจ่ายสมทบ 2.75%

(แต่ในบางเดือนทางประกันสังคมจะมีการออกมาตรการลดค่าครองชีพให้กับนายจ้าง เพื่อช่วยให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมน้อยลง เช่น ช่วงเดือน พ.ค. – ก.ค. 2565 ปรับลดเหลือ 1% เป็นต้น)

ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงออกเงินสมทบประกันสังคมให้ 1 เท่าของเงินที่พนักงานถูกหักออกจากเงินเดือนในแต่ละเดือนตามมาตรา 33 (แต่ในกรณีที่ต้องนำส่งด้วยตัวเองในสถานะฟรีแลนซ์ก็จะยื่นนำส่งในมาตรา 39 โดยมีเงื่อนไขว่า เคยยื่นมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และว่างงานมาไม่เกิน 6 เดือน)

ยกตัวอย่างวิธีคำนวณ

ให้เงินเดือนพนักงาน 18,000 บาท (คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ดังนั้นเงินประกันสังคมที่จะต้องยื่นคือ 5% เท่ากับ 15,000 x 5% = 750 บาท และทางนายจ้างจ่ายสมทบเพิ่มอีกหนึ่งเท่า รวมเป็น 750+750 = 1,500 บาท 

ซึ่งคุณสามารถทดลองใช้งาน FlowPayroll ช่วยคำนวณเงินยื่นส่งประกันสังคมได้อัตโนมัติ ได้ฟรี 30 วัน

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

ข้อมูลจาก

sso,

mol,

labour

เปลี่ยน ที่ ทํา งาน ประกัน สังคม

คนขี้สงสัย ชอบค้นหาคำตอบ ด้วยการสืบค้นจากแหล่งที่มาต่างๆ และโจทย์ต่อจากนี้คือ ทำบัญชีให้เป็นเรื่องเข้าใจง่ายได้อย่างไร

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้

ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้

สมัครเลย